ฝีดาษ ไข้ทรพิษ ไข้หัว ( Smallpox ) โรคติดต่อร้ายแรงที่เกิดจากเชื้อไวรัสวาริโอลา Variola Virus อาการปวดหัว ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ ผื่นขึ้นทั่วตัว รักษาอย่างไรโรคฝีดาษ ไข้ทรพิษ โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

โรคฝีดาษ เกิดขึ้นครั้งแรงใน ปี พ.ศ. 2301 และ สำหรับประเทศไทยมีการระบาดครั้งใหญ่ที่สุดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ชีวิตคนไทยเสียชีวิตจากโรคฝีดาษมากกว่า 15,000 คน โรคฝีดาษถือเป็นโรคติดต่อร้ายแรง หากพบการติดเชื้อต้องมีการแจ้งความต่อหน่วยงานสาธารณสุข แต่ในปัจจุบันโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคได้

สาเหตุของการเกิดโรคฝีดาษ

โรคฝีดาษเกิดจากร่างกายติดเชื้อเชื้อไวรัสวาริโอลา ( Variola Virus ) ซึ่งไวรัสขนิดนี้สามารถติดต่อจากการสัมผัสสารคัดหลั่งของคนที่มีเชื้อโรค ผ่านช่องทางต่างๆ ดังนั้น กลุ่มเสี่ยงต่างๆ เช่น คนใกล้ชิดกับผู้ป่วย การหายใจ สััมผัสละอองสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อการใช้เครื่องนอน เสื้อผ้า หรือผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้ป่วย ล้วนเป็นความเสี่ยงในการติดเชื้อทั้งสิ้น

อาการโรคฝีดาษ

สำหรับโรคฝีดาษ มีระยะฟักตัว 5 – 17 วัน และเริ่มมีผื่นขึ้น 14 วัน หลังจากนั้นจึงจะเห็นอาการของโรคอย่างชัดเจน ลักษณะของอาการจะมีอาการปวดหัว ปวดหลัง ปวดเมื่อยตามตัว มีไข้สูง และหากเกิดในในเด็กจะมีอาการอาเจียน อาการชัก และหมดสติ ด้วย หลังจากนั้นผู้ป่วยโรคฝีดาษมีผื่นแดงแขนและขา ทั่วทั้งตัว โดยจะมีอาการคันมากและผื่นจะกลายเป็นตุ่มขึ้นที่ผิวหนัง จากนั้นแผลจะแห้งและเป็นสะเก็ดใน 2 สัปดาห์ต่อมา ระยะของการเกิดโรคฝีดาษจะแบ่งได้ 3 ระยะ คือ ระยะเริ่มแรก ระยะออกผื่น และ ระยะการติดต่อของโรค ซึ่งแต่ละระยะจะแสดงอาการต่างๆ มีดังนี้

  • ฝีดาษระยะเริ่มแรก อาการในระยะนี้ คือ ปวดศีรษะ ปวดหลัง ปวดตามกล้ามเนื้อแขนขา ไข้ขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว ในเด็กจะมีอาเจียน ชัก และหมดสติ หลังจากนั้นบางรายอาจมีอาการผื่นแดงขึ้นใน 2 วันแรกโดยผื่นขึ้นบริเวณแขนหรือขา
  • ฝีดาษระยะออกผื่น หลังจากมีไข้สูงและแสดงอาการในระยะเริ่มแรกประมาณ 3 ผู้ป่วยจะแสดงอาการผื่นขึ้น ซึ่งผื่นจะเริ่มขึ้นที่หน้า และจะลามไปที่แขน หลัง และขา หลังจากนั้นผื่นจะขึ้นเต็มที่ภายในเวลา 2 วัน และผื่นจะกลายเป็นตุ่มน้ำใส ในวันที่ 5 ตุ่มน้ำใสจะขุ่น ในวันที่ 8 ผื่นจะเริ่มแห้ง และกลายเป็นสะเก็ดในวันที่ 12 ถึง 13 ของการเกิดโรค
  • ฝีดาษระยะติดต่อ การติดต่อของโรคสามารถเกิดได้ตั้งแต่ช่วยสัปดาห์แรกจนถึงระยะแผลแห้งเป็นสะเก็ด

การรักษาโรคฝีดาษ

แนวทางการรักษาโรคฝีดาษ ปัจจุบันนี้ยังยารักาาโรคได้โดยเฉพาะเจาะจง แต่สามารถหายเองได้ ซึ่งแนวทางการรักษาจะใช้การประคับประครองตามอาการของโรค ป้องกันอาการแทรกซ้อนต่างๆที่จะทำให้อาการของโรครุนแรงมากขึ้น หากพบมีผู้ป่วยโรคฝีดาษต้องแยกผู้ป่วยออกจากคนอื่น ให้ผู้ป่วยพักผ่อนมากๆ ดื่มน้ำมากๆ รักษาความสะอาดให้มากที่สุด อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะไม่มียารักษาโรคแต่มีวัคซีนในการป้องกันโรค

ภาวะแทรกซ้อนของโรคฝีดาษ

สำหรับโรคฝีดาษนั้นลักษณะอาการ คือ การติดเชื้อโรคและเกิดแผลตามร่างกาย ซึ่งในช่วงเวลานี้ผู้ป่วยจะมีร่างกายที่อ่อนแอและเกิดแผลที่ร่างกาย จึงเป็นช่องทางในการติดเชื้ออื่นๆร่วม ซึ่งเป็นอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้ ลักษณะของอาการแทรกซ้อนของโรคต่างๆ มีดังนี้

  1. ภาวะแทรกซ้อนทางผิวหนัง อาจจะเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม เมื่อหายแล้วจะมีแผลลึก
  2. ภาวะแทรกซ้อนที่ระบบทางเดินหายใจ เกิดการอักเสบที่กล่องเสียง ทำให้กล่องเสียงบวม เกิดปอดบวมได้บ่อย
  3. ภาวะแทรกซ้อนที่กระดูก เกิดการอักเสบของกระดูกจากเชื้อไวรัสได้บ่อย มักพบในวันที่10-12 ของโรค ในเด็กมักจะเป็นรุนแรงและมีการทำลายของกระดูกและข้อ
  4. ภาวะแทรกซ้อนที่ตา เกิดเยื่อบุตาอักเสบ และการบวมของหนังตา
  5. ภาวะแทรกซ้อนที่ระบบประสาทส่วนกลาง เกิดการอักเสบของสมองในระยะท้ายของโรค

การป้องกันโรคฝีดาษ

แนวทางการป้องกันโรคฝีดาษ ปัจจุบัน สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรค ซี่งหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโรคร่างกายจะสร้างภูมิต้านทางโรคและอยู่ได้ 3 – 5 ปี หากได้รับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันจะอยู่นานขึ้น การปลูกฝีจะใช้เข็มซึ่งมีเชื้อโรคอยู่ ทำให้ผิวหนังเกิดแผลเชื้อจะเข้าสู่แผล

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

ไวรัสอีโบลา ( Ebola ) การติดเชื้อไวรัสอีโบลา โรคติดต่ออันตราย อาการมีไข้ เจ็บคอ ปวดหัว ปวดตัว คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ยังไม่มียารักษาโรค การป้องกันทำอย่างไร

ไวรัสอีโลบ่า ไข้เลือดออกอีโบล่า โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

ไวรัสอีโบลา ปรากฏตัวครั้งแรกในปี ค. ศ. 1976 ในประเทศซูดานใต้ และ สาธารณะรัฐประชาธิปไตยคองโก รวมถึงในหมู่บ้านที่ตั้งอยู้ใกล้กับแม่นํ้าอโบลา จึงตั้งชื่อไวรัสว่า อีโบล่า ซึ่งโรคในเวลาต่อมายังปรากฎให้เห็นเป็นระยะๆ ซึ่งมีรายงานยืนยันว่า มีการระบาดของโรคไขเลือดออกอีโบลา ( EVD ) ในแอฟริกาใต้  การระบาดของโรคอีโบลาเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 2014 การโรคระบาดที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่พบเชื้อไวรัสอีโบล่า เหตุการณ์ครั้งนั้น มีผู้ป่วยรวมกันถึง 28,646 คน เสียชีวิตถึง 11,323 คน และได้พบผู้ป่วยนอกทวีปแอฟริกา รวมทั้งมีการนำผู้ป่วย ซึ่งเป็นบุคลากรทางการแพทย์กลับไปรักษาเช่น ที่สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร  แต่ก็โชคดีที่สามารถควบคุมโรคได้

สำหรับประเทศไทย ได้ประกาศให้ โรคไวรัสอีโบลา เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ 2558 เนื่องจาก โรคนี้จะส่งผลกระทบต่อประเทศได้มาก หากเกิดการระบาด กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับโรคนี้ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน

เชื้อไวรัสอีโบลา ( Ebola ) คือ ไวรัสที่เกิดขึ้นในสัตว์ป่า สามารถติดต่อสู่คนได้ เป็นโรค ที่เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ โรคติดต่อ ชนิดหนึ่ง ยังไม่มียารักษาได้ อัตราการเสียชีวิตสูง ดังนั้นการป้องกันจึงดีที่สุด โรคไวรัสอีโบลา หรือ ไข้เลือดออกอีโบลา เป็น โรคติดต่อ ที่เกิดจากไวรัสอีโบลา โดยจะเริ่มมีอาการป่วย ภายในสามสัปดาห์หลังจากได้รับเชื้อโรค อาการจะมีไข้ เจ็บคอ ปวดหัวและปวดกล้ามเนื้อ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนและท้องร่วง ส่งผลใด้การทำงานของตับและไตลดลง

สาเหตุของการติดเชื้ออีโบล่า

สำหรับสาเหตุของการติดเชื้อไวรัสอีโบลา เกิดจากเชื้อไวรัสอีโบล่าในลิงซิมแปนซี ซึ่งสามารถติดสู่คนได้จากการสัมผัส สารคัดหลั่งจากสัตว์ชนิดนี้ และการรับประทานสัตว์ป่าที่ไม่ถูกสุขอนามัย โดยเชื้อไวรัสอีโลบ่าจะอยู่ในสารคัดหลั่งของสัตว์หรือคนที่มีเชื้อไวรัสอีโบล่า ซึ่งปัจจัยเสียงการติดเชื้อไวรัสอีโบล่า โดยปรกติแล้วอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งความเสี่ยงอาจเพิ่มมากขึ้นหากมีปัจจัยต่างๆเหล่านี้มาประกอบ ซึ่งปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อการติดเชื้อไวรัสอีโบล่า มีดังนี้

  • การเดินทางไปใกล้แหล่งที่มีเชื้อโรคอีโบล่าระบาดอยู่แล้ว
  • กลุ่มคนที่การสำรวจและวิจัยเกี่ยวกับโรคนี้
  • การสัมผัสศพ หรือ ผู้มีเชื้อโรค
  • การรับประทานอาหารที่ไม่สุก

อาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสอีโบล่า

สำหรับจะมีอาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้ออีโบล่านั้น จะมีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ  ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ท้องร่วง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ถ่ายเป็นเลือด ตาแดง มีผื่นนูน ไอ เจ็บหน้าอก จุกแน่นบริเวณกระเพาะอาหาร เลือดออกทางจมูก ปาก หู ตา อาการของโรคไวรัสอีโบลา จะเริ่มแสดงอาการภายใน 2 ถึง 21 วัน หลังจากการรับเชื้อไวรัสอีโบลา เข้าสู่ร่างกาย โดยสามารถสรุปอาการได้ดังนี้

  • มีไข้สูง
  • ปวดหัวอย่างรุนแรง
  • มีอาการเหนื่อยล้า
  • ปวดตามข้อและกล้ามเนื้อ
  • มีอาการเจ็บคอ
  • ท้องเสีย
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ปวดท้อง
  • เบื่ออาหาร
  • มีรอยช้ำ และเหมือนมีเลือดออกโดยไม่ทราบสาเหตุ

อาการของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา นั้นเหมือนโรคไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้สูง ปวดตามกล้ามเนื้อ เจ็บคอ แต่แต่อาการของโรคอีโบลาจะปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย และอาการเลือดไหลโดยไม่ทราบสาเหตุ รวมอยูด้วย

แนวทางการวินิจฉัยโรคไวรัสอีโบล่า

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคอีโบลา แพทย์จะสังเกตุและสอบถามจากประวัติของผู้ป่วย ลักษณะของอาการโรคเบื้องต้น และ ตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อไวรัส

การรักษาผู้ป่วยจากการติดเชื้อไวรัสอีโบล่า

สำหรับการรักษาโรคไวรัสอีโบล่าในปัจจุบันยังไม่ยาที่สามารถรักษาโรคได้ สิ่งที่สามารถทำได้ คือ การประคับประครองตามอาการของโรค เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ให้น้ำเกลือเพื่อให้ผู้ป่วยมีแรง รักษาระดับความดันเลือดและอ็อกซิเจนในร่างกาย  เฝ้าระวังอาการแทรกซ้อน เช่น อวัยวะล้มเหลว เลือดออกอย่างรุนแรง อาการดีซ่าน อาการชัก หมดสติ อาการตับอักเสบ ตาอักเสบ อัณฑะอักเสบ เป็นต้น

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสอีโบลา

การป้องกันโรคระบาดจากการติดเชื้อไวรัสอีโบล่า เนื่องจากยังไม่มียารักษาโรคนี้ การหลีกเลี่ยงการติดเชื้อโรคเป็นสิ่งที่ควรกระทำที่สุด โดยการป้องกันการติดเชื้อไวรัสอีโบลา มีรายละเอียดดังนี้

  • หลีกเลี่ยงเดินทางหรือไปท่องเที่ยวในพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อโรค
  • ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ
  • ไม่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีความเสี่ยงการติเชื้อโรค
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยที่ติดเชื้อ
  • ล้างอาหารให้สะอาด และ ปรุงอาหารที่สุก รวมถึงหลีกเลี่ยงการกินอาหารป่า
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อโรค เช่น น้ำเหลือง เลือด น้ำลาย น้ำจากช่องคลอด เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกับผู้ติดเชื้อ เช่น เสื้อผ้า ผ้าคลุมเตียง เข็ม อุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น
  • สำหรับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ต้องสวมถุงมือ หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove