กลุ่มอาการคุชชิง ( Cushing syndrome ) เกิดจากฮอร์โมน Glucocorticoid สูงกว่าปรกติ ทำให้หน้าบวมคล้ายพระจันทร์ มีก้อนไขมันที่หลังคอ ปัสสาวะบ่อย นอนไม่หลับ ผิวแห้งโรคคุชชิง กลุ่มอาการคุชชิง อาการหน้าบวม โรคไม่ติดต่อ

โรคคุชชิง หรือ กลุ่มอาการคุชชิง ภาษาอังกฤษ เรียก Cushing syndrome  เป็นโรคต่อมไร้ท่อ เกิจากความผิดปรกติของต่อมใต้สมอง ลักษณะเด่นของโรคนี้ คือ อาการบวมของใบหน้าคล้ายพระจันทร์ เป็นอาการของโรคที่เกิดจากการมีฮอร์โมน Glucocorticoid มากเกินไป ชึ่งเกิดจากการได้รับฮอร์โมนจากภายนอกร่างกาย

Glucocorticoid เรียกย่อๆว่า GC เป็นฮอร์โมนสเตียรอยด์สร้างจากต่อมหมวกไต อยู่ภายใต้การควบคุมของฮอร์โมน ACTH ภาษาอังกฤษ เรียก Adrenocorticotropic hormone ที่ถูกสร้างด้วยต่อมใต้สมอง ซึ่งฮอร์โมน ACTH มีหย้าที่ในการควบคุมการสร้างฮอร์โมน Glucocorticoid

โดยฮอร์โมน Glucocorticoid เป็น ฮอร์โมนที่มีความสัมพันธ์กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย เกี่ยวข้องกับการรักษาความสมดุลของน้ำและเกลือแร่ ต่างๆในร่างกาย เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของมนุษย์ โดยเฉพาะเด็ก รวมถึงการสร้าง ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายมนุษย์ด้วย การผิดปรกติของฮอร์โมน Glucocorticoid เป็นโรคกลุ่มอาการคุชชิง

หากกล่าวถึง โรคคุชชิง แล้ว โรคนี้พบครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยศลัยแพทย์ด้านระบบประสาท ชื่อ ฮาร์เวย คุชชิง เมื่อปี พ.ศ. 2475 พบร่างกายผิดปรกติจากภาวะฮอร์โมน Clucocorticoid ในร่างกายสูงเกินไป โรคนี้พบได้ไม่บ่อย ซึ่งสามารถพบได้ในคนช่วงอายุ 20 ถึง 50 ปี และพบว่าผู้หญิงมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมากกว่าผู้ชาย

สาเหตุของการเกิดโรค กลุ่มอาการคุชชิง

พบว่า สาเหตุหลักของการเกิดโรค นี้ คือ ฮอร์โมน Glucocorticoid ในร่างกายสูงกว่าปรกติ ซึ่งสามารถแยกสาเหตุของโรคเป็น 2 เหตุหลักๆ คือ การสร้างฮอร์โมนในร่างกายผิดปรกติ และการได้รับฮอร์โมนมากกว่าปรกติ ซึ่งรายละเอียดของสาเหตุ สามารถอธิบายได้ดังนี้

  1. สาเหตุจากร่างกายสร้างฮอร์โมน Glucocorticoid มากกว่าปกติ ซึ่งทางการแพทย์พบว่า เกิดจากความผิดปรกติของต่อมไร้ท่อ ที่ต่อมหมวกไต เช่น การเกิดเนื้องอก หรือ มะเร็งที่ต่อมใต้สมอง หรือ มะเร็งที่ต่อมไทรอยด์ ชนิด Medullary carcinoma สาเหตุของโรคคิชชิง จากการสร้างฮอร์โมนมากผิดปรกติ พบได้น้อย และโอกาสเสี่ยงของการเกิดพบว่า ผู้หญิงมีดอกาสเป็นมากกว่าผู้ชายถึง 6 เท่า
  2. สาเหตุของโรคจากการได้รับฮอร์โมน Glucocorticoid จากภายนอกร่างกาย ซึ่งสาเหตุของการได้รับฮอร์โมนเข้าสู่ร่างกาย เกิดจากการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ เพื่อใช้ในการรักษาโรคบางชนิด เช่น โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคออโตอิมมูน เป้นต้น

กลุ่มของผู้ที่มีความเสี่ยงของการเกิดโรคกลุ่มคุชชิง คือ ผู้ที่ได้รับยาสเตียรอยด์ ที่ใช้ในการรักษาโรค เช่น โรคหืดหอบ โรคออโตอิมมูน

อาการของโรคกลุ่มอาการคุชชิง

อาการของโรคนี้สามารถแบ่งอาการของโรค ได้เป็น 2 ส่วน คือ ลักษณะอาการทั่วไป และลักษณะอาการที่เป็นเฉพาะที่ รายละเอียดของอาการกลุ่มโรคคุชชิง มีรายละเอียดดังนี้

  1. ลักษณะอาการทั่วไป เป็นอาการที่เกิดจากฮอร์โมนClucocorticoid ที่มีผลต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ เช่น หิวบ่อย กินมากขึ้น ใบหน้าบวมพระจันทร์เต็มดวง อ้วนบริเวณไหปลาร้า มีพุง แต่แขนขาลีบ มีก้อนไขมันที่ด้านหลังคอ ปัสสาวะมาก ปัสสาวะบ่อย นอนไม่หลับ ผิวหนังแห้ง ผิวหนังบาง ผิวหนังแตกง่าย เป็นแผลง่าย แผลหายยาก ความดันโลหิตสูง ค่าน้ำตาลในเลือดสูง เป็นเบาหวาน มีภาวะกระดูกพรุน กระดูกหักง่าย ต้นแขน ต้นขา ลีบและอ่อนแรง ระบบสมองแปรปรวน ซึมเศร้า ประจำเดือนมาไม่ปกติ ขนดก ความรู้สึกทางเพศลดลง ติดเชื้อโรคง่าย ลักษณะอาการทั่วป แต่ส่งผลกับระบบในร่างกายทุกส่วน
  2. ลักษณะอาการเฉพาะที่ เป็นลักษณะของอาการเนื้องอกที่ต่อมใต้สมองหรือ ต่อมหมวกไต ทำให้มีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง มีความผิดปกติเรื่องการมองเห็นภาพ

การวินิจฉัยโรคกลุ่มอาการคุชชิง

สามารถทำได้โดยการ การตรวจร่างกาย การตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ การตรวจน้ำลาย เพื่อดูระดับฮอร์โมนGlucorticoid ในร่างกาย นอกจากนั้น การตรวจชิ้นเนื้อ การตรวจช่องท้อง และการเอ็กซ์เรยสมอง เพื่อดูหาเนื้อร้าย เป็นต้น

การรักษาโรคกลุ่มอาการคุชชิง

การรักษาโรคนี้ สามารถทำการรักษาโดยการปรับลดระดับออร์โมนที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค และการประคับประคอบอาการแทรกซ้อนที่เป็นผลจากการมีฮอร์โมนมากเกินไป รายละเอียด ดังนี้

  1. การปรับลดระดับฮอร์โมน Clucocorticoid โดยการให้หยุดยากลุ่มสเตียรอยด์ แต่ให้ลดปริมาณยาทีละน้อย ห้ามลดโดยการเลิกยาแบบกระทันหัน อาจเกิดอาการขาดยาได้ เรียกอาการขาดยา ว่า Adrenal crisis ซึ่งลักษณะของอาการขาดยา คือ ไข้สูง เหงื่อออก ปวดท้อง ท้องเสีย หัวใจเต้นเร็ว คลื่นไส้ อาเจียน ความดันโลหิตต่ำ อ่อนเพลียมาก ต้องรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที เนื่องจากอันตรายถึงเสียชีวิตได้
  2. การรักษาอาการจากความผิดปรกติของออร์โมน Glucocorticoid สูงกว่าปรกติ สามารถทำการรักษาโดย การผ่าตัด เนื้องอกหรือเซล์มะเร็ง ที่เป็นสาเหตุของโรค เช่น มะเร็งปอด เนื้องอกต่อมหมวกไต เนื้องอกต่อมใต้สมอง แต่การฝ่าตัดเนื้อร้ายออกจะทำให้เกิดอาการ Adrenal crisis ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
  3. การรักษาโดยประคับประคองตามอาการ เช่น การลดน้ำตาลในเลือด การลดความดันโลหิต เป็นต้น

การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคกลุ่มอาการคุชชิง

โดยปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์ กินยาให้ครบและถูกต้อง รักษาสุขอนามัย ควบคุมอาหาร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ระวังการเกิดอุบัตติเหตุจากการกระแทกอย่างรุนแรง

การป้องกันโรคกลุ่มอาการคุชชิง

สามารถทำได้โดย ไม่ซื้อยากลุ่มสเตียรอยด์มาใช้เอง การป้องกันเราสามารถป้องกันโรคจากสาเหตุภายนอกเท่านั้น ส่วนสาเหตุอื่นๆป้องกันได้ยาก

โรคคุชชิง กลุ่มอาการคุชชิง ( Cushing syndrome ) เกิดจากฮอร์โมน Glucocorticoid สูงกว่าปรกติ ความผิดปรกติของต่อมใต้สมอง ส่งผลให้เกิดอาการบวมของใบหน้าคล้ายพระจันทร์ อ้วนบริเวณไหปลาร้า มีพุงแต่แขนขาลีบ มีก้อนไขมันที่หลังคอ ปัสสาวะมาก ปัสสาวะบ่อย นอนไม่หลับ ผิวหนังแห้ง เป็นแผลง่าย ความดันโลหิตสูง มีภาวะกระดูกพรุน

กลุ่มอาการซีแฮน ต่อมใต้สมองขาดเลือดทำให้ฮอร์โมนน้อย มักเกิดกับสตรีหลังคลอดลูก เสียเลือดมาก ทำให้น้ำนมไม่ไหล ไม่มีประจำเดือน ผมร่วง เหนื่อยอ่อนเพลีย เบื่ออาหารกลุ่มอาการซีแฮน โรคต่อมใต้สมอง โรคต่อมไร้ท่อ ภาวะขาดฮอร์โมนหลังจากคลอดลูก

โรคซีแฮน หรือ โรคกลุ่มอาการชีแฮน ภาษาอังกฤษ เรียก Sheehan Syndrome เกิดจากการที่ ต่อมใต้สมองรขาดเลือด ไปเลี้ยงสมองอย่างเฉียบพลัน ทำให้ ต่อมใต้สมอง เกิดการ ทำงานผิดปรกติ มักจะเกิดกับสตรีที่ เสียเลือดมากหลังจากการคลอดลูก การเสียเลือดมาก เป็นภาวะที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็น โรคกลุ่มอาการซีแฮน การเสียเลือด จำนวนมากจะ ทำให้ผู้ป่วยช็อก ทำให้ ความดันเลือดต่ำลง ทำให้ เลือดไปไม่ถึงสมอง และส่วนต่างๆของร่างกาย ต่อมใต้สมอง ก็จะเกิดผลกระทบจากการที่ เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ  ซึ่ง ต่อมใต้สมอง ใช้ ผลิตฮอร์โมน หลายชนิด เช่น ฮอร์โมนเพศ ( Follicular stimulating hormone / FSH , Lutienizing hormone / LH ) ฮอร์โมนการสร้างน้ำนม ( Prolactin ) ฮอร์โมนกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ ( Thyroid stimulat ing hormone / TSH )  เป็นต้น โรค นี้จะเกิดกับกับ สตรีหลังคลอดลูก 5 ใน 100,000 ราย

ภาวะที่มีผลต่อการเสี่ยงการเกิดโรคกลุ่มอาการชีแฮน

  1. การตกเลือดหลังการคลอดลูก การเสียเลือดมาก จากการ คลอดลูก หากไม่ได้รับเลือดและสารอาหารทดแทนการเสียเลือดทันต่อความเสี่ยง ภาวะความดันเลือดต่ำ อาจทำให้เกิด โรคซีแฮน ได้
  2. ภาวะเลือดแข็งตัวผิดปรกติ การที่มี เลือดออก แล้วเกิด เลือดแข็งตัวผิดปรกติ จะทำให้ การแข็งตัวของเลือดช้ากว่าปรกติ ทำให้เสียเลือดมาก การเสียเลือดมาก เป็นสาเหตุของการเกิด โรคกลุ่มอาการซีแฮน
  3. ภาวะเบาหวานในสตรี โรคเบาหวาน ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลต่อ การขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง ได้

จะเห็นได้ว่า โรคซีแฮนเ กิดจากสาเหตุหลักคือ เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทำให้ ต่อมไร้ท่อใต้สมอง ทำงานผิดปรกติ  ดังนั้น ทุกภาวะที่ ทำให้ความดันเลือดต่ำลง การเสียเลือดมาก ส่งผลกระทบกระตุ้นให้เกิด โรคกลุ่มอาการซีแฮน ทั้งหมด

อาการของโรคกลุ่มอาการชีแฮน

ลักษณะของผู้ป่วยที่กำลังมี อาการโรคกลุ่มอาการซีแฮน มีดังนี้

  1. สำหรับสตรีหลังคลอด น้ำนมไม่ไหล เกิดจาก ต่อมใต้สมอง ไม่สามารถสร้างฮอร์โมน ในการผลิตน้ำนม ได้
  2. ไม่มีประจำเดือน ซึ่งการไม่มาของประจำเดือน เกิดจากต่อมใต้สมอง ไม่สามารถผลิตฮอร์โมน ไป กระตุ้นรังไข่  เพื่อ สร้างฮอร์โมนเพศหญิง ได้
  3. เดินช้า พูดช้า คิดช้า เซื่องซึม กินจุ ผมร่วง เป็น อาการของภาวะขาดออร์โมนไทรอยด์ เกิดจาก ต่อมใต้สมองไม่สามารถสร้างฮอร์โมนต่อมไทรอยด์ ได้มากพอต่อความต้องการ
  4. ขาดเกลือแร่ เนื่องจาก ต่อมหมวกไตทำงานผิดปกติ ซึ่งเป็น อันตรายต่อชีวิต ได้
  5. เหนื่อย ล้า อ่อนเพลีย และ เบื่ออาหาร

การตรวจภาวะโรคกลุ่มซีแฮน

ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจสาเหตุของการเกิดโรค จากการสืบประวัติของผุ้ป่วย การสังเกตุการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และ การตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมนในเลือด รายละเอียด ดังนี้

  1. การตรวจประวัติทางการแพทย์ ดู ประวัติการเสียเลือดหลังคลอด และ ความผิดปรกติของร่างกาย ต่างๆ
  2. การตรวจร่างกาย ดูความผิดปรกติต่างๆ ที่มี อาการจากการขาดฮอร์โมน เช่น น้ำนมมาปรกติหรือไม่ ร่างกายบวม หรือไม่ ช่องคลอดแห้ง หรือไม่ และ ผนังช่องคลอดบาง หรือไม่ ซึ่งลักษณะต่างๆเหล่านี้เกิดจาก การขาดฮอร์โมน ทั้งสิ้น
  3. การตรวจเลือด เพื่อดู ระดับฮอร์โมนในเลือด เป็นการตรวจที่มีความแม่นยำที่สุด

การรักษาโรคกลุ่มอาการชีแฮน

การรักษาสามารถทำได้โดยการให้ฮอร์โมน เพิ่มฮอร์โมนในร่างกาย เพื่อ ชดเชยฮอร์โมนที่ไม่เพียงพอ เช่น หากฮอร์โมนไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ ก็ ให้ฮอร์โมนไทรอยด์เสริม ให้ฮอร์โมนเพศหญิงเพิ่มหากฮอร์โมนเพศไม่เพียงพอ

การดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคกลุ่มอาการซีแฮน

ผู้ป่วยต้องรับประทานยาและฮอร์โมนเสริมตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร็งครัด และพบแพทย์ตามนัดของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ นอกจากการพบแพทย์และรับประทานยาตามคำสั่งแพทย์แล้ว การออกกำลังกายและการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เป็นวิธีการดูแลตัวเองที่ดีที่สุด

การป้องกันการเกิดโรคกลุ่มอาการชีแฮน

การป้องกันโรคซีแฮน โรค นี้เป็น โรคที่เกิดจากการเสียเลือด มาก หลังคลอดบุตร การป้องกันการเกิดโรค คือ การบำรุงร่างกายเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารและแร่ธาตุ ที่ ช่วยบำรุงร่างกายหลังจากการเสียเลือดหลังคลอด

สมุนไพรสำหรับสตรีหลังคลอดมีอะไรบ้าง สมุนไพรสำหรับการอยู่ไฟ ของ สตรีหลังคลอด มีดังนี้

แคนา ต้นแคนา สมุนไพร ประโยชน์ของแคนาแคนา
ฟักทอง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของฟักทองฟักทอง
ขิง สมุนไพร สรรพคุณของขิง ประโยชน์ของขิงขิง
หอมหัวใหญ่ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมุนไพรหอมหัวใหญ่
มะขาม สมุนไพร สรรพคุณของมะขาม ประโยชน์ของมะขามมะขาม
กานพลู สมุนไพร เครื่องเทศ สรพคุณของกานพลูกานพลู
มะละกอ สมุนไพร สมุนไพรไทย ผลไม้มะละกอ
กระชาย สมุนไพร สมุนไพรไทย ต้นกระชายกระชาย

กลุ่มอาการชีแฮน โรคซีแฮน โรคกลุ่มอาการชีแฮน คือ ภาวะการเกิดโรคที่เกิดจากการขาดฮอร์โมน เกิดกับต่อมใต้สมองขาดเลือด ทำให้เกิดความผิดปรกติต่างๆของร่างกาย เกิดกับสตรีหลังคลอดลูก ส่งผลให้เกิดอาการ น้ำนมไม่ไหล ไม่มีประจำเดือน เดินช้า พูดช้า คิดช้า เซื่องซึม กินจุ ผมร่วง เหนื่อย ล้า อ่อนเพลีย และ เบื่ออาหาร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove