หัดญี่ปุ่น โรคคาวาซากิ ไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคแน่ชัด อาการไข้สูง ปากแดง ตาแดง มือเท้าบวมลอก ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต ผื่นขึ้นตามร่างกาย สามารถหายได้เอง

โรคคาวาซากิ โรคหัดญี่ปุ่น โรคเด็ก โรคหัวใจและหลอดเลือด

โรคคาวาซากิ ( Kawasaki disease ) เรียกอีกชื่อว่า หัดญี่ปุ่น คือ โรคที่พบมากในเด็ก ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าเมื่อมีการติดเชื้อโรคแล้ว ส่งผลให้ร่างกายกระตุ้นภูมิคุ้มกันผิดปกติจึงส่งผลต่อลักษณะอาการของโรค เป็นสาเหตุของอาการหัวใจอักเสบ และหลอดเลือดแดงอักเสบในเด็ก โรคนี้พบครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2510 ในประเทศญี่ปุ่น และ ประเทศไทยพบครั้งแรก เมื่อพ.ศ.2519

สาเหตุของการเกิดโรคคาวาซากิ

โรคคาวาซากิ ยังไม่สามารถบอกสาเหตุของการเกิดโรคได้อย่างชัดเจน แต่ผู้ป่วยจะมีอาการกระทันหัน คือ มีไข้สูง มีผื่นตามตัว ต่อมน้ำเหลืองโต และตาแดง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญคาดว่าเกิดจากเมื่อร่างกายได้รับเชื้อโรคจึงเกิดการสร้างภูมิต้านทานโรคผิดปกติส่งผลต่อร่างกายิดปรกติต่างๆตามมา

กลุ่มผู้เสี่ยงเกิดโรคคาวาซากิ

สำหรับผู้เสี่ยงเกิดโรคคาวาซากิ จะเป็นเด็กที่อายุไม่เกิน 5 ขวบ เนื่องจากภูมิต้านทานโรคยังไม่แข็งแรง เท่ากับคนที่มีอายุมากกว่า โดย ในคนอายุ 2 ถึง 3 ขวบ มีอัตราการเกิดโรคมากที่สุด และ เพศชายมีอัตรการเกิดโรค มากกว่าเพศหญิง

อาการของผู้ป่วยโรคคาวาซากิ

ลักษณะอาการของผู้ป่วยโรคคาวาซาอก ลักษณะอาการกระทันหัน ซึ่งสามาถสรุปลักษณะของอาการของผู้ป่วยให้เห็นชัดมากขึ้น มีดังนี้

  1. มีไข้สูง และมีไข้นาน 1 – 4 สับดาห์
  2. มีอาการตาแดง อาการตาแดงจะเกิดหลังจากผู้ป่วยมีไข้สูงประมาณ 1-2 วันและอาการตาแดงจะเป็นประมาณ 1-2 สัปดาห์
  3. ริมฝีปากแดง แห้ง และริมฝีปากแตก หลังจากนั้นบริเวณลิ้นแดง
  4. ฝ่ามือกับฝ่าเท้าจะมีอาการบวม ไม่มีอาการเจ็บ จากนั้นหนังโคนเล็บจะลอก และลามไปถึงฝ่ามือฝ่าเท้า บางรายถึงขั้นเล็บหลุดเลย
  5. เกิดผื่นตามตัว แขนและขา จะเกิดเมื่อมีไข้แล้ว 2-3 วัน รวมถึงมีอาการคันที่ผื่นด้วย
  6. ที่บริเวณคอ จะมีอาการโต เป็นอาการต่อมน้ำเหลืองที่คอโต

การรักษาอาการของโรคคาวาซากิ

สำหรับแนวทางการรักษาโรค เนื่องจากโรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุ จึงยังไม่มียารักษาโรคคาวาซากิโดยเฉพาะ ซึ่งสิ่งที่แพทย์ใช้ในการรักษาโรค คือ การป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ โดบการรักษาด้วยอิมมูโนโกลบุลิน ชนิดฉีด ( intravenous immunoglobulin , IVIG ) เพื่อลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนที่หัวใจและหลอดเลือด สำหรับการรักษา สามารถแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเฉียบพลัน และ ระยะต่อเนื่องของโรค รายละเอียด ดังนี้

  • การรักษาโรคในระยะเฉียบพลันของโรค ใช้การรักษาโดยให้ ้ IVIG ขนาด 2 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กก. ร่วมกับรับประทานยาแอสไพริน (aspirin) ขนาด 80-120 มก./กก./วัน
  • การรักษาในช่วงไม่เฉียบพลันและต่อเนื่อง ให้ aspirin ขนาด 3-5 มก./น้ำหนักตัว 1 กก./วัน  รับประทานหลังไข้ลดลงนานประมาณ 2 เดือน  ถ้าผู้ป่วยมีเส้นเลือดโป่งพอง จะต้องให้ติดต่อไปนานจนกว่าเส้นเลือดโป่งพองจะกลับเป็นปกติ บางรายต้องได้รับยานานหลายปี

ภาวะแทรกซ้อนของโรคคาวาซากิ

อาการแทรกซ้อนที่อันตรายต่อชีวิค คือ อาการที่ส่งผลต่อหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจอาจอักเสบโป่งพอง ( coronary aneurysm )  กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ลิ้นหัวใจอักเสบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวมีความอันตรายต่อสุขภาพทำให้เสียชีวิตได้ การตรวจรักษาจึงต้องรักษาอย่างทันท่วงที

การป้องกันโรคคาวาซากิ

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคเนื่องจากโรคนี้ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค การป้องกันโดยรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อเตรียมพร้อมร่างกายเมื่อเกิดโรค จึงเป็นแนวทางที่ดีที่สุด แนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • ป้องกันความเสี่ยงต่างๆที่ทำให้เกิดการติดเชื้อโรค เช่น การสูดดมอากาศ การเกิดแผล การรับประทานอาหาร เป็นต้น
  • ดูแลร่างกายให้แข็งแรง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

หัดญี่ปุ่น หรือ โรคคาวาซากิ โรคที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของโรค อาการสำคัญ คือ ไข้สูง ปากแดง ตาแดง มือเท้าบวมลอก ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต และผื่นตามร่างกาย สามารถหายได้เอง แต่หากไม่ถูกต้องอาจเสียชีวิตได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

หัดญี่ปุ่น คาวาซากิ ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค อาการมีไข้สูง ปากแดง ตาแดง มือเท้าบวมลอก ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต มีผื่นขึ้นตามร่างกาย พบมากในเด็ก สามารถหายได้เองหัดญี่ปุ่น โรคคาวาซากิ โรคเด็ก โรคติดเชื้อ

โรคหัดญี่ปุ่น หรือ โรคคาวาซากิ ภาษาอังกฤษ เรียก Kawasaki disease เป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อ และมักจะเกิดกับเด็กอายุไม่เกิน 4 ปี ผู้ป่วยจะมีไข้สูง เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังและเยื่อบุผิว รวมถึงต่อมน้ำเหลืองที่คอจะโต

สาเหตุของการเกิดโรค

โรคคาวาซากิเกิดจากสาเหตุอะไร โรคนี้ยังไม่สามารถบอกสาเหตุได้อย่างชัดเจน แต่ผู้ป่วยจะมีอาการกระทันหัน ประกอบด้วย มีไข้สูง มีผื่นตามตัว ต่อมน้ำเหลืองโต และตาแดง ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าเกี่ยวกับการติดเชื้อโรคบางอย่าง หรือเป็นโรคเกี่ยวกับภูมิต้านทานผิดปกติ

กลุ่มผู้เสี่ยงเกิดโรคคาวาซากิ

สำหรับผู้เสี่ยงเกิดโรคคาวาซากิ จะเป็นเด็กที่อายุไม่เกิน 5 ขวบ เนื่องจากภูมิต้านทานโรคยังไม่แข็งแรง เท่ากับคนที่มีอายุมากกว่า โดย ในคนอายุ 2 ถึง 3 ขวบ มีอัตราการเกิดโรคมากที่สุด และ เพศชายมีอัตรการเกิดโรค มากกว่าเพศหญิง

อาการของผู้ป่วยโรคคาวาซากิ

สำหรับโรคหัดญี่ปุน หรือ โรคคาวาซากิ สามาถสรุปอาการของผู้ป่วยให้เห็ยชัดมากขึ้น มีดังนี้

  1. มีไข้สูง มีไข้นาน 1-4 สับดาห์
  2. มีอาการตาแดง อาการตาแดงจะเกิดหลังจากผู้ป่วยมีไข้สูงประมาณ 1-2 วันและอาการตาแดงจะเป็นประมาณ 1-2 สัปดาห์
  3. ริมฝีปากแดง แห้ง และริมฝีปากแตก หลังจากนั้นบริเวณลิ้นแดง
  4. ฝ่ามือกับฝ่าเท้าจะมีอาการบวม ไม่มีอาการเจ็บ จากนั้นหนังโคนเล็บจะลอก และลามไปถึงฝ่ามือฝ่าเท้า บางรายถึงขั้นเล็บหลุดเลย
  5. เกิดผื่นตามตัว แขนและขา จะเกิดเมื่อมีไข้แล้ว 2-3 วัน รวมถึงมีอาการคันที่ผื่นด้วย
  6. ที่บริเวณคอ จะมีอาการโต เป็นอาการต่อมน้ำเหลืองที่คอโต

การรักษาอาการของโรคคาวาซากิ

สำหรับการรักษาโรคคาวาซากิ นั้นเนื่องจากโรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง จึงยังไม่มียาที่สามารถรักษา แต่มีการรักษาด้วยการฉีด อิมมูโนโกลบุลิน ( intravenous immunoglobulin, IVIG ) ซึ่งจะสามารถลดความรุนแรง และป้องกันอาการแทรกซ้อนของโรคที่จะมีต่อหัวใจและหลอดเลือดลงได้

โรคคาวาซากิ ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคแน่ชัด ซึ่งอาการของโรคที่สำคัญ คือ มีไข้สูง ปากแดง ตาแดง มือเท้าบวมลอก ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต และ มีผื่นขึ้นตามร่างกาย โดยโรคนี้สามารถหายได้เอง แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น การอักเสบของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจโป่งพองหรืออุดตัน ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ดังนั้น โรคนี้อันตราย หากบุตรหลานของท่านมีอาการเบื่องต้นตามที่กล่าวมา อย่าชะล่าใจ ควรพาไปพบแพทย์เพื่อให้ได้รับตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง

เนื่องจากโรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุ จึงยังไม่มียาเฉพาะใช้รักษาโรค แต่การรักษาด้วยอิมมูโนโกลบุลินชนิดฉีด (intravenous immunoglobulin, IVIG) สามารถลดความรุนแรงและอุบัติการโรคแทรกซ้อนที่หัวใจและหลอดเลือดลงได้ เหลือเพียง 5-7% เท่านั้น การรักษาแบ่งเป็น 2 ระยะ

  • การรักษาในช่วงเฉียบพลัน ให้การรักษาโดยให้ ้ IVIG ขนาด 2 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กก. ร่วมกับรับประทานยาแอสไพริน (aspirin) ขนาด 80-120 มก./กก./วัน
  • การรักษาในช่วงไม่เฉียบพลันและต่อเนื่อง ให้ aspirin ขนาด 3-5 มก./น้ำหนักตัว 1 กก./วัน  รับประทานหลังไข้ลดลงนานประมาณ 2 เดือน  ถ้าผู้ป่วยมีเส้นเลือดโป่งพอง จะต้องให้ติดต่อไปนานจนกว่าเส้นเลือดโป่งพองจะกลับเป็นปกติ บางรายต้องได้รับยานานหลายปี

ในรายที่มีเส้นเลือดโป่งพองขนาดใหญ่มาก เช่น ใหญ่กว่า 8 มม. อาจมีก้อนเลือดอยู่ภายใน หรือสงสัยว่าจะมีลิ่มเลือดอยู่ภายใน จะต้องให้ยาละลายลิ่มเลือดหรือยากันเลือดแข็งตัวร่วมด้วยกิน aspirin โดยให้จนกว่าจะหายหรือขนาดของเส้นเลือดโป่งพองลดลงอยู่ในขนาดที่ปลอดภัยจึงหยุดยากันเลือดแข็งตัว

การป้องกันโรคคาวาซากิ

  • ดูแลร่างกายให้แข็งแรง
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รวมถึงสารอาหารน้ำด้วย และให้ออกกำลังกายตามอายุ พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ในรายที่มีภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือด ส่วนใหญ่ก็ยังใช้ชีวิตได้เกือบปกติ เพียงแต่ต้องได้รับยาบางอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้องมีข้อปฏิบัติ หรือข้อระมัดระวังเพิ่มเติม ตลอดจนการปรับระยะเวลาการให้วัคซีนให้เหมาะสมบ้างในแต่ละรายเท่านั้น อย่างไรก็ตามภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือดเหล่านี้ไม่แสดงอาการให้เห็นจนกว่าจะรุนแรงมากแล้ว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพบกุมารแพทย์โรคหัวใจเป็นระยะๆตามนัดอย่างต่อเนื่อง
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

สมุนไพรช่วยลดไข้

ซึ่งโรคคาวาซากิ ผู้ป่วยจะมีไข้สูง การใช้สมุนไพรช่วยลดไข้ ป้องกันการช็อคของผู้ป่วยได้ดี สมุนไพรช่วยลดไข้ประกอบด้วย

รางจืด สมุนไพร สมุนไพรไทย ไม้ยืนต้นรางจืด
มะระ สมุนไพร พืชรสขม ประโยชน์ของมะระ
มะระ
โสน สะโหน สมุนไพร ดอกโสน
โสน
แตงกวา สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของแตงกวา
แตงกวา
ต้นมะลิ ดอกมะลิ สมุนไพร สมุนไพรไทย
ต้นมะลิ
กระเทียม สมุนไพร สมุนไพรไทย เครื่องเทศ
กระเทียม
ลูกยอ ต้นยอ สมุนไพร สมุนไพรไทย
ยอ
สับปะรด สมุนไพร ผลไม้ ประโยชน์ของสับปะรด
สับปะรด
พริกไทย สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
พริกไทย
ผักโขม สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของผักโขม
ผักโขม
กระเจี๊ยบ สมุนไพร สรรพคุณของกระเจี๊ยบ ประโยชน์ของกระเจี๊ยบ
กระเจี๊ยบ
กระทือ สมุนไพร ประโยชน์ของกระทือ สรรพคุณของกระทือ
กระทือ

โรคหัดญี่ปุ่น โรคคาวาซากิ ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค อาการมีไข้สูง ปากแดง ตาแดง มือเท้าบวมลอก ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต และ มีผื่นขึ้นตามร่างกาย พบมากในเด็ก แนวทางการรักษาอย่างไร โรคนี้สามารถหายได้เอง ต้องระวังภาวะแทรกซ้อนต่างๆ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove