วัณโรค Tuberculosis ติดเชื้อแบคทีเรียที่ระบบทางเดินหายใจ เป็นโรคติดต่อร้ายแรง อาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เบื่ออาหาร หากไม่รักษาอย่างถูกวิธีทำให้เสียชีวิตได้

วัณโรค ปอดติดเชื้อ โรคทางเดินหายใจ โรคติดต่อ

สำหรับ โรควัณโรค นี้ถือเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนบนโลก 10 อันดับแรก จากสถิติขององค์กรอนามัยโรค เมื่อปี 2558 แแต่สำหรับวัณโรคไม่ใช่สาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยมาก ไม่ติดอันดับ 10 แรกของสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย ปัจจุบันวัณโรคนถือเป็นโรคที่เกิดมากในกลุ่มผู้ป่วยโรคเอดส์ เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่บกพร่องจะทำให้เชื้อวัณโรคสามารถติดได้ง่าย

สาเหตุของการเกิดวัณโรค

เกิดจากการติดเชื้อไมโครแบคทีเรียมทูเบอร์คูโลซิส ( Mycobacterium Tuberculosis ) ซึ่งเป็นเชื้อโรคที่แพร่กระจายได้ทางอากาศ ผ่านการการไอ การจาม และการหายใจ รวมถึงการใกล้ชิดและสัมผัสผู้ติดเชื้อวัณโรค

อาการของวัณโรค

อาการของวัณโรคสามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ อาการของผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรค และ อาการของวัณโรคปอด โดยอาการที่แสดงออกมีดังนี้

  • อาการของผู้ป่วยวัณโรค พบว่าผู้ป่วยที่ติดโรควัณโรค จะมีอาการ ไข้สูง เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ครั่นเนื้อครั่นตัว เหงื่อออกกลางคืน เม็ดเลือดขาวจะต่ำลงในผู้ป่วยบางรายจะมีภาวะโลหิตจาง
  • อาการของวัณโรคปอด พบว่าผู้ป่วยจะมีอาการไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ แต่หากไม่รักษา จะมีอาการอักเสบมมากขึ้น และเชื้อโรคจะเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อทำให้มีเสมหะ ไอเป็นเลือด

อาการของวัณโรค สามารถแบ่งได้ 2 ระยะ คือ ระยะแฝง และ ระยะแสดงอาการ เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อวัณโรค เชื้อโรคนั้นจะพัฒนาตัวเองอย่างช้า ๆ ใช้เวลาหลายวัน โดยอาการในระยะทั้งสองมี ดังนี้

  • ระยะแฝง ( Latent TB ) ในระยะนี้ เมื่อผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อโรค จะไม่แสดงอาการให้เห็น แต่หากเชื้อโรคถูกกระตุ้น ก็จะเกิดอาการ ทั้งนี้ผู้ป่วยสามารถตรวจหาเชื้อได้ หากพบว่ามีเชื้อวัณโรคแฝงในร่างกาย แพทย์จะทำการรักษาเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโรค และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคที่จะเข้าสู่ในระยะแสดงอาการ
  • ระยะแสดงอาการ ( Active TB ) ในระยะนี้จะเกิดอาการต่าง ๆ ที่เห็นได้ชัดเจน เช่น ไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก หรือรู้สึกเจ็บเวลาหายใจ อ่อนเพลีย มีไข้สูง หนาวสั่น เหงื่อออกตอนกลางคืน น้ำหนักลด และเบื่ออาหาร

อาการของวัณโรคนั้น จะแสดงอาการที่ปอด แต่เชื้อโรคสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ เช่น ทำให้เกิด วัณโรคกระดูก วัณโรคเยื่อหุ้มสมอง เป็นต้น

การรักษาผู้ป่วยโรควัณโรค ต้องทำอย่างไร

  1. การใช้ยารักษาโรค ซึ่งมียา 3 ชนิดที่สามารถใช้รักษาวัณโรคได้ แต่ผู้ป่วยต้องทานยาติดต่อกัน 1-2 ปี ตัวยานี้ คือ เสตรพโตไมซิน พาราแอมมิโนซาลิคไซเลทแอซิด และไอโซไนอาซิค
  2. การพักผ่อนให้มากและทานอาหารที่มีประโยชน์บำรุงร่างกาย เช่น อาหารประเภท นม ไข่ ผลไม้และผักต่างๆ อาหารสมุนไพร อาหารสุขภาพ
  3. การผ่าตัด ประสาทกระบังลม ให้ปอดได้พักผ่อน การผ่าตัดเป็นสาเหตุให้ปอดที่มีแผลหายเร็วขึ้น กระบังลมก็จะทำงานเป็นปกติอีกครั้ง
  4. การทำนิวโมโทแรกซ์ ( Pneumothorax ) คือ การฉีดอาการเข้าไปในช่องปอดที่อยู่ระหว่างปอดและผนังทรวงอก
  5. การตัดซี่โครงบางส่วนออก เพื่อทำให้ปอดที่ติดเชื้อวัณโรคแฟบลงอย่างถาวร

การป้องกันการติดโรควัณโรค

  1. ต้องรักษาร่างกายให้แข็งแรง ทานอาหารที่มีประโยชน์ อาหารสุขภาพ อาหารสมุนไพร
  2. ฉีดวัคซีน BCG เพื่อป้องกันการติดเชื้อสำหรับทารกแรกเกิด
  3. ถ้ามีอาการผิดปกติที่น่าสงสัยว่าเป็นวัณโรค เช่น ไอเรื้อรัง 2 สัปดาห์ขึ้นไป มีไข้ต่ำๆโดยเฉพาะตอนบ่ายๆหรือค่ำๆ เจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ควรรีบไปรับการตรวจรักษาโดยการเอกซเรย์ปอด ตรวจเสมหะ
  4. รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ กินอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
  5. หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค เช่น การส่ำส่อนทางเพศ เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอดส์ เพราะจะทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายเสื่อมลง มีโอกาสที่จะป่วยเป็นวัณโรค จะได้รีบรักษาก่อนที่จะลุกลามมากขึ้น
  6. ประชาชนทั่วไป ควรตรวจร่างกายโดยการเอกซ์เรย์ปอดหรือตรวจเสมหะ ( AFB ) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ถ้าพบว่าเป็นวัณโรคจะได้รีบรักษาก่อนที่จะลุกลามมากขึ้น
  7. ในเด็กควรได้รับการฉีดวัคซีนบีซีจี ( Bacilus Calmette Guerin ) รวมถึงผู้ที่ทำการทดสอบทูเบอร์คูลินเทสท์ ( Tuberculin test ) ให้ผลเป็นลบ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน

วัณโรค ( Tuberculosis ) โรคติดต่อร้ายแรงเกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียที่ระบบทางเดินหายใจ อาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เบื่ออาหาร หากไม่รักษาอย่างถูกวิธีทำให้เสียชีวิตได้ การรักษาวัณโรค และ การป้องกันโรค

ไข้ปวดข้อ โรคชิคุนกุนยา ภาวะติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา Chikungunya virus มียุงลายเป็นภาหะนำโรค อาการไข้สูง ปวดตามข้อ ผื่นขึ้นตามตัว ไม่อันตรายถึงชีวิต

ชิคุนกุนยา โรคไข้ปวดข้อ โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

โรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ โรคชิคุนกุนยา เป็นโรคที่ไม่มียา หรือ วัคซีนป้องกัน โดยมียุงเป็นพาหะนำโรค เหมือน โรคไข้เลือดออก  แต่พบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก เมื่อเกิดโรคป่วยจะมีอาการนอนซม ปวดข้อจนเดินไม่ได้ โรคชิคุณกุนย่า เกิดจากยุงลายที่มีเชื้อโรคไปกัดมนุษย์และแพร่เชื้อโรคสู่คน ทำให้คนนั้นเกิดโรคได้  สำหรักการแพร่ระบาดของโรคนี้ในประเทศไทย พบว่ามีรายงานการแพร่กระจายของโรคในภาคใต้ตอนล่างของไทย ช่วงปี พ.ศ. 2552 โดยมาตรการที่สำคัญในขณะนั้น กระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่เร่งให้ความรู้ประชาชนเพื่อรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย

สาเหตุของการติดเชื้อไวรัส

  1. เกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา ซึ่งเป็น RNA Virus จัดอยู่ใน genus alphavirus และ family Togaviridae ไวรัสชิคุนกุนยามีความใกล้ชิดกับ O’nyong’nyong virus และ Ross River virus ที่พบในประเทศออสเตรเลีย รวมทั้งไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคไข้สมองอักเสบ eastern equine encephalitis และ western equine encephalitis
  2. เชื้อไวรัสชิคุนกุนยาติดต่อกันได้โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ เมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุง และเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้คนนั้นเกิดอาการของโรคได้
  3. ระยะฟักตัวของโรคโดยทั่วไปประมาณ 1-12 วัน แต่ที่พบบ่อยประมาณ 2-3 วัน
  4. ระยะติดต่อเป็นช่วงระยะเวลาที่ผู้ป่วยไข้สูง ประมาณวันที่ 2 – 4 เนื่องจากเป็นระยะที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาอยู่ในกระแสเลือดมากที่สุด

อาการของโรคชิกุนย่า

สำหรับอาการผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคชิคุณกุนย่า จะมีไข้สูงอย่างกระทันหัน คันตามร่างกาย พบตาแดง จะปวดข้อ ซึ่งบางรายอาจมีอาการข้ออักเสบ ตาม ข้อมือ ข้อเท้าและเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ ปวดข้อหรือข้อบวมแดงอักเสบ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการปวดข้อ ภายใน 10 วัน หลังจากได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย จะเกิดผื่นบริเวณลำตัวและแขนขา แต่ไม่มีอาการคัน ผื่นนี้จะหายได้เองภายใน 10 วัน และพบอาการปวดกล้ามเนื้อ เมื่อยล้า มีไข้ และต่อมนํ้าเหลืองโต แต่ไม่พบว่ามีอาการชาหรือเจ็บบริเวณฝ่ามือหรือเจ็บฝ่าเท้า ร่วมด้วย

การรักษาโรคชิกุนย่า

สำหรับวิธีรักษาโรคชิกุนยา จากที่กล่าวในข้างต้นยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคติดต่อนี้ได้ ทำได้เพียงประครองและรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด และพักผ่อนให้มากๆ รักษาสุขภาพ

การป้องกันโรคชิกุนย่า

วิธีการป้องกันโรคชิกุนยา ขณะนี้ยังไม่มียา หรือวัคซีน ที่สามารถรักษาโรคนี้ได้ ทำได้เพียงการหลีกเลี่ยงสาเหตุของโรคติดเชื้อ โดยการไม่ให้ยุงลายกัด โดยเราได้สรุปการป้องกันการติดเชื้อไวรัส ได้ดังนี้

  1. การป้องกันโรคชิคุนกุนยาที่ดีที่สุดคือ ป้องกันไม่ให้ถูกยุงลายกัด
  2. ใช้สารไล่ยุง DEET, icaridin, PMD หรือ IR3535
  3. สวมใส่เสื้อผ้าที่ป้องกันไม่ให้ยุงกัด ติดมุ้งลวดในบ้าน หรือทายากันยุงขณะทำงานและออกนอกบ้าน
  4. ยาทากันยุงชนิดที่มีส่วนผสมของไพรีธรอยด์ช่วยป้องกันได้พอสมควร
  5. กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง โดยเฉพาะแหล่งน้ำขัง เริ่มจากในบ้านก่อน ไม่ว่าจะเป็นแจกันดอกไม้ที่ใส่น้ำไว้ ขาตู้ใส่น้ำกันมด ตุ่มใส่น้ำไม่ปิดฝา จากนั้นขยายอกบริเวณรอบบ้าน เช่น ขวดพลาสติก แก้วพลาสติกที่มีน้ำขัง ยางรถยนต์เก่าและแอ่งน้ำตามธรรมชาติ ฯลฯ
  6. ร่วมมือช่วยกันในชุมชนดูแลไม่ให้เกิดน้ำขังขึ้น จะเห็นได้ว่ามาตราการป้องกันยุงลาย นอกจากจะป้องกันไข้เลือดออกแล้ว ยังช่วยป้องกันโรคชิคุนกุนยาได้อีกด้วย

สมุนไพรช่วยลดไข้ แก้ปวด ช่วยบรรเทาอาการของโรคนี้ได้ สมุนไพรที่มีสรรพคุณลดไข้ แก้ปวดเมื่อย ประกอบด้วย

หอมหัวใหญ่ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมุนไพรหอมหัวใหญ่
สะระแหน่ มินต์ สมุนไพร พืชสวนครัวสะระแหน่
ฟักข้าว สมุนไพร สรรพคุณของฟักข้าว ประโยชน์ของฟักข้าวฟักข้าว
บุก สมุนไพร สรรพคุณของบุก ประโยชน์ของบุกบุก
ชะพลู สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชล้มลุกชะพลู
ตะไคร้ สมุนไพร พืชสมุนไพร สมุนไพรไทยตะไคร้
ส้มโอ ผลไม้ สมุนไพร สมุนไพรไทยส้มโอ
กระเพรา สสมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของกระเพรากระเพรา

ไข้ปวดข้อ โรคชิคุนกุนยา เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา ( Chikungunya virus ) ยุงลายเป็นภาหะนำโรค อาการไข้สูง ปวดตามข้อ ไม่อันตรายถึงชีวิต แนวทางการรักษาและป้องกันโรค


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove