ผักชีฝรั่ง ( Culantro ) สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย บำรุงกระดูกและฟัน เป็นยาระบายอ่อนๆ ต้นผักชีฝรั่งเป็นอย่างไรผักชีฝรั่ง สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของผักชีฝรั่ง

ผักชีฝรั่ง มีชื่อสามัญ ว่า Culantro หรือ Long coriander หรือ Sawtooth coriander ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์ของผักชีฝรั่ง เรียก Eryngium foetidum L. เป็นพืชล้มลุก ตระกลูเดียวันกับผักชี สำหรับชื่อเรียกอื่นของผักชีฝรั่ง เช่น ผักชีดอย ผักจีดอย ผักจีฝรั่ง หอมป้อมกุลา หอมป้อมกูลวา ห้อมป้อมเป้อ มะและเด๊าะ  ผักชีใบเลื่อย  ผักหอมเทศ ผักหอมเป  หอมป้อม หอมเป  หอมน้อยฮ้อ  หอมป้อมเปอะ  เป็นต้น ชื่อเรียกอื่นๆ จะแตกต่างตามพื้นที่ แต่คือ พืชชนิดเดียวกัน

ต้นผักชีฝรั่ง มีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาใต้ และเม็กซิโก ผักชีฝรั่ง มีสารสำคัญ คือ กรดออกซาลิก ( Oxalic acid ) ซึ่งกรดชนิดนี้ ทำให้เกิดนิ่วที่ไตและนิ่วที่กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งอาการนิ้วนี้ จะส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการปวด ที่ท้อง เอว และปัสสาวะขัดได้ ดังนั้น ไม่แนะนำให้กินผักชีฝรั่งจำนวนมาก ติดต่อกัน หรือ รับประทานในปริมาณที่มากเกินไป รวมถึงไม่แนะนำให้ สตรีมีครรภ์รับประทานผักชีฝรั่ง

ลักษณะของผักชีฝรั่ง

ผักชีฝรั่งเป็นพืชอายุสั้น เป็นพืชล้มลุก ลักษณะของต้นผักชีฝรั่ง มีดังนี้

  • ลำต้นของผักชีฝรั่งเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน หรืออยู่เหนือดินไม่มาก ลักษณะเป็นกระเปราะกลม รากของผักชีฝรั่งเป็นรากแก้ว มีรากแขนงและรากฝอยอยู่รอบๆ
  • ใบของผักชีฝรั่ง ใบเป็นแทงยาว ออกมาจากเหง้าของลำต้น ใบยาวรี ปลายใบแหลม ขอบใบหยักฌฆฒ์ฮฯฟันเลื่อย ใบสีเขียวสด
  • ดอกของผักชีฝรั่ง จะแทงออกมาจากเหง้า เป็นก้านกลมยาวแข็ง ดอกมีสีขาว ผลและเมล็ดของผักชีฝรั่ง
  • ผลของผักชีฝรั่งจะมีเมล็ดจำนวนมาก เมื่อแก่ไปเมล็ดสามารถขยายพันธ์ฺได้ และการขยายพันธ์ของผักชีฝรั่งจะใช้การโน้มกิ่ง และเมล็ด

คุณค่าทางอาหารของผักชีฝรั่ง

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของผักชีฝรั่ง ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 32 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ ดังนี้ กากใยอาหาร 1.7 กรัม ธาตุแคลเซียม 21 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.9 มิลลิกรัม สารเบต้าแคโรทีน 876.12 RE วิตามินบี 1 0.31 มิลลิกรัม วิตามินบี 2  0.21 มิลลิกรัม ไนอาซีน 0.7 มิลลิกรัม และวิตามินซี 38 มิลลิกรัม

สรรพคุณของผักชีฝรั่ง

สำหรับการใช้ผีกชีฝรั่งมาใช้ประโยชน์ทางยา ทางสมุนไพร นั้น สามารถนำมาใช้ทุกส่วน แต่นิยมนำใบมาใช้บริโภค เป็นส่วนมาก รายละเอียดของสรรพคุณของผักชีฝรั่ง ส่วนต่างๆ มีดังนี้

  • ใบของผักชีฝรั่ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยยับยั้งและชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ลดอาการปวดหัว เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ ช่วยรักษาแผลเรื้อรัง ช่วยห้ามเลือด ช่วยบำรุงเลือด สำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยบำรุงกำหนัด ช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศ ช่วยดับกลิ่นปาก ช่วยดับกลิ่นคาวอาหาร ช่วยเจริญอาหาร
  • ลำต้นของผักชีฝรั่ง ช่วยลดความดันโลหิต บำรุงการทำงานของต่อมไทรอยด์ให้ทำงานปกติ ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงเส้นผม บำรุงเล็บ รักษาไข้มาลาเรีย ช่วยขับลม เป็นยาระบาย ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ ช่วยรักษาผดผื่นคัน ช่วยฆ่าเชื้อโรค ช่วยแก้พิษงู ช่วยแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย ช่วยบำรุงกำหนัด ช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศ
  • รากของผักชีฝรั่ง ช่วยกระตุ้นร่างกาย ช่วยขับเหงื่อ ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยบำรุงกำหนัด ช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศ

โทษของผักชีฝรั่ง

ในผักชีฝรั่ง มีกรดออกซาลิกสูงมาก เป็นสาเหตุของการเกิดนิ่วในไต ทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และ เกิดปัญหาต่างๆ เช่น ปวดท้อง ปวดเอว ปัสสาวะติดขัด เป็นต้น สำหรับการบริโภคผักชีฝรั่งควรบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม ไม่กินมากเกินไป หรือ กินเยอะเกินไป และ สำหรับหญิงตั้งครรภ์ไม่แนะนำให้รับประทานผักชีฝรั่ง ผักชีฝรั่ง มีกลิ่นแรงมาก หากกินสดๆ ในปริมาณมาก อาจทำให้อาเจียนได้

ต้นผักชีฝรั่ง ภาษาอังกฤษ เรียก Stink weed หรือ Eryngium เป็นพืชที่คนไทยรุ้จักเป็นอย่างดี เนื่องจากกลิ่นหอมของผักชีฝรั่ง และสรรพคุณด้านสมุนไพร ของ ผักชีฝรั่ง มีมากมาย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยยับยั้งและชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ลดอาการปวดหัว เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ ช่วยรักษาแผลเรื้อรัง ช่วยห้ามเลือด ช่วยบำรุงเลือด สำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยบำรุงกำหนัด ช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศ ช่วยดับกลิ่นปาก ช่วยดับกลิ่นคาวอาหาร ช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดความดันโลหิต บำรุงการทำงานของต่อมไทรอยด์ให้ทำงานปกติ ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงเส้นผม บำรุงเล็บ รักษาไข้มาลาเรีย ช่วยขับลม ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ ช่วยรักษาผดผื่นคัน ช่วยฆ่าเชื้อโรค ช่วยแก้พิษงู ช่วยแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย ช่วยกระตุ้นร่างกาย ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับปัสสาวะ

ผักชีฝรั่ง นิยมนำมาเป็นส่วนผสมของอาหารไทย หลายเมนูเช่น อาหารยำต่างๆ ต้มยำ ซุปหน่อไม้ ลาบหมู ลาบต่างๆ เป็นต้น สำหรับการปลูกผักชีฝรั่งในประเทศไทยนั้น นิยมปลูกมากในเขตภาคกลาง ตามจังหวัดนครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ราชบุรี นอกนั้นผักชีฝรั่งสามารถปลูกได้มากในทุกพื้นที่ ของประเทศไทย เรามานำเสนอ ความรู้ของเรื่องผักชีฝรั่งว่าเป็นอย่างไร ลักษณะของผักชีฝรั่ง สรรพคุูณของผักชีฝรั่ง การปลูกผักชีฝรั่ง เป็นต้น

การปลูกผักชีฝรั่ง

การปลูกผักชีฝรั่ง สามารถปลูกได้ด้วยการใช้เมล็ด เพาะในแปรงเพาะและย้ายลงแปรงใหญ่ รายละเอียดของการปลูกผักชีฝรั่ง มีดังนี้

  • การเตรียมแปลงปลูก ให้ยกร่องแปลงปลูกให้สูง เพื่อป้องกันการเกิดโรครากเน่า ควรไถดะ ให้ลึกประมาณ 1 ฟุต ตากดินให้แห้งประมาณ 1 สัปดาห์ กำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยคอก จากนั้น พรวนดินอีกครั้ง ความยาวของแปรงปลูกตามความเหมาะสมของพื้นที่ ให้ทำโรงเรือนหรือกางมุ้ง เนื่องจากผักชีฝรั่งไม่ชอบแสงแดดจัด
  • เพาะต้นกล้า ด้วยการหว่านเมล็ดพันธุ์ โดยทั่วไปเมล็ดผักชีฝรั่ง 1 ไร่ใช้เมล็ดพันธ์ 3 กิโลกรัม หว่านเมล็ดให้ทั่วแปลง และเกลี่ยดิยกลบเมล็ด จากนั้นรดน้ำ เมล็ดอ่อนจะงอกภายใน 15 วัน
  • การรดน้ำ ให้รดน้ำทุกวัน วันละ 1 ครั้ง รดน้ำให้ดินชุ่ม การใส่ปุ๋ย ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมักเพื่อรักษาสภาพดิน
  • การย้ายต้นปลูก สามารถย้ายลงแปลงปลูก หลังจากอายุได้ 20 วัน ควรย้ายต้นผักชีฝรั่งให้มีระยะห่างระหว่างต้นอย่างเหมาะสม
  • การเก็บผลผลิต ผักชีฝรั่งจะเจริญเติบโต พร้อมสำหรับการรับประทาน เมื่ออายุประมาณ 45 ถึง 60 วัน

โรคและศัตรูพืชของผักชีฝรั่ง

สำหรับการปลูกผักชีฝรั่งต้องเข้าใจโรคและศัตรูของพืชชนิดนี้ คือ

  • โรคใบไม้ จะมีลักษณะใบเหลืองจากปลายใบ โรคนี้มักเกิดขึ้นในฤดูร้อน ป้องกันโรคใบไม้ได้โดยใช้เบนเลท ฉีดพ่น
  • โรคโคนเน่า จะมีลักษณะใบและลำต้นเหี่ยว เมื่อถอนออกมาพบว่ารากเน่า ให้แก้ปัญหาด้วยหารยกแปลงสูง และจัดให้มีร่องระบายน้ำ
  • หนอนกินใบ เป็นศัตรูพืชของผักชีฝรั่ง ซึ่งหนอนชนิดนี้จะระบาดในช่วงฤดูฝน
  • หอยทาก เป็นศัตรูพืชที่ระบาดในพื้นที่ ที่มีหญ้ารก และปลูกในที่ร่ม

ผักชีฝรั่ง ( Culantro ) พืชสวนครัว ประโยชน์ของผักชีฝรั่ง คุณค่าทางโภชนาการของผักชีฝรั่ง สรรพคุณของผักชีฝรั่ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของร่างกาย บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยป้องกันมะเร็ง ลดอาการปวดหัว เป็นยาระบายอ่อนๆ ลักษณะทางพฤษศาสตร์ของผักชีฝรั่ง

ถั่วเหลือง ( soybean ) สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณบำรุงโลหิต ลดคอเลสเตอรอล ป้องกันโรคหัวใจ ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงกระดูก ป้องกันโลหิตจาง โทษของถั่วเหลือง

ถั่วเหลือง สมุนไพร พืชตระกลูถั่ว ประโยชน์ของถั่วเหลือง

ต้นถั่วเหลือง ภาษาอังกฤษ เรียก soybean ชื่อวิทยาศาสตร์ของ ถั่วเหลือง เรียก Glycine max (L.) Merr. จัดเป็นพืชตระกลูถั่ว สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของถั่วเหลือง อาทิเช่น ถั่วแระ ถั่วพระเหลือง ถั่วแม่ตาย มะถั่วเน่า ถั่วเน่า ถั่วหนัง โชยุ โซยาบีน อึ่งตั่วเต่า เฮ็กตั่วเต่า เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเหลือง

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของถั่วเหลือง ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 446 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารต่างๆ ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 30.16 กรัม น้ำ 8.54 กรัมถั่วงอกหัวโต น้ำตาล 7.33 กรัม เส้นใย 9.3 กรัม ไขมัน 19.94 กรัม ไขมันอิ่มตัว 2.884 กรัม ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 4.404 กรัม ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 11.255 กรัม โปรตีน 36.49 กรัม ทริปโตเฟน 0.591 กรัม ทรีโอนีน 1.766 กรัม ไอโซลิวซีน 1.971 กรัม ลิวซีน 3.309 กรัม ไลซีน 2.706 กรัม เมทไธโอนีน 0.547 กรัม ซิสทีน 0.655 กรัม ฟีนิลอะลานีน 2.122 กรัม ไทโรซีน 1.539 กรัม วาลีน 2.029 กรัม อาร์จินีน 3.153 กรัม ฮิสตามีน 1.097 กรัม อะลานีน 1.915 กรัม กรดแอสปาร์ติก 5.112 กรัม กลูตามิก 7.874 กรัม ไกลซีน 1.880 กรัม โพรลีน 2.379 กรัม ซีรีน 2.357 กรัม วิตามินเอ 1 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.874 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.87 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.623 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.793 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.377 มิลลิกรัม วิตามินบี9 375 ไมโครกรัม โคลีน 115.9 มิลลิกรัม วิตามินซี 6.0 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.85 มิลลิกรัม วิตามินเค 47 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 277 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 15.7 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 280 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 2.517 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 704 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,797 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 4.89 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นถั่วเหลือง

ต้นถั่วเหลือง เป็นไม้พุ่ม มีความสูงประมาณ ไม่เกิน 150 เซนติเมตร ลักษณะของต้นถั่วเหลือง มีรายละเอียด ดังนี้

  • รากของถั่วเหลือง เป็นระบบรากแก้ว ลึกประมาณ 45 เซนติเมตร มีรากแขนง
  • ใบของถั่วเหลือง เป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบมีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปไข่จนถึงเรียวยาว  ใบมีขน
  • ดอกของถั่วเหลือง ออกเป็นช่อ มีช่อดอกเป็นแบบกระจะ ดอกมีสีขาวหรือสีม่วง ดอกจะออกตามมุมของก้านใบหรือตามยอดของลำต้น
  • ฝักของถั่วเหลือง ฝักจะออกเป็นกลุ่ม กลุ่มหนึ่งมีประมาณ 2 ถึง10 ฝัก ฝักมีขนสีเทา ฝักยาวประมาณ 2 ถึง 7 เซนติเมตร ในฝักมีเมล็ด ฝักอ่อน จะมีสีเขียว ฝักสุกจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
  • เมล็ดของถั่วเหลือง มีสีเหลือง สีเขียว สีน้ำตาล หรือสีดำ เมล็ดจะมีขนาดและรูปร่างที่ต่างกัน

สรรพคุณของถั่วเหลือง

การใช้ถั่วเหลืองนั้นจะใช้เมล็ด ซึ่งใช้ทั้งกากเมล็ด เปลือกเมล็ด และเนื้อของเมล็ด ซึ่ง เราจะแยกเป็นรายละเอียดของสรรพคุณด้านสมุนไพรของถั่วเหลือง มีดังนี้ ใช้บำรุงโลหิต ช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็ง ช่วยลดโอกาสเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ลดการเกิดมะเร็งเต้านม ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวานได้ ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยให้เลือดลมเดินสะดวก ช่วยถอนพิษ ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง แก้อาการปวดหัว  ช่วยเจริญอาหาร ช่วยบำรุงระบบย่อยอาหาร ช่วยแก้โรคบิด เป็นยาระบาย ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยปรับฮอร์โมนในสตรี บำรุงม้าม ทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้ ช่วยรักษาแผลเปื่อย รักษาแผลเน่าเปื่อย ใช้ห้ามเลือด ช่วยแก้ปวด ใช้เป็นยารักษาต้อกระจก

ข้อควรระวังสำหรับการบริโภคถั่วเหลือง

ถั่วเหลืองถึงจะมีประโยชน์มากมาย แต่ก็ยังมีข้อควรระวังอยู่บ้าง สำหรับข้อควรระวังในการกินถั่วเหลืองนั้นมีดังนี้

  • ในถั่วหลืองมีโปรตีนสูง สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้โปรตีนจากถั่วเหลือง ให้งดรับประทาน โดยอาการสามารถสังเกตุได้จาก อาการผื่นคัน
  • โปรตีนจากถั่วเหลืองจะทำให้เกิดอาการ ท้องอืด แน่นท้อง ได้สำหรับเด็กและคนที่มีประวัติโรคหอบหืด
  • การดื่ม มมถั่วเหลือง ในเด็กทารก เพียงอย่างเดียว นั้นมีโอกาสทำให้ต่อมไทรอยด์จะทำงานผิดปกติได้ เนื่องจากนมถั่วเหลืองไม่มีสารไอโอดีน
  • ในนมถั่วเหลืองมีสารไฟโตเอสโตรเจน ในเพศชายหากรับประทานมากเกินไป จะทำใหเนมโต และจำนวนอสุจิลดลง
  • โปรตีนจากถั่วเหลือง ทำให้เนื้อเยื่อเต้านมหนาตัวยิ่งขึ้น อาจทำให้มีการสร้างน้ำนมที่ผิดปกติ
  • โปรตีนในถั่วเหลืองมีไฟเตตสูง ซึ่งจะเป็นตัวยับยั้งการดูดซึมเกลือแร่ในร่างกาย โดยเฉพาะกับแคลเซียม ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม และสังกะสี
  • ถั่วเหลืองมีสาร Hemagglutinin ที่เป็นตัวทำให้เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวจับตัวกันเป็นก้อน ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดต่ำลง
  • การรับประทานถั่วเหลืองเป็นประจำ อาจทำให้เกิดภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ อาการที่พบคือ เจ็บส้นเท้า อ่อนเพลีย อ้วน

ถั่วเหลือง ประโยชน์และโทษถั่วเหลือง สรรพคุณถั่วเหลือง  ถั่วเหลือง ภาษาอังกฤษ Soybean น้ำมันถั่วเหลือง สารสกัดจากถั่วเหลือง นมถั่วเหลือง โปรตีนถั่วเหลือง เป็นพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสำหรับปลูกสลับกับการปลูกข้าว อันตรายจากถั่วเหลือง ในน้ำนมถั่วเหลือง มีสารไฟโตเอสโตรเจน ช่วยทำให้ระบบเลือดดีขึ้น แล้วยังช่วยทำให้สิวลดลงด้วย

ถั่วเหลือง นั้นเป็นธัญพืช เป็นที่รู้จักกันดีในสังคมไทย และชาวจีน อย่าง นมถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้ น้ำมันถั่วเหลือง หรือแม้แต่ขนมหวาน จะมีถั่วเหลืองเป็นส่วนประกอบ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับถั่วเหลือง เป็นอย่างไร มีสรรพคุณอะไรบ้าง มีคุณค่าทางอาหารอย่างไร ข้อควรระวังในการกินถั่วเหลือง บทความนี้เราจะให้รู้จักกับถั่วเหลืองอย่างละเอียด

ถั่วเหลือง หรือ Soybean เป็นสมุนไพร ประเภทพืชเถา เป็นพืชเศรษฐกิจ สามารถปลูกได้ในประเทศแถบร้อนและอบอุ่น แหล่งกำเนิดของ ถั่วเหลือง จะอยู่ที่ประเทศจีน ในปัจจุบันประเทศไทยมี การปลูกถั่วเหลือง ทางภาคกลางตอนบรและภาคเหนือ ประเทศที่มีการผลิตถั่วเหลืองมากที่สุดในโลก คือ สหรัฐอเมริกา รองลงมาเป็น ประเทศบราซิล และจีน ตามลำดับ

ถั่วเหลือง ( soybean ) พืชตระกลูถั่ว สมุนไพร ประโยชน์ของถั่วเหลือง คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเหลืือง สรรพคุณของถั่วเหลือง บำรุงโลหิต ป้องกันมะเร็ง ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง โทษของถั่วเหลือง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove