พริก ( chili ) พริกขี้หนูสวน ( Bird pepper ) สมุนไพรรสเผ็ดร้อน นิยมนำมาปรุงรสอาหาร ต้นพริกเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณช่วยเจริญอาหาร กระตุ้นน้ำย่อย โทษของพริกพริก สมุนไพร สรรพคุณของพริก ประโยชน์ของพริก

พริก หากกล่าวถึงพริก เป็นพืชสวนครัว ที่รู้จักกันทั่วโลก พริกให้รสเผ็ดร้อน นิยมนำมาปรุงอาหารให้รสเผ็ด เรามาทำความรู้จักกับพริก ว่าลักษณะทางพฤษศาสตร์ของพริก ประโยชน์ สรรพคุณของพริก  และข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากพริก เป็นอย่างไร พะแนงเนื้อ แกงเลียง

พริกเป็นพืชเศรษฐกิจ พริกในทางการค้าและอุตสาหกรรม มีการนำเอาสีของพริก ที่มีความหลากหลาย เช่น พริกสีเขียว พริกสีแดง พริกสีเหลือง พริกสีส้ม พริกสีม่วง และพริกสีงาช้าง มาใช้ประโยชน์ ทั้งด้านการใช้สีสันของพริก และการปรุงอาหาร ซึ่งพริกสามารถปลูกได้ดีในประเทศเขตร้อนชื้น ที่มีแสงแดด

ซึ่งปัจจุบัน เทรนในการอนุรักษ์ธรรมชาติมีมากขึ้นทุกวัน การใช้สีที่ได้มาจากธรรมชาติจึงมีต้องการมากขึ้น พริกเป็นพืชอายุสั้น ที่สามารถให้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูง ทั้งใช้บริโภคพริกสดและแปรรูปพริกให้อยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่น พริกแห้ง พริกป่น พริกดอง ซอสพริก น้ำพริก เครื่องพริกแกง น้ำจิ้มแบบต่าง ๆ รวมถึงยารักษาโรค

ประโยชน์ของพริกมีมากมายขนาดนี้ ไม่มาทำความรู้จักกับพริกได้อย่างไร

พริก ภาษาอังกฤษว่า Chilli peppers หรือ chili คำคำนี้มาภาษาสเปน ว่า chile ส่วน พริกขี้หนูสวน เรียก Bird pepper หรือ Chili pepper ชื่อวิทยาศาสตร์ของพริก คือ Capsicum annuum L. พริกจัดเป็นพืชตระกลูเดียวกันกับมะเขือ พริกขี้หนู มีชื่อเรียกอื่นๆ อีก ที่เรียกแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น เช่น พริกแด้ พริกแต้ พริกนก พริกแจว พริกน้ำเมี่ยง หมักเพ็ด ดีปลีขี้นก พริกขี้นก พริกมะต่อม ปะแกว มะระตี้ ดีปลี ครี ลัวเจียะ ล่าเจียว มือซาซีซู, มือส่าโพ เป็นต้น

มีการนำพริกมาศึกษาสารเคมีในพริก พบว่ามีสารสำคัญ คือ Capsaicin  เป็นสารเคมีที่ให้ฤทธิ์เผ็ดร้อน นอกจากนั้นมีสารเคมีอื่นในพริก ประกอบด้วย Dihydrocapsaicin ,Nordihydrocapsaicin ,Homodihydrocapsaicin และ Homocapsaicin

สำหรับสารเคมี Capsaicin ที่อยู่ในพริกนั้นมีฤทธิ์ระคายเคืองต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งทำให้ประสาท เกิดความรู้สึกร้อนไหม้ กระตุ้นให้เกิดเมือกเพื่อป้องกันการระคายเคือง รวมถึงกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อย

นักวิทยาศาสตร์ยังสามารถค้นพบสารเคมีในพริก ชื่อ แคโรทีนอยด์ มีสรรพคุณต้านมะเร็งได้ สำหรับสารแคโรทีนอยด์ เป็นรูปแบบหนึ่งของสารแคโรทีน นักวิทยาศาสตร์ ได้นำเอาสารชนิดนี้มาสกัดทำอาหารเสริม ซึ่งในปัจจุบัน เป็นอาหารเสริมที่ได้รับความนิยมเป็นจำนวนมาก ในพริกนอดจากมีสารเคมีสำคัญมีประโยชน์ต่อร่างกาย ยังมีวิตามินซีสูง ช่วยบำรุงผิว แต่หากกินมากเกินไป จะทำให้ปวดท้อง และทำให้ท้องเสียได้

ชนิดของพริก

พริกมีหลากหลายพันธ์ เช่น พริกขี้หนูสวน พริกไทย พริกหยวก พริกเหลือง พริกชี้ฟ้า พริกหนุ่ม พริกกะเหรี่ยง สำหรับการปลูกพริกใช้บริโภคในประเทศไทยนั้น นิยมปลูกอยู่ 2 ชนิด คือ พริกรสหวาน เช่น พริกหยวก พริกชี้ฟ้า เป็นต้น และ พริกรสเผ็ด เช่น พริกขี้หนูสวน พริกขี้หนูใหญ่ เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพริกขี้หนู

พริกขี้หนู เป็นพืชล้มลุก เป็นไม้พุ่ม อายุสั้น ประมาณไม่เกิน 3 ปี เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแถบทวีปอเมริกา เมล็ด สามารถนำเมล็ดไปขยายพันธ์ต่อได้ ลักษณะของพริกมีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นของพริก ความสูงของต้นพริกประมาณไม่เกิน 1 เมตร ลักษณะมีการแตกกิ่งก้านสาขาจำนวนมากมาก กิ่งมีสีเขียว และสีน้ำตาล
  • ใบของพริกขี้หนู เป็นใบเดี่ยว สีเขียว ใบเรียงสลับกันตามกิ่งก้าน ใบเป็นรูปไข่ ปลายแหลม ผิวใบเรียบ
  • ดอกของพริกขี้หนู ออกเป็นช่อ ลักษณะดอกจะกระจุกตามซอกใบ มีช่อละ 2 ถึง 3 ดอก และดอกจะเปลี่ยนเป็นผลพริก
  • ผลของพริกขี้หนูสวน ลักษณะของผลพริกจะยาวรี ปลายแหลม ผลมีสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ภายในผลมีเมล็ด สามารถนำเมล็ดไปขยายพันธ์ต่อได้

สรรพคุณของพริกขี้หนู

พริกขี้หนูมีการนำเอาพริกมาใช้ประโยชน์ในการรักษาโรค ในทุกส่วนของพริก ทั้ง ต้น ผล ใบ ซึ่งเราได้แยกสรรพคุณขอพริกตามส่วนต่างๆ ของพริกมาให้ ดังนี้

  • ใบของพริก ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลม  ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด ช่วยผ่อนคลาย รักษาไข้หวัด แก้อาการปวดหัว  ช่วยแก้อาการคัน  ใช้รักษาแผลสดและแผลเปื่อย ใช้รักษาอาการบวม ฟกช้ำดำเขียว ปวดตามข้อ เคล็ดขัดยอก
  • ผลพริก ช่วยเจริญอาหาร ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย ช่วยบำรุงร่างกาย รักษาโรคพยาธิในลำไส้ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยลดน้ำหนัก ลดไขมันในเส้นลือด ช่วยบำรุงเลือด ช่วยรักษาโรคความดัน ช่วยสลายลิ่มเลือด ช่วยลดการอุดตันของหลอดเลือด ช่วยขับเสมหะ ลดน้ำมูก บรรเทาอาการไอ รักษาการอาเจียน ใช้ขับน้ำคาวปลาของสตรีหลังคลอด สมุนไพรสำหรับสตรีหลังคลอด  ช่วยรักษาโรคหิด รักษากลากเกลื้อน แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย  ช่วยกระตุ้นให้ผมงอก
  • รากของพริก ช่วยบำรุงเลือด ช้วยฟอกเลือด  เป็นยารักษาโรคเก๊าท์ ช่วบลดอาการปวด
  • ลำต้นพริก นำมาทำยาแก้กระษัย เป็นยาขับปัสสาวะ  แก้เท้าแตก

การปลูกพริก

  • การเตรียมดิน สำหรับปลูกพริก ให้ไถพรวน แล้วรดน้ำตาม เพื่อปรับสภาพดินและป้องกันกำจัดเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคในพริก กำจัดวัชพืชในแปลงพริก
  • การเพาะกล้า ให้แช่เมล็ดพริกในน้ำ เพื่อเร่งการงอกของราก จากนั้นหว่านเมล็ดลงบนแปลงเพาะ หรือถาดหลุม จากนั้นอีกประมาณ 30 วัน ให้ย้ายต้นกล้าลงแปลงปลูก
  • การบำรุงต้นพริกและผลพริก เพื่อความสะดวกและการประหยัดค่าใช้จ่าย ให้ใช้ปุ๋ยชีวภาพ ฉีดพ่นเพื่อกระตุ้นให้ต้นให้พริกเจริญเติบโตออกดอก ให้ผลดก การให้ปุ๋ย หลังย้ายต้นกล้าลงแปลงปลุก ประมาณ 5 วันแล้ว ให้เริมให้ปุ๋ย เพื่อเร่งการเจริญเติบโต เมื่อต้นพริกอายุได้ 50 วัน ให้ใส่ปุ๋ยเพื่อเร่งดอก
  • โรคและแมลงศัตรูพืชของพริก มีน้อยมาก ถ้าให้ปุ๋ยชีวภาพอย่างสม่ำเสมอและถูกต้อง มักจะพบปัญหา ยอดหงิก ซึ่งมาจากเพลี้ยไฟ ให้ถอนและทำลายต้นทิ้ง

ข้อควรระวังในการรับประทานพริกขี้หนู

  • สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับกระเพราะอาหารและลำไส้ ไม่ควรกินพริก เนื่องจากพริกจะทำให้ระคายเคืองมากขึ้น
  • หากเด็กกินพริกเข้าไป จะมีอาการแสบร้อนมากกว่าผู้ใหญ่ ให้แก้ด้วยการให้ดื่มนมตา ในน้ำนมจะมีสาร Casein ช่วยให้อาการเผ็ด แสบร้อนลดลงได้
  • พริกทำให้ให้เกิดสิวได้ เนื่องจากพริกมีฤทธ์ให้ขับของเสียออกจากร่างกาย และของเสียจะถูกขับออกมาทางผิวหนัง ซึ่งทำให้ผิวหนังมีอาการอักเสบมากขึ้น
  • สำหรับผู้ที่ไม่เคยกินเผ็ด ความเผ็ดของพริกจากมากกว่าปรกติ ให้ระมัดระวังในการรับประทาน

พริก ( chili ) พริกขี้หนูสวน ( Bird pepper ) พืชสวนครัว รสเผ็ดร้อน สมุนไพร นิยมนำมาปรุงรสอาหาร ลักษณะของต้นพริก เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของพริก ช่วยเจริญอาหาร ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย ช่วยบำรุงร่างกาย ข้อควรระวังในการกินพริก

บัวบก ( Gotu kola ) สมุนไพร ต้นบัวบกเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณรักษาแผล แก้ร้อนใน ลดความร้อนในร่างกาย เป็นยาเย็น ข้อควรระวังในการใช้ใบบัวบก

บัวบก สมุนไพร สรรพคุณของบัวบก ประโยชน์ของบัวบก

บัวบก (Gotu kola) สมุนไพร คุ้นหู มาทำความรู้จักกับ ต้นบัวบก และ สรรพคุณของบัวบก เป็นแผลให้ใบบัวบกช่วยให้หายได้เร็วขึ้น ประโยชน์และข้อควรระวังในการใช้ใบบัวบกในการรักษาโรคมีอะไรบ้าง ใบบัวบกเหมาะสำหรับคนที่ขี้ร้อน มีภาวะแกร่ง หรือมีความร้อนชื้น เพราะเป็น สมุนไพรที่มีฤทธิ์เป็นยาเย็น

ต้นบัวบก ภาษาอังกฤษ เรียก Gotu kola ชื่อวิทยาศาสตร์ของบัวบก คือ Centella asiatica (L.) Urb. เป็น พืชตระกูลเดียวกับผักชี สำหรับ บัวบก มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกหลายชื่อ ที่เรียกแตกต่างกันตามท้องถิ่น เช่น ผักหนอก , ผักแว่น , กะโต่ เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของบัวบก

ต้นบัวบก เป็น พืชล้มลุก เป็น ไม้เลื้อย ขึ้นตามพื้นดิน เป็น พืชคลุมดิน ใบเป็นใบเดียว ออกตามข้อของลำต้น ใบออกเป็นกระจุก ตามข้อของลำต้น ใบลักษณะคล้ายรูปไต ขอบใบมนๆ ดอกของบัวบกคล้ายร่ม ออกเป็นช่อ กลีบดอกมีสีม่วงอมแดง ผลของบัวบกเป็นผลแห้ง ลักษณะแบนและแตก

คุณค่าทางโภชนาการของบัวบก

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของใบบัวบก สดปริมาณ 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารหลายชนิด ประกอบด้วย  วิตามินบี 1 แคลเซียม 146 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.9 มิลลิกรัม เบตาแคโรทีน 2,428 ไมโครกรัม และวิตามินซี 15 มิลลิกรัม

นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษา ใบบัวบก อย่างจริงจัง พบว่ามีสารสำคัญหลายชนิด เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 วิตามินเอ วิตามินเค ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโซเดียม สารบราโมซัยด์ สารบรามิโนซัยด์ สารไตรเตอพีนอยด์ สารมาดิแคสโซซัยด์ กรดมาดิแคสซิค  และกรดอะมิโน หลายตัว เช่น แอสพาเรต กรดกลูตามิก เซรีน ทรีโอนีน อะลานีน ไลซีน ฮีสทีดิน เป็นต้น

สรรพคุณของบัวบก

สำหรับการใช้ประโยชน์ของบัวบก ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นิยมใช้ ใบบัวบก ทั้งใบสดและใบแห้งมาใช้ประโยชน์ ซึ่งเราได้รวม สรรพคุณของใบบัวบก ดังนี้

  • ช่วยชะลดวัย ลดการเหี่ยวย่นของผิวพรรณ
  • ใบบัวบกเป็นยาอายุวัฒนะ
  • ใบบัวบกช่วยเสริมสร้าง และกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน
  • ใบบัวบกช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งในร่างกาย มีสารยับยั้งหรือชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง
  • ใบบัวบกช่วยบำรุงและรักษาสายตา รวมถึงฟื้นฟูโดยรอบของดวงตา
  • ช่วยรักษาอาการอักเสบและบวมแดงของตา
  • ใบบกช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยให้ความจำดีขึ้น ทำให้มีปฏิภาณไหวพริบดี ช่วยเพิ่มความจำสำหรับผู้สูงวัย ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ และสมองเสื่อม ช่วยเพิ่มการมีสมาธิ แก้ปัญหาสมาธิสั้นได้
  • ช่วยแก้อาการปวดหัว รักษาอาการไมเกรน แก้ปวดหัวข้างเดียว ลดอาการเวียนหัว
  • ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดความเครียด ให้นอนหลับสบาย ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า
  • ช่วยบำรุงเลือด ช่วยทำให้เลือดระบบเลือดทำงานได้ดีขึ้น ช่วยกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อของร่างกาย เป็นยาบำรุง
  • ช่วยบำรุงหัวใจ ระบบการทำงานของหัวใจสมดุลย์ ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
  • ช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายสำหรับคนป่วย
  • ช่วยให้ความชุ่มชื่นของลำคอ บำรุงเสียง ช่วยรักษาอาการเจ็บคอ ช่วยแก้กระหายน้ำ ช่วยแก้อาการร้อนใน ช่วยลดไข้ ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวานได้
  • รักษาโรคดีซ่าน รักษาโรคโลหิตจาง ช่วยรักษาอาการหอบหืด ช่วยรักษาโรคลมชัก
  • รักษาอาการเต้านมอักเสบ ที่เป็นหนองในระยะแรก
  • ช่วยเจริญอาหาร ป้องกันอาการท้องเสีย ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารเป็นแผล
  • ใบบัวบกใช้เป็นยาระบาย ช่วยระบายท้อง แก้ลม
  • ใบบัวบกใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการปัสสาวะติดขัด ป้องกันการเกิดนิ่ว ช่วยรักษาโรคนิ่วที่ทางเดินปัสสาวะ
    ช่วยรักษาอาการหนอง ที่ออกจากปัสสาวะ รักษาหนองใน
  • บำรุงม้าม รักษาโรคม้ามโต ช่วยแก้อาการน้ำดีที่มีมากเกินไปในร่างกาย
  • แก้อาการปวดข้อรูมาตอยด์ รักษาโรครูมาตอยด์ได้
  • ใช้เป็นยาห้ามเลือด รักษาแผลสด ทำให้แผลหายเร็วขึ้น แก้ฟกช้ำ
  • ใบบัวบกช่วยรักษาอาการแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยรักษาโรคผิวหนัง เช่น รักษาโรคเรื้อน รักษาโรคสะเก็ดเงิน รักษาหิด รักษาหัด เป็นต้น ช่วยระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ช่วยลดอาการอักเสบของแผลได้
  • ใบบัวบกใช้เป็นยาถอนพิษ ช่วยรักษาแผลน้ำร้อนลวก ลดอาการปวดแสบปวดร้อนจากแผลไฟไหม้ และยังช่วยป้องกันการเกิดแผลซ้ำ
  • ใบบัวบกช่วยบำรุงหนังศีรษะและเส้นผม ทำให้เส้นผมดกดำ รักษาอาการผมร่วง
  • ใบบัวบก เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางค์ ช่วยบำรุงผิว และป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่ผิว นำสารสกัดเป็นสบู่ใบบัวบก ช่วยรักษาสิว ทำให้ผิวขาว ใบหน้าเต่งตึง

ข้อควรระวังในการใช้บัวบก

  • ใบบัวบก ไม่เหมาะสำหรับคนที่มี ภาวะตัวเย็น จะทำให้ร่างกายยเย็นขึ้นและท้องอืด
  • การกินบัวบกมากเกินไป ไม่ดี เนื่องจากใบบัวบกเป้นยาเย็น หากมีปริมาณมากเกินไปจะทำให้ ร่างกายเสียสมดุลถ้ากิน ใบสด ปริมาณครั้งละ 10 ถึง 20 ใบต่อสัปดาห์ ถือว่าอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม แต่ไม่ควรกินทุกวันอาจเป็นพิษต่อร่างกายได้
  • ไม่ควรนำใบบักบกมาตากแห้ง เพราะจะเสียคุณค่าทางตัวยา ใบบัวบกจะนำมาสกัดให้อยู่ในรูปแบบน้ำมันหอมระเหย

ต้นบัวบก พืชสมุนไพร ที่มีต้นกำเนิดในแถบเอเชีย เป็น พืชล้มลุก มีขนาดเล็ก มีกลิ่นฉุน รสขมอมหวาน สามารถใช้รักษาโรคมากมาย บัวบก ทำให้แผลให้หายได้เร็วขึ้น และ ลดอาการอักเสบของแผล มีการศึกษาพบว่า ใน ใบบัวบก มี กรดมาเดคาสสิก กรดอะเซียติก และ สารอะเซียติโคไซด์ มีสรรพคุณช่วยในการสมานแผลและลดการอักเสบ

เราจะเห็นว่ามียาหลายชนิด ทั้ง ยาแผนปัจจุบัน และ ยาแผนโบราณ ที่มีส่วนผสมของใบบัวบก ซึ่งผลิตออกมาในรูปแบบ ครีม ผง ยาเม็ด เป็นต้น และยังมีการสกัดสารสำคัญที่ได้จากใบบัวบก ซึ่งสารที่สกัดได้จากใบบัวบก มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสและต้านอนุมูลอิสระ

นอกจาก ใบบัวบก มีสรรพคุณทางยา ใบสดของบัวบก สามารถนำมาทำอาหาร รับประทานเป็นผักสดได้ อาหารไทย ก็ หลายมี เมนูอาหาร ที่มีบัวบกเป็นผัก เช่น ผัดไทย ผัดหมี่ หมี่กะทิ ขนมจีน ลาบ ยำ รวมถึงนำใบสดมาคั้นทำ น้ำใบบัวบก การกินใบบัวบกสดๆ ช่วยแก้อาการเวียนหัว ท้องร่วง รักษาอาการถ่ายเป็นเลือด รักษาอาการแขนขากระตุก

บัวบก ( Gotu kola ) สมุนไพร ลักษณะของต้นบัวบก เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของบัวบก ประโยชน์และสรรพคุณของบัวบก เช่น รักษาแผล แก้ร้อนใน ลดความร้อนในร่างกาย เป็นยาเย็น ข้อควรระวังในการใช้ใบบัวบก มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove