กระชาย ขิงจีน Fingerroot สมุนไพร พืชตระกูลโสม ฉายา โสมไทย สรรพคุณช่วยขับลม บำรุงหัวใจ เพิ่มสมรถภาพทางเพศ ปรับสมดุลย์ฮอร์โมนร่างกาย บำรุงกำลัง ช่วยให้เจริญอาหาร

กระชาย สมุนไพร ขิงจีน โสมไทย

กระชาย ภาษาอังกฤษ เรียก Fingerroot มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ  Boesecnergia pandurata ( Roxb. ) Schltr. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกระชาย เช่น ว่านพระอาทิตย์ กระแอน ระแอน ขิงทราย จี๊ปู ซีฟู เป๊าะสี่ เป๊าซอเร้าะ เป็นต้น

ชนิดของกระชาย

สำหรับกระชายที่นิยมปลูกกัน มี 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และ กระชายเหลือง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • กระชายแดง ลักษณะทั่วไปเหมือนกันกับกระชายเหลือง แต่จะแตกต่างกันตรงเหง้าและเนื้อด้านในของเหง้า โดยเนื้อจะมีสีเหลืองแกมส้ม
  • กระชายดำ มีรสชาติเผ็ดร้อน ลักษณะของเนื้อหัวกระชายจะมีสีดำ
  • กระชายเหลือง นิยมนำมาทำอาหาร  ลักษณะของกระชายเหลือง เนื้อด้านในของหัวกระชาย มีสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว

นักโภชนาการ พบว่าคุณค่าทางโภชนาการของกระชายประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก วิตามินบี1 วิตามินบี3 วิตามินซี และไนอาซิน เหง้าของกระชายมีน้ำมันหอมละเหย สรรพคุณมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ดี

ลักษณะของต้นกระชาย

ต้นกระชาย เป็นพืชล้มลุกความสูงประมาณ 1 เมตร ใบมีกลิ่นหอม ดอกของกระชายจะมีสีม่วง ดอกจะออกเป็นช่อ การขยายพันธุ์กระชาย โดยส่วนเหง้า กระชายชอบดินที่ร่วนซุย การระบายน้ำได้ดี ดินเหนียว ลักษณะของต้นกระชาย มีดังนี้

  • ต้นกระชาย มีเหง้าสั้น แตกหน่อได้ มีรากอวบ เป็นรูปทรงกระบอกหรือรูปทรงไข่ค่อนข้างยาว ปลายเรียว มีความยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร ออกเป็นกระจุก ผิวมีสีน้ำตาลอ่อน ส่วนเนื้อในมีสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
  • ใบกระชาย มีลักษณะของส่วนที่อยู่เหนือดิน มีใบประมาณ 2-7 ใบ ลักษณะของใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ลักษณะเป็นรูปรี ใบยาวประมาณ 12-50 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 5-12 เซนติเมตร โคนใบมนหรือแหลม ส่วนปลายใบเรียวแหลม มีขอบเรียบ เส้นกลางใบ ด้านใบ และกาบใบด้านบนจะเป็นร่อง ส่วนด้านล่างจะนูนเป็นสัน ด้านใบเรียบมีความยาวประมาณ 7-25 เซนติเมตร ส่วนกาบใบเป็นสีชมพูยาวประมาณ 7-25 เซนติเมตร ระหว่างก้านใบและกาบใบจะมีลิ้นใบ
  • ดอกกระชาย จะออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกที่ยอดระหว่างกาบใบคู่ในสุด ความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร แต่ละดอกจะมีใบประดับ 2 ใบ มีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูอ่อน ๆ เป็นรูปใบหอกกว้างประมาณ 8 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 3.5-4.5 เซนติเมตร ที่กลีบเลี้ยงมีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูอ่อน โคนติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 1.7 เซนติเมตร ปลายจะแยกเป็น 3 แฉก ส่วนกลีบดอกมีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูอ่อน โคนติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 6 เซนติเมตร และปลายแยกเป็น 3 กลีบ เป็นรูปใบหอก มีขนาดไม่เท่ากัน กลีบใหญ่มี 1 กลีบ กว้างประมาณ 7 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 1.8 เซนติเมตร ส่วนอีก 2 กลีบจะมีขนาดเท่ากัน กว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร มีเกสรตัวผู้อยู่ 6 อัน แต่มี 5 อันที่เปลี่ยนไปมีลักษณะเหมือนกลีบดอก โดย 2 กลีบบนมีสีชมพู รูปไข่กลับขนาดเท่ากัน มีความกว้างประมาณ 1.2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.7 เซนติเมตร ส่วนอีก 3 กลีบล่างมีสีชมพูติดกันเป็นกระพุ้ง มีความกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2.7 เซนติเมตร และที่ปลายจะแผ่กว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร มีสีชมพูหรือสีม่วงแดงเป็นเส้นอยู่เกือบทั้งกลีบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงกระเปาะและปลายกลีบ จะมีเกสรตัวผู้ที่สมบูรณ์อยู่ 1 อัน ก้านชูอับเรณูหุ้มก้านเกสรตัวเมีย
  • ผลกระชาย ผลกระชาย ผลแก่จะแตกเป็น 3 เสี่ยง มีเมล็ดค่อนข้างใหญ่

สรรพคุณของกระชาย

สำหรับสรรพคุณทางยาของกระชายนั้น กระชายสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายส่วน ทั้ง ใบ หัว ราก รายละเอียด ดังนี้

  • เหง้าของกระชาย สรรพคุณแก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด แก้บิด แก้โรคกระเพาะ ช่วยขับปัสสาวะ ใช้รักษาริดสีดวงทวาร รักษาแผลในปาก แก้ตกขาว กลาก เกลื้อน ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหารและแก้โรคในช่องปาก
  • ใบของกระชาย สรรพคุณบำรุงธาตุ แก้โรคในปาก คอ แก้โลหิตเป็นพิษ ถอนพิษต่างๆได้

โทษของกระชาย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระชายมีข้อควรระวังในการใช้เพื่อความปลอดภัย ซึ่งหากใช้กระชายอย่างไม่ถูกวิธีสามารถเกิดโทษได้ ซึ่งโทษของกระชายมีรายละเอียด ดังนี้

  • กระชายมีฤทธิ์ร้อน ไม่ควรกินกระชายจำนวนมาก อาจทำให้เกิดแผลร้อนในที่ปากได้
  • ผู้ป่วยเกี่ยวกับตับ ไม่ควรกินกระชายในประมาณมาก กระชายมีผลต่อการทำงานของตับ

กระชาย หรือ ขิงจีน ( Fingerroot ) สมุนไพร พืชตระกูลโสม ฉายา โสมไทย พืชสรรพคุณหลากหลาย เช่น ช่วยขับลม บำรุงหัวใจ เพิ่มสมรถภาพทางเพศ ปรับสมดุลย์ฮอร์โมนร่างกาย บำรุงกำลัง ช่วยให้เจริญอาหาร

ต้นโสน ดอกโสน ดอกไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผักฮองแฮง โสนกินดอก โสนหิน สรรพคุณของโสน แก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ รักษาแผล ลดไข้ แก้ปวดท้อง แก้พิษแมลงกัดต่อยต้นโสน ดอกโสน สมุนไพร สรรพคุณของโสน

โสน ดอกไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โสน อ่านออกเสียงว่า สะ-โหน ภาษาอังกฤษ เรียก Sesbania มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sesbania javanica Miq ชื่ออื่นๆ ของโสน เช่น ผักฮองแฮง โสนกินดอก โสนหิน โสนดอกเหลือง สี่ปรีหลา สรรพคุณของโสน ช่วยแก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ รักษาแผล ลดไข้ แก้ปวดท้อง แก้พิษจากแมลงกัดต่อย ถิ่นกำเนิดของต้นโสน คือ ทวีปแอฟริกา และ ทวีปเอเชีย รวมถึง ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยด้วย

สายพันธุ์โสนในประเทศไทย

สายพันธ์ต้นโสนจากการศึกษาสายพันธ์โสนในประเทศไทย พบว่ามี 4 สายพันธ์ คือ โสนแอฟริกัน โสนอินเดีย โสนหิน และ โสนคางคก รายละเอียดของสายพันธ์โสนแต่ละสายพันธ์ มีรายละเอียด ดังนี้

  • โสนแอฟริกัน มีลักษณะเด่นของโสนแอฟริกัน คือ รากมีปม ลำต้นสูง เป็นต้นโสนที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา กรมพัฒนาที่ดินนำเมล็ดเข้ามากปลูกครั้งแรก โดย ดร. สมศรี อรุณินท์ เมื่อปี พ.ศ. 2526
  • โสนอินเดีย ลักษณะรากมีปม ลำต้นสูง 2-3 เมตร ดอกมีสีเหลือง สามารถออกดอกเมื่อต้นมีอายุประมาณ 90 วัน มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย
  • โสนหิน หรือ โสนกินดอก นิยมใช้ยอดอ่อน และดอกมาประกอบอาหารมากกว่าโสนทุกชนิด ลำต้นสูงประมาณ 4 เมตร
  • โสนคางคก นิยมใช้ประโยชน์จากไม้โสน ไม้โสนนำมาประดิษฐ์เป็นดอกไม้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นวัสดุจากธรรมชาติที่สามารถสร้างรายได้เสริมกับชาวบ้านในท้องถิ่น

ลักษณะของต้นโสน

ต้นโสน เป็นไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก มีอายุประมาณ 1 ปี โสน เป็น พืชชายน้ำที่ชอบเติบโตบริเวณพื้นที่ชุ่ม สามารถพบทั่วไปในประเทศไทย มักพบริมแม่น้ำลำคลอง ริมอ่างเก็บน้ำ บ่อน้ำ และ พื้นที่ที่มีความชื้น สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นโสน มีดังนี้

  • ลำต้นโสน ความสูงประมาณ 1 เมตร เปลือกลำต้นเรียบ ลำต้นยาว สีเขียว
  • ใบโสน ลักษณะใบของโสนเป็นรูปรี สีเขียว ใบและท้องใบจะเรียบ ที่โคนของก้านจะมีหนาม
  • ดอกของโสน ลักษณะของดอกจะออกเป็นช่อ ตามปลายกิ่ง ดอกจะเป็นสีเหลือง โสนจะออกดอกช่วงปลายฤดูฝน
  • ผลของโสน ออกเป็นฝัก ฝักอ่อนของโสนจะมีสีเขียว เมื่อแก่ไปฝักจะเป็นสีน้ำตาล เมล็ดจะเป็นทรงกลม

คุณค่าทางโภชนาการของโสน

สำหรับการรับประทานโสนเป็นอาหาร นิยมรับประทานดอกโสนเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของดอกโสน ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 38 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย ไขมัน 0.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 5.9 กรัม โปรตีน 2.5 กรัม กากใยอาหาร 2.2 กรัม ความชื้น 87.7 กรัม วิตามินเอ 3,338 หน่วยสากล วิตามินบี 1 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.26 มิลลิกรัม วิตามินซี 51 มิลลิกรัม แคลเซียม 62 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.1 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม

สรรพคุณของโสน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากโสน ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค เราสามารถนำโสนมาใช้ประโยชน์ทางสมุนไพร ทั้ง ดอก ราก ลำต้น ใบ รายละเอียด สรรพคุณของโสน มีดังนี้

  • ดอกโสน จะมีรสจืด มีสรรพคุณ แก้พิษร้อน ลดไข้ เป็นยาสมานลำไส้ แก้อาการปวด ยาถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
  • รากโสน จะมีรสจืด มีสรรพคุณ แก้ร้อน
  • ลำต้นโสน จะมีรสจืด สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ โดยนำมาเผาให้ไหม้ จากนั้นนำไปแช่น้ำดื่ม
  • ใบของโสน มีรสจืด สรรพคุณ รักษาแผล โดนนำไปตำและพอกแผล หรือ นำใบไปตำผสมกับดินสอพอง ใช้พอกแผลรักษาฝีได้

ประโยชน์ของต้นโสน

  • ดอกโสน มีรสออกหวานเล็กน้อย นิยมใช้รับประทานเป็นผักหรือนำมาใช้ประกอบหรือทำอาหารคาวหวานรับประทาน เมนูดอกโสน ที่นิยมกันมาก ได้แก่ ดอกโสนผัด ดอกโสนผัดน้ำมันหอย ดอกโสนผัดไข่ ไข่เจียวดอกโสน ดอกโสนลวกจิ้มกับน้ำพริกกะปิกินกับปลาทู ดอกโสนจิ้มน้ำพริกมะนาว ดอกโสนชุบแป้งทอดกรอบกินกับขนมจีนน้ำพริก ยำดอกโสน ดอกโสนดองน้ำเกลือ แกงส้มดอกโสนกับปลาช่อน ดอกโสนแกงใส่ไข่มดแดง หรือแกงเผ็ดอะไรก็ได้ใส่ดอกโสน แต่ถ้าใช้ประกอบอาหารหวานก็จะมีข้าวเหนียวมูนดอกโสน ขนมดอกโสน ขนมขี้หนู ขนมบัวลอย เป็นต้น
  • จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่พบว่า ดอกโสนมีสารเควอเซทิน ไกลโคไซด์ (Quercetin 3-2 (G)-rhamnosylrutinoside) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญและเป็นสารฟลาโวนอยด์ที่สำคัญ โดยมีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ในเซลล์เพาะเลี้ยงในห้องทดลอง จากการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารชนิดนี้พบว่า เควอเซทินมีฤทธิ์กระตุ้นให้เซลล์มะเร็งตายด้วยกระบวนการอะพ็อปโทซิส (apoptosis) ช่วยหยุดยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยระงับการอักเสบ และช่วยป้องกันอันตรายของเซลล์ปกติต่อความเครียดจากกระบวนการต้านอนุมูลอิสระ
  • นอกจากนี้ยังนำมาใช้แต่งสีอาหารได้อีกด้วย โดยจะให้สีเหลือง ซึ่งเป็นสารแคโรทีนอยด์ (caiotenoid) โดยวิธีการเตรียมสีเหลืองจากดอกโสน ก็ให้นำดอกโสนสดที่ล้างสะอาดแล้วมาบดหรือโม่ผสมกับแป้งที่จะใช้ทำขนม จะทำให้ได้แป้งสีเหลืองที่มีกลิ่นหอม แล้วจึงนำแป้งที่ได้ไปใช้ทำขนมต่าง ๆ
  • เนื้อไม้ของต้นโสนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมได้หลายอย่าง โดยไม้โสนจะใช้ทำเป็นของเล่นเด็กมาตั้งแต่โบราณ ส่วนเยื่อไม้ที่มีลักษณะเบา บาง และเหนียว ก็นำมาประดิษฐ์ทำเป็นดอกไม้ได้อย่างประณีตและงดงาม
  • ไม้โสนยังสามารถนำมาใช้เป็นทุ่นหรือเชื้อติดไฟได้ดี
  • ในปัจจุบันได้มีการนำใบและดอกโสนมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ โดยเป็นผลิตภัณฑ์ 2 ชนิด คือ ชาดอกโสน และชาจากยอดใบโสน เนื่องจากดอกโสนมีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เมื่อนำมาทำชา ก็ได้ชาที่มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ให้รสชาติอ่อนนุ่ม โดยสามารถทำเองได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง

ต้นโสน ดอกโสน ดอกไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผักฮองแฮง โสนกินดอก โสนหิน สรรพคุณของโสน แก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ รักษาแผล ลดไข้ แก้ปวดท้อง แก้พิษแมลงกัดต่อย ดอกโสน นิยมนำมาทำอาหาร เช่น ไข่เจียวดอกโสน ข้าวเหนียวดอกโสน

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove