โรคหูด HPV เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Human papilloma viruses ทำให้เกิดหูดขึ้นที่มือ เท้า คอ และอวัยวะเพศ ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทำให้เกิดมะเร็งได้ ไม่มียารักษาโรคหูด HPV โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

เชื้อไวรัส  Human papillomaviruses (HPVs) ติดต่อได้อย่างไร

การติดเชื้อ HPV เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าทางช่องคลอดหรือทางทวารหนัก หรือติดต่อทางผิวหนัง การติดต่อจากแม่ไปลูก หรือติดต่อจากปากสู่อวัยวะเพศ เชื้อ HPV หรือชื่อเต็มว่า Human Papillomavirus เป็นไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งมากกว่า 100 สายพันธุ์ ทำให้เกิดหูดตามอวัยวะต่างๆ โดยสามารถติดต่อได้ทางพันธุกรรม และ ทางเพศสัมพันธ์ทั้งชายและหญิง

นอกจากนั้นยังสามารถติดต่อกันทางการร่วมเพศทางปาก คอหอย และ ทวารหนักได้ตามลักษณะการมีกิจกรรมทางเพศ แม้กระทั่งในเด็กแรกเกิดก็สามารถติดเชื้อนี้ได้ หากขณะที่คลอดนั้น เด็กได้คลอดผ่านช่องคลอดของคุณแม่ที่มีเชื้อนี้อยู่ ทำให้เด็กมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ HPV ที่กล่องเสียงได้ ปัจจุบันพบเชื้อนี้บ่อยที่สุดในช่องคลอดสตรี และปากมดลูกมากกว่าบริเวณอื่น ซึ่งผู้ที่ติดเชื้อจะไม่มีอาการ หากไม่รับการตรวจ ก็จะเป็นภัยเงียบที่เราไม่รู้ตัว จนเมื่อได้พัฒนาไปเป็นมะเร็งไปแล้วจึงจะออกอาการ

ในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาการติดเชื้อ HPV ให้หายขาดได้ ผู้ป่วยต้องรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทาน เชื้อจะหายไปเอง เกือบ 90 % ภายใน 2 ปี แต่อีก 5 – 10% ของโรคร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสเอชพีวีนี้ได้ ผู้ป่วยยังคงติดเชื้ออยู่ต่อเนื่อง ซึ่งจะสามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์มะเร็งได้ ในระยะเวลา 10 -15 ปี ผู้ที่ติดเชื้อจึงต้องเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี

ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัส HPV

สำหรับกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงตอการเกิดโรคติดเชื้อไวรัส HPV นั้น พบว่ากลุ่มคนที่มีลักษณะและพฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้ มีความเสี่ยงของการเกิดดรคสูงที่สุด คือ

  1. คนที่สูบบุหรี่
  2. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์
  3. คนที่ขาดสารอาหารและขาดวิตามินบี 9
  4. กลุ่มคนที่มีโรคการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
  5. กลุ่มคนที่ร่างกายไม่แข็งแรง คนที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ
  6. กลุ่มคนใช้ยาคุมกำเนิด นานกว่า 5 ปี

การรักษาโรคการติดเชื้อไวรัส HPV

การติดเชื้อไวรัส Human papillomaviruses (HPVs) รักษาอย่างไร ประมาณ 7 ใน 10 ของผู้ป่วย ภูมิคุ้มกันเชื้อโรคของร่างกายจะกำจักเชื้อโรคออกได้เองภายใน 365 วัน แต่ 9 ใน 10 คนของผู้ที่มีภูมิคุ้มกันโรค สามารถกำจัดได้หมดภายใน 2 ปี  ในปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถกำจัดเชื้อโรค Human papillomaviruses (HPVs) แต่สามารถกำจัดหูดออกได้

การป้องกันการติดเชื้อ Human papillomaviruses ( HPVs )

โรคนี้สามารถป้องกันการเกิดโรคได้โดย การฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ Human papillomaviruses ( HPVs ) นอกจากนั้นต้องป้องกันด้วยการปรับพฤติกรรมในการดำรงชีวิต เช่น การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย สวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง โดยสามารถสรุป ได้ดังนี้

  1. รักษาและดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง
  2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยให้รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่
  3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  4. ป้องกันขณะมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง โดยใช้ถุงยางอนามัยสำหรับเพศชาย
  5. เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV เพื่อลดโอกาสการเกิดมะเร็งปากมดลูก

สำหรับ โรคการติดเชื้อไวรัส HPV นั้น ร้อยละ 95 เกิดขึ้นเองจากการกำจัดเชื้อไวรัส HPV จากภูมิต้านทานที่ร่างกายสร้างขึ้น ซึ่งการติดเชื้อไวรัส HPV นั้น ไม่ได้ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกเสมอไป เนื่องจาก เมื่อวินิจฉัยโรคด้วยการส่องกล้องขยายทางช่องคลอด จะพบว่า ความผิดปกติของปากมดลูกมีน้อยมาก แปลว่า ผู้ติดเชื้อไวรัส HPV อาจไม่เสี่ยงโรคมะเร็งปากมดลูก ทุกคนนั่นเอง

เชื่อ HPV เป็นเชื่อที่สามารถติดต่อได้จากการสัมผัส และการมีเพศสัมพันธ์ ดังนั้น เราขอแนะนำ สมุนไพรช่วยเพิ่มสมรรถนะทางเพศ มีดังนี้

ผักบุ้ง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของผักบุ้งผักบุ้ง
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ประฌยชน์ของโด่ไม่รู้ล้ม
โด่ไม่รู้ล้ม
กระเทียม สมุนไพร สมุนไพรไทย เครื่องเทศ
กระเทียม
กระชาย สมุนไพร สมุนไพรไทย ต้นกระชาย
กระชาย
กระเฉด สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว

ผักกระเฉด

ว่านมหาหงส์ สมุนไพร สรรพคุณของว่านมหาหงส์ ประโยชน์ของว่านมหาหงส์ว่านมหาหงส์

โรคหูด ( HPVs ) เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Human papilloma viruses เกิดหูดขึ้นที่ มือ เท้า คอ และอวัยวะเพศ เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทำให้เกิดมะเร็งได้ การติดเชื้อไวรัส HPV ยังไม่มียารักษา

อุ้งเชิงกรานอักเสบ ภาวะติดเชื้อที่ระบบสืบพันธุ์ของสตรี จากการมีเพศสัมพันธ์ อาการปวดท้องน้อย ตรงส่วน มดลูก ปีกมดลูก และ ท่อนำไข่ การรักษาโรคนี้ทำอย่างไรอุ้งเชิงกรานอักเสบ ปวดท้องน้อย มีเซ็กส์กับคนเป็นหนองใน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

อุ้งเชิงกรานอักเสบ ทางการเพทย์ เรียกว่า Pelvic Inflamatory Disease จัดว่าเป็น โรคจากการติดเชื้อ ที่ระบบการสืบพันธ์ โรคนี้เกิดในสตรี โดยสาเหตุส่วนใหญ่พบว่าเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ปลอดภัย ส่วนใหญ่แล้ว จะเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ป่วยเป็นโรคหนองใน ซึ่งจะทำให้อวัยวะเพศอักเสบ โรคนี้มักเกิดกับสตรีวัยเจริญพันธุ์ ช่วยอายุไม่เกิน 25 ปี

สำหรับเชื้อโรคที่ทำให้อุ้งเชิงกรานอักเสบ คือ เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคหนองใน ชื่อ N.gonorrhea และ C.trachomatis แต่ เชื้อแบคทีเรียที่อาศัยในช่องคลอด ก็อาจเป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่อุ้งเชิงกราน ได้เช่นกัน

สาเหตุของโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ

สำหรับสาเหตุของอาการอุ้งเชิงกรานอักเสบ นั้นสาเหตุ คือ เกิดจากการติดเชื้อาแบคทีเรีย ที่ระบบสืบพันธุ์ภายของสตรี ซึ่งเมื่อเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อโรคก็จะแพร่กระจายจากช่องคลอด ไปสู่อวัยวะภายในช่องคลอด อย่าง ช่องท้อง ท่อนำไข่ และ รังไข่ เป็นต้น โดยสาเหตุของการติดเชื้อที่พบมากที่สุด คือ การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีภาวะ เป็น โรคหนองใน และ โรคหนองในเทียม โดยขาดการป้องกันอย่างถูกต้อง สำหรับ สาเหตุของการเกิดโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ สามารถแยกได้ 2 กรณี คือ สาเหตุจากการมีเพศสัมพันธ์ และ สาเหตุที่ไม่ได้มาจากการมีเพศสัมพันธ์ โดยรายละเอียดมีดังนี้

  • สาเหตุที่มาจากการมีเพศสัมพันธ์ พบว่า ร้อยละ 25 ชองผู้ป่วย เกิดจากการติดโรคทางเพศสัมพันธ์ ทั้ง หนองใน และ หนองในเทียม โดยผู้ติดเชื้อ จะเริ่มติดเชื้อแบคทีเรีย ที่ปากมดลูก จากนั้นจึงค่อยกระจายสู่อวัยวะอ่ื่นๆ
  • สาเหตุอื่น ๆที่ไม่ได้มาจากการมีเพศสัมพันธ์ เป็นสาเหตุที่ไม่ทราบแน่ชัด แต่เป็นการติดเชื้อจากช่องคลอด เช่น การตรวจภายในที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การทำแท้ง การใช้อุปกรณ์คุมกำเนิดชนิดสอดใส่ เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุ้งเชิงกรานอักเสบ

สำหรับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่มีผลต่อการติดเชื้อ เป็นปัจจัยที่ไปกระทบที่ช่องคลอดและอวัยวะสืบพันธ์ของสตรีทั้งสิ้น โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • การมีคู่นอนหลายคน
  • การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่เคยติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์
  • การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่อายุต่ำกว่า 25 ปี
  • การสวนล้างช่องคลอด
  • การใสห่วงอนามัยคุมกำเนิด
  • การขูดมดลูก
  • การขยายโพรงมดลูก

อาการของอุ้งเชิงกรานอักเสบ

สำหรับอาการโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ ซึ่ง อาการอุ้งเชิงการอักเสบในระยะแรก นั้นจะยังไม่แสดงอาการใด ๆ และอาการจะแสดงเมื่อมีอาารรุนแรง โดยจะมีอาการปวดบริเวณช่องท้อง ซึ่งสามารถสังเกตุอาการอุ้งเชิงกรานอักเสบ ได้ดังนี้

  • เจ็บท้องน้อย เจ็ยท้องส่วนเหนืออวัยวะเพศ
  • มีอาการตกขาวผิดปกติ สารคัดหลั่งมีกลิ่นผิดปรกติ และมีสีเปลี่ยนไปจากเดิม
  • มีเลือดออกที่ช่องคลอด เลือดที่ออกมีปริมาณมาก หรือ มีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์
  • ผู้ป่วยจะมีไข้สูง มีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย
  • มีอาการคลื่นไส้
  • เวียนหัว
  • ร่างกายอ่อนเพลีย รู้สึกไม่สบายตัว
  • เวลามีเพศสัมพันธ์จะปวดมาก
  • มีอาการปัสสาวะขัดและปวดแสบเวลาปัสสาวะ

หากท่านมีลักษณะของการดังกล่าว ให้พบเพทย์เพื่อทำการตรวจอย่างละเอียด เนื่องจากเชื้อโรคสามารถทำลายระบบสืบพันธุ์ได้

ภาวะแทรกซ้อนของการเกิดโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ

การติดเชื้อที่อุ้งเชิงกราน หากไม่ทำการรักษาอย่างทันท่วงที่ จะเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เป็นปัญหาได้ในอนาคต โดยโรคแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นหากไม่ทำการรักษาการติดเชื้อ ประกอบด้วย

  • เกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบแบบเรื้อรัง โรคนี้เมื่อรักษาแล้ว สามารถกลับมาติเชื้อใหม่ได้ หากผู้ป่วยไม่ทำการป้องกันปัจจัยของการเกิดโรค
  • เกิดฝีที่ท่อนำไข่และรังไข่ การติดเชื้อเป็นเวลานาน ที่อุ้งเชิงกราน ทำให้เกิดเชื้อโรคตกค้างในอวัยวะเพศภายใน ที่ให้เกิดฝีได้ หากพบว่าเป็นฝี จำเป็นต้องรับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ หรือ การผ่าตัดเพื่อระบายหนอง
  • การปวดเชิงกรานเรื้อรัง โดยอาการปวดจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น นอนไม่หลับ โรคซึมเศร้า เป็นต้น
  • เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก การติดเชื้อที่ท่อนำไข่ อานจทำให้ทำไข่เคลื่อนตัวผ่านท่อนำไข่ยาก และหากเกิดการปฏิสนธิ ในท่อนำไข่จะทำให้ตัวอ่อนเจริญเติบโตผิดที่ เป็นอันตรายต่อชีวิตได้
  • เกิดภาวะการมีบุตรยาก การติดเชื้อที่อวัยวะเพซ ส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธ์โดยตรง จะทำให้ผู้ป่วยประสบปัญหาการมีบุตรยาก

รักษาการโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ

สำหรับการรักษาโรคนี้ เนื่องจากสาเหตุของโรคเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย การรักษาจึงต้องใช้ยาปฏิชีวนะแบบรับประทาน ในการฆ่าเชื้อโรค แต่การรักษาต้องอยู่ในการพิจารณาของแพทย์อย่างเหมาะสม ส่วนใหญ่แล้วการรักษาจะใช้เวลา ประมาณ  14 วัน และต้องติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง

ในผู้ป่วยบางราย ที่มีอาการไม่ตอบสนองยาปฏิชีวนะ นั้น จะมีอาการรุนแรงมาก เช่น มีไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียนมาก มีถุงหนองเกิดขึ้นในอุ้งเชิงกราน ต้องใช้การรักษาด้วย ยาปฏิชีวนะแบบฉีด และหากผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยาปฏิชีวเลย จำเป็นต้องรับการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งจะเป็นทางเลือกสุดท้ายในการรักษาของแพทย์

การป้องกันโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ

การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การป้องกันการเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย เพื่อลดโอกาสของการติดเชื้อที่อวัยวะเพศ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ไม่มีคู่นอนหลายคน
  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ไม่สวนล้างช่องคลอด เนื่องจากอาจเกิดการติดเชื้อได้

โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ ภาวะติดเชื้อที่ระบบสืบพันธุ์ของสตรี เกิดจากการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ อาการของโรคนี้ คือ ปวดท้องน้อย ตรงส่วน มดลูก ปีกมดลูก และ ท่อนำไข่ การรักษาโรคนี้ทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove