หูดหงอนไก่ ภาวะติดเชื้อไวรัส HPV อาการมีหูดขึ้นที่ มือ เท้า คอ อวัยวะเพศ หูด HPV ทำให้เสี่ยงโรคมะเร็งได้ ติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคหูดหงอนไก่ HPV โรค โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ภาวะติดเชื้อ HPV  ( Human Papilloma virus ) เป็นเชื้อไวรัสที่สามารถแพร่ด้วยการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่เชื้อไวรัส HPV มีมากกว่า 100 สายพันธุ์  HPV บางสายพันธุ์เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งชนิดต่างๆ เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งอวัยวะเพศชาย มะเร็งทวารหนัก  มะเร็งช่องปากและลำคอ เป็นต้น สามารถติดต่อได้ทั้งทางพันธุกรรม และ ทางเพศสัมพันธ์ทั้งชายและหญิง นอกจากนั้นยังสามารถติดต่อกันทางการร่วมเพศทางปาก คอหอย และ ทวารหนักได้

ปัจจุบันยังไม่มียารักษาการติดเชื้อไวรัส HPV ซึ่งแนวทางการรักษาโรคผู้ป่วยต้องดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรง ผู้ที่ติดเชื้อ HPV ต้องเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี

สาเหตุของโรคหูดหงอนไก่

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหูดหงอนไก่ คือ การติดเชื้อไวรัส HPV จากการมีเพศสัมพันธ์ สามารถติดเชื้อได้จากการมีเพศสัมพันธ์ทุกรูปแบบ ไม่วา่จะทางช่องคลอด ทวารหนัก ปาก หรือ การใช้อุปกรณ์เพื่อสนองความต้องการทางเพศร่วมกัน รวมถึงติดต่อทางผิวหนังจากรอยแผลต่างๆ และ สตรีมีครรภ์สามารถแพร่เชื้อสู่บุตรได้จากการคลอดลูก

ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัส HPV

สำหรับกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงตอการเกิดโรคติดเชื้อไวรัส HPV นั้น พบว่ากลุ่มคนที่มีลักษณะและพฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้ มีความเสี่ยงของการเกิดโรคสูงที่สุด คือ

  1. คนที่สูบบุหรี่
  2. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์
  3. คนที่ขาดสารอาหารและขาดวิตามินบี 9
  4. กลุ่มคนที่มีโรคการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
  5. กลุ่มคนที่ร่างกายไม่แข็งแรง คนที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ
  6. กลุ่มคนใช้ยาคุมกำเนิด นานกว่า 5 ปี
  7. กลุ่มหญิงและชายที่ชอบเปลี่ยนคู่นอน
  8. กลุ่มคนที่มีแผลหรือรอยขีดข่วนตามผิวหนังและสัมผัสคนที่มีเชื้อโรค
  9. กลุ่มคนที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV)
  10. กลุ่มคนที่อยู่ในสถานที่ที่มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย เช่น สระว่ายน้ำ เป็นต้น

อาการของโรคหูดหงอนไก่ ( HPV )

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อไวรัส HPV ส่วนมากมักจะไม่แสดงอาการของโรค แต่จะมีความผิดปรกติที่ผิวหนัง คือ เกิดหูดขึ้นโดยเฉพาะบริเวณอวัยวะเพศ ผู้ป่วยหูดหงอนไก่ มี 4 ลักษณะ คือ หูดทั่วไป หูดแบบแบนราบ หูดฝ่าเท้า และ หูดอวัยวะเพศ ลักษณะของหูดจะแตกต่างกัน รายละเอียด ดังนี้

  • หูดทั่วไป ลักษณะของหูด เป็นตุ่มเล็ก ๆ ผิวขรุขระ สีเนื้อออกชมพู มักขึ้นตามมือ นิ้วมือ หรือ ข้อศอก ส่วนมากหูดลักษณะนี้ไม่อันตราย แต่อาจมีอาการเจ็บปวดบางครั้ง
  • หูดชนิดแบนราบ ลักษณะของหูด ขนาดเล็ก นูน ผิวเรียบ สีหูดจะเข้มกว่าสีผิว สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของร่างกาย ผู้หญิงมักเกิดบริเวณขา ผู้ชายมักพบบริเวณเครา
  • หูดฝ่าเท้า ลักษณะของหูด เป็นตุ่มแข็ง ผิวสัมผัสหยาบ มักขึ้นบริเวณส้นเท้า หูดจะทำให้รู้สึกเจ็บในระหว่างการยืนหรือเดิน
  • หูดอวัยวะเพศ เรียกว่า หูดหงอนไก่ ลักษณะเป็นติ่งเนื้อคล้ายดอกกะหล่ำที่อวัยวะเพศ หรือ ทวารหนัก มักเกิดอาการคันแต่ไม่มีอาการเจ็บ หูดที่อวัยวะเพศสามารถเป็นปัจจัยทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้

การรักษาโรคหูดหงอนไก่ ( HPV )

ปัจจุบันไม่มียารักษาอาการติดเชื้อไวรัส HPV  ซึ่งการรักษาโรคร่างกาคจะค่อยๆสร้างภูมิคุ้มกันโรคและกำจัดเชื้อโรคเอง แต่เป็นหูดที่มีความผิดปรกติ ลักษณะเสี่ยงว่าเป็นหูดมะเร็ง เช่น มะเร็งหรือหูด วิธีรักษาจะแตกต่างกันไปตามอาการของโรคที่พบ ซึ่งผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดหรือฉายรังสี เพื่อไม่ให้มะเร็งลุกลาม

การป้องกันโรคหูดหงอนไก่ ( HPV )

โรคหูดหงอนไก่สามารถป้องกันได้โดยการรับการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ Human papillomaviruses ( HPVs ) และ การป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อจากปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดโรค สามารถสรุปแนวทางการป้องกันโรค ได้ดังนี้

  1. ดูแลร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยให้รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่
  3. พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  4. หากมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่ใช้คู่นอนให้ป้องกันขณะมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง
  5. เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV เพื่อลดโอกาสการเกิดมะเร็งปากมดลูก

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

ชิคุนกุนยา ไข้ปวดข้อ พบบ่อยในฤดูฝน สาเหตุจากยุงลาย อาการคล้ายไข้เลือดออก มีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดข้อ มีผื่นแดงตามแขนขา ตาแดง ปวดหัว อ่อนเพลีย คลื่นไส้ชิคุนกุนยา ไข้ปวดข้อ โรคติดต่อ โรคจากยุง
โรคชิคุนกุนยา 
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชื่อ Chikungunya virus ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรคเหมือนโรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่ไม่มียา หรือ วัคซีนป้องกันโรค แต่พบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก เมื่อเกิดโรคป่วยจะมีอาการนอนซม ปวดข้อจนเดินไม่ได้ สำหรับการแพร่ระบาดของโรคนี้ในประเทศไทย พบว่ามีรายงานการแพร่กระจายของโรคในภาคใต้ตอนล่างของไทย ช่วงปี พ.ศ. 2552 โดยมาตรการที่สำคัญในขณะนั้น กระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่เร่งให้ความรู้ประชาชนเพื่อรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย

ความเป็นมาของโรคชิคุนกุนยา

โรคชิคุนกุนยา ไม่ใช่โรคอุบัติใหม่เป็นโรคที่รู้จักกันมานานกว่า 50 ปีแล้ว เคยเป็นโรคที่ระบาดใหญ่ในอดีตโดยเฉพาะประเทศไทย เมื่อกว่า 40 ปีมาแล้ว หลังจากนั้นก็มีการพบประปรายจนกระทั่งในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา โรคดังกล่าวได้สงบลงและไม่ได้มีการกล่าวถึงกันมากนัก ซึ่งในปี พ.ศ.2547 เกิดการระบาดของโรคชิคุนกุนยาเป็นบริเวณกว้างประเทศฝรั่งเศส บริเวณหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดีย (La Reunion Island) และได้แพร่กระจายเข้าสู่ประเทศต่างๆ ในแอฟริกาตะวันออก และเข้าสู่ประเทศอินเดีย ลงมาสู่ศรีลังกา เข้าอินโดนีเซีย แหลมมลายู และเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณชายแดนจังหวัดภาคใต้ ในปลายเดือนกันยายน-ตุลาคม และระบาดมาจนถึงทุกวันนี้ โดยขยายวงกว้างขึ้น 15 จังหวัด ทางภาคใต้ และเริ่มพบในจังหวัดอื่นบ้างโดยเฉพาะผู้ที่เดินทางไปจังหวัดภาคใต้มา ตั้งแต่มีการระบาดของโรคเชื่อว่ามีผู้ป่วยแล้วมากกว่า 1 ล้านคนทั่วโลก

สาเหตุของการติดเชื้อไวรัส

โรคชิคุนกุนยาเกิดจากการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสในตระกูล Togaviridae โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งสามารถพบได้ทั่วไปในช่วงฤดูฝนและบริเวณที่มีน้ำขัง ยุงลายเป็นสัตว์ที่มักชุกชุมช่วงกลางวัน สถานที่เสี่ยงคือสถานที่ที่มียุงจำนวนมาก เช่น โรงเรียน สวนสาธารนะ เป็นต้น

ระยะของโรคชิคุนกุนยา

สำหรับระยะฟักตัวของโรคโดยทั่วไปประมาณ 1-12 วัน แต่ที่พบบ่อยประมาณ 2-3 วัน จากนั้นจะเข้าสู่ระยะติดต่อดรคเป็นช่วงระยะเวลาที่ผู้ป่วยไข้สูง ประมาณวันที่ 2 – 4 เนื่องจากเป็นระยะที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาอยู่ในกระแสเลือดมากที่สุด

อาการของโรคชิกุนย่า

ผู้ป่วยโรคชิคุณกุนย่า จะมีไข้สูงอย่างกระทันหัน คันตามร่างกาย ตาแดง ไม่มีแรง ปวดตามข้อกระดูก บางรายอาจมีอาการข้ออักเสบร่วม ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการปวดข้อ ภายใน 10 วัน หลังจากได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย จะเกิดผื่นบริเวณลำตัวและแขนขา แต่ไม่มีอาการคัน ผื่นนี้จะหายได้เองภายใน 10 วัน และพบอาการปวดกล้ามเนื้อ เมื่อยล้า มีไข้ และต่อมนํ้าเหลืองโต แต่ไม่พบว่ามีอาการชาหรือเจ็บบริเวณฝ่ามือหรือเจ็บฝ่าเท้า ร่วมด้วย สามารถสรุปลักษณะอาการของโรคชิคุนกุนยา ได้ดังนี้

  • มีไข้สูงเฉียบพลัน หลังจากนั้น 2 – 3 วัน ไข้จะเริ่มลดลง
  • ปวดตามข้อกระดูกและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • ผื่นแดงขึ้นตามแขนและขา
  • ตาแดง
  • เบื่ออาหาร
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดศีรษะ
  • อ่อนเพลีย
  • ท้องเสีย

การรักษาโรคชิกุนย่า

สำหรับแนวทางการรักษาโรคชิคุนกุนยาในปัจจุบันยังไม่มียารักษาไวรัสชิกุนคุนยา รวมถึงยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคชิคุนกุนยา ซึ่งแนวทางการรักษาโรค คือ ประคับประครองตามอาการของโรค เช่น การรับประทานยาลดไข้ยาแก้ปวด จากนั้นพักผ่อนให้ร่างกายได้พักฟื้นรักษาตนเอง ซึ่งแนวทางการปฏิบัติตัวเมื่อมีอาการป่วยโรคชิคุนกุนยา คือ ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย พักผ่อนให้เต็มที่และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

การป้องกันโรคชิกุนย่า

เนื่องจากโรคชิกุนยา ไม่มียารักษาโรค หรือวัคซีนป้องกันโรค แนวทางการป้องกันการเกิดโรคจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งแนวทางการป้องกันโรคชิคุนกุนยา มีแนวทางดังนี้

  1. ป้องกันไม่ให้ถูกยุงลายกัด
  2. สวมใส่เสื้อผ้าที่ป้องกันไม่ให้ยุงกัด ติดมุ้งลวดในบ้าน หรือทายากันยุงขณะทำงานและออกนอกบ้าน
  3. ยาทากันยุงชนิดที่มีส่วนผสมของไพรีธรอยด์ช่วยป้องกันได้พอสมควร
  4. กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง โดยเฉพาะแหล่งน้ำขัง เริ่มจากในบ้านก่อน ไม่ว่าจะเป็นแจกันดอกไม้ที่ใส่น้ำไว้ ขาตู้ใส่น้ำกันมด ตุ่มใส่น้ำไม่ปิดฝา จากนั้นขยายอกบริเวณรอบบ้าน เช่น ขวดพลาสติก แก้วพลาสติกที่มีน้ำขัง ยางรถยนต์เก่าและแอ่งน้ำตามธรรมชาติ ฯลฯ
  5. ร่วมมือช่วยกันในชุมชนดูแลไม่ให้เกิดน้ำขังขึ้น จะเห็นได้ว่ามาตราการป้องกันยุงลาย นอกจากจะป้องกันไข้เลือดออกแล้ว ยังช่วยป้องกันโรคชิคุนกุนยาได้อีกด้วย

โรคชิคุนกุนยา โรคไข้ปวดข้อ พบบ่อยในฤดูฝน สาเหตุจากยุงลาย ลักษณะอาการคล้ายไข้เลือดออก มีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดข้อและกล้ามเนื้อ มีผื่นแดงตามแขนขา ตาแดง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ท้องเสีย


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove