โรคไวรัสอีโบลา ไข้เลือดออกอีโบลา อาการผู้ป่วยจะมีไข้ เจ็บคอ ปวดหัวและปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง ส่งผลใด้การทำงานของตับและไต รักษาและ ป้องกันอย่างไร

โรคอีโบล่า โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ ติดเชื้อไวรัสอีโบล่า

เชื้อไวรัสอีโบลา ( Ebola ) คือ เชื้อไวรัสที่เกิดขึ้นในสัตว์ป่า สามารถติดต่อสู่คนได้ เป็นโรคที่เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ โรคติดต่อชนิดหนึ่ง ยังไม่มียารักษาโรค และ อัตราการเสียชีวิตสูง ดังนั้น การป้องกันจึงดีที่สุด โรคไวรัสอีโบลา หรือ ไข้เลือดออกอีโบลา อาการของป่วยจะแสดงอาการภายในสามสัปดาห์หลังจากได้รับเชื้อโรค โดยจะมีไข้สูง เจ็บคอ ปวดหัวและปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียนและท้องร่วง ส่งผลใด้การทำงานของตับและไตลดลง

สาเหตุของการติดเชื้ออีโบล่า

การติดเชื้อไวรัสอีโบลา มาจากไหน  อีโบล่าเกิดจาก เชื้อไวรัสอีโบล่า ที่พบได้ในลิงซิมแปนซี สามารถติดสู่คนได้ จากการสัมผัส สารคัดหลั่งจากสัตว์ชนิดนี้ การรับประทานสัตว์ป่า ที่ไม่ถูกสุขอนามัย โดยลักษณะของการติดเชื้อมี 3 ลักษณะดังนี้

  1. การสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่ติดเชื้อ
  2. การสัมผัสเลือด ของเหลว หรือ สารคัดหลั่ง ของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา
  3. การสัมผัสผุ้เสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสอีโบลา

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการการติดเชื้อ Ebola

โดยการติดเชื้ออีโบล่านั้น มาจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้

  • การเดินทางไปใกล้แหล่งที่มีเชื้อโรคอีโบล่าระบาดอยู่แล้ว
  • กลุ่มคนที่การสำรวจและวิจัยเกี่ยวกับโรคนี้
  • การสัมผัสศพ หรือ ผู้มีเชื้อโรค
  • การรับประทานอาหารที่ไม่สุก

อาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสอีโบล่า

สำหรับจะมีอาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้ออีโบล่านั้น จะมีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ  ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ท้องร่วง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ถ่ายเป็นเลือด ตาแดง มีผื่นนูน ไอ เจ็บหน้าอก จุกแน่นบริเวณกระเพาะอาหาร เลือดออกทางจมูก ปาก หู ตา อาการของโรคไวรัสอีโบลา จะเริ่มแสดงอาการภายใน 2 ถึง 21 วัน หลังจากการรับเชื้อไวรัสอีโบลา เข้าสู่ร่างกาย โดยสามารถสรุปอาการได้ดังนี้

  • มีไข้สูง
  • ปวดหัวอย่างรุนแรง
  • มีอาการเหนื่อยล้า
  • ปวดตามข้อและกล้ามเนื้อ
  • มีอาการเจ็บคอ
  • ท้องเสีย
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ปวดท้อง
  • เบื่ออาหาร
  • มีรอยช้ำ และเหมือนมีเลือดออกโดยไม่ทราบสาเหตุ

อาการของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา นั้นเหมือนโรคไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้สูง ปวดตามกล้ามเนื้อ เจ็บคอ แต่แต่อาการของโรคอีโบลาจะปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย และอาการเลือดไหลโดยไม่ทราบสาเหตุ รวมอยูด้วย

การรักษาผู้ป่วยจากการติดเชื้อไวรัสอีโบล่า

สำหรับการรักษาผู้ป่วยที่ติดไวรัสอีโบล่า ในปัจจุบันยังไม่ยาที่สามารถรักษา หรือฆ่าเชื้อไวรัสอีโบล่าในร่างกายมนุษย์ได้ สิ่งที่สามารถทำได้โดย ให้น้ำเกลือ เพื่อให้ผู้ป่วยมีแรง รักษาระดับความดันเลือดและอ๊อกซิเจนในร่างกาย และป้องกันอาการแทรกซ้อนจากการติดโรคอื่น ตัวอย่างอาการแทรกซ้อนที่พบ คือ หลายอวัยวะล้มเหลว เลือดออกรุนแรง ดีซ่าน ชัก หมดสติ ช็อค ตับอักเสบ อ่อนแรง ปวดศีรษะ ตาอักเสบ อัณฑะอักเสบ

การป้องกันไม่ให้ติดเชื้อไวรัสอีโบลา ( Ebola )

การป้องกันโรคระบาด จากการติดเชื้อไวรัส ต้องหลีกเลี่ยงการอยู่ในพื่้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อ เช่น สถานที่ท่องเที่ยว โรงพยาบาล หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดนตัวผู้ป่วย รักษาสุขอนามัยให้สะอาด โดยการป้องกันการติดเชื้อไวรัสอีโบลา มีรายละเอียดดังนี้

  • หลีกเลี่ยงเดินทางหรือไปท่องเที่ยวในพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อโรค
  • ลล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ
  • ไม่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีความเสี่ยงการติเชื้อโรค
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยที่ติดเชื้อ
  • ล้างอาหารให้สะอาด และ ปรุงอาหารที่สุก รวมถึงหลีกเลี่ยงการกินอาหารป่า
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อโรค เช่น น้ำเหลือง เลือด น้ำลาย น้ำจากช่องคลอด เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกับผู้ติดเชื้อ เช่น เสื้อผ้า ผ้าคลุมเตียง เข็ม อุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น
  • สำหรับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ต้องสวมถุงมือ หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

โรคไวรัสอีโบลา ไข้เลือดออกอีโบลา ( Ebola ) เกิดจากติดเชื้อไวรัสอีโบลา อาการผู้ป่วยจะมีไข้ เจ็บคอ ปวดหัวและปวดกล้ามเนื้อ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนและท้องร่วง ส่งผลใด้การทำงานของตับและไตลดลง รักษาอย่างไร ป้องกันอย่างไร

ไข้หวัดหมู เกิดจาดเชื้อไวรัสสายพันธ์ H1N1 โรคระบาดในหมู ถ่ายทอดสู่คนจากการสัมผัสน้ำลายของหมู ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนล้า เจ็บคอ ไอ ไข้สูง อาเจียนโดยไม่ทราบสาเหตุไข้หวัดสายพันธ์ใหม่ ไข้หวัด2009 โรคติตต่อ โรคทางเดินหายใจ
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ ( H1N1 ) คือ โรคติดต่อ เป็นไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ เกิดขึ้นจากการผสมสายพันธุ์ ของไวรัสไข้หวัดหมู และไวรัสไข้หวัดใหญ่ของมนุษย์ โดยการระบาดครั้งแรก ที่ประเทศสเปน ในปี พ.ศ. 2461 – 2462 โดยขณะนั้น เราเรียกโรคนี้ว่า “ไข้หวัดสเปน” การระบาดของโรคในช่วงเวลานั้น ทำให้เกิดการสียชีวิตของคนมากกว่า 20 ล้านคน

โรคนี้กลับมาระบาดอีกครั้ง ในปี 2009 โดยเริ่มระบาดครั้งแรกที่ประเทศเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา และได้ระบาดไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย ซึ่งผู้ติดเชื้อเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว

การระบาดของไข้หวัดใหญ่ทั่วโลก

การระบาดใหญ่เกิดขึ้นจากการอุบัติของไวรัสชนิดใหม่ เรียงลำดับดังนี้

  • พ.ศ. 2461-2462 (ค.ศ.1918-1919) ไวรัสไข้หวัดใหญ่ A ชนิดย่อย (subtype) H1N1 (ในยุคนั้นยังไม่สามารถตรวจแยกเชื้อได้ การตรวจชนิดของเชื้อไวรัสเกิดขึ้นภายหลัง) มีชื่อว่าไข้หวัดใหญ่สเปน (Spainish flu) เป็นการระบาดทั่วโลกครั้งร้ายแรงที่สุด คร่าชีวิตผู้คนไปประมาณ 50 ล้านคน (มากกว่าผู้คนที่เสียชีวิตจากสงครามโลกครั้งที่ 1 เสียอีก) เป็นผู้ที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาถึงกว่า 500,000 คน
  • พ.ศ. 2500-2501 (ค.ศ.1957-1958) ไวรัสไข้หวัดใหญ่ A ชนิดย่อย H2N2 มีชื่อว่าไข้หวัดใหญ่เอเชีย (Asian flu) เริ่มที่ตะวันออกไกลก่อนระบาดไปทั่วโลก มีผู้เสียชีวิต 70,000 คนในสหรัฐอเมริกา การระบาดในครั้งนี้สามารถตรวจพบและจำแนกเชื้อได้รวดเร็ว และผลิตวัคซีนออกมาฉีดป้องกันได้ทัน จึงมีผู้เสียชีวิตไม่มากนัก
  • พ.ศ. 2511-2512 (ค.ศ.1968-1969) ไวรัสไข้หวัดใหญ่ A ชนิดย่อย H3N2 มีชื่อว่าไข้หวัดใหญ่ฮ่องกง (Hong Kong flu) รายงานผู้ป่วยรายแรกเป็นชาวฮ่องกง แล้วจึงแพร่กระจายออกไป มีผู้เสียชีวิตประมาณ 34,000 คนในอเมริกา เป็นชนิดย่อยที่มีลักษณะทางพันธุกรรมคล้ายไข้หวัดใหญ่เอเชีย (H2N2) จึงมีผู้ป่วยจำนวนไม่มากนัก เพราะมีภูมิคุ้มกันอยู่บ้างแล้ว
  • พ.ศ. 2520-2521 (ค.ศ.1977-1978) ไวรัสไข้หวัดใหญ่ A ชนิดย่อย H1N1 กลับมาระบาดใหม่ มีชื่อว่าไข้หวัดใหญ่รัสเซีย (Russian flu) เริ่มระบาดที่ประเทศจีนตอนเหนือแล้วกระจายไปทั่วโลก ทราบภายหลังว่าเป็นไวรัสชนิดเดียวกับที่กระจายอยู่ทั่วไปก่อนปี พ.ศ. 2500 คือ ไข้หวัดใหญ่สเปน (H1N1) ที่ระบาดเมื่อปี พ.ศ. 2461-2462 (ก่อนถูกแทนที่ด้วยไข้หวัดใหญ่เอเชีย คือชนิดย่อย H2N2 ในปี พ.ศ. 2500) ผู้ที่อายุเกิน 23 ปีในขณะนั้น ส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานโรคแล้วจากการระบาดครั้งก่อน จึงเกิดโรครุนแรงเฉพาะผู้ที่อายุน้อยกว่า 23 ปี ที่ไม่มีภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัสชนิดนี้เท่านั้น
  • พ.ศ. 2552 (ค.ศ.2009) ไวรัสไข้หวัดใหญ่ A ชนิดย่อย H1N1 เป็นไวรัสที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมระหว่างไวรัสไข้หวัดใหญ่นก ไข้หวัดใหญ่หมูและไข้หวัดใหญ่มนุษย์ เกิดเป็นไวรัสไข้หวัดใหญ่พันธุ์ผสม กลับมาระบาดอีกครั้ง มีชื่อว่าไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก (Mexican flu) หรือชื่อใหม่ว่าไวรัสไข้หวัดใหญ่ A ชนิดย่อย H1N1 2009 เริ่มระบาดที่ประเทศเม็กซิโกเมื่อเดือน มี.ค.แล้วกระจายสู่สหรัฐอเมริกา แคนาดา นิวซีแลนด์ ฯลฯ

สาเหตุของโรคไข้หวัดสายพันธ์ใหม่

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรค เกิดจาก การติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ เป็นไวรัสที่มีเปลือกหุ้มมีสารพันธุกรรมเป็นอาร์เอ็นเอ ปัจจุบันสามารถแบ่งเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ได้เป็น 3 ชนิด คือ A B และ C เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ที่เกิดการติดเชื้อในมนุษย์และสัตว์ จะอยู่ในกลุ่ม ชนิด A (Influenza A virus)

กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสติดเชื้อ

เราสามารถแยกกลุ่มคนที่มีโอกาสการติดเชื้อได้  คือ

  • ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป
  • บุคคลที่เข้ารับการบำบัดและสถานที่รับดูแลโรคเรื้อรัง
  • คนที่มีโรคปอดเรื้อรัง โรคระบบหัวใจไหลเวียน รวมทั้งเด็กที่เป็นโรคหอบหืดด้วย
  • คนที่ต้องไปโรพาบาลเป็นประจำ
  • แพทย์ พยาบาล และบุคลากรในโรงพยาบาล

อาการของผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธ์เอ

สำหรับอาการของโรคไข้หวัด สามารถสรุปอาการได้ ดังนี้

  • มีอาการปวดเมื่อย ตามกล้ามเนื้อ
  • รู้สึกอ่อนล้า ไม่มีแรง
  • มีอาการเจ็บคอ
  • มีอาการไอ
  • มีไข้สูง
  • มีน้ำมูกไหล
  • มีอาการท้องเสีย และอาเจียน โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีอาการปวดหัว
  • หายใจหอบ เหนื่อยง่าย

การรักษาโรคไข้หวัดสายพันธ์ใหม่

สำหรับการรักษาโรคไข้หวัดสายพันธ์ใหม่ สามารถทำได้โดย การให้ยาพื่อรักษาและการให้ยาเพื่อป้องกัน วิธีการให้ยาเพื่อการรักษาโรค ต้องให้ย่ารักษาภายใน 4 วันหลังเกิดอาการติดเขื้อ และจะให้ยาเป็นเวลา 5 วัน วิธีการให้ยาเพื่อการป้องกัน จะให้ยาเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและจะให้ยาเป็นเวลา 10 วัน

  • ให้นอนพักไม่ควรออกกำลังกาย
  • ให้ดื่มน้ำ หรือ น้ำผลไม้ หรือน้ำซุป หรืออาจจะดื่มน้ำเกลือแร่ ร่วมด้วย แต่ไม่ควรดื่มน้ำเปล่าอย่างเดียว เพราะจะทำให้ท่านขาดเกลือแร่ได้ หรืออาจจะเตรียมโดยใช้น้ำข้าวใส่เกลือ และน้ำตาลก็ได้
  • ให้การดูแลปฏิบัติตัว และรักษาตามอาการเหมือนไข้หวัด คือ นอนพักผ่อนมากๆ ห้ามตรากตรำทำงานหนัก ห้ามอาบน้ำเย็น ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเวลามีไข้สูง กินอาหารอ่อน ดื่มน้ำและน้ำหวาน หรือน้ำผลไม้ ให้ยาแก้ปวด Paracetamol ผู้ใหญ่ ครั้งละ 1-2 เม็ด (500 มิลลิกรัม) วันละ 2-3 ครั้ง ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน
  • ยาปฏิชีวนะ ไม่จำเป็นต้องให้เพราะเป็นโรคที่เกิดจากไวรัส จะให้ก็ต่อเมื่อมีภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น น้ำมูกหรือเสลดเป็นสีเหลืองหรือเขียว ยาปฏิชีวนะที่มีให้เลือกใช้ ได้แก่ เพนวี ขนาดผู้ใหญ่ ให้ครั้งละ 4 แสนยูนิต ก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง วันละ4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน ในเด็กให้ครั้งละ 50,000 ยูนิต ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แบ่งให้วันละ 4 ครั้ง หรืออิริโทรไมซิน ผู้ใหญ่ ให้ครั้งละ 250-500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง ในเด็ก ให้วันละ 30-50 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แบ่งให้ทุก 6 ชั่วโมง
  • ถ้ามีอาการหอบหรือสงสัยปอดอักเสบ ควรส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

การป้องกันโรคไข้หวัดสายพันธ์ใหม่

สำหรับการป้องกันโรคนั้น ให้หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับผู้ป่วย ใส่หน้ากากอนามัยป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย รักษาสุขอนามัยให้สะอาดเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หากท่านมีไข้ เจ็บคอ ไอ และมีประวัติการได้เดินทางไปในสถานที่ที่มีการระบาดของโรค ในระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน อาจมีความเสี่ยงต่อโรคนี้  เพื่อป้องกันการเกิดโรค มีข้อควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ดังนี้

  • รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง
  • รักษาความสะอาด เช่น ล้างมือฟอกสบู่บ่อยๆ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ เมื่อสัมผัสกับสิ่งต่าง ๆ ใน ที่สาธารณะ
  • ควรหลีกเลี่ยงการพบปะกับคนที่กำลังป่วย
  • ควรหลีกเลี่ยงการไปสถานที่ ที่มีคนจำนวนมาก เช่น โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า
  • หากมีอาการป่วย ควรเก็บตัวอยู่บ้านและใส่หน้ากากอนามัยป้องกันการแพร่เชื้อให้กับคนในบ้าน
  • ให้ปิดปากและจมูก เพื่อไม่ให้เชื้อโรคสัมผัสกับมือหรือแพร่กระจายในอากาศ
  • ไม่ควรซื้อยากินเอง โดยปราศจากคำแนะนำของแพทย์

ไข้หวัด H1N1  โรคไข้หวัดหมู เกิดจาดเชื้อโรค สายพันธ์ H1N1, H1N2, H3N2, และ H3N1 โรคระบาดในหมู ถ่ายทอดสู่ คน จากการสัมผัสน้ำลายของหมู ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนล้าไม่มีแรง เจ็บคอ ไอ ไข้สูง อาเจียนโดยไม่ทราบสาเหตุ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove