โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ เพิ่มน้ำอสุจิ กระตุ้นมดลูก เหมาะสำหรับคนมีบุตรยาก ว่านโด่ไม่รู้ล้ม สตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยง โทษของโด่ไม่รู้ล้ม

โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ประฌยชน์ของโด่ไม่รู้ล้ม

ว่านโด่ไม่รู้ล้ม เป็น พืชสมุนไพร ที่มี สรรพคุณ เสริมสมรรถภาพทางเพศ ช่วยบำรุงกำลัง ลดความดันโลหิต ช่วยเพิ่มคุณภาพอสุจิ กระตุ้นมดลูก เหมาะ สำหรับคนมีบุตรยาก ว่านโด่ไม่รู้ล้ม ควรหลีกเลี่ยงสำหรับสตรีมีครรภ์ โด่ไม่รู้ล้ม ทางเภสัชศาสตร์ พบว่า โด่ไม่รู้ล้ม มี สรรพคุณ ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส ต้านความเป็นพิษต่อตับ สามารถช่วยลดไข้ ลดอักเสบ ลดความดันเลือด บำรุงลำไส้เล็ก กระตุ้นการทำงานของมดลูก เพิ่มคุณภาพน้ำอสุจิในเพศชาย เพิ่มขนาด และ ความแข็งแรงของอวัยวะเพศ

โด่ไม่รู้ล้ม ภาษาอังกฤษ เรียก Prickly-leaved elephant’s foot มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Elephantopus scaber L. เป็น พืชตระกูลเดียวกันกับทานตะวัน ชื่อเรียกอื่นๆของโด่ไม่รู้ล้ม อาทิ เช่น ขี้ไฟนกคุ่ม , คิงไฟนกคุ่ม , หนาดมีแคลน ,  หญ้าปราบ , หญ้าไก่นกคุ่ม , หญ้าไฟนกคุ้ม , หญ้าสามสิบสองหาบ เป็นต้น

ลักษณะของต้นโด่ไม่รู้ล้ม

โด่ไม่รู้ล้ม เป็น พืชล้มลุก คล้ายหญ้า ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด ชอบดินทราย สามารถพบได้ตาม ป่าโปร่ง ป่าเต็งรัง ป่าดิบ และ ป่าสนเขา ในประเทศเขตร้อน มีลักษณะของต้นว่านโด่ไม่รู้ล้ม ดังนี้

  • ลำต้น สูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร ลำต้นสั้น ลักษณะกลม อยู่ระดับผิวดิน
  • ใบของโด่ไม่รู้ล้ม เป็นใบเดี่ยว ขึ้นบนเหง้า ใบขึ้นเป็นกระจุก เหมือนดอกกุหลาบ ใบ เป็นรูปหอกหัวกลับ ใบกว้าง ขอบใบหยัก เนื้อใบหนาและสาก ผิวของใบมีขนเล็กๆ ท้องใบจะมีขนมากกว่าหลังใบ และไม่มีก้านใบ
  • ดอกโด่ไม่รู้ล้ม   ออกดอกเป็นช่อ ออกมาจากลำต้น ดอก เป็นรูปหลอดสีม่วง หลอดกลีบดอกยาว ไม่มีขน ปลายแหลม ฐานเป็นติ่งแหลม แต่ละช่อย่อยจะอยู่รวมกันเป็นช่อกระจุกกลมที่ปลายก้านดอก
  • ผลของโด่ไม่รู้ล้ม ผลจะเป็นผลแห้ง และไม่แตก ซึ่งลักษณะของผล จะเล็ก เรียว เป็นรูปกรวย ผลมีขน

สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม

ว่านโด่ไม่รู้ล้ม สามารถใช้ประโยชน์ ทาง การรักษาโรค ได้ทุกส่วน ทั้งต้น ใบ และ ราก ซึ่งรายละเอียด ประโยชน์ทางยาของว่านโด่ไม่รู้ล้ม มี ดังนี้

  • รากของโด่ไม่รู้ล้ม ใช้ เป็นยาบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยแก้อาการร้อนใน ช่วยขับเหงื่อ ใช้รักษามาลาเรีย ช่วยลดไข้ เป็นยาแก้ไอ แก้ไข้หวัด แก้อาเจียน เป็นยาแก้วัณโรค ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ ช่วยแก้อาการตาแดง ช่วยรักษาแผลในช่องปาก แก้ปวดฟัน รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับระดูขาวของสตรี เป็นยาบีบมดลูก ใช้ต้มอาบหลังคลอดของสตรี ช่วยแก้นิ่ว ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยบำรุงกำหนัด ใช้เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยขับของเสีย ช่วยแก้อาการอักเสบ ช่วยรักษาฝี ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยเพิ่มเม็ดเลือดแดง
  • ใบของโด่ไม่รู้ล้ม ใช้ เป็นยาบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงเลือด ช่วยเจริญอาหาร ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยขับเหงื่อ ใช้รักษาโรคมาลาเรีย ใช้ลดไข้ เป็นยาแก้ไอ ใช้รักษาวัณโรค ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ รักษาตาแดง ช่วยรักษาแผลในช่องปาก บรรเทาอาการเจ็บหน้าอก แก้อาการท้องเสีย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยขับพยาธิ ช่วยแก้นิ่ว ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยบำรุงกำหนัด เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยขับของเสีย ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ช่วยรักษาบาดแผล ช่วยคลายเส้น แก้อาการปวดเมื่อย
  • ลำต้นของโด่ไม่รู้ล้ม ใช้ เป็นยาบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงเลือด ช่วยเจริญอาหาร ช่วยแก้กษัย ช่วยขับเหงื่อ ใช้รักษาไข้มาลาเรีย ลดไข้  เป็นยาแก้ไอ แก้วัณโรค ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ แก้ตาแดง ช่วยรักษาอาการต่อมทอนซิลอักเสบ ช่วยรักษาแผลในช่องปาก ช่วยห้ามเลือดกำเดา บรรเทาอาการเจ็บหน้าอก แก้อาการท้องเสีย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยขับพยาธิ ช่วยแก้นิ่ว ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยบำรุงกำหนัด บำรุงสมรรถภาพทางเพศ ช่วยขับของเสีย ช่วยรักษาฝี ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย

ประโยชน์อื่นๆของต้นโด่ไม่รู้ล้ม

  • ใช้เป็น ไม้ประดับ ปลูกประจำบ้าน เพื่อความสวยงาม
  • เป็น ต้นไม้มงคล เชื่อว่า การปลูกว่านโด่ไม่รู้ล้ม ช่วยป้องกันเสนียดจัญไร
  • นำไป แปรรูปเป็นยาสมุนไพร เช่น ผงสำเร็จรูป ยาดองเหล้า ยาแคปซูล เป็นต้น

ข้อควรระวังสำหรับการใช้โด่ไม่รู้ล้ม

สำหรับสตรีมีครรภ์ ห้ามใช้ รวมถึงคนทั่วไปที่มีปัญหาเมื่อเจออากาศหนาว คนที่ชอบดื่มของร้อน เป็นต้น

โด่ไม่รู้ล้ม พืชสมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยเพิ่มน้ำอสุจิ กระตุ้นมดลูก เหมาะสำหรับคนมีบุตรยาก ว่านโด่ไม่รู้ล้ม สตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยง โทษของโด่ไม่รู้ล้ม

กุยช่าย ( Garlic chives ) สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว สรรพคุณมีสารต้านอนุมูลอิสระ บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศกุยช่าย สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของกุยช่าย

กุยช่าย ( Garlic chives ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกุยช่าย คือ Allium tuberosum Rottler ex Spreng. สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของใบกุยช่าย สรรพคุณของกุยช่าย ประโยชน์ของกุยช่าย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ชนิดของกุยช่าย เช่น กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว

ต้นกุยช่าย เป็นพืชสมุนไพร ในครัวเรือน นิยมนำใบและดอกกุยช่ายมาทำอาหาร สรรพคุณของกุยช่าย เช่น รักษาหวัด บำรุงกระดูก แก้ลมพิษ แก้ท้องอืด บำรุงไต บำรุงกำหนัด กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ กุยช่ายที่รู้จักกันในท้องตลาด มี กุยช่ายขาว และกุยช่ายเขียว ซึ่งคือพืชชนิดเดียวกัน แต่เทคนิคด้านการผลิตพืช ทำให้ใบกุยช่ายสามารถเป็นสีขาวได้ ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็งได้ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสมุนไพร ชื่อ กุยช่าย กัน

กุยช่าย นิยมนำใบมาทำเป็นส่วนประกอบของอาหาร ตัวอย่างอาหารเมนูกุยช่าย เช่น ผัดเต้าหู้ ผัดหมูกรอบ ผัดหมี่ซั่ว ผัดหมีฮ่องกง เป็นต้น กุยช่ายเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออก แถบเทือกเขาหิมาลัย ประเทศอินเดีย ประเทศจีน และประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น กุยช่าย ภาษาอังกฤษ เรียก Garlic chives กุยช่าย มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Allium tuberosum Rottler ex Spreng. เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับพลับพลึง สำหรับกุยช่ายมีชื่อเรียกอื่น ๆ อาทิเช่น ผักไม้กวาด, ผักแป้น, กูไฉ่ เป็นต้น

ลักษณะของต้นกุยช่าย

ต้นกุยช่าย เป็นพืชตระกูบล้มลุก ความสูงของต้นกุยช่ายประมาณไม่เกิน 45 เซนติเมตร มีเหง้าเล็กๆ และแตกกอ ลักษณะของต้นกุ่ยฉ่าย มีดังนี้

  • ใบของกุยช่าย เป็นใบแบน และยาว ขึ้นที่โคนต้นเหมือนต้นหญ้า
  • ดอกของกุยช่าย จะออกเป็นช่อ มีดอกสีขาว มีกลิ่นหอม
  • ก้านของช่อดอกกุยช่าย มีความยาวประมาณ 45 เซนติเมตร
  • ผลของกุยช่าย มีลักษณะกลม เมล็ดของกุยช่าย มีสีน้ำตาล ลักษณะแบน

คุณค่าทางโภชนาการของกุยช่าย

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของใบกุยช่ายและดอกกุยช่าย พบว่า ต้นกุยช่ายขนาด 100 กรัม สามารถให้พลังงาน 28 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหารต่างๆ มากมายประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 4.1 กรัม กากใยอาหาร 3.9 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม เบต้าแคโรทีน 136.79 ไมโครกรีม ธาตุแคลเซียม 98 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.5 มิลลิกรัมและธาตุฟอสฟอรัส 46 มิลลิกรัม ในการศึกษาดอกกุยช่ายขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 38 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.3 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม เบต้าแคโรทีน 152.92 ไมโครกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 31 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัมและธาตุฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกุยช่าย

สำหรับ ประโยชน์ของกุยช่าย ด้านการรักษาโรคต่างๆ นั้่น สามารถใช้กุยช่าย ตั้งแต่ ต้น ใบ ราก เมล็ด ดอก รายละเอียดของ สรรพคุณของกุยช่าย มีดังนี้

  • ใบกุยช่าย ช่วยบำรุงกระดูก กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ แก้ปัญหาการหลั่งเร็วในเพศชาย เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยลดความดัน รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาโรคเบาหวาน ช่วยรักษาโรคหูน้ำหนวก เป็นยาแก้หวัด แก้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลมในกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาแผลริดสีดวงทวาร ช่วยแก้โรคนิ่ว รักษาหนองในได้ บำรุงไต แก้พิษแมลงกัดต่อย รักษาห้อเลือด รักษาอาการฟกช้ำ รักษาแผลเป็นหนอง บำรุงน้ำนม ช่วยลดอักเสบ
  • รากกุยช่าย ช่วยแก้อาการเลือดกำเดาไหล แก้อาการอาเจียน มีฤทธิ์ในการช่วยห้ามเหงื่อ ช่วยแก้อาการแน่นหน้าอก ช่วยแก้อาการปัสสาวะขัด
  • เมล็ดของกุยช่าย ช่วยอุดฟัน ป้องกันฟันผุ ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ เป็นยาฆ่าแมลง
    ช่วยแก้อาเจียน ด้วยการใช้ต้นกุยช่ายนำมาคั้นเอาแต่น้ำผสมกับเกลือเล็กน้อย หรือจะผสมกับน้ำขิงสักเล็กน้อยอุ่นให้
  • ต้นกุยช่าย ช่วยรักษาอาการท้องเสีย ช่วยแก้โรคนิ่ว ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี รักษาโรคหนองใน บำรุงน้ำนม ลดอาการอักเสบ

ข้อควรระวังในการบริโภคกุยช่าย

  • กุยช่ายมีสรรพคุณให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย หากรับประทานมากเกินไปจะทำให้ตัวร้อน และร้อนในได้
  • ไม่ควรดื่มสุรา ร่วมกับกุยช่าย เนื่องจากกุยช่ายทให้ร่างกายร้อนขึ้น และสุราก็มีฤทธิ์ร้อนเช่นกัน อาจเป็นพิษต่อร่างกายได้
  • กุยช่ายกระตุ้นการทำงานของระบบลำไส้ หากมีอาการท้องเสีย หรือเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ไม่ควรกินกุยช่าย
  • กุยช่ายแก่ จะมีกากใยอาหารมาก ในการรับประทานกุยช่าย จะทำให้ระบบลำไส้ ทำงานหนักมากขึ้น

กุยช่าย ( Garlic chives ) สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของใบกุยช่าย ชนิดของกุยช่าย เช่น กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว สรรพคุณของกุยช่าย ประโยชน์ของกุยช่าย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove