ไวรัสตับอักเสบบี Hepatitis B ภาวะติดเชื้อไวรัสที่ตับ สาเหตุของตับวาย ตับแข็ง มะเร็งตับ อาการตัวเหลืองตาเหลือง ปวดชายโครงด้านขวา อาเจียน อ่อนเพลีย ปวดตามข้อ รักษาอย่างไร

ไวรัสตับอักเสบบี โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

ไวรัสตับอักเสบบี ภาษาอังกฤษ เรียก Hepatitis B เป็นโรคที่สามารถติดต่อได้ ซึ่งอาการสำคัญ คือ การอักเสบของเซลล์ตับ หากอาการมีความเรื้อรังจะเกิดพังผืด เป็นสาเหตุของตับแข็งและมะเร็งตับ การติดต่อของเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายสามารถถ่ายทอดจากแม่สู่ทารกในครรภ์ได้ การใช้เข็มร่วมกับคนที่มีเชื้อ การสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งผ่านเข้าทางบาดแผล การใช้สิ่งของร่วมกับผู้มีเชื้อ เช่น แปรงสีฟัน มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้มีเชื้อโดยไม่ป้องกัน

สาเหตุของโรคไวรัสตับอักเสบบี

หากพูดถึงโรคตับอักเสบ โรคนี้มีหลายชนิด เช่น โรคไวรัสตับอักเสบเอ โรคไวรัสตับอักเสบซี เป็นต้น ตับอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น การดื่มสุรา การเสพยาเสพติด การติดเชื้อไวรัส เป็นต้น โรคไวรัสตับอักเสบบี สามารถติดต่อได้หลายช่องทาง รายละเอียด ดังนี้

  1. การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ โดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย
  2. การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ
  3. การใช้เข็ม สักตามตัวและการเจาะหู ร่วมกันกับผู้ติดเชื้อ
  4. การใช้แปรงสีฟัน มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ ร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ
  5. ติดเชื้อจากแม่สู่ลูกขณะคลอด เราพบว่าลูกมีโอกาสติดเชื้อได้ถึงร้อยละ 90
  6. การสัมผัส เลือด น้ำคัดหลั่ง ของผู้ติดเชื้อ

อาการของโรคไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับอาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เราสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ ระยะฉับพลัน และ ระยะเรื้อรัง รายละเอียด ดังนี้

  • อาการของผู้ป่วยติดเชื้อไวรับตับอักเสบบี ระยะเฉียบพลัน พบว่า ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการภายใน 4 เดือน หลังจากได้รับเชื้อ โดยอาการจะมีไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดชายโครงด้านขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีผื่น ปวดตามข้อ มีโอกาสเกิดภาวะตับวายได้ แต่อาการจะดีขึ้นภายใน 4 สัปดาห์ หากสามารถควบคุมและกำจัดเชื้อไวรัสได้ แต่พบว่าร้อยละ 5 ของผู้ป่วยชนิดฉับพลัน จะเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี เรื้อรัง
  • อาการของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี ระยะเรื้อรัง เราสามารถแบ่งอาการของโรคนี้ได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ระยะพาหะ และระยะตับอักเสบเรื้อรัง
    • ระยะพาหะ ผู้ป่วยจะพบอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อให้อื่นได้
    • ระยะอักเสบเรื้อรัง ระยะนี้การทำงานของตับผิดปกติ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการให้เห็นอย่างชัดเจน แต่ในผู้ป่วยบางรายมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร

การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับการรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี สามารถใช้ยารักษา แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยของไวรัสบี ปัจจัยทางผู้ป่วย และระยะของโรค โดยในปัจจุบัน ยาที่ใช้รักษาไวรัสตับอักเสบบี มีทั้งชนิดฉีดและชนิดรับประทาน แนวทางการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ บี ยังเป็นการรักษาประคับประคองตามอาการ ไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะเพราะยาปฏิชีวนะฆ่าไวรัสไม่ได้ แต่ใช้ฆ่าแบคทีเรีย ซึ่งที่สำคัญ คือ พักการทำงานของตับ โดยการพักผ่อนให้มากๆ (ควรต้องหยุดงานอย่างน้อยประมาณ 3-4 สัปดาห์) นอกจากนั้น คือ

  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน(สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง ฟื้นตัวได้เร็ว ลดโอกาสติดเชื้อซ้ำซ้อน ลดการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น
  • ดื่มน้ำให้มากกว่าปกติ ไม่ควรต่ำกว่าวันละ 6-8 แก้ว(เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม)
  • กินอาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ ทุกวัน
  • งดบุหรี่ และ แอลกอฮอล์ เพราะสารพิษในบุหรี่และแอลกอฮอล์ทำลายเซลล์ตับโดยตรง
  • กินยาแต่ที่เฉพาะได้รับจากแพทย์ ไม่ซื้อยากินเอง เพราะเพิ่มโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยาต่อเซลล์ตับสูงขึ้น อาจส่งผลให้ตับอักเสบมากขึ้น

อนึ่ง ในการรักษาโรคในระยะเรื้อรัง ปัจจุบันมีตัวยาหลายชนิด ทั้งฉีด และกิน ใช้เพื่อชะลอการแบ่งตัวของไวรัส ส่วนจะเลือกใช้ยาตัวใด ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ในปัจจุบันสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกัน สำหรับคนที่มีคนในครอบครัวเป็นพาหะของไวรัสชนิดนี้ ให้ตรวจเลือดเพื่อให้ทราบถึงภาวะของเชื้อ

  • ฉีดวัคซีนป้องกัน โดยผู้ที่ควรฉีดวัคซีนมากที่สุดคือ เด็กแรกเกิด สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่โดยทั่วไปมีความจำเป็นน้อยในการฉีดวัคซีน เนื่องจากส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อแล้ว หากต้องการฉีดวัคซีนควรได้รับการตรวจเลือด ผู้ที่เคยติดเชื้อมาแล้วหรือมีภูมิต้านทานแล้วไม่ต้องฉีดวัคซีน
  • ผู้ที่อยู่ในครอบครัวที่เป็นพาหะ ควรตรวจเลือดเพื่อทราบถึงภาวะของการติดเชื้อก่อนการฉีดวัคซีน การฉีดวัคซีนต้องฉีดให้ครบชุดจำนวน 3 เข็ม หลังจากนั้นวัคซีนจะกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานขึ้นในร่างกาย

ข้อควรปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบี

  1. ควรขอรับคำแนะนำจากแพทย์ และระมัดระวังการแพร่เชื้อไปสู่คนใกล้ชิด
  2. ไม่ใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์
  3. ตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ
  4. เวลามีเพศสัมพันธ์ต้องสวมถุงยางอนามัย
  5. ไม่บริจาคเลือด
  6. งดการดื่มสุรา
  7. พักผ่อนให้เพียงพอ
  8. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  9. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  10. หากต้องรับการผ่าตัดหรือทำฟัน ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบว่ามีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

ตับอ่อนอักเสบเกิดจากนิ่วในท่อน้ำดี พบบ่อยในคนดื่มสุรา การกินยาบางชนิด ภาวะไขมันในเลือดสูง และเนื้องอกในตับอ่อน ปวดท้องอย่างรุนแรง ไข้สูง หัวใจเต้นเร็ว

ตับอ่อนอักเสบ โรคระบบทางเดินอาหาร โรคไม่ติดต่อ

ตับอ่อน คือ อวัยวะหนึ่งในร่างกาย มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนเข้าสู่กระแสโลหิต เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด ตับอ่อนจะอยู่บริเวณตรงกลางท้องด้านบน หากตับอ่อนมีปัญหาร่างกายจะเกิดภาวะผิดปรกติเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารและระดับน้ำตาลในเลือด

ตับอ่อนอักเสบ ( Pancreatitis ) คือ ภาวะความผิดปรกติของเนื้อเยื่อตับอ่อน โดยลักษณะอาการอักเสบของตับอ่อนมีทั้งการอักเสบชนิดเฉียบพลันและ การอักเสบลักษณะเรื้อรัง ซึ่งโดยส่วนมากสาเหตุของโรคนี้หลักๆแล้วจะมานิ่วอุดตันที่น้ำดีจากการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป

ชนิดของตับอ่อนอักเสบ

ภาวะการอักเสบของตับอ่อน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ ตับอ่อนอักเสบชนิดเฉียบพลัน และ ตับอ่อนอักเสบชนิดเรื้อรัง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน ( Acute pancreatitis ) เกิดการอักเสบขึ้นกับเซลล์ของตับอ่อนอย่างเฉียบพลัน ผู้ป่วยบางรายอาจพบว่ามีอาการรุนแรง
  • ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง ( Chronic pancreatitis ) การอักเสบของตับอ่อนอย่างต่อเนื่องจนเกิดอาการเรื้อรัง โดยอาจจะเกิดขึ้นตามหลังการอักเสบเฉียบพลัน รักษาไม่หาย ซึ่งในการอักเสบเรื้อรังนี้เซลล์ของตับอ่อนจะค่อย ๆ ถูกทำลายจนไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่

สาเหตุของตับอ่อนอักเสบ

ภาวะตับอ่อนอักเสบเกิดจากนิ่วอุดตันที่ท่อน้ำดี เมื่อน้ำย่อยของตับอ่อนไม่สามารถไหลเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารทำให้เกิดการบวมของเนื้อเยื่อทำให้มีอาหารปวดท้อง นอกจากสาเหตุจากนิ่วอุดตันท่อน้ำดีนั้น มีสาเหตุจากการดื่มสุรา การกินยาบางชนิด ระดับไขมันในเลือดสูง อุบัติเหตุที่หน้าท้อง เนื้องอกในตับอ่อน รวมถึงการผ่าตัดที่ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงตับอ่อนน้อยลง

กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรคตับอ่อน

ปัจจัยเสี่ยง สำหรับการเกิดโรคตับอ่อนอักเสบ พบว่า ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับถุงน้ำดี นักดื่มสุรา คนสูบบุหรี่ การฝ่าตัด และคนทีมีไขมันในเลือดสูง มีความเสี่ยงในการเป็น โรคตับอ่อนอักเสบสูง

อาการของโรคตับอ่อนอักเสบ

ลักษณะอาการโรคตับอ่อนอักเสบ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้อง บริเวณลิ้นปี่และสามารถลามไปถึงด้านหลัง เจ็บเวลากดที่หน้าท้อง  ร่วมกับมีอาการคลื่นไส้อาเจียน มีไข้สูง เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว แต่ลักษณะอาการตับอ่อนอักเสบในแต่ละชนิดมีลัฏษณะอาการที่แตกต่างกัน โดยลักษณะอาการโรคตับอ่อนอักเสบชนิดต่างๆมีรายละเอียด ดังนี้

อาการตับอ่อนอักเสบชนิดเฉียบพลัน

  • ปวดท้องอย่างรุนแรงตรงกลางส่วนบน ปวดแบบตื้อๆและปวดแบบต่อเนื่องกันหลายวัน ปวดร้าวไปถึงหลัง กดหน้าท้องจะเจ็บ
  • ท้องอืด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย
  • มีไข้สูง
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • หายใจเร็ว
  • มีภาวะขาดน้ำ
  • มีอาการอักเสบของอวัยวะต่างๆ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ปอดอักเสบ หรือ ไตวาย เป็นต้น

อาการตับอ่อนอักเสบชนิดเรื้อรัง

  • ลักษณธอาการเบื้องต้น คือ ปวดท้องตรงกลางส่วนบน ไข้สูง
  • ท้องเสียแบบเรื้อรัง
  • อุจจาระเป็นไขมันและมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ท้องผูก
  • น้ำหนักตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง
  • ปัสสาวะมีสีเข้ม

การตรวจวินิจฉัยโรคตับอ่อนอักเสบ
สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคตับอ่อนอักเสบ ต้องทำการตรวจเลือดและทำอัลตราซาวน์ เพื่อวิเคราะห์ภายในร่างกาย

การรักษาโรคตับอ่อนอักเสบ 

สำหรับแนวทางการรักษาโรคตับอ่อนอักเสบให้ผู้ป่วยงดการดื่มน้ำและรับประทานอาหาร เพื่อให้กระเพาะอาหารทำงานน้อยลง และทดแทนสารอาหารด้วยการให้น้ำเกลือ ร่วมกับการให้ยาแก้ปวด และยาปฏิชีวนะ เพื่อรักษาภาวะติดเชื้อโรค และการหากพบว่าสาเหตุของโรคมาจากนิ่วอุดตันท่อนน้ำดี ต้องเข้ารับการผ่าตัดนิ่วออก และต้องทำการเฝ้าระวังอาการแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ภาวะโลหิตเป็นพิษ ภาวะไตวายและภาวะการขาดอาหาร

การป้องกันตับอ่อนอักเสบ

สำหรับแนวทางการป้องกันการเกิดโรคตับอ่อนอักเสบ สามารถทำได้โดยหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดนิ่วที่ตับอ่อน โดยแนวทางการป้องกันโรคมีดังนี้

  • งดการดื่มแอลกอฮอล์
  • งดการสูบบุหรี่
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ไม่ซื้อยารับประทานเอง ควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ก่อนที่จะรับประทานยาใดๆ
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้ดี เพื่อช่วยลดโอกาสการติดเชื้อต่าง ๆ

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove