ความดันโลหิตสูง Hypertension โรคความดันโลหิตสูงมักไม่แสดงอาการแต่มีความเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นอันตราย ต้องทำอย่างไรเมื่อเป็นโรคความดัน

ความดันโลหิตสูง โรค

โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่พบมากและเป็นภัยเงียบที่ทำให้เป็นความเสี่ยงโรคหัวใจโรคอัันตราย ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงส่วนมากไม่รู้ตัว โรคมักไม่แสดงอาการ แต่หากเกิดโรคมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง มีความเสี่ยงเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจหนา ภาวะหัวใจวาย ภาวะไตวายเรื้อรัง หลอดเลือดสมองตีบหรือหลอดเลือดสมองแตกจนเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตตามมา จนถึงขั้นเสียชีวิตอย่างกระทันหันได้

ภาวะความดันโลหิตสูง ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Hypertension  หรือ High blood pressure เป็นโรคไม่ติดต่อพบมากในผู้ใหญ่ เราพบว่าประมาณ 25 ถึง 30% ของประชากรผู้ใหญ่บนโลกทั้งหมดเป็นโรคนี้ และผู้ชายจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้หญิง  และหากอายุเกิน 60 ปี เราพบว่า 50% ของประชากรบนโลกเป็นภาวะความดันโลหิตสูง โดยปรกติความดันโลหิตของมนุษย์ จะอยู่ที่ 90-119/60-79 มิลลิเมตรปรอท หากวัดได้สูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ถือว่าเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูง

ประเภทของโรคความดันโลหิตสูง

เราสามารถแบ่งประเภทของโรความดันโลหิตสูงได้ ประเภท คือ ความดันโลหิตสูงชนิด Primary Hypertension และ ความดันโลหิตสูงชนิด Secondary Hypertension โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ความดันโลหิตสูงชนิด Primary Hypertension ความดันโลหิตสูงประเภทนี้ส่วนใหญ่จะพัฒนาขึ้นในช่วงหลายปี 
  • ความดันโลหิตสูงชนิด Secondary Hypertension ความดันโลหิตสูงประเภทนี้เกิดจากสภาวะสุขภาพพื้นฐานโดยจะปรากฏขึ้นอย่างกะทันหัน 

สาเหตุของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง เกิดจากความดันโลหิตสูงกว่าค่าความดันปรกติ ซึ่งโดยปรกติความดันโลหิตของมนุษย์ จะอยู่ที่ 90-119/60-79 มิลลิเมตรปรอท หากวัดได้สูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ถือว่าเข้าสู่ภาวะ ความดันโลหิตสูง เราสามารถแยกสาเหตุที่ทำให้ความดันโลหิตสูงได้ เป็น 2 ชนิด คือ ความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ภาษาอังกฤษ เรียก Essential hypertension และความดันโลหิตสูงชนิดที่ทราบสาเหตุ ภาษาอังกฤษ เรียก Secondary hypertension โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ความดันโลหินสูง ชนิดไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ( Essential hypertension )  ชนิดนี้ 90% ของผู้ป่วยทั้งหมด เราพบว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน แต่ทางการแพทย์เชื่อว่า น่าเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น อิทธิพลของเอ็นไซม์  เรนิน (Renin) และฮอร์โมนแองจิโอเท็นซิน ( Angiotensin) ที่มาจากไต สารเหล่านี้ ส่งผลต่อการทำงานของต่อมใต้สมองทำให้เกิดการบีบตัวของหลอดเลือดในร่างกาย ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง เรียกว่า กระบวนการ Renin-Angiotensin system นอกจากนี้ เรื่องพันธุกรรม อาหารการกิน ก็ส่งผลต่อความดัยโลหิตสูงเช่นกัน
  • ความดันโลหิตสูงชนิดทราบสาเหตุ ( Secondary hypertension )ชนิดนี้มี10% ของผู้ป่วนโรคนี้ สามารถรู้สาเหตุของภาวะความดันดลหิตสูง

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูงมักเกิดจากพฤติกรรมการดำรงค์ชีวิตที่ไม่เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งสำหรับโรคความดันโลหิตสูง มีหลายปัจจัยทีทำให้เกิดโรค โดยรายละเอียด มีดังนี้

  1. พันธุกรรม หากในครอบครัว หรือญาติพี่น้องที่มีคนป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง โอกาสที่จะเกิดความดันโลหิตสูง จะมากกว่าคนที่ในครอบครัวไม่มีคนเป็นโรคนี้
  2. โรคเบาหวาน เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะมีภาวะตีบตันของหลอดเลือด ก็มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงได้
  3. โรคอ้วน ในคนอ้วนจะมีไขมันไปเกาะตามผนังหลอดเลือด ก็จะมีความเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูงมาก
  4. โรคไตเรื้อรัง จากที่กล่าวมาข้างต้น ไตมีหน้าที่สร้างเอ็นไซม์และฮอร์โมนที่ควบคุมความดันโลหิต
  5. การสูบบุหรี่ สารพิษจากควันบุหรี่ ทำให้หลอดเลือดตีบตันได้
  6. การดื่มสุรา สุราจะมำให้หัวใจเต้นแรงกว่าปกติ เราพบว่า 50% ของผู้ติดสุรา เป็นโรคความดันโลหิตสูง
  7. การรับประทานอาหารเค็ม
  8. การไม่ออกกำลังกาย
  9. การใช้ยากลุ่มสเตียรรอยด์บางชนิด มีผลข้างเคียงทำให้ความดันโลหิตสูง

อาการโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง มักไม่มีอาการให้เห็นชัดเจน ส่วนใหญ่อาการของโรคความดันโลหิตสูงจะส่งผลให้เห็นในลักษณะ โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมอง โรคเบาหวาน อาการที่พบบ่อยได้ คือ ปวดหัว มึนงง วิงเวียน แน่นหน้าอก หายใจไม่ออกและเสียชีวิตได้

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นโรคความดันโลหิตสูง แพทย์จะทำการตรวจสอบจากประวัติ การใช้ยา วัดความดันโลหิต การตรวจร่างกาย และตรวจเลือด เพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจการทำงานของไต ตรวจหัวใจเพื่อดูการทำงานของหัวใจ

การรักษาโรคความดันโลหิตสูง

แนวทางการรักษาความดันโลหิตสูง การให้ยาลดความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน สามารถลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากความดันโลหิตสูงได้ นอกจากการรับประทานยาแล้ว ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อการเกิดความดันโลหิตสูงด้วย แนวทาการปรับพฤติกรรมร่วมกับการใช้ยา มีดังนี้

  • ออกกำลังกายที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายตลอดเวลา เช่น วิ่ง เดินเร็ว ว่ายนํ้า อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย วันละ 15-30 นาที 3-6 วันต่อสัปดาห์
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • งดการดื่มสุรา
  • งดการสูบบุหรี่
  • ลดภาวะความเครียดต่างๆ
  • รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ ลดอาหารเค็มจัด ลดอาหารมัน เพิ่มผักผลไม้ เน้นอาหารพวกธัญพืช ปลา นมไขมันต่ำ ถั่ว รับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวต่ำ หลีกเลี่ยงเนื้อแดง น้ำตาล เครื่องดื่มที่มีรสหวานจะทำให้ระดับความดันโลหิตลดลงได้
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

การป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

การป้องกันโรคความดันโลหิตสูงที่ดีที่สุด คือ การลดปัจจัยเสี่ยงทั้งหมดที่มีผลต่อการการทำให้เกิดความดันโลหิตสูง เช่น ลดภาวะความเครียด ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

เห็ดหอม ( Shitake Mushroom ) สมุนไพร นิยมรับประทานเป็นอาหาร อาหารชั้นเลิศ สรรพคุณทางยาสูง ประโชยน์และสรรพคุณบำรุงกำลัง คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอม โทษของเห็ดหอม

เห็ดหอม สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของเห็ดหอม

ต้นเห็ดหอม เป็น สมุนไพร ในแถบประเทศที่มีอากาศเย็น อย่าง ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ซึ่ง เห็ดหอม ถือเป็น อาหารชั้นเลิศ ที่มี สรรพคุณทางยาสูง มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดีต่อสุขภาพ เห็ดหอม  นั้น นำมาทำอาหาร ก็แสนอร่อย คุณค่าทางอาหาร และ สรรพคุณ เป็นยาบำรุงกำลังชั้นยอด เป็น ยาอายุวัฒนะ ช่วยต้านมะเร็ง ชะลอวัย วันนี้เรามา ทำความรู้จักกับเห็ดหอม กันให้มากขึ้น

เห็ดหอม เป็น เชื้อราชนิดหนึ่ง เห็ดหอม ภาษาอังกฤษ เรียก Shitake Mushroom ชื่อวิทยาศาสตร์ของเห็ดหอม คือ Lentinus edodes ( Berk.) Sing ชื่อเรียกอื่นๆ ของ เห็ดหอม อาทิเช่น ไชอิตาเกะ , โบโกะ , เฮียโกะ , ชิชิ-ชามุ , เห็ดดำ เป็นต้น

มีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ พบว่า ใน เห็ดหอม มี สารสำคัญ หลายตัว เช่น เลนติแนน ( Lentinan ) สารตัวนี้มีส่วนใน การกระตุ้นการทำงานของภูมิคุ้มกันโรค ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง  กรดอิริทาดีนีน ( Eritadenine ) เป็น กรดอะมิโน ที่ ช่วยลดไขมัน และ ลดคอเลสตรอรอลในเส้นเลือด จะ ช่วยป้องกันโรคหัวใจ และ โรคเกี่ยวกับระบบเลือด ได้ดี สารเออร์โกสเตอรอล ( Ergosterol ) เป็นสารที่ ช่วยในการบำรุงกระดูก และ ทำให้กล้ามเนื้อให้แข็งแรง  ป้องกันโรคกระดูกผุ และ โรคโลหิตจาง ได้ดี

ลักษณะของเห็ดหอม

เห็ดหอม จะ มีลักษณะหมวกเห็ดกลม มีผิวสีน้ำตาลอ่อน จนถึง น้ำตาลเข้ม มีขน สีขาว ลักษณะหยาบๆ กระจายทั่วหมวกเห็ด ก้านดอกเห็ด และ โคนของเห็ดหอม มีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อของเห็ดหอม จะนุ่ม สามารถรับประทานได้ มีกลิ่นหอม เป็น เอกลักษณ์ ที่เฉพาะตัว จึงถูกเรียกว่า เห็ดหอม

คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอม

นักโภชนาการได้ทำการศึกษา คุณค่าทางอาหารของเห็ดหอม สด และ เห็ดหอมแห้ง ซึ่ง พบว่า ใน เห็ดหอมสดขนาด 100 กรัม สามารถ ให้พลังงานร่างกาย 387 กิโลแคลอรี โดยมี สารอาหารที่มีประโยชน์ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 67.5 กรัม โปรตีน 17.5 กรัม ไขมัน 8 กรัม กากใยอาหาร 8 กรัม วิตามินบี1 1.8 มิลลิกรัม วิตามินบี2 4.9 มิลลิกรัม ไนอะซิน 4.9 มิลลิกรัม แคลเซียม 98 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 476 มิลลิกรัม เหล็ก 8.5 มิลลิกรัม และมีการศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอมแห้ง ขนาด 100 กรัม พบว่าให้ พลังงาน แก่ร่างกาย 375 กิโลแคลอรี และมี สารอาหาร ที่ มีประโยชน์ต่อร่างกาย ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 82.3 กรัม โปรตีน 10.3 กรัม ไขมัน 1.9 กรัม กากใยอาหาร 6.5 กรัม วิตามินบี1 0.4 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.9 มิลลิกรัม ไนอะซิน 11.9 มิลลิกรัม แคลเซียม 12 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 171 มิลลิกรัม เหล็ก 4.0 มิลลิกรัม

จะเห็นได้ว่าใน เห็ดหอม ไม่ว่าจะเป็น แห็ดหอมแห้ง หรือ เห็ดหอมสด ก็ให้ คุณค่าทางอาหาร ที่ใกล้เคียงกัน แต่ การรับประทานเห็ดหอม มี ข้อควรระวัง อยู่บ้าง ซึ่ง

ข้อควรระวังในการรับประทานเห็ด คือ การรับประทานเห็ดหอม ไม่ควรรับประทานในสตรีหลังคลอดบุตร และ ผู้ป่วยที่พึ่งฟื้นไข้ รวมถึง คนที่เป็นหัด เนื่องจาก เห็ดหอม มีพวกจุลินทรีย์  ทำให้เกิดแก๊สในท้อง สำหรับสตรีหลังคลอด ระบบภายในยังไม่ดี อาจเกิด อันตรายต่อคุณแม่หลังคลอด รวมถึงจะ ส่งผลต่อน้ำนม ที่ ทำให้ลูกท้องอืด หากรับประทานนมแม่ที่กินเห็ด

สรรพคุณทางสมุนไพรของเห็ดหอม

สำหรับ การรับประทานเห็ดหอม ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยป้องกันโรคหวัด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ช่วยบำรุงระบบหัวใจ ช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับเลือด ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดี ช่วยสร้างภูมิต้านทานโรค ช่วยบำรุงระบบสมอง ช่วยบำรุงระบบประสาท ช่วยชะลอวัย ช่วยให้นอนหลับสบาย

เห็ดหอม ( Shitake Mushroom ) สมุนไพร นิยมรับประทานเป็นอาหาร พบได้ในแถบประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี เห็ดหอม อาหารชั้นเลิศ สรรพคุณทางยาสูง ประโชยน์ของเห็ดหอม สรรพถคุณของเห็ดหอม เป็นยาบำรุงกำลังชั้นยอด คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอม โทษของเห็ดหอม


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove