ไทรอยด์  Thyroid gland ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนผิดปรกติ น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ เหงื่อออกง่าย หงุดหงิด ฉุนเฉียว ระบบในร่างกายทั้งหมดผิดปรกติ

ไทรอยด์เป็นพิษ โรคต่อมไร้ท่อ โรคไม่ติดต่อ

ไทยรอยด์ คือ ต่อมไร้ท่อขนาดใหญ่ของร่างกายมนุษย์ มีหน้าที่หลัก คือ ผลิตฮอร์โมนต่างๆ ความสำคัญของฮอร์โมนไทรอยด์ ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ เสริมสร้างความสัมพันธ์กับการทำงานของสมองและระบบประสาท ควบคุมระบบเผาผลาญและรักษาอุณหภูมิของร่างกาย หากร่างกายมีระดับฮอร์โมนไทรอยด์สูงกว่าปกติ ระบบต่างๆในร่างกายจะถูกกระตุ้นให้ทำงานมากขึ้น ทำให้เกิด ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ไทรอยด์เป็นพิษ ( Hyperthyroidism , Overactive Thyroid )คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากเกินไป ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานมากขึ้น เป็นสาเหตุทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วแบบผิดปกติ หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดปกติ เหงื่อออกง่าย และหงุดหงิด ฉุนเฉียว เป็นต้น เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ จะส่งผลให้ระบบในร่างกายทั้งหมดผิดปรกติ ซึ่งระบบประสาทจะไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้

ความผิดปรกติของไทรอยด์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ

  1. ฮอร์โมนไทรอยด์เกิน เป็น ภาวะที่ร่างกายหลั่งฮอร์โมนออกมามากเกินความจำเป็น  ส่งผลให้หัวใจเต้นแรง ใจสั่น นอนไม่หลับ และน้ำหนักตัวลด ทำให้มีอารมณ์แปรปรวนบ่อย
  2. ฮอร์โมนไทรอยด์ขาด ( Hypothyroidism ) เป็นภาวะที่ร่างกายหลั่งฮอร์โมนออกมาน้อยเกินไปไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลง รู้สึกหนาว ระบบความจำเสื่อม ตัวบวม ท้องผูก ถ้าเกิดกับเด็กจะทำให้ตัวการเจริญเติบโตของเด็กไม่ดี ตัวจะแคระแกรน
  3. ฮอร์โมนไทรอยด์ปกติ เป็นภาวะที่ฮอร์โมนของร่างกายหลั่งออกมาปกติ แต่มีความผิดปกติที่ตรงต่อมไทรอยด์

สาเหตุของการเกิดไทรอยด์เป็นพิษ

สาเหตุของโรคไทรอยด์เป็นพิษนั้นเกิดขึ้นจาก การทำงานมากกว่าปรกติของต่อมไทรอยด์ จนทำให้ร่างกายมีปริมาณของฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าความต้องการของร่างกาย สามารถแยกสาเหตุได้ 3 สาเหตุหลัก ๆ ประกอบด้วย

  • การรับประทานอาหาร การรับประทานอาหารที่มีไอโอดีนมากเกินไปก็สามารถก่อให้เกิดโรคไทรอยด์เป็นพิษ เนื่องจากไอโอดีนเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์
  • การอักเสบของต่อมไทรอยด์ การอักเสบที่ไม่ทราบสาเหตุของต่อมไทรอยด์สามารถส่งผลต่อการทำงานของของต่อมไทรอยด์ได้ โดยการอักเสบของต่อมไทรอยด์จะทำให้ฮอรโมนไทรอยด์ถูกผลิตออกมามากขึ้น และทำให้ฮอร์โมนรั่วไหลออกไปที่กระแสเลือด ทั้งนี้การอักเสบของต่อมไทรอยด์ส่วนใหญ่ไม่มีอาการเจ็บ ยกเว้นอาการไทรอยด์อักเสบแบบกึ่งเฉียบพลันที่เกิดขึ้นได้น้อย สามารถส่งผลให้เกิดอาการเจ็บได้
  • เนื้องอกที่ต่อมไทรอยด์ เป็นกรณีที่พบได้น้อย เนื้องอกที่เกิดบริเวณไทรอยด์ และเนื้องอกที่เกิดบริเวณต่อมใต้สมอง อาจส่งผลให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมนไทรอยด์มากขึ้นจนกลายเป็นพิษได้
  • การได้รับการเสริมฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป ยาที่มีส่วนประกอบของไอโอดีนบางชนิด เช่น ยาอะไมโอดาโรน (Amiodarone) ที่ใช้ในการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะทำให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมนไทรอยด์มากขึ้นจนกลายเป็นพิษ

อาการของโรคไทยรอยด์

อาการของโรคไทรอยด์เป็นพิษ ผู้ป่วยจะมีความผิดปรกติของระบบการทำงานของร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็วผิดปรกติ ทำให้รู้สึกเหนื่อยง่าย ใจสั่น ในผู้ป่วยบางรายอาจจะเป็น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ระบบการเผาผลาญ ของร่างกายถูกกระตุ้น ทำให้น้ำหนักตัวลดลง นอนไม่หลับ ท้องเสียง่าย เนื่องจากระบบทางเดินอาหารถูกกระตุ้นให้ทำงาน ตาโปนเยื่อหลังนัยน์ตาขยาย ในผู้หญิงอาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ กล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลัน ซึ่งสามารถสรุปอาการของโรคเป็นข้อๆ เพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้ ดังนี้

  • อารมณ์แปรปรวน วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย ไม่มีสมาธิ
  • คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว
  • นอนหลับยาก
  • มีปัญหาสายตา เช่น ตาโปน เห็นภาพซ้อน เป็นต้น
  • สุขภาพผมเปลี่ยนไป ผมเปราะบางขาดง่าย และมีอาการผมร่วง
  • ผู้หญิงมีรอบเดือนผิดปกติ ประจำเดือนมีสีจางและมาไม่สม่ำเสมอ
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะบริเวณต้นขาและต้นแขน
  • เล็บยาวเร็วผิดปกติ
  • หัวใจเต้นเร็วมากกว่า 100 ครั้ง/นาที โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ
  • มือสั่นตลอดเวลา
  • มีอาการคัน
  • เหงื่อออกมาก
  • ผิวหนังบาง
  • น้ำหนักลด แต่มีความอยากอาหารมากขึ้น
  • อาจพบเต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้นในเพศชาย

มะเร็งต่อมไทรอยด์ ( Thyroid carcinoma ) มีทั้งชนิดรุนแรงและไม่รุนแรง จะพบมากในผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป และสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย แต่พบว่าผู้ชายจะมีความรุนแรงของโรคมากกว่าผู้หญิง

การรักษาโรคไทรอยด์

โรคของต่อมไทรอยด์  สามารถทำการรักษาได้โดย กินยาลดการทำงานของต่อมไทรอยด์ การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ หรือ การกินน้ำแร่รังสีไอโอดีน เมื่อเราพบว่าร่างกายเป็นภาวะไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป สามารถรักษาได้โดย การกินยาไทรอยด์เพิ่มระดับฮอร์โมน และให้ยาขับน้ำ เพื่อลดการบวมของร่างกาย หากพบว่าเป็นมะเร็งต่อมไทยรอยด์ จะต้องทำการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ และกินยาน้ำแร่รังสีไอโอดีน รวมถึงฉายรังสีรักษา

การดูแลตนเองเมื่อเป็นไทยรอยด์

เมื่อมีอาการผิดปกติดังกล่าวหรือสังเกตเห็นมีก้อนเนื้อผิดปกติในบริเวณต่อมไทรอยด์ และ/หรือลำคอ ควรรีบพบแพทย์เสมอภายใน 1 – 2 สัปดาห์เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาแต่เนิ่นๆ ซึ่งจะช่วยให้การรักษาได้ผลดีกว่า ใช้เวลารักษาและเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาน้อยกว่าการรักษาในระยะที่เป็นโรคเรื้อรังหรือเป็นโรคมะเร็งในระยะลุกลาม

ป้องกันไม่ให้เกิดโรคของต่อมไทรอยด์

การป้องกันโรคไทยรอยด์ในทางการแพทย์นั้น โรคต่อมไทรอยด์ ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน แต่ยกเว้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคคอพอก ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากการขาดสารไอโอดีน ดังนั้น การป้องกันโรคไทรอยด์ เราต้อง รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของ ไอโอดีนในปริมาณที่เหมาะสม โดยอาหารที่มีสารไอโอดีย เช่น อาหารทะเล เกลือทะเล นอกจากการรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสมแล้ว การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน การออกกำลังกาย ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ก็สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโนคนี้ได้

 

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

มะเร็งท่อน้ำดี ( Cholangiocarcinoma ) เนื้อร้ายที่ท่อทางเดินน้ำดี เกิดกับตับและอวัยวะภายในช่องท้อง พบมากในเพศชายอายุ 40 ปีขึ้นไป เกิดจากการรับประทานปลาน้ำจืดดิบมะเร็งท่อน้ำดี โรคมะเร็ง ตัวเหลืองตาเหลือง กินปลาดิบ

โรคมะเร็งท่อน้ำดีในประเทศไทย

โรคนี้เป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของสาเหตุการตายของคนไทยจากโรคมะเร็ง โรคนี้พบมากในภาคอีสาน เนื่องจากการนิยมการกินปลาดิบ จนเกิดจากการติดพยาธิใบไม้ตับชนิด Opisthorchis viverrini ซึ่งเป็นปรสิตที่พบในปลาน้ำจืด ที่มีเกล็ด เช่น ปลาตะเพียน ปลาขาว ปลาสร้อย ปลากะสูบ ปลาแม่สะแด้ง ปลาซิว ปลาแก้มช้ำ ปลาขาวนา เป็นต้น

เมื่อคนกินปลาน้ำจืดแบบสุกๆ ดิบๆ ตัวอ่อนของพยาธิจะเข้าไปเจริญเติบโตอยู่ในท่อน้ำดี และอยู่ได้นานถึง 20 ปี ดังนั้น โรคมะเร็งท่อน้ำดี เกิดจากการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ กลุ่มเสี่ยงต่อโรคมะเร็งท่อน้ำดี คือ คนอายุ 40 ปีขึ้นไป ที่มีประวัติกินปลาน้ำจืดแบบสุกๆดิบๆ การรักษาโรคมะเร็งท่อน้ำดี หากพบในระยะเริ่มต้น สามารถรักษาให้หายขาดได้ถึงร้อยละ 90

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี

สำหรับสาเหตุของการเกิดมะเร็งท่อน้ำดีนั้น ยังไม่มีการศึกษาได้สามารถระบุสาเหตุของการเกิดโรคอย่างชัดเจนนัก แต่พบว่าการเกิดการอักเสบแบบเรื้อรังที่ท่อน้ำดี มีผลทำให้เซลล์ของเยื่อบุผิวท่อน้ำดีเป็นเซลล์มะเร็งได้ โดยพบว่ามีโรค ดังต่อไปนี้ที่มีความเสี่ยงการเกิดอักเสบของท่อน้ำดี คือ โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง โรคพยาธิใบไม้ในตับ และ ความผิดปรกติของท่อน้ำดีจากกรรมพันธ์

ชนิดของมะเร็งท่อน้ำดี

สำหรับมะเร็งท่อน้ำดี นั้นสามารถแบ่งชนิดของโรคได้ 2 ชนิด ประกอบด้วย มะเร็งท่อน้ำดีในตับ และ มะเร็งท่อน้ำดีนอกตับ รายละเอียด ดังนี้

  • มะเร็งท่อน้ำดีในตับ ลักษณะของโรคคล้ายมะเร็งตับ การวินิจฉัยโรคมักถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งตับ เกิดจากเซลล์ของเยื่อบุท่อน้ำดีในตับและขยายออกสู่เนื้อตับข้างๆ
  • มะเร็งท่อน้ำดีนอกตับ มะเร็งชนิดนี้จะทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำดี จากการที่มีท่อน้ำดีขนาดใหญ่ตั้งแต่ขั้วตับจนถึงท่อน้ำดีส่วนปลาย ซึ่งผู้ป่วยมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี

สำหรับปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีนั้น มีปัจจัยเสี่ยงการการกินอาหารที่มีให้เกิดผลกระทบต่อตับ สำหรับปัจจัยเสี่ยงการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี มีดังนี้

  • การเกิดโรคภาวะท่อน้ำดีอักเสบแบบเรื้อรัง
  • การเกิดโรคที่ระบบทางเดินของท่อน้ำดี
  • การเกิดนิ่วที่ตับ
  • กรรมพันธุผิดปกติตั้งแต่กำเนิด คือ ถุงน้ำดีผิดปกติในระบบทางเดินน้ำดี

ระยะของโรคมะเร็งท่อน้ำดี

สำหรับระยะการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี นั้น มี 4 ระยะ คือ ระยะลุกลามเฉพาะท่อน้ำดี ระยะลุกลามออกนอกท่อน้ำดี ระยะลุกลามเข้าสู่หลอดเลือดขนาดเล็ก และ ระยะลุกลามเข้าสู่หลอดเลือกขอนาดใหญ่และกระแสเลือด

อาการของมะเร็งท่อน้ำดี

ลักษณะของอาการของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี อาการคล้ายกับผู้ป่วยโรคตับ ซึ่งในระยะแรกของโรคจะไม่แสดงอาการให้เห็น และ จะแสดงอาการเมื่อโรคเริ่มมีการลุกลามแล้ว โดยสามารถสังเกตุอาการของโรคได้ ดังนี้

  • มีอาการตัวเหลืองและตาเหลือง
  • มีอาการไม่สบายท้อง อึดอัดและแน่นท้อง
  • ปวดท้องส่วนบนบริเวณใต้ชายโครงขวา
  • มีอาการปวดหลังและปวดไหล่
  • มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • คันตามตัวทั่วร่างกาย
  • อุจจาระมีสีซีด
  • ปัสสาวะมีสีเข้ม
  • เหนื่อยง่าย
  • อ่อนเพลีย
  • เบื่ออาหาร
  • น้ำหนักตัวลดลง
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • มีก้อนโตที่หน้าท้อง

การรักษาโรคมะเร็งท่อน้ำดี

สำหรับการรักษาโรคมะเร็งท่อน้ำดี นั้นการพิจารณารักษามีปัจจัยต่างๆ คือ ขนาดของมะเร็ง ตำแหน่งของมะเร็ง และ ลักษณะของมะเร็ง ระยะของมะเร็ง และ การแพร่กระจายของมะเร็ง รวมถึงสุขภาพและกำลังใจผู้ป่วยด้วย โดยการรักษาใช้การผ่าดัด และเคมีบำบัด ควบคู่กันได

  • การผ่าตัด เป็นการรักษาหลักของโรคมะเร็งท่อน้ำดี ซึ่งจะผ่าตัดเนื้องอก และผ่าตัดระบายท่อน้ำดี ผู้ป่วยที่สามารถผ่าตัดเนื้องอกได้แต่ในขณะที่ผ่าตัดพบว่าระยะโรคไม่สามารถผ่าตัดออกได้ ควรได้รับการผ่าตัดระบายท่อน้ำดีเพื่อรักษาอาการคันและตัวเหลืองตาเหลือง
  • เคมีบำบัดและรังสีรักษา ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดเอามะเร็งออกได้หมด หรือใช้ในการรักษาหลังผ่าตัดเพื่อเพิ่มโอกาสการหายขาด

การป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ำดี

สำหรับการป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ำดี ต้องลดโอกาสเกิดโรคที่ตับ เป็นหลัก โดยรายละเอียดดังนี้

  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อลดโอกาสติดเชื้อต่างๆ
  • เลิกกินปลาน้ำจืด ที่ปรุงแบบสุกๆดิบๆ
  • คนที่อาศัยอยู่ในแหล่งที่มีการระบาดของโรคพยาธิใบไม้ตับ ต้องระวังการติดเชื้อโรคและการติดพยาธิ
  • ควรพบแพทย์ขอรับการตรวจอุจจาระเพื่อตรวจหาไข่ของพยาธิใบไม้ตับ เป็นประจำทุกปี

มะเร็งท่อน้ำดี ( Cholangiocarcinoma ) คือ ภาวะการเกิดก้อนเนื้อร้ายที่ท่อทางเดินน้ำดี เป็นโรคที่เกิดกับตับ และ ระบบอวัยวะภายในช่องท้อง โรคนี้พบมากในเพศชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป สาเหตุเกิดจากการรับประทานปลาน้ำจืดดิบๆ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove