โรคตาแดง conjuntiva เยื่อบุตาอักเสบ มี 2 แบบ ตาแดงเฉียบพลัน และ ตาแดงเรื้อรัง เกิดจากอาการป่วยไข้ อดนอน ร้องไห้อย่างหนัก การไออย่างรุนแรง การขยี้ตา รักษาอย่างไรโรคตาแดง ดวงตาอักเสบ โรคตา โรคติดต่อ

โรคตาแดงเป็นโรคตาชนิดหนึ่ง เกิดจากเยื่อบุตาอักเสบ ( conjuntiva ) โรคตาแดงที่พบมี 2 แบบ คือ โรคตาแดงเฉียบพลัน และ โรคตาแดงแบบเรื่อรัง โรคตาแดง คือ ภาวะตาขาวเป็นสีแดงผิดปรกติ ซึ่งมีสาเหตุของการเกิดโรคหลายสาเหตุ เช่น อาการป่วยไข้  อดนอน ร้องไห้อย่างหนัก การไออย่างรุนแรง การขยี้ตา เป็นต้น สาเหตุที่ทำให้อาการต่างๆเหล่านี้ ส่งผลให้เกิดอาการตาแดง คือ เยื่อตา บริเวณตาขาว เกิดการอักเสบ จากการติดเชื้อโรค

สาเหตุของโรคตาแดง

สาเหตุของภาวะตาแดง เกิดจากปัจจัยต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น โดยสาเหตุที่ทำให้เยื้อตาอักเสบ คือ เกิดจากติดเชื้อ แต่เชื้อเหล่านี้ร่างกายสามารถรักษาตัวเองได้ และจะหายไปเองภายใน 14 วัน  ส่วนสาเหตุอื่นๆ เช่น การเป็นหวัด การใช้ยาหยอดตา การใช้น้ำตาเทียม การใช้เครื่องสำอาง โรคประจำตัว ยาที่ใช้อยู่ประจำ ทำให้เกิดการติดเชื้อไวรัส

อาการของโรคตาแดง

สำหรับอาการของโรคตาแดง  อาการที่เห็นชัด คือ คันตา ขี้ตาใสเหมือนน้ำตา ขี้ตาเป็นเมือกขาว ขี้ตาเป็นหนอง ตาแดง หากพบว่าตาเป็นสีแดง มีอาการคัน และมีขี้ตาลักษณะดังกล่าวมาในข้างต้น สันนิฐานได้เลยว่าเป็นตาแดง โดยเราจะแยกอาการของการเกิดโรคตาแดงเป็นข้อๆ เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษา ดังนี้

  • อาการคันที่ตา ซี่งมักจะเกิดจากการเกิดโรคภูมิแพ้ โดยการคันตานั้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอาการแพ้ว่าจะมากหรือน้อย  และ สาเหตุหนึ่งของอาการคันตาที่ไม่ใช่สาเหตุของภูมิแพ้ จะเกิดจาก โรคหอบหืด หรือ อาการผื่นคัน
  • ขี้ตามีลักษณะใส จะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือ โรคภูมิแพ้
  • ขี้ตามีลักษณะเป็นเมือกขาว จะเกิดจากตาแห้ง หรือ อาการของโรคภูมิแพ้
  • ขี้ตามีลักษณะเป็นหนอง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • อาการตาแดงที่เกิดขึ้นกับตาทั้ง 2 ข้าง หรือ ข้างใดข้างหนึ่ง ลักษณะอาการเช่นนี้จะเกิดกับอาการของโรคภูมิแพ้
  • อาการปวดตา หรือ มีอาการสายตาสู้แสงแดดจ้าไม่ได้ เป็นอาการตาแดงที่มีสาเหตุจากโรคอื่นๆ เช่น โรคต้อหิน อาการม่านตาอักเสบ เป็นต้น หากพบว่ามีอาการปวดที่ตา ให้รีบพบแพทย์ด่วน
  • อาการสายตาพล่ามัว หากแม้ว่ากระพริบตาแล้วก็ยังมัวอยู่ โรคตาแดงมักจะเห็นปกติหากมีอาการตามัวร่วมกับตาแดงต้องปรึกษาแพทย์

การรักษาโรคตาแดง

สำหรับโรคตาแดง นั้นโดยปรกติแล้วร่างกายจะรักษาตัวเอง อาการตาแดงจะหายไปได้เองภายใน 1 – 2 สัปดาห์ หากไม่มีปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคตาแดงมากระทบซ้ำ โดยแนวทางในการรักษาโรคตาแดง มีดังนี้

  1. ในกรณีโรคตาแดงที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อเชื้อแบคทีเรีย จะใช้ยาปฏิชีวนะ ประกอบด้วย ยาหยอดตา หรืออาจจะมียาป้ายตา ในผู้ป่วยบางรายอาจต้องยาแบบฉีดและรักปรทานร่วมด้วย
  2. ในกรณีโรคตาแดงที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อเชื้อไวรัส จะใช้ยาต้านไวรัส และให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดอาการคัน ยาแก้ปวด ส่วนมากการตาแดงจากเชื้อไวรัสมักจะหายได้เอง
  3. ในกรณีเป็นโรคตาแดงที่มีสาเหตุจากโรคภูมิแพ้ แนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้

การป้องกันโรคตาแดง

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคตาแดง ให้รักษาสุขภาพให้แข็งแรง และ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ทำให้เกิดอาการอักเสบหรือ  ระคายเคืองที่เยือตา โดยเราได้แยกออกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

  1. ไม่ควรใช้เครื่องสำอาง ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ร่วมกับผู้อื่น
  2. ล้างมือให้บ่อย
  3. ใส่แว่นป้องกันในการทำกิจกรรมต่างๆที่จะมีสารมาระคายเคืองดวงตา
  4. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคตาแดง
  5. อย่าใช้ยาหยอดตาของผู้อื่น
  6. อย่าว่ายน้ำในสระที่ไม่ได้ใส่คลอรีน
  7. อย่าสัมผัสมือ ของผู้ป่วยโรคตาแดง

สมุนไพรบำรุงสายตา ประกอบด้วย พืช ผัก ต้นไม้ ที่มีวิตามินเอ สูง สามารถช่วยบำรุงสายตาได้ดี มีดังนี้

ตำลึง สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ตำลึง
ชะพลู สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชล้มลุกชะพลู
ขมิ้น สมุนไพร สมุนไพรไทย
ขมิ้น
อัญชัน สมุนไพร ดอกอัญชัน ประโยชน์ของอัญชัน
อัญชัน
เสาวรส สมุนไพร ผลไม้ ประโยชน์ของเสาวรส
เสาวรส
ฟักทอง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของฟักทอง
ฟักทอง
มะรุม สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของมะรุม
มะรุม
ชะอม สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ชะอม

โรคตาแดง ( conjuntiva ) เกิดจากเยื่อบุตาอักเสบ มี 2 แบบ คือ โรคตาแดงเฉียบพลัน และ โรคตาแดงแบบเรื่อรัง วิธีรักษาโรคตาแดง สาเหตุของการเกิดโรค เช่น อาการป่วยไข้ อดนอน ร้องไห้อย่างหนัก การไออย่างรุนแรง การขยี้ตา เป็นต้น

 

ต้อหิน Glaucoma ขั้วประสาทตาเสื่อม ส่งผลต่อสายตา อาการปวดตา สายตาพล่ามัว ตาแดง ปวดหัวจนอาเจียน ทำตาบอดได้ ปัจจัยสำคัญคือความดันตาสูง หินเฉียบพลัน ต้อหินเรื้อรังต้อหิน โรคตา โรคไม่ติดต่อ รักษาตาต้อ

โรคต้อหิน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรคความดันตาสูง โรคนี้ภาษาอังกฤษ เรียก Glaucoma การเกิดนั้นต้อหินไม่จำเป็นต้องมีความดันตาสูงเสมอไป เราจึงอาจเรียกดรคนี้ว่าเป็น โรคตา โรคซึ่งมีการทำลายเซลล์ประสาทตาในจอตา ( Retinal ganglion cell ) ต้อหิน เป็นโรคที่เซลล์ประสาทในจอตาถูกทำลายจนตายไปเรื่อยๆ และทำให้ลาน สายตาผิดปกติ ขั้วประสาทตา ที่เป็นศูนย์ทรวมของใยประสาทตาถูกทำลาย เป็นรอย จนเป็นผลให้สูญเสียการมองเห็น

ต้อหิน เป็นเกี่ยวกับดวงตา โรคที่เซลล์ประสาทจอตาตายไปเรื่อยๆ ทำให้ลานสายตาผิดปกติ เกิดเป็นรอย หวำกว้างที่ขั้วประสาทตา  ส่งผลทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็น ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคต้อหิน ประกอบด้วย

  • ความดันลูกตา การที่ความดันตาสูงขึ้นจำทำเกิดต้อหิน
  • อายุ ที่มากขึ้นทำให้เกิดการเสื่อมตามวัย
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • โรคที่เกี่ยวกับเลือดที่ไปเลี้ยงจอประสาทตา เช่น โรคหลอดเลือดแดงแข็ง เป็นต้น

ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดโรคต้อหินมีอะไรบ้าง ความดันตาสูง อายุมาก กรรมพันธุ์ โรคต่างๆที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงจอประสาทตาลดลง เช่น โรคหลอดเลือดแดงแข็ง โดยส่วนมากแล้ว ต้อหินมีสาเหตุมาจากความดันลูกตาสูงผิดปกติ เราสังเกตุได้จาก เมื่อเราคลำดวงตาจากภายนอก “ลูกตาแข็ง” ซึ่งหลายคน เข้าใจผิดว่า โรคต้อหินมีเศษหิน อยู่ในตา ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด

ชนิดของต้อหิน

การแบ่งชนิดของต้อหิน นั้น สามารถแบ่งได้ 4 ชนิด โดยแบ่งตามสาเหตุของการเกิดโรค รายละเอียดประกอบด้วย

  • ต้อหินปฐมภูมิ เรียก Primary glaucoma ต้อหินปฐมภูมิ เป็นต้อหินที่ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค แต่จะพบในผู้สูงอายุและมีโอกาสเป็นมากขึ้น ต้อหินชนิดนี้อาจจำแนกตามอาการออกได้เป็นชนิดย่อยๆ คือ ต้อหินชนิดเฉียบพลัน และ ต้อหินชนิเรื้อรัง
    • ต้อหินเฉียบพลัน เรียก Acute glaucoma คือ การเกิดต้อหิน อย่างรวดร็ว ภายใน 2 วัน โดยอาการจะรุนแรง มีอาการ ปวดตา ตามัว ตาแดง หากรักษาไม่ทัน อาจทำให้ตาบอดได้
    • ต้อหินเรื้อรัง เรียก Chronic glaucoma
  • ต้อหินทุติยภูมิ เรียก Secondary glaucoma ต้อหินทุติยภูมิ จำเป็นต้องรักษาจากต้นเหตุของการเกิดโรค เพื่อป้องกันการแพร่กระจาย แต่ถ้ารักษาช้าเกิดไป อาจส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อน ทางตาอื่นๆตามมา
  • ต้อหินแต่กำเนิด เรียก Congenital glaucoma  ต้อหินแต่กำเนิด และ ต้อหินในเด็ก นั้นเกิดจากพัฒนาการภายในลูกตาของเก็กผิดปกติ ความดันตาจะสูงมาก ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดา
  • ภาวะสงสัยต้อหิน เรียก Glaucoma suspect เป็นภาวะที่พบในผู้ป่วยบางราย ที่มีอาการบางอย่างเหมือนต้อหินเรื้อรัง แต่อาการไม่ครบ ภาวะสงสัยต้อหิน แพทย์จะต้องติดตามดูแลผู้ป่วยในระยะยาว

อาการของโรคต้อหิน เราสามารถแบ่งโรคต้อหินได้เป็น 2 ชนิด คือ ต้อหินเฉียบพลัน และ ต้อหินเรื้อรัง ต้อหินชนิดต่างๆมีรายละเอียดอย่างไร ดูได้จากข้อความด้านล่าง

  • โรคต้อหิน ชนิดต้อหินเฉียบพลัน ผู้ป่วยต้อหินจะมีอาการ 3 ประการอย่างกระทันหัน คือ ปวดตา ตามัว ตาแดง สายตามัวมากจนถึงขั้นเห็นหน้าไม่ชัดเลย ปวดตามาก ในผู้ป่วยบางท่านถึงขั้นปวดหัวมาก จนอาเจียน หากอาการเป้นอย่างนี้ให้พบหมอทันที
  • โรคต้อหิน ชนิดต้อหินเรื้อรัง ผู้ป่วยในระยะแรกจะไม่รู้สึกว่า ตามัวและปวดตา แต่การมองเห็นภาพด้านข้างจะแคบลง ผู้ป่วยจะรู้สึกไม่สบายสายตา ทำให้ใช้สายตาได้ไม่นาน อาการแบบนี้ผุ้ป่วยทั่วไปมักเข้าใจว่าเป็นอาการเสื่อมของสายตาตามอายุ อาการของต้อหินเรื้อรังนี้ความดันตาจะค่อยสูงขึ้น วินิจฉัยยาก ต้องรอจนอาการเด่นชันถึงรู้ว่าเป็นต้อหิน

การรักษาโรคต้อหิน

การรักษาต้อหินในปัจจุบัน สามารถทำการรักษาได้ด้วยการใช้ยารักษาโรค การใช้แสงเลเซอร์และ การผ่าตัด

สามารถทำได้โดย ทานยาลดความดันตา เช่น Pilocarpine, Aceta zolamide และการยิงเลเซอร์ซึ่งแพทย์จะยิงเลเซอร์ให้เกิดรูที่ม่านตา ทำให้การไหลเวียนของน้ำในลูกตาไหลได้คล่องมากขึ้น ซึ่งมีผลให้ความดันตา จะลดลงสู่ภาวะปกติ
การรักษาต้อหิน เนื่องจากโรคต้อหินเส้นประสาทตาจะถูกทำลายอย่างถาวร การรักษาจึงเป็นการประคับประคองเพื่อให้ประสาทตาไม่ถูกทำลายมากขึ้นและเพื่อคงการมองเห็นที่มีอยู่ให้นานที่สุด ทั้งนี้การรักษาจะขึ้นกับชนิดและระยะของโรค

  • การรักษาด้วยยา เพื่อลดความดันตาให้อยู่ในภาวะปลอดภัยต่อประสาทตา ปัจจุบันยารักษาต้อหินมีหลายกลุ่ม ทั้งยาหยอด ที่มีฤทธิ์ลดการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา การรักษาด้วยยานั้นจำเป็นต้องหยอดยาอย่างสม่ำเสมอ และพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อประเมินผลการรักษาอย่างถูกต้อง
  • การใช้เลเซอร์ในการรักษา นั้นขึ้นอยู่กับชนิของต้อหินที่เกิดขึ้นรวมถึงระยะของการเกิดโรคด้วย
    • Selective laser trabeculoplasty ( SLT ) เพื่อรักษาต้อหินมุมเปิด จะใช้วิธีนี้รักษาหากการใช้ยาหยอดตาแล้วได้ผล
    • Laser peripheral iridotomy (LPI) เพื่อใช้รักษาต้อหินมุมปิด
    • Argon laser peripheral iridoplasty (ALPI) สำหรับการรักษาชนิดนี้จะใช้รักษาร่วมกับ Laser peripheral iridotomy (LPI)
    • Laser cyclophotocoagulation จะใช้การรักษาชนิดนี้สำหรับการรักษาในกรณีอื่นไม่ได้ผล
  • การผ่าตัด ใช้รักษาผู้ป่วยที่การรักษาด้วยยาหรือเลเซอร์ไม่สามารถควบคุมความดันตาได้
    • Trabeculectomy เป็นการผ่าตัดทำทางระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาเพื่อลดความดันตา
    • Aqueous shunt surgery เป็นการผ่าตัดด้วยการใส่ท่อระบายเพื่อลดความดันตา

การป้องกันโรคต้อหิน

การป้องกันการเกิดโรคต้อหินนั้น ต้องแยกการป้องกันการเกิดต้อหินชนิดเฉียบพลัน และ ชนิดเรื้อรัง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • การป้องกันต้อหินเฉียบพลัน หากแพทย์ตรวจสุขภาพตาแล้วพบว่า ช่องด้านหน้าลูกตาแคบ จะมีโอกาสการเกิดต้อหินเฉียบพลันได้ ต้องทำการใช้แสงเลเซอร์เจาะรูที่ม่านตา
  • การป้องกันการเกิดต้อหินเรื้อรัง ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันที่ชัดเจนนัก เพราะผู้ป่วยมักไม่มีการแสดงอาการ แต่สามารถทำได้ด้วยการ ตรวจคัดกรองภาวะความเสี่ยงของการเกิดโรค เช่น ประวัติของการเกิดต้อหินของคนในครอบครัว ภาวะความดันตา และ โรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือด เป็นต้น

สมุนไพรบำรุงสายตา ประกอบด้วย พืช ผัก ต้นไม้ ที่มีวิตามินเอ สูง สามารถช่วยบำรุงสายตาได้ดี มีดังนี้

มะละกอ สมุนไพร สมุนไพรไทย ผลไม้
มะละกอ
ผักบุ้ง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของผักบุ้ง ผักบุ้ง
ปอผี สมุนไพร ผักกระเดียง สรรพคุณของปอผี
ปอผี
ผักกระเดียง
มะนาว สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของมะนาวมะนาว
ตำลึง สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ตำลึง
ชะพลู สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชล้มลุกชะพลู
ขมิ้น สมุนไพร สมุนไพรไทย
ขมิ้น
อัญชัน สมุนไพร ดอกอัญชัน ประโยชน์ของอัญชัน
อัญชัน
เสาวรส สมุนไพร ผลไม้ ประโยชน์ของเสาวรส
เสาวรส

โรคต้อหิน ( Glaucoma ) คือ โรคขั้วประสาทตาเสื่อม ส่งผลตากการมองเห็น อาการโรคต้อหิน คือ ปวดตา สายตาพล่ามัว ตาแดง ปวดหัวมากจนอาเจียน โรคนี้เป็นสาเหตุที่ทำตาบอดได้ ปัจจัยสำคัญของการเกิดต้อหิน คือ ความดันตาสูง โรคต้อหินชนิดเฉียบพลัน โรคต้อหินชนิดเรื้อรัง ภาวะต้อหินรักษาอย่างไร เมื่อเป็นต้อหินต้องทำอย่างไร ต้อหินเกิดจากอะไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove