ตากุ้งยิง Hordeolum ภาวะหนังตาอักเสบ ทำให้เกิดตุ่มที่หนังตา อาการบวมและเจ็บบริเวณที่อักเสบ แบ่งได้ 2 ชนิด คือ ตากุ้งยิงหัวผุด ตากุ้งยิงหัวหลบใน สามารถหายเองได้

ตากุ้งยิง โรคต่างๆ โรคตา

โรคตากุ้งยิง คือ โรคที่เกี่ยวกับตา เกิดจากอาการติดเชื้อทำให้เกิดการอักเสบบริเวณหนังตา ( external hordeolum ) ขนตา ( hair follicle ) ต่อมไขมันที่เปลือกตา ( internal hordeolum ) ตากุ้งยิงสามารถเกิดได้ทุกคน

ชนิดของตากุ้งยิง

โรคตากุ้งยิง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ ตากุ้งยิงชนิดหัวผุด และ ตากุ้งยิงชนิดหัวหลบใน รายละเอียดของชนิดตากุ้งยิง มีดังนี้

  • ตากุ้งยิงภายนอก ( External hordeolum ) หรือ ตากุ้งยิงหัวผุด เกิดจากการอักเสบของต่อมเหงื่อบริเวณผิวหนัง ที่โคนขนตา จะมีอาการเกิดหัวฝีเห็นได้อย่างชัดเจนที่ขอบตา ลักษณะของฝีจะไม่ใหญ่
  • ตากุ้งยิงภายใน ( Internal hordeolum ) หรือ ตากุ้งยิงหัวหลบใน เกิดจากการอักเสบของต่อมไขมันที่เยื่อบุเปลือกตา ต้องปลิ้นเปลือกตาจึงจะสามารถมองเห็นฝี มักจะมีขนาดใหญ่

สาเหตุของการเกิดโรคตากุ้งยิง

สำหรับสาเหตุของอาการหนังตาอักเสบเกิดจากการติดเชื้อ Staphylococcus aureus ซึ่งผู้ป่วยสามารถหายเองได้  โดยทั่วไปแล้วต่อมไขมันใต้เปลือกตามีจำนวนมาก ซึ่งไขมันก็จะระบายออกทางรูเล็กๆ ใกล้ขนตา หากมีสิ่งสกปรก เช่น ฝุ่นละอองไปอุดตัน ทำให้ไขมันไม่สามารถระบายออกที่รูต่อมไขมันได้ หากมีเชื้อโรคเข้าไปได้ ก็จะเกิดการอักเสบ และเป็นหนอง มีอาการเจ็บ และ บวม สาเหตุของการติดเชื้อที่มักจะเกิดขึ้นนั้น ได้แก่ แต่สำหรับกลุ่มคนที่ีมีภาวะโรคเบาหวาน หรือ ไขมันในโลหิตสูง จะมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคและมีความรุนแรงของโรคสูงกว่าคนทั่วไป

ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อตากุ้งยิง

  • การขยี้ตาบ่อย ๆ ด้วยมือที่ไม่สะอาด
  • การทำความสะอาดรอบดวงตาไม่ดี ทำให้ฝุ่นและสารละคายเคืองเข้าสู่ดวงตาง่าย
  • การไม่รักษาความสะอาดของคอนแทคเลนส์ ทำให้สิ่งสกปรกเจือปนเข้าสู่ดวงตา

อาการโรคตากุ้งยิง

เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อโรค จะเริ่มแสดงอาการเจ็บๆคันๆที่เปลือกตา ต่อมาเปลือกตาจะเริ่มบวมแดงและแสดงอาการปวด และมีก้อนที่บริเวณเปลือกตาจะทำให้มีอาการปวด และ จะเป็นก้อนหนองสีเหลือง ภายใน 5 วันหนองจะบวมและแตก บางคนมีอาการเปลือกตาบวมร่วม หากหนองที่เปลือกตาแตก จะทำให้ขี้ตาเป็นสีเขียว  เวลากดจะรู้สึกเจ็บ และค่อยๆยุบหายไปเอง

การรักษาโรคตากุ้งยิง

สำหรับแนวทางการรักษาโรคตากุ้งยิง โรคนี้ร่างกายสามารถรักษาตัวเองให้หายเองได้ แนวทางการรักษา คือ การประคับประครองอาการของโรคไม่ให้ลุกลาม หรือ เกิดอาการอักเสบมากขึ้น ซึ่งแนวทางการรักษาโรคตากุ้งยิง สามารถสรุป ได้ดังนี้

  1. การผ่าตัด เพื่อเอาหนองออก สำหรับแวทางการรักษาแบบนี้ จะรักษาสำหรับอาการรุนแรงที่ตากุ้งยิงไม่หายภายใน 2 สัปดาห์
  2. การใช้ยาหยอดตา เพื่อทำรักษาความสะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อมากขึ้น
  3. การรับประทานยาแก้อักเสบ และ บรรเทาอาการปวดของหนังตา

สำหรับโรคตากุ้งยิง สิ่งสำคัญในการรักษาโรค คือ ห้ามบีบหรือเค้นเอาหนองออก และหากหนองแตกเอง ให้ล้างด้วยน้ำต้มสุก หมั่นล้างมือบ่อยๆ หยอดตาและทานยา ตามสั่งหมอ งดการทำอะไรที่จะเกิดการระคายเคืองดวงตา ให้ประคบน้ำอุ่น

การป้องกันโรคตากุ้งยิง

แนวทางการป้องกันโรคตากุ้งยิง คือ การรักษาสุขอนามัย เพื่อไม่ให้มีเชื้อโรคที่หนังตา สามารถสรุปแนวทางการป้องกันโรคตากุ้งยิงได้ ดังนี้

  • ให้รักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะส่วนที่อยู่ใกล้กับดวงตา เช่น ใบหน้า และ เส้นผม เป็นต้น
  • ไม่ควรขยี้ตา เนื่องจากมือที่ขยี้ตาอาจไม่สะอาด ควรล้างมือบ่ายๆ
  • ทำความสะอาดรอบๆดวงตาทุกครั้ง หลังจากใช้เครื่องสำอางค์
  • หากมีความรู้สึกว่าดวงตาอักเสบ หรือ ติดเชื้อ ให้ใช้การทำความสะอาด และ การประคบร้อน เพื่อป้องกันการอุดตันของต่อไขมันบริเวณเปลือกตา
  • ให้ดูแลร่างกายให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินเอ และที่มีสารเบต้าแคโรทีนสูง เช่น ไข่แดง เนย เครื่องใน และพืชผักสีเหลือง เป็นต้น

ภาวะตาแห้ง Dry Eyes อาการน้ำที่ตาไม่เพียงพอที่จะหล่อลื่นลูกตา ทำให้ระคายเคืองตา แสบตา ไม่สบายตา เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ ดูมือถือนานๆ รักษาและป้องกันอย่างไร

โรคตาแห้ง โรคตา โรคไม่ติดต่อ ไม่มีน้ำตา

โรคตาแห้ง ภาษาอังกฤษ เรียก Dry Eyes สามารถพบได้ในทุกเพศและทุกวัย แต่ที่พบมากในเพศหญิง ที่หมดประจำเดือนเดือนแล้ว และกลุ่มคนที่ใช้สายตามมาก เช่น กลุ่มคนทำงานออฟฟิต และ คนที่ดวงตาต้องกระทบกับลมมากๆ โรคตาแห้ง เป็นภาวะน้ำตาที่มาหล่อเลี้ยงดวงตาไม่เพียงพอทำให้ดวงตาขาดความชุ่มชื่น สำหรับน้ำหล่อเลี้ยงดวงตา หรือ ฟิล์มน้ำตา สร้างจากเซลล์ในเยื่อบุตา ประกอบด้วย 3 ชั้น คือ ชั้นไขมัน ชั้นสารน้ำ และ ชั้นน้ำเมือก

คนที่มีภาวะตาแห้ง บางครั้งไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคตาแห้ง เนื่องจากการระคายเคืองดวงตาจนเกิดความเคยชิน อาจทำให้เป็นแผลที่กระจกตา กระจกตาไม่เรียบใส  ผิวกระจกตาอักเสบ บางรายอาจร้ายแรงจนเกิดการติดเชื้อทำให้ตาบอดได้

สาเหตุของโรคตาแห้ง

โรคตาแห้งมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ทั้งจากสภาพแวดล้อมและความผิดปรกติของร่างกายเอง เราสามารถสรุปสาเหตุของการเกิดภาวะตาแห้ง ได้ดังนี้

  1. ความผิดปรกติของฮอร์โมนเพศหญิง
  2. ผลค้างเคียงจากการใช้ยาในบางกลุ่ม เช่น ยากลุ่มแอนตี้ฮิสตามีน ยากล่อมประสาท ยารักษาไข้หวัดและภูมิแพ้ ยาทางจิตเวช และยาลดความดันโลหิตสูง เป็นต้น
  3. ภาวะเยื่อบุตาอักเสบอย่างรุนแรง ทำให้การสร้างน้ำตาลดลง
  4. ภาวะการสร้างน้ำตาน้อยผิดปกติ รวมถึงส่วนประกอบของน้ำตาผิดปกติ เช่น น้ำตาระเหยเร็ว เป็นต้น
  5. ภาวะการเสื่อมของร่างกายตามวัย
  6. ภาวะโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ทำให้เกิดต่อมน้ำตาอักเสบ
  7. ผลข้าวเคียงจากการรักษาดวงตาด้วยการทำเลสิก ทำให้ร่างกายไม่มีการถูกกระตุ้นให้สร้างน้ำตา
  8. ผลข้างเคียงจากการใช้คอนแทคเลนส์
  9. การเกิดอุบัตติเหตุกับดวงตา

อาการของโรคตาแห้ง

สำหรับโรคตาแห้ง ผู้ป่วยจะแสดงอาการที่ดวงตาและส่งผลกระทบต่อการมองเห็นพอสมควร ผู้ป่วยจะระคายเคืองดวงตาเหมือนมีเศษฝุ่นอยู่ในตาตลอดเวลา ขี้ตาเหนียว บางครั้งมีอาการน้ำตาไหล เราสามารถสรุปลักษณะอาการของโรคตาแห้ง ได้ดังนี้

  • รู้สึกไม่สบายตา มีอาการฝืดๆดวงตา ระคายเคืองตา เหมือนมีอะไรอยู่ที่ดวงตาตลอดเวลา
  • การมองเห็นผิดปรกติ เช่น อาการตาพร่า อาการแพ้แสงแดด และอาการสายตามัว บางครั้งการมองเห็นภาพเหมือนมีภาพซ้อน
  • น้ำตาไหล
  • ขี้ตาเป็นเมือกเหนียว
  • อาจรู้สึกปวดหัว หรือ ปวดตา บางครั้ง

ลักษณะอาการต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น จะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น หากใช้สายตาหนักขึ้น เช่น อ่านหนังสือ ขับรถ ทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ หรือ ดูทีวีนานๆ

การรักษาโรคตาแห้ง

สำหรับทางการรักษาโรคตาแห้ง มีหลายระดับขึ้นอยู่กับปัจจัยของการเกิดโรค ตั้งแต่ การปรับการใช้ชีวิต การใช้ยาหยอดตาลดการระคายเคือง การให้ยารักษาตามอาการ รวมถึงการผ่าตัดเพื่อรักษา สรุปแนวทางการรักษาโรคตาแห้ง ดังต่อไปนี้

  1. สำหรับกลุ่มคนที่มีปัจจัยตาแห้งจากสภาพแวดล้อมและการใช้ชีวิต ให้หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองดวงตา เช่น ไม่อยู่ในที่ที่มีฝุ่นละออง ควัน หลีกเลี่ยงการใช้พัดลม แต่หากจำเป็นให้ใส่แว่นตาเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนต่อดวงตา รวมถึงให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพดวงตา
  2. สำหรับกลุ่มคนที่มีอาการตาแห้งจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ให้รักษาโรคที่เป็นสาเหตุของการเกิดตาแห้ง เช่น โรคเปลือกตาอักเสบ โรคเบาหวาน เป็นต้น
  3. ใช้น้ำตาเทียมช่วยลดอาการขาดน้ำหล่อเลี้ยงดวงตา และลดการอักเสบของดวงตา
  4. สำหรับในบางกรณีหากจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด มีแนวทางการผ่าตัด 3 ลักษณะ คือ การทำ Punctual plug คือ การผ่าตัดเพื่ออุดช่องทางการไหลออกของน้ำตาลงสู่โพรงจมูก การทำ Punctal cautery คือ การผ่าตัดโดยการจี้บริเวณช่องทางที่น้ำตาไหล เพื่ออุดการไหลออกของน้ำตาแบบถาวร และ การเย็บเปลือกตาหรือหนังตา เพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปรกติของเปลือกตาและหนังตา

วิธีการป้องกันโรคตาแห้ง

สำหรับโรคตาแห้ง สามารถป้องกันโอกาสการเกิดโรคในส่วนของปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ แนวทางการป้องกันโรคตาแห้ง มีดังนี้

  • ให้ใส่เครื่องป้องกันดวงตา เช่น ใส่แว่นช่วยป้องกันแสงสีฟ้า จากคอมพิวเตอร์
  • พักสายตาจากการใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์บ่อยๆ หากจำเป็นต้องใช้สายตานานๆ ควรพักสายตาทุก 30 – 60 นาที ด้วยการหลับตา 1 – 2 นาที
  • หมั่นบริหารดวงตา เพื่อกระตุ้นต่อมน้ำตาให้หลั่งน้ำตาออกมามากขึ้นโดยอัตโนมัติ
  • ควรสวมแว่นกันแดดหรือกันลม หากจำเป็นต้องอยู่ในบริเวณที่อากาศแห้ง ร้อน หรือมีลมพัดแรง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ช่วยบำรุงสายตา
  • หมั่นตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำทุกปี

ภาวะตาแห้ง ( Dry Eyes ) คือ อาการน้ำที่ตาไม่เพียงพอที่จะหล่อลื่นลูกตา ส่งผลให้ระคายเคืองตา แสบตาไม่สบายตา โรคจากการใช้คอมพิวเตอร์มาก ดูมือถือนานๆ แนวทางการรักษาและการป้องกันโรคตาแห้ง ทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove