แผลในกระเพาะอาหาร ( Peptic ulcer ) อาการปวดท้องแสบๆ ตื้อๆ จุกเสียด คลื่นไส้ อาเจียน เรอเปรี้ยว เจ็บที่ลิ้นปี่ ตัวซีด อุจจาระสีดำ ปวดท้องตอนสายๆและตอนกลางคืนโรคกระเพราะ แผลในกระเพาะอาหาร แผลเป็บติค โรคระบบทาเดินอาหาร

แผลเพ็ปติก ภาษาอังกฤษ เรียก Peptic ulcer เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร โรคแผลเพ็ปติก เป็นโรคยอดฮิต ของคนบนโลก พบว่าประชากรประมาณร้อยละ 10 ถึง 20 ของประชากรโลกมีโอกาสเป็น เป็นโรคนี้ หากปวดท้องเวลากลางคืน ให้สันนิษฐานได้เลยว่า ท่านอยาจจะเกิดโรคแผลเพปติก แล้ว

โรคนี้เป็นอาการผิดปรกติของเยื่อบุกระเพาะอาหาร คือ เกิดแผลที่กระเพาะอาหาร โรคนี้สามารถเรียกอีกโรคหนึ่งว่า โรคแผลกระเพาะอาหาร โรคแผลจียู หรือ โรคแผลลำไส้เล็กส่วนต้น โอกาสของการเกิดโรคนี้ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย แต่จากสิถิติพบว่า คนอายุ 30 ปี ขึ้นไปมีโอกาสเกิดโรคเพ็ปติก มากกว่าคนที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี

สาเหตุของการเกิดโรคแผลในกระเพาะอาหาร

สาเหตุของการเกิดแผลที่กระเพาะอาหารนั้น เกิดจากการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร มากในขณะที่ความสามารถในการต่อต้านกรดในกระเพาะอาหารน้อยลง ทำให้กรดเกิดการกัดเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดแผล ซึ่งเราได้รวมสาเหตุของสาเหตุการเกิดแผลเพ็ปติก ได้ดังนี้

  1. แผลในกระเพาะอาหารจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เอชไพโลไร(H.pylori) เกิดจากการกินอาหารหรือน้ำดื่ม ที่ไม่สะอาด มีสิ่งเจือปน เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่กระเพาะอาหาร จะเกิดการติดเชื้อที่เยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดการอักเสบและมีแผล
  2. แผลในกระเพาะอาหารเกิดจากการรับประทานยาต้านอาการอักเสบ ยาแก้ปวดเช่น ซึ่งยาในกลุ่มเหล่านี้จะทำให้เกิดแผลที่กระเพาะอาหารได้ หากใช้ยาเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง อาจเกิดอาการแทรกซ้อนได้ เช่น มีอาการเลือดออก แผลในกระเพาะอาหารทะลุ ซึ่งหากผู้ป่วยมีอายุมากขึ้นเท่าไร โอกาสของความรุนแรงของโรคก็มากขึ้นตามไปด้วย
  3. แผลในกระเพาะอาหารจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งพบว่าผู้ที่มีอาการโรคนี้เรื้อรัง ทายาทมีโอกาสเกิดโรคนี้มากถึง 3 เท่า
  4. การสูบบุหรี่ ทำให้มีโอกาสเกิดแผลของลำไส้เล็กส่วนต้นได้
  5. กลุ่มคนที่มีความเครียดสูง ความเครียดเป็นปัจจัยที่ทำให้โรคนี้เป็นแผลกำเริบได้
  6. การดื่มสุรา และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน
  7. การรับประทานอาหารที่มีรสจัด และผลไม้ที่มีความเป็นกรดสูง

อาการของผู้ป่วยโรคแผลเพ็ปติก

ลักษณะของอาการโรคแผลเพ็ฟติก นั้น ผู้ป่วยจะปวดท้อง ซึ่งมีลักษณะเป็นๆ หายๆ มีอาการเรื้อรัง มักจะปวดก่อนหรือหลังการรับประทานอาหาร อาการจะ ปวดท้องแสบๆ ตื้อๆ จุกเสียด คลื่นไส้ อาเจียนและเรอเปรี้ยว สำหรับผู้ป่วยที่เกิดแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น จะมีอาการท้องร่วง ปวดท้อง ปวดท้องตอนสายๆ และปวดท้องตอนกลางคืน ทำให้นอนหลับไม่สบายตัว ลักษณะอาการจะเกิดหลังจากการกินข้าวไปแล้ว 3 ชั่วโมง เมื่อผู้ป่วยเป็นหนักๆ จะมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด มีอาการเจ็บบริเวณลิ้นปี่ ตัวซีด อุจจาระมีสีดำ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคแผลเพ็ปติก

การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร เรื้อรังนั้น จะส่งผลกระทบทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน ซึ่งโรคแทรกซ้อนของการแผลในกระเพาะอาหารนั้นมีความอันตราย ในผู้ป่วยที่มีเลือดออกในกระเพาะอาหารมากอาจเกิดการช็อก จากการเสียเลือด เกิดภาวะการขาดธาตุเหล็ก สังเกตุได้จากอุจจาระเป็นสีดำ อาการแทรกซ้อนยังสามารถเกิด ลำไส้อุด ท้องผูก อาเจียนรุนแรง ปวดท้องรุนแรง ตับอ่อนอักเสบ และมีโอกาสกลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้

การรักษาผู้ป่วยโรคแผลแพ็ปติก

สำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคแผลแพ็ปติก นั้นสามารถรักษาได้โดยการใช้ยาและการผ่าตัด ซึ่งรายละเอีย ดังนี้

  • การรักษาโดยการให้ยาลดในกระเพาะอาหาร ซึ่งยาลดกรดในกระเพาะอาหารนั้น ให้รับประทานก่อนการรับประทานอาหาร
  • การรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะ ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีสาเหตุของการเกิดโรคจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยต้องรับประทานอาหารนานติดต่อกัน 2 สัปดาห์
  • การรักษาโดยการให้ยาแก้อาการอักเสบ ซึ่งยาแก้อักเสบนั้น ใช้สำหรับรักษาอาการแผลในกระเพาะอาหาร ที่เกิดแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งการรักษาโดยการผ่าตัดนั้น จะใช้รักษาในลักษณะของผุ้ป่วยที่มีอาการเรื้อรัง และมีอาการหนัก ไม่สามารถใช้การรักษาด้วยยา หรือจำเป็นต้องรักษาอย่างเร่งด้วย ลักษณะของผู้ป่วยอาการแบบใดที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด คือเมื่อเกิดโรคแผลเพ็ปติกขึ้น จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด โดยรายละเอียดของอาการที่ต้องระวังมี ดังนี้
    1. หากพบว่ามีอาการอาเจียนเป็นเลือด อุจจาระสีดำ หน้ามืด จะเป็นลม ให้รีบนำส่งแพทย์โดยด่วน
    2. หากผู้ป่วยมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง  นานเกิน 6 ชั่วโมง มีอาการอาเจียน ท้องแข็ง เป็นอาการแทรกซ้อนจากกระเพาะอาหารทะลุ หรือลำไส้ตีบตัน ต้องเข้ารับการผ่าตันโดยด่วน
    3. หากผู้ป่วยมีอาการเบื่ออาหาร กลืนลำบาก น้ำหนักลด ตัวซีด ตาเหลือง ตับโต ม้ามโต มีก้อนในท้อง อาเจียนรุนแรง อาจเกิดอาการแทรกซ้อนเกี่ยวกับหัวใจ สงสัยอาจเป็นโรคหัวใจขาดเลือด นิ่วน้ำดี

ข้อแนะนำในการปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคแผลเพ็บติก

สำหรับอาการโรคแผลเพ็บติก เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่สาเหตุหลัก คือ การปฏิบัติตนที่ไม่ถูดต้องทำให้เกิดการทำร้ายกระเพาะอาหาร ข้อควรปฏิบัติตนให้พ้นจากโรคแผลเพ็บติกมี ดังนี้

  • รับประทานอาหารให้ตรงเวลา อย่าปล่อยให้ท้องว่าง
  • งดการสูบบุหรี่
  • ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ลดการดื่มเครื่องดื่มน้ำอัดลม
  • ลดการเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนผสม
  • หลีกหลี่ยงการใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอย์ และแอสไพริน
  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสจัด หรือน้ำผลไม้ที่มีกรดสูง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • คลายเครียด
  • หากมีอาการแผลในกระเพาะอาหาร ให้พบแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

แผลแพ็ปติก แผลในกระเพาะอาหาร ( Peptic ulcer ) ภาวะเกิดแผลที่กระเพาะอาหาร อาการโรค เช่น ปวดท้องแสบๆ ตื้อๆ จุกเสียด คลื่นไส้ อาเจียน เรอเปรี้ยว เจ็บที่ลิ้นปี่ ตัวซีด อุจจาระมีสีดำ ปวดท้องตอนสายๆ ปวดท้องตอนกลางคืน

กระเพาะอาหารอักเสบ เกิดจากกระเพาะอาหารเป็นแผล มีอาการบวมแดง เกิดได้ทุกเพศทุกวัย กินอาหารไม่เป็นเวลา อาการปวดท้อง เมื่อเป็นโรคกระเพาะอักเสบต้องทำอย่างไรโรคกระเพาะอักเสบ โรคระบบทางเดินอาหาร โรคไม่ติดต่อ ปวดท้อง

กระเพาะอาหารอักเสบ เป็น โรคระบบทางเดินอาหาร โรคยอดฮิต สำหรับคนทำงานหนัก รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา หากมีอาการปวดท้อง ให้สันนิษฐานก่อนเลยว่าเป็น โรคกระเพาะอาหาร แล้ว แต่อาการปวดท้องมีหลายสาเหตุ มาทำความรู้จักกับ โรคกระเพาะอาหาร โรคกระเพาอาหารอักเสบ กันว่า โรคกระเพาะอาหารเกิดจากอะไร อาการของโรคกระเพาะอาหารมีอะไรบ้าง แล้วจะรักษาได้อย่างไร

โรคกระเพาะอาหาร คือ การเกิดแผลที่เยื่อบุกระเพาะอาหารหรือลำไส้ ซึ่งโรคกระเพาะอาหารสามารถพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ คือ อาการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร เป็นลักษณะของการเกิด แผล การบวม แดงภายในกระเพาะอาหาร โรคนี้สามารถพบได้ในทุกอายุ ทุกเพศ

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ นั้นเป็นโรคที่พบบ่อย แต่จากสถิติสาเหตุของการเกิดโรคนั้นไม่ชัดเจน เมื่อผู้ป่วยพบแพทย์ จะได้รับการรักษาตามอาการ และเมื่ออาการดีขึ้น ก็จะไม่ตรวจหาสาเหตุอย่างละเอียด ซึ่งจะส่งผลให้เกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง สำหรับโรคกระเพาะอาหารนั้นมีรายงานว่าประเทศสหรัฐอเมริกา มีผู้เป็นโรคนี้สูงถึงประมาณปีละ 2 ล้านคน

สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร

สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะอาหาร นั้นเกิดจากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุหลักๆ คือ การรักประทานอาหารไม่ตรงเวลา และนิยมรับประทานอาหารรสจัด ที่มีกรดสูง เราได้รวมสาเหตุของการเกิดโรคกระเพา มีรายละเอียดดังนี้

  • การหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากก่าวปกติ ซึ่งการหลังกรดนั้นเกิดจากการถูกกระตุ้นให้เกิดการหลั่ง
  • ความเครียด ซึ่งความเครียดจะกระตุ้นให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดมากขึ้น
  • การดื่มเครื่องดื่มมี่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ และน้ำอัดลม
  • การสูบบุหรี่ บุหรี่ทำให้เกิดการหลั่งกรดของกระเพราอาหาร
  • โรคแทรกซ้อนบางอย่าง เช่น โรคในกลุ่มอาการโซลลิงเจอร์-เอลลิสัน(Zollinger-Ellisson syndrome)
  • การกินยาบางชนิด กินยาแก้ปวด ลดไข้ แก้ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ยาชุดที่มีแอสไพริน และยาสเตียรอยด์ ยาในกลุ่มนี้จะทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารทำใหเเกิดแผลที่กระเพาะอาหาร
  • การกินอาหารรสจัด เช่น เผ็ดจัด และเปรี้ยวจัด
  • การดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มเหล่านี้จะกระตุ้นการหลังกรดในกระเพาอาหาร
  • การกินอาหารไม่เป็นเวลา เมื่อถึงเวลาระบประทานอาหารกระเพาอาหารจะหลังกรดออกมา หากไม่รับประทานอาหารก็จะทำให้เกิดการหลั่งกรดในกระเพาอาหารโดยไม่มีอาหารสำหรับย่อย กรดเลยไปทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดแผล
  • การติดเชื้อโรค ซึ่งเชื้อโรคที่อันตรายคือ เชื้อแบคทีเรีย เอชไพโลไร ซึ่งเชื้อตัวนี้ทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะอาหาร เกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารได้
  • กรรมพันธุ์ จากสถิติพบว่าผู้ป่วยที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคกระเพาะอาหาร คนในครอบครัวนั้นก็จะมีโอกาสเกิดโรคกระสูง

อาการของผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหา โรคกระเพาะอาหารอักเสบ นั้นจะมีอาการ คือ ปวดท้องในบริเวณกระเพาะอาหาร อาการเป็นๆหายๆ ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอบ่อย รู้สึกอึดอัดแน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน อาจอาเจียนเป็นเลือดได้ เบื่ออาหาร และผอมลง และเลือดออกจากเยื่อบุกระเพาะอาหาร อุจจาระเป็นสีดำ

การรักษาโรคกระเพาะอาหาร

การรักษาโรคกระเพาอาหาร นั้น มีวิธีรักษาอยู่ 3 วิธีหลักๆ คือ การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การใช้ยารักษาและการผ่าตัด ซึ่งเราจะอธิบายให้ฟังรายละเอียดของการรักษาโรคกระเพาะอาหารมีดังนี้

  1. การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เนื่องจากสาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะอาหารหลักๆเกิดจาก การใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้อง จนเกิดผลเสียต่อกระเพาะอาหาร ซึ่งการปรับพฤติกรรม คือ เลิกพฤติกรรมที่ทำให้อาการของโรคกระเพาะอาหารรุนแรงขึ้นไปอีก เช่น การกินอาหารไม่เป็นเวลา การรับประทานอาหารรสจัด การดืมสุรา การดื่มชา กาแฟ การสูบบุหรี่ ความเครียด เป็นต้น
  2. การรักษาด้วยการใช้ยารักษา การกินยาต้องกินอย่างสม่ำเสมอ ตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด โดยปรกติแล้วแผลในกระเพาะอาหารจะหายภายใน 6 สัปดาห์ ซึ่งยาที่ใช้ในการรักษาโรคกระเพาะอาหารนั้น มีอยู่ 4 ชนิด ประกอบด้วย
    • ยาลดกรด ( antacid ) ให้รับประทานก่อนกินอาหาร 120 นาที หรือหลังรับประทานอาหาร 60 นาที และรับประทานก่อนนอน
    • ยาลดการหลั่งกรด ( acid-suppressing drugs ) รับประทานวันละครั้งก่อนนอน
    • ยาปฏิชีวนะ เป็นยาที่ใช้รักษาแผลกระเพาะอาหารจากการติดเชื้อโรค ซึ่งขึ้นอยู่กับเชื้อโรคที่พบ
    • ยาเคลือบกระเพาะ ( Stomach-lining protector ) ใช้สำหรับเคลือบแผลในกระเพาะ
  3. การผ่าตัด เป็นวิธีรักษาที่ไม่คอยได้ใช้ ซึ่งจะใช้วิธีนี้ในเฉพาะกรณีที่มีความรุนแรงมาก เช่น เลือดไหลไม่หยุด กในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก ผลกระเพาะอาหารทะลุและลำไส้เล็กเกิดการทะลุ กระเพาะอาหารมีการอุดตัน
    การรักษาโรคกระเพาะอาหารในปัจจุบันมียาที่ใช้รักษาจำนวนมาก และได้ผลดี การผ่าตัดจะใช้ในกรณีที่หนักมากเท่านั้น

การดูแลตัวเองสหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

การดูแลตัวเองสำหรับ ผู้ป่วยโรคกระเพาะ นั้น ต้องมีข้อควรปฏิบัตติ ดังนี้

  • กินยาตามคำสั่งแพทย์ อย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ
  • งดอาหารที่กระตุ้นอาการปวดท้อง เช่น อาหารรสจัด อาหารที่มีกรด
  • เลิกบุหรี่
  • เลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ลดการดื่มเครื่องดื่มประเภทคาเฟอีน
  • ดูแลความสะอาดเกี่ยวกับอาหารและภาชนะในการใส่อาหาร
  • ผ่อนคลาย ลดความเครียด
  • หากมีอาการอาเจียนเป็นเลือด หรือ มีเลือดปนให้พบแพทย์

การป้องกันการเกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

การป้องกันโรคกระเพาะ นั้นสำคัญที่สุด คือ การปรับพฤติกรรมส่วนตัว เพื่อไม่ให้กระตุ้นสาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะ โดยสามารถสรุปเป็นข้อๆได้ ดังนี้

  • รักษาความสะอาด โดยเฉพาะอาหารที่จะบริโภค เพื่อป้องกันการติตเชื้อ
  • ผ่อนคลาย เนื่องจากความเครียด ช่วยกระตุ้นให้เกิดกรดในกระเพาะอาหาร
  • หลีกเลี้ยงการกินยากลุ่มยาแก้ปวด หรือ ยาสเตียรอยด์
  • เลิกบุหรี่
  • เลิกดื่มสุรา
  • ลดการดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน
  • รักษาและควบคุมโรค ที่มีความเสี่ยงต่อโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

สมุนไพรรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

ฟักทอง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของฟักทองฟักทอง ขมิ้น สมุนไพร สมุนไพรไทยขมิ้น
เดือย ลูกเดือย สมุนไพร ประโยชน์ของเดือยลูกเดือย ฟ้าทลายโจร สมุนไพร สมุนไพรไทย ประโยชน์ของฟ้าทะลายโจรฟ้าทะลายโจร

โรคกระเพราะอาหารอักเสบ ความสำคัญของโรคนี้ อยู่ที่ต้องกินข้าวให้ตรงเวลา และ อาหารที่กิน ต้องไม่ระคายเคือง กระเพาะอาหาร ก็เพียงเท่านี้ แต่หลายคนทำไม่ได้

โรคกระเพาะอาหาร คือ อาการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร เกิดจากหลายสาหตุ กระเพาะอาหารเป็นแผล มีอาการบวมแดงภายในกระเพาะอาหาร โรคนี้เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย โรคทางเดินอาหาร โรคยอดฮิต สำหรับคนเครียดและคนทำงานหนัก กินอาหารไม่เป็นเวลา อาการของโรคกระเพาะอาการ คือ ปวดท้อง สาเหตุ อาการ การรักษา และ การดูแล เมื่อเป็นโรคกระเพาะ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove