ฝีในสมอง ฝีสมอง ( Brain abscess ) ติดเชื้อโรคที่สมองจนเกิดฝี ทำให้สมองอักเสบ โรคอันตรายเสียชีวิตได้ อาการปวดหัวอย่างรุนแรง แขนขาอ่อนแรง ชัก หมดสติ ส่งแพทย์ด่วน
โรคฝีในสมอง โรคสมอง โรคติดเชื้อ ฝีที่สมอง

โรคฝีในสมอง เกิดจากการการติดเชื้อที่สมอง ภาษาอังกฤษ เรียก Brain abscess เชื้อโรค คือ เชื้อแบคทีเรีย strephyloccus ทำให้พิการ หรือ เสียชีวิตได้ หากมีอาการ ปวดศรีษะอย่างรุนแรง มีไข้ แขนขาอ่อนแรง ชัก อย่าเบาใจให้รีบพบแพทย์ด่วน

ฝีในสมอง โรคเกี่ยวกับการติดเชื้อ ที่สมอง โรคนี้ ผู้ป่วยประมาณไม่เกินร้อยละ 20 จะมีฝีที่สมองมากกว่าหนึ่งจุด และร้อยละ 92 ของผู้ป่วยฝีในสมองพบฝีที่สมองเล็กด้านหน้า โรคอันตรายจากเชื้อแบคทีเรีย ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยมีโอกาสเป็นอัมพาตครึ่งซีก โรคฝีในสมอง ดาราเคยเป็นข่าวใหญ่คร่าชีวิต บิก ดีทูบี มาแล้ว เรามาทำความรู้จักกับโรคฝีในสมองกันว่า สาเหตุของโรค ปัจจัยเสี่ยง อาการและการรักษาโรคทำอย่างไร

โรคฝีสมอง เป็น ภาวะติดเชื้อ ซึ่งสามารถเกิดจากเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรียก็ได้ โดยเป็นการสร้างเชื้อโรคจนเกิดอาการอักเสบที่สมอง ส่งผลต่ออาการผิดปกติของระบบประสาท ลักษณะการก่อตัวของเชื้อเป็นแบบฝี หนอง ในเนื้อสมอง อันตรายส่งผลร้ายแรงถึงเสียชีวิต โรคฝีในสมอง นั้นไม่ใช่โรคปรกติที่เกิดกับคนทั่วไป แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ในการเกิดอุบัตติเหตุ โรคหูน้ำหนวก และโรคหัวใจพิการ มีอัตราเสี่ยงสูงในการเกิดโรคนี้ เรามาดูสาเหตุของการเกิดโรคฝีในสมองว่ามีสาเหตุจากอะไรบ้าง

สาเหตุของการเกิดฝีในสมอง

สำหรับสาเหตุของการเกิดฝีในสมองนั้น มีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อที่สมอง ซึ่งเราสามารถแยกสามเหตุหลักๆ ได้ 3 ประการ คือ การติดเชื้อที่อวัยวะที่ใกล้และเกี่ยวข้องกับสมอง การติดเชื้อในกระแสเลือด และการติดเชื้อที่สมองโดยตรง รายละเอียดของสาเหตุข้อต่างๆ มีดังนี้

  • การติดเชื้อของอวัยวะใกล้เคียงกับสมอง เป็นลักษณะการแพร่กระจายเชื้อโรคเข้าสู่สมอง อวัยวะที่ต้องป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ เนื่องจากอาจทำให้สมองติดเชื้อได้ คือ หู ฟัน ใบหน้า หัว เป็นต้น
  • การติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งการเกิดภาวะพิษที่เลือดสามารถกระจายสู่สมองได้ง่ายมาก การติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นโรคอันตรายส่งผลต่อระบบการทำงานทั้งหมดในร่างกาย
  • การติดเชื้อที่สมองโดยตรง เป็นลักษณะของการเกิดอุบัตติเหตุ เกิดการกระแทกอย่างรุนแรง ทำให้เขื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งทางแผลที่หัว หรือเลือดที่เกิดในอุบัตติเหตุ รวมถึงภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดสมอง

กลไกของฝีเกิดขึ้นได้อย่างไร

กระบวนการทางพยาธิวิทยานั้นสามารถกลับมาปรกติได้ใน 3 วัน ตั้งแต่เริ่มเกิดการอักเสบที่สมอง หากการไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมนั้น จะทำให้สมองอักเสบมากขึ้น ซึ่งจะเกิดหนอง

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคฝีในสมอง

สำหรับปัจจัยของการเกิดโรคฝีในสมองนั้น มีหลายส่วนทั้งที่สามารถควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ แต่เราก็รวมปัจจัยของการเกิดโรคฝีในสมองว่ามีอะไรบ้าง เพื่อจะสามารถป้องกันการเกิดปัจจัยเสี่ยงของโรคได้

  • ภาวะภูมิต้านทานร่างกายต่ำ ซึ่งปัจจัยนี้เกิดจากร่างกายที่อ่อนแอ สามารถควบคุมได้ด้วยการออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชนืต่อร่างกาย
  • ภาวะการติดเชื้อในอวัยวะส่วนที่เชื่อมโยงกับสมองและใกล้สมอง เช่น หู ไซนัส ฟัน เหงือก แผลที่ศรีษะ เป็นต้น
  • โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • โรคหัวใจ
  • การติดเชื้อในกระแสเลือดหรือภาวะโลหิตเป็นพิษ
  • อุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนสมองอย่างรุนแรง

อาการของผู้ป่วยโรคฝีในสมอง

สำหรับอาการของโรคฝีในสมองจะส่งผลกระทบกับระบบประสาทเป็นหลัก ซึ่งอาการที่พบเห็นในกรณีที่ไม่ได้เกิดอุบัติเหตุถึงขั้น โคม่า จะพบอาการ คือ เวียนหัว เสียการทรงตัว ปวดหัวอย่างรุนแรง มีไข้สูง แขนขาอ่อนแรง สายตาพร่ามัว คลื่นไส้อาเจียน มีอาการชัก มีหนองไหลจากหู เป็นต้น

หากพบว่ามีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง มีไข้สูง แขนขาอ่อนแรง ให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลด่วนที่สุด

การวินิจฉัยโรคฝีในสมอง

การวินิจฉัยเพื่อวิเคราะห์หาโรค ซึ่งโรคฝีสมองนั้น สามารถพิจารณาจากอาการผิดปรกติ ประวัติทางการแพทย์ ที่การตรวจเอกเซเลย์สมอง ทำการแสกนเอ็มอาร์ไอ

การรักษาโรคฝีในสมอง

การรักษาโรคฝีในสมองนั้น ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาโรคฝีในสมอง ที่โรงพยาบาลตลอดเวลาและรักษาในห้องปลอดเชื้อโรค สำหรับการรักษานั้น รักษาด้วยการให้ยาต้านจุลชีพ โดยจะให้ยาต้าลจุลชีพ ประมาณ 45 วัน หรือให้จนกว่าฝีที่สมองจะหาย

ในกรณีที่ผู้ป่วยโรคฝีในสมองไม่ตอบสนองต่อยาต้านจุลชีพ แพทย์จะทำการผ่าตัดสมอง เพื่อนำก้อนเนื้อฝีออกให้หมด แต่การรักษาต้องรักษาโรคพร้อมกับควบคุมการเกิดโรคแทรกซ้อน อย่าง โรคหูน้ำหนวก โรคหัวใจ เพื่อป้องกันไม่เกิดฝีที่สมองซ้ำอีก การรักษาโรคฝีในสมองนั้น หากรักษาช้าหรือไม่ถูกวิธี ส่วยมากผู้ป่วยจะเสียชีวิตทุกราย แต่หากรักษาได้ จะพบว่ามีผลข้างเคียงต่อระบบประสาทเช่น แขนขาอ่อนแรง หรือ อาการชัก เป็นต้น

การดูแลผู้ป่วยโรคฝีในสมอง

การดูแลผู้ป่วยโรคฝีในสมองนั้น จำเป็นต้องควบคุมปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคอย่างเคร็งคลัด

  • จัดสถานที่ให้สะดวกต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากผู้ป่วยจะมีร่างกายที่ผิดปรกติ เช่น แขน ขาอ่อนแรง ต้องจัดสถานที่ให้สะดวกเพื่อป้องกันอุบัตติเหตุ
  • ให้ทำกายภาพบำบัดอย่างสม่ำเสมอ
  • ต้องพกยากันอาการชักติดตัวเสมอ อย่าให้ขาดยา
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้ดี เพื่อลดโอกาสการเกิดฝีสมอง อีกครั้ง
  • พาผู้ป่วยพบแทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
  • หากพบอาการผิดปรกติมากขึ้น เช่น ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง แขนขากลับมาอ่อนแรงอีก มีอาการชักบ่อยขึ้น ให้พบแพทย์เพื่อรับการรักษา

การป้องกันโรคฝีในสมอง

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคฝีในสมอง นั้นเราต้องป้องกันปัจจัยทั้งหมดที่สามารถควบคุมได้ โดยการป้องกันโรคฝีในสมองมีดังนี้

  • ใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะที่ศีรษะ
  • ดูแลร่างกายให้แข็งแรง เพื่อให้ร่างกายสามารถมีภูมิต้านทานโรค
  • รับประทาออาหารที่มีประโยชน์และรักษาสุขอนามัยพื้นฐานในสถานที่ที่อยู่อาศัยให้ดี

โรคฝีในสมอง การติดเชื้อที่สมอง เป็นโรคที่คร่าชีวิตดาราชื่อดังอย่าง บิกดีทูบี โรคที่เกิดกับสมองนั้นรุนแรงเสมอไม่ว่าจะโรคอะไร การรักษานั้นก็สามารถทำได้แต่ผู้ป่วยมักไม่เหมือนเดิม หรือ ใช้เวลานานในการเข้าสู่ภาวะปรกติ โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง ยังมีอีกหลายโรคที่อยากแนะนำให้รู้จัก โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง มีดังนี้

โรคสมอง โรคระบบประสาท โรคพาร์กินสัน พาร์กินสันโรคพาร์กินสัน โรคเกี่ยวกับระบบประสาท โรคไม่ติดต่อ แต่สามารถถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมได้ โรคของกลุ่มอาการที่มีการสั่นของมือและการเคลื่อนไหวตัวได้น้อย ความจำเสือม อัลไซล์เมอร์ โรคสมอง โรคความจำโรคอัลไซเมอร์ ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ซึ่งโรคนี้เป็นโรคที่เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อม ผู้ป่วยโรค จะมีอาการ เช่น ความจำเสื่อม หลงลืม
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคสมอง ระบบประสาท หลอดเลือดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคเอมจี โรคภูมิต้านทานตัวเอง ชนิดเรื้อรัง ทำให้ไม่สามารถควบคุมการเคลือนไหวของแขน ขา ดวงตา ใบหน้า โคม่า เจ้าชายนิทรา โรคสมอง โรคต่างๆอาการโคม่า โรคเกี่ยวกับระบบสมอง และ ระบบประสาทมาพอสมควรแล้ว อาการหนึ่งที่ควรทความรู้จักกัน คือ อาการโคม่า อาการโคม่าเป็นอย่างไร
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคระบบประสาท โรคกระดูกหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ปวดหลัง ปวดร้าวลงที่ขา ปวดไปถึงน่อง ปวดหลังเท้า เจ็บข้อพับด้านหลัง นิ้วเท้าชา อาการของ โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท เยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคสมอง โรคติดเชื้อโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคติดเชื้อ ภาวะการอักเสบของเยื่อหุ้มสมอง เกิดจากการติดเชื้อ อาการ มีไข้สูง ปวดหัวรุนแรง คอแข็ง คลื่นไส้ อาเจียน กลัวแสง ชัก หมดสติ

โรคฝีในสมอง ฝีในสมอง ฝีสมอง ( Brain abscess ) ภาวะติดเชื้อที่สมอง เชื้อรา หรือ เชื้อแบคทีเรีย ทำให้สมองอักเสบ ลักษณะของเชื้อเป็นแบบ ฝี หนอง ในเนื้อสมอง ร้ายแรงทำให้เสียชีวิตได้ การติดเชื้อที่สมอง ปวดศรีษะอย่างรุนแรง มีไข้ แขนขาอ่อนแรง ชัก รีบพบแพทย์ด่วน โรคระบบสมอง สาเหตุ อาการ การรักษา

อัมพาต ภาวะสมองขาดเลือด ( Ischemic Stroke ) ส่งผลต่อประสาทควบคุมร่างกาย ทำให้แขนขาอ่อนแรง เกิดจากหลอดเลือดสมองอุดตันหรือแตก เป็นภาวะฉุกเฉินทำให้เสียชีวิตได้โรคซีวีเอ โรคอัมพาต ภาวะสมองขาดเลือด โรคสมองขาดเลือด

โรคอัมพาต เกิดจากภาวะสมองขาดเลือด ส่งผลให้ระบบประสาทควาบคุมร่างกายไม่สามารทำงานได้ แขน ขา อ่อนแรง ไม่สามารถขยับได้ ผู้ป่วยที่เกิดภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว ร้อยละ 20 สามารถหายได้ภายใน 90 วัน หากสามารถหาสาเหตุของปัญหาทัน ในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ส่วนใหญ่จะไม่เสียชีวิต แต่จะอยู่ในภาวะซึมเศร้าและตรอบใจตาย

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคอัมพาต

การเกิดโรคสมองขาดเลือด ปัจจัยทั้งหมดเกิดจากปัจจัยการดำรงชิวิตที่ไม่ถูกวิธีเป็นส่วนใหญ่ ทั้งการกิน และความเครียด ปัจจัยเสี่ยงมีดังนี้

  • เกิดจากโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากแรงดันโลหิตสูง ทำให้ผนังหลอดเลือดเปราะ ทำให้หลอดเลือดสมองแตก ทำให้สมองขาดเลือด
  • เกิดจากโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะทำให้เลือดสูบฉีดมาก ทำให้แรงดันเลือดสูง เป็นโรคที่อยู่คู่กับโรคความดันโลหิตสูง
  • เกิดโรคอ้วน การมีน้ำหนักตัวมาก ทำให้เกิดการสะสมไขมันส่วนเกินในเลือดสูง เมื่อไขมันไปเกาะที่ผนังหลอดเลือดทำให้แรงดันเลือดสูงขึ้น และอาจทำให้แตกได้
  • การสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากสิ่งนี้ทำให้ผนังหลอดเลือดบาง ทำให้หลอดเลือดเปราะและแตกง่าย
  • การไม่ออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ ทำให้ระบบภายในร่างกายไม่แข็งแรง
  • การอยู่ในภาวะเครียด ไม่ผ่อนคลาย ทำให้ร่างกายเสื่อมสภาพเร็วขึ้น
  • ปัจจัยเกี่ยวกับอายุ เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายก็เสื่อมสภาพตามการใช้งาน ซึ่งพบว่าคนอายุ 45 ปีขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงสูงมากที่สุด
  • การเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อเส้นเลือด และแรงดันเลือด
  • กรรมพันธ์ พบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ คนในครอบครัวมีโอกาสเกิดโรคนี้สูงกว่าปรกติ

ในประเทศที่พัฒนาแล้ว มีอัตราความเสี่ยงของการเกิดโรคนี้มากกว่าปรกติ จากภาวะสภาพสังคมที่เครียดและการแข่งขันสูง

สำหรับการเกิดอัมพาต นั้นจะมีสัญญาณเตือนล่วงหน้า เราสามารถสังเกตุความเปลี่ยนแปรงของร่างกายได้ว่าหากมีความผิดปรกติ สามารถหาแพทย์เพื่อรักษาให้ทันเวลา โดยผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการ ชาที่แขนขา จากนั้านแขขาจะเริ่มอ่อนแรง หรือมีอาการชา หรืออ่อนแรงที่ร่างกายซีกใดซีกหนึ่ง สายตาจะมืด และมองไม่เห็นชั่วคราว มีภาพซ้อนและเบลอ เวียนหัว อาการบ้านหมุน เป็นลมบ่อยๆ และปวดหัวอย่างรุนแรง การพูดจาไม่ชัด ออกเสียงลำบาก มีอาการพูดตะกุกตะกัก พูดติดขัด ออกเสียงไม่ชัด  ความสามารถการกลืนอาหารลดลง อาการเหล่านี้หากหายภายใน 24 ชั่วโมง สามารถจะกลับสูภาวะปรกติ หากเกิน 24 ชั่วโมง ถือว่าเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ต้องใช้เวลาในการบำบัด

สาเหตุของการเกิดโรคอัมพาต

สาเหตุของการเกิดโรคอัมพาต หรือ โรคอัมพฤกษ์ เกิดจากสมองขาดเลือดอย่างกระทันหัน ซึ่งสาเหตุของสมองขาดเลือด เกิดจาก 2 สาเหตุสำคัญ คือ หลอดเลือดแดงไปเลื้ยงสมองอุดตัน และหลอดเลือดแดงไปเลี้ยงสมองแตก

  • หลอดเลือดสมองอุดตัน เกิดจากหลอดเลือดแดงสมองตีบตัน สาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดแดงตีบ คือ ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน การสูบบุหรี่ เกิดภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมอง หรือ ลิ่มเลือดจากโรคหัวใจเต้นรัว
  • หลอดเลือดสมองแตก เป็นสาเหตุที่พบมาก เกิดจากภาวะหลอดเลือดสมองโปร่งพอง จากโรคความดันโลหิตสูง

แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดหลอดเลือดไปเลี้ยงสมองมีปัญหา ไม่ได้เกิดจากปัญหาของหลอดเลือดโดยตรง แต่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน โรคความดัน และภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง ซึ่งสาเหตุที่แท้จริงคือ การใช้ชีวิตไม่ถูกวิธี คือ การพักผ่อนน้อย กินอาหารไม่มีประโยชน์ และเครียด

อาการของผู้ป่วยโรคอัมพาต

สำหรับอาการได้กล่าวไปแล้วในข้างต้น แต่เราจะแสดงรายการอาการโรคอัมพาต เพื่อให้ดูง่ายมากขึ้นมีดังนี้

  • แขน ขา ชาและอ่อนแรงไม่สามารถขยับได้ หรือ อ่อนแรงครึ่งซีก ข้างใดข้างหนึ่ง
  • ความสามารถในการพูด และฟังน้อยลง
  • มีปัญหาระบบการมองเห็น เช่น ตาพร่ามัว มองไม่ชัด เห็นภาพเพียงบางส่วน เห็นภาพได้แคบลง
  • ความสามารถในการหายใจน้อยลง ทำให้หายใจลำบาก และเหนื่อยหอบง่าย
  • ปวดหัว เวียนหัว เสียความสามารถในการทรงตัว
  • ปวดหัวอย่างรุนแรงแบบกระทันหัน
  • คลื่นไส้อาเจียน

การตรวจวินิจฉัยโรคอัมพาต

การตรวจวินิจฉัย แพทย์จะสังเกตุจากอาการ การตรวจร่างกาย เช่น ความดันโลหิต การตรวจการเต้นของหัวใจ การตรวจระบบประสาท การตรวจเลือด เพื่อดูน้ำตาลและไขมันในเลือด จากนั้นทำการตรวจสมองด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

การรักษาโรคอัมพาต

สำหรับการรักษานั้น ต้องรักษาตามอาการของสาเหตุที่ทำให้สมองขาดลเือด

  • หากเกิดจากหลอดเลือดสมองแตก ต้องเข้ารับการผ่าตัด ใส่สารบางอย่างเพื่อไปอุดหลอดเลือด
  • หากเกิดจากภาวะหลอดเลือดสมองโป่งพอง สามารถรักษาโดยการให้ยาละลายลิ่มเลือด

นอกจากนั้นแล้ว การรักษาจะทำเพื่อป้องกันการเกิดโรคอีกครั้ง เช่น การให้กินยาลดการแข็งตัวของเลือด การควบคุมการเกิดโรคที่มีผลต่อหลอดเลือด เช่น รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาโรคเบาหวาน และรักษาโรคไขมันในหิตสูง รวมถึงการทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อให้แข้งแรง และฝึกการพูด เป็นต้น

การดูแลตนเองและดูแลผู้ป่วยโรคอัมพาต

  • ให้ปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • ให้ขยันทำกายภาพบำบัด
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน ของผู้ป่วยให้ดี เพื่อคามเสี่ยงการติดเชื้อ
  • จัดสถานที่ที่มีผู้ป่วยให้เหมาะสม และเพื่อความสะดวกในการช่วยตัวเองได้
  • จัดอาหารให้ครบหมวดหมู่ และถูกสุขอนามัย

ป้องกันโรคอัมพาต

  • หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคที่หมด
  • ไม่สูบบุหรี่
  • ไม่ดื่มเครื่องดืมผสมแอลกอฮอ
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ลดของหวาน และไขมัน
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในภาวะปรกติ
  • ตรวจสุขภาพร่างกายประจำปี
  • ในผู้ป่วยให้กินยาตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด

ผลข้างเคียง ที่เกิดจากโรคอัมพาต นั้น คือ คุณภาพชีวิตที่ลดลง ความพิการ ปัญหาด้านการทำงาน ปัญหารายได้ ซึ่งทั้งหมด จะส่งผลผลต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพ เป็นอย่างมาก

โรคอัมพาต โรคอัมพฤกษ์ เกิดจากภาวะสมองขาดเลือด เป็นโรคที่มีความรุนแรงสูง ทำให้เสียชีวิตได้ และหากรอดชีวิตร่างกายก็จะไม่กลับสู่ปรกติ มักจะพิการ ช่วยตัวเองไม่ได้มาก ร่างกายอ่อนแอ ติดเชื้อง่าย รวมถึงเกิดภาวะโรคซึมเศร้า ด้วย เป็นโรคที่ต้องการกำลังใจในการใช้ชีวิตสูงมาก

หลายคนเรียกโรคนี้ว่าโรคเวรโรคกรรม เหมือนตายทั้งเป็น เป็นโรคที่ไม่ฆ่าใครตายแต่สร้างความทรมานทางจิตใจมาก ในปัจจุบันภาวะสังคมที่มีการแข่งขันสูง ความเครียดทำให้เกิดโรคนี้มากขึ้น ในวันที่ 24 พ.ค.ของทุกปี เป็นวันอัมพฤกษ์ อัมพาตโลก วันหลอดเลือดสมอง ผู้เกี่ยวข้องด้านสาะารณสุขจะออกมารณรงค์ให้ประชาชน หันมาใส่ใจดูแลสุขภาพ ร่างกายและจิตใจให้แข็งแรง เพื่อป้องกัน โรคสมองขาดเลือด เรามาทำความรู้จักกับโรคสมองขาดเลือด โรคอัมพาต ให้ละเอียดมากขึ้น ว่า ปัจจัยเสี่ยงของโรค สาเหตุของโรค อาการ การรักษา และการดูแลผู้ป่วย จะทำอย่างไร

จากสถิติของประชากรไทย ปี พ.ศ.2547 พบว่า ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของหญิงไทยอันดับหนึ่ง ร้อยละ 15 ของการเสียชิวิต การเกิดโรคหลอดเลือดในสมอง ของคนไทย มีอัตรา 250 คน ต่อ หนึ่งแสนคน คนไทยเป็นโรคหลอดเลือดในสมอง ปีละ 150,000 คน มีการเสียชีวิตทุกๆ 10 นาที จากโรคนี้

โรคอัมพาต เป็นอาการ แขน ขา หรือร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ ขยับไม่ได้ และอ่อนแรง ส่วนอัมพฤกษ์ คือ อาการ แขน ขา อ่อนแรงกว่าเดิม แต่สามารถใช้งานได้อยู่ ทั้งสองอาการเกิดจากอาการสมองขาดเลือด จึงทำให้เกิดอาการแขนขาใช้งานไม่ได้ หรืออ่อนแรง โรคนี้ทางการแพทย์ เรียก โรคซีวีเอ ย่อมาจาก cerebrovascu lar accident

อาการผิดปกติของร่างกายที่ที่เกิดจากสมองขาดเลือด นานกว่า 24 ชั่วโมง โรคอัมพาต สามารถพบได้มากในคนอายุ 45 ปีขึ้นไป ซึ่งสามารถพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคนี้มีหลายปัจจัย เราได้รวมปัจจัยของการเกิดอัมพาต มาให้ มีดังนี้

โรคอัมพาต ภาวะสมองขาดเลือด ( Ischemic Stroke ) คือ ภาวะขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง ส่งผลให้ระบบประสาทควบคุมร่างกายทำงานผิดปรกติ แขนขาอ่อนแรง เกิดจาก หลอดเลือดแดงไปเลื้ยงสมองอุดตัน หรือ หลอดเลือดแดงไปเลี้ยงสมองแตก กรณีรุนแรงรักษาไม่ทันอาจเสียชีวิตได้ สาเหตุ อาการ การรักษา การป้องกันโรค


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove