หัวใจเต้นสั่นพริ้ว ภาวะการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ ทำให้สูบฉีดเลือดไม่ดี อันตรายทำให้เป็นอัมพฤกษ์หรือเสียชีวิตได้ แนวทางการรักษาทำอย่างไรหัวใจสั่นพริ้ว โรคหัวใจ โรคไม่ติดต่อ โรคหัวใจเต้นสั่นพริ้ว

ภาวะหัวใจสั่นพริ้ว ภาษาอังกฤษ เรียก Atrial Fibrillation เรียกย่อว่า AF เป็น โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็น อาการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ ที่พบบ่อย ภาวะหัวใจสั่นพริ้ว มีความอันตราย ถึงขั้นเป็น อัมพฤกษ์ หรือ อาจทำให้ เสียชีวิตได้ ภาวะการเต็นของหัวใจ เกิดขึ้นที่ หัวใจห้องบน ทั้ง 2 ข้าง ซึ่ง ความเร็วในการเต้นของหัวใจ ไม่สม่ำเสมอกัน ทำให้ การสูบฉีดเลือดไม่ดี อาจทำให้ร่างกายออกซิเจนได้

สาเหตุของการเกิดภาวะหัวใจสั่นพริ้ว

สำหรับ สาเหตุของการเกิด โรคหัวใจสั่นพริ้ว พบว่ามีหลายสาเหตุ อาจเกิดจาก ความผิดปรกติของหัวใจ โรคความดันโลหิต การผ่าตัดหัวใจ โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคปอด โรคถุงลมโป่งพอง ภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด ความเครียด การดื่มสุรา ความอ่อนล้า เป็นต้น

อาการของภาวะหัวใจสั่นพริ้ว

ผู้ป่วยที่เป็น โรค นี้จะมีอาการ เป็นๆหายๆ หรืออาจจะเป็น แบบเรื้อรัง ลักษณะของการของผู้ป่วยมี ดังนี้

  • ใจสั่นอย่างกระทันหัน
  • หัวใจหยุดเต้น และ เกิดเสียงตัง ” ตุ้บ ” จากนั้น หัวใจจะเต้นเร็ว
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • มีอาการ เจ็บหน้าอก และ แน่นที่หน้าอก ลำคอ
  • รู้สึกอ่อนเพลีย
  • มีเหงื่อออก
  • รู้สึกมึนงง
  • หายใจลำบาก และ อาจหมดสติ

การรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจสั่นพริ้ว

สำหรับ การรักษาโรคหัวใจสั่นพริ้ว นั้นสามารถทำ การรักษา ได้หลายวิธี มีดังนี้

  1. โดยการใช้สายสวนชนิดพิเศษจี้จุดกำเนิดของ การเต้นผิดปกติในหัวใจ ด้วย พลังงานคลื่นวิทยุ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีรักษาที่ได้ผลดี สำหรับ อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ( Arrhythmia ) และ หัวใจสั่นพริ้ว ( atrial fibrillation- AF )
  2. ให้ยา ควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ ไม่ให้เร็วจนเกินไป ( rate contro l) เพื่อควบคุมจังหวะ การเต้นของหัวใจ ( rhythm control ) และ เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในหัวใจ ห้องบนเพื่อ ป้องกันภาวะลิ่มเลือดไปอุดตัน ในอวัยวะสำคัญส่วนอื่นของร่างกาย
  3. โดยการ ใช้ไฟฟ้ากระตุก เพื่อปรับ การเต้นของหัวใจ ( cardioversion ) ให้กลับเต้นปกติ

สมุนไพรบำรุงหัวใจ สามารถช่วยบำรุง การทำงานของหัวใจ ลดความเสี่ยงของการเกิด โรคหัวใจ ต่างๆได้ เราจึงรวบรวม สมุนไพรบำรุงหัวใจ มาให้เป็นความรู้เพิ่มเติม

ถั่วเขียว ถั่วงอก ธัญพืช สมุนไพรถั่วเขียว หญ้าปักกิ่ง สมุนไพร หญ้าเทวดา สรรพคุณหญ้าเทวดาหญ้าปักกิ่ง
เก๋ากี้ สมุนไพร โกจิเบอร์รี่ สรรพคุณของโกจิเบอร์รี่เก๋ากี้ โกจิเบอร์รี่ ท้าวยายม่อม แป้งท้าวยายม่อม สมุนไพร สรรพคุณของท้าวยายม่อมท้าวยายม่อม
อะโวคาโด ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของอะโวคาโดอะโวคาโด ลูกสมอไทย สมอไทย ราชาสมุนไพร สมุนไพรไทยสมอไทย

โรคหัวใจเต้นสั่นพริ้ว ภาวะหัวใจสั่นพริ้ว ( Atrial Fibrillation ) คือ อาการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ ทำให้สูบฉีดเลือดไม่ดี ภาวะหัวใจสั่นพริ้ว อันตราย ทำให้เป็น อัมพฤกษ์ หรือ เสียชีวิตได้ ภาวะการเต็นของหัวใจ เกิดขึ้นที่หัวใจห้องบนทั้ง 2 ข้าง รักษาอย่างไร ป้องกันได้หรือไม่

หัวใจวาย ( Heart Failure ) กล้ามเนื้อหัวใจไม่ทำงานตามปรกติ เกิดกับผู้สูงวัยและคนเครียด อาการเหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หัวใจเต้นผิดปกติ หน้ามืด ใจสั่นหัวใจวาย ภาวะหัวใจวาย โรคหัวใจ เจ็บหน้าอก

โรคหัวใจวาย ภาษาอังกฤษ เรียก Heart Failure ซึ่งเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ภาวะหัวใจล้มเหลว หรือ ภาวะหัวใจวาย โรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ ไม่ใช่โรคติดเชื้อ การเกิดหัวใจล้มเหลว เกิดจากภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ตามปรกติ ซึ่งผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยง จะมีอาการที่เป็นสัญญาณ เช่น เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก หายใจลำบาก

โรคหัวใจล้มเหลว สามารถเกิดขึ้นได้กับ คนทุกวัย ทุกชาติ ทุกศาสนา และทุกเพศ ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคนี้จะแตกต่างกันไป จากสถิติพบว่าร้อยละ 3 ของประชากรในประเทศกำลังพัฒนาเป็นโรคหัวใจ และร้อยละ 30 ของคนอายุ 70 ปีขึ้นไป เป็นโรคนี้ แต่สาเหตุของการเกิดจะแตกต่างกันไป โดยรวมแล้ว ยิ่งอายุมากขึ้นจะพบได้มากขึ้น โดยในภาพรวมในประเทศที่กำลังพัฒนา พบความชุกของภาวะหัวใจล้มเหลวได้ประมาณ 2 – 3% ของประชากรทั้งหมด แต่หากอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป จะพบความชุกของภาวะนี้ได้ 20 – 30%

สาเหตุของการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว 

อาจเป็นสาเหตุจากการ เป็นผลข้างเคียงของโรคอื่น เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ โรคลิ้นหัวใจรั่ว โรคลิ้นหัวใจตีบ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ นอกจากโรคต่างๆ เป็นสาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลวแล้ว ความเครียด การพักผ่อนน้อย การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ ก็เป็นสาเหตุของโรคหัวใจวายได้

  • โรคหัวใจขาดเลือด (โรคหลอดเลือดหัวใจ) เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ คือ เป็นโรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ เป็นต้น
  • โรคของกล้ามเนื้อหัวใจที่เรียกว่า Dilated cardiomyopathy
  • โรคลิ้นหัวใจต่างๆ เช่น โรคลิ้นหัวใจรั่ว โรคลิ้นหัวใจตีบ
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • สาเหตุอื่นๆที่พบได้ค่อนข้างน้อย เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ การได้รับยาหรือสารบางประ เภทเกินขนาด เช่น โคเคน แอลกอฮอล์ การได้รับยาเคมีบำบัดบางชนิดที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง โรคที่มีโปรตีนชื่อ Amyloid เข้าไปสะสมที่กล้ามเนื้อหัวใจ (Amyloidosis) เป็นต้น

อาการของโรคหัวใจวาย

เราสามารถแยกเป็นข้อๆ ได้ ดังนี้

  1. มีอาการเหนื่อยและหายใจลำบาก ( Dyspnea )
  2. นอนราบไม่ได้ ( Orthopnea )
  3. เหนื่อยฉับพลันขณะหลับ ( Paroxysmal nocturnal dyspnea )
  4. มีอาการอ่อนเพลีย อ่อนแรง
  5. เกิดน้ำคั่งในอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ
  6. หัวใจเต้นผิดปกติ
  7. หน้ามืด
  8. ใจสั่น
  9. ปากเขียว
  10. เล็บมือเขียว

ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจวาย

สำหรับกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจ ประกอบด้วย คนที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป และ คนที่เป็นที่มีโอกาสเสี่ยง เช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันในหลอดเลือดสูง ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ คนอ้วน และ คนที่ไม่ออกกำลังกาย

การรักษาภาวะหัวใจวาย

สำหรับแนวทางการรักษา โรคหัวใจต้องทำการลดภาระการทำงานของหัวใจลง สามารถทำได้โดย

  1. การป้องกันการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  2. การควบคุมและกำจัดน้ำส่วนเกินหรือน้ำคั่งในอวัยวะต่างๆ โดย ลดการบริโภคเกลือหรือของเค็ม เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับเกลือมากเกินกว่าความสามารถในการกำจัดของเสียของไต
  3. การลดภาระการทำงานของหัวใจ โดยการไม่ออกแรงมาก หรือ ไม่ออกกำลังกายหนักเกินไป หากรู้ตัวว่าเหนื่อยต้องพัก
  4. การเพิ่มความสามารถในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ

การป้องกันภาวะหัวใจวาย

สำหรับการป้องกันการเกิดภาวะหัวใจวาย คือ การป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว โดยเฉพาะการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ( โรคหลอดเลือดหัวใจ ) เช่น การไม่สูบบุหรี่ การลดระดับไขมันในเลือดหากมีไขมันในเลือดสูง และการป้องกันการเป็นโรคเบาหวาน เป็นต้น

หัวใจวาย ( Heart Failure ) ภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจไม่ทำงานตามปรกติ พบมากในผู้สูงอายุ คนที่อยู่ในภาวะเครียด อาการของโรคหัวใจวาย เช่น เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก หายใจลำบาก นอนราบไม่ได้ อ่อนเพลีย เกิดน้ำคั่งในอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ หัวใจเต้นผิดปกติ หน้ามืด ใจสั่น ปากเขียว เล็บมือเขียว การรักษาโรคหัวใจ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove