ริดสีดวงจมูก ( Nasal poly ) เนื้องอกในจมูก ติ่งเนื้อเมือกในจมูก การเกิดเนื้อเมือก เรียกว่า Polyp ไม่อันตรายแต่ทำให้มีปัญหาการหายใจ หายใจลำบาก เสียงพูดเปลี่ยนโรคริดสีดวงจมูก โรคทางเดินหายใจ โรคจมูก โรคต่างๆ

โรคริดสีดวงจมูก ภาษาอังกฤษ เรียก Nasal poly หรือเรียก เนื้องอกในจมูก หรือ ติ่งเนื้อเมือกในจมูก เป็นลักษณะ การเกิดเนื้อเมือก ที่เรียกว่า Polyp ที่เยื่อจมูก โดยมากจะมีโอกาสเป็นได้ทั้งสองข้างภายในรูจมูก ไม่เป็นอันตรายร้ายแรงแต่อย่างไร แต่หากปล่อยให้เกิดก้อนโตมาก อาจทำให้มีปัญหาด้านการหายใจ แต่เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้กันว่า สาเหตุของการเกิดริดสีดวงจมูก อาการของโรค และการรักษา การป้องกันการเกิดโรค ในบทความนี้กัน

ริดสีดวงจมูก เป็นโรคหนึ่ง ของโรคทางจมูกและไซนัส ลักษณะเป็นก้อนเนื้อเมือกในโพรงจมูก ซึ่งสร้างปัญหาให้กับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก และส่วนมากผู้ป่วยจะเกิดโรคไซนัสอักเสบร่วมด้วย สำหรับโรคนี้สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย และพบมากในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป และในกลุ่มคนที่เป็นโรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง มีการศึกษาสถิติของผู้ป่วยโรคนี้ พบว่าผู้ป่วยชายมีอัตราการเกิดโรคที่สูงกว่าเพศหญิง

สาเหตุของการเกิดริดสีดวงจมูก

เกิดจากไซนัสอักเสบ และโพรงจมูกอักเสบ นอกจากนั้นยัมมีสาเหตุอื่นๆอีก ที่ทำให้เกิดริดสีดวงที่โพรงจมูก โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดริดสีดวงจมูก ได้แก่

  • การอักเสบและการติดเชื้อของโพรงจมูก
  • ลักษณะทางกายวิภาคในโพรงจมูก ระบบประสาทและหลอดเลือด
  • ปัจจัยทางพันธุกรรม
  • ปัจจัยมี่เป็นผลกระทบจากการเกิดโรคที่มีผลต่อโพรงจมูก เช่น ไซนัสอักเสบ, ภาวะภูมิแพ้ , โรคหอบหืด , ภาวะไวต่อยาแอสไพริน , ติดเชื้อรา , โรคซิสติกไฟโบรซิส เป็นต้น
  • ผู้ที่มีความผิดปกติของขนเล็กที่เยื่อบุจมูก
  • ความผิดปกติของการขับเกลือแร่ของเซลล์ ทำให้มีน้ำเมือกมีความเหนียวข้น
  • ความผิดปกติของกระแสลมที่ผ่านเข้าไปในบริเวณโพรงจมูก เช่น โพรงจมูกส่วนกลางและรูเปิดของไซนัส

อาการของโรคริดสีดวงจมูก

จะเกิดก้อนริดสีดวง หรือ ติ่งเนื้อ ในโพรงจมูก ซึ่งลักษณะนี้จะทำให้ผู้ป่วย เกิดอาการคัดจมูก แน่นจมูก หายใจลำบาก เสียงพูดเปลี่ยน  การปล่อยให้อาการนี้เป็นนานโดยไม่รักษา ขนาดของก้อนเนื้อจะใหญ่ขึ้น จนทำให้ความสามารถในการสูดดมกลิ่นลดลง เกิดการจาม มีน้ำมูก หากถ้าเนื้อริดสีดวง ไปอุดกั้นรูเปิดของไซนัส จะทำให้ปวดหัวที่บริเวณหัวคิ้ว ปวดหัวที่บริเวณโหนดแก้ม เหมือนเป็นโรคไซนัส

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคริดสีดวงจมูกที่มีโรคไซนัสอักเสบ ร่วม นั้น ผู้ป่วยจะมีอาการ ปวดบริเวณใบหน้า มึนศีรษะ มีน้ำมูก ที่มีลักษณะเป็นหนอง สีเหลืองข้น หรือสีเขียวไหลออกมา หากน้ำหนองไหลลงคอ จะทำให้เกิดการติดเชื้อ ทำให้มีไข้ อ่อนเพลีย เจ็บคอ ปวดหู หายใจมีกลิ่นเหม็น และการรับรู้กลิ่นลดลง รวมทั้งการรับรู้รสชาติลดลง

ภาวะแทรกซ้อนของโรคริดสีดวงจมูก

  • อาการไซนัสอักเสบแทรกซ้อน และทำให้เกิดอาการแน่นจมูก
  • อาจทำให้มีการผิดรปของจมูก เช่น ลักษณะของสันจมูกจะกว้าง
  • อาจทำลายกระดูกในโพรงจมูกได้
  • อาจทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

การวินิจฉัยโรคริดสีดวงจมูก

สำหรับการวินิจฉัยโรค แพทย์จะทำการใช้เครื่องมือตรวจภายในโพรงจมูก และหลังโพรงจมูก ซึ่งหากริดสีดวงจมูก มีขนาดใหญ่ก็สามารถมองเห็นได้ สำหรับโรคนี้ วินิจฉัยจากอาการของโรคนั้นลำบาก เนื่องจากอาการของโรคเหมือนโรค หลายๆโรค เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหวัด แต่อาการที่เด่นชัด คือ อาการแน่นที่จมูกตลอดเวลา

การรักษาโรคริดสีดวงจมูก

การรักษาริดสีดวงจมูกนั้น  เป็นการรักษา 2 ลักษณะ คือ การรักษาต้นเหตุของโรค คือ ก้อนเนื้อที่โพรงจมูก และรักษาเพื่อบรรเทาอาการของโรค เช่น ทำให้หายใจสะดวกขึ้น ลดอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล จาม อาการเสมหะไหลลงคอ ปัญหาการดมกลิ่น รักษาไซนัสอักเสบ โดยการรักษา มีดังนี้

  • การให้ยากลุ่มสเตียรอยด์ ชนิดพ่นจมูก เพื่อช่วยลดขนาดของริดสีดวงจมูก และป้องกันไม่ให้มีขนาดของริดสีดวงโตขึ้น
  • ให้ยากลุ่มสเตียรอยด์ ชนิดกิน หรือฉีด เพื่อช่วยเรื่องการรับกลิ่นให้ดีขึ้น
  • ทำการผ่าตัดเอาริดสีดวงจมูก แบบธรรมดา เรียกวิธีนี้ว่า Simple polypectomy เป็นการผ่าตัดเอาริดสีดวงที่จมูกออก โดยการใช้ลวดคล้องและดึงออกมา
  • ทำการผ่าตัดริดสีดวงจมูกและไซนัส โดยวิธีการส่องกล้อง จะตัดเอาริดสีดวงจมูกออก และผ่าตัดบริเวณรูเปิดไซนัสด้วย ทำให้โล่ง

ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคริดสีดวงจมูก

  • ควรหลีกเลี่ยงจากปัจจัยที่ทำให้เกิดการคัดจมูก ทำให้คันจมูก หรือทำให้จาม
  • ห้ามสั่งน้ำมูกแรง ๆ เนื่องจากจะทำให้เยื่อเมือกจมุกช้ำ และอักเสบมากขึ้น
  • ห้ามใช้ยาหยอดจมูก ยาพ่นจมูก หรือยานัตถุ์ เนื่องจากจะทำให้เยื่อจมูกอักเสบมากขึ้น
  • ให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง
  • ให้ทำการรักษาโรคที่มีผลต่อการเกิดโรคริดสีดวงจมูก เช่น โรคติดเชื้อ โรคภูมิแพ้ เป็นต้น

ริดสีดวงจมูก ( Nasal poly ) เนื้องอกในจมูก ติ่งเนื้อเมือกในจมูก การเกิดเนื้อเมือก เรียกว่า Polyp ที่เยื่อจมูกมีโอกาสเป็นได้ทั้งสองข้างภายในรูจมูก ไม่อันตราย แต่หากปล่อยให้เกิดก้อนโต ทำให้มีปัญหาด้านการหายใจ ทำให้หายใจลำบาก เสียงพูดเปลี่ยน สาเหตุของโรคริดสีดวงจมูก อาการ การรักษา การป้องกัน

กรดไหลย้อน น้ำย่อยไหลย้อนเข้าสู่หลอดอาหาร ทำให้หลอดอาหารอักเสบ จุกเสียด แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก กลืนลำบาก เจ็บคอเวลากลืนอาหาร คลื่นไส้ เรอ กรดไหลย้อนรักษาอย่างไรโรคกรดไหลย้อน โรคระบบทางเดินอาหาร โรคระบบทางเดินหายใจ โรคไม่ติดต่อ

กรดไหลย้อน โรคในระบบทางเดินอาหาร ที่ใครๆคุ้นหู วันนี้เรามาเล่า เรื่องเกี่ยวกับโรคกรดไหลย้อน ให้ฟังกันว่า เป็นอย่างไร สาเหตุของโรค อาการโรคกรดไหลย้อน การรักษาโรคกรดไหลย้อน ทำอย่างไร โรคของคนรุ่นใหม่ อธิบายถึงอาการของกรดไหลย้อน วิธีการดูแลรักษาตัวเองให้ปลอดภัยจากโรคกรดไหลย้อน  การดูแลและรักษาผู้ที่มีภาวะกรดไหลย้อนหากมีอาการแสบร้อนกลางอกและมีน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขม กลืนลำบาก หายใจไม่อิ่ม ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน

โรคกรดไหลย้อน ภาษาอังกฤษ เรียก Gastro Esphageal Reflux เรียกย่อๆ ว่า GERD โรคนี้ เรียก ว่า โรคการไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมาหลอดอาหาร  โรคกรดไหลย้อน หมายถึง ภาวะของน้ำย่อยที่มีฤทธ์เป็นกรดที่อยู่ในกระเพาะอาหาร ไหลย้อนเข้าสู่หลอดอาหาร เมื่อกรดเข้าสู่หลอดอาหารจะทำให้เกิดอาการอักเสบ

โดยปรกติแล้วหลอดอาหารจะมีการบีบตัวเพื่อไล่อาหารลงด้านล่างและมีหูรูด ที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้น้ำย่อยไหลย้อนกลับมา เมื่อหูรูดประสิทธิภาพการทำงานน้อยลง ทำให้กรดไหลย้อนกลับเข้าสู่หลอดอาหาร โรคกรดไหลย้อนนี้ สามารถพบได้กับคนทุก ช่วงอายุ ทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งจากสถิติพบว่า มีคนเป็นโรคนี้ร้อยละ 20 และสามารถพบว่าผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคนี้ คือ คนอ้วนและคนสูบบุหรี่ โรคกรดไหลย้อนสามารถส่งผลเสียต่อ กล่องเสียง ลำคอ และปอดได้ ในกรณีที่มีอาการเรื้อรังมีโอกาสเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ โรคกรดไหลย้อน สามารถแบ่งระดับของโรคได้ 3 ระยะ คือ ระยะแรก ระยะที่สองและระยะที่สาม รายละเอียด ดังนี้

  1. โรคกรดไหลย้อน ระยะแรก เรียก Gastro Esophageal Reflux เรียกย่อว่า GER ในระยะนี้ ผู้ป่วยเป็นๆหายๆ อาการไม่รุนแรง ไม่มีผลต่อสุขภาพ
  2. โรคกรดไหลย้อน ระยะที่สอง เรียก Gastro Esophageal Reflux Disease เรียกย่อว่า GERD ในระยะนี้ ผู้ป่วยจะมีอาการมากขึ้น โดยเฉพาะอาการที่หลอดอาหาร
  3. โรคกรดไหลย้อน ระยะที่สาม เรียก Laryngo Pharyngeal Reflux เรียกย่อว่า LPR ในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมาก จนถึงกล่องเสียงและหลอดลม

สาเหตุของการเกิดโรคกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อน เป็น ความผิดปรกติของระบบทางเดินอาหาร ในส่วน หูรูดของหลอดอาหาร ที่อยู่ระหว่างรอยต่อระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร ซึ่ง สาเหตุหลักของการเกิดโรคกรดไหลย้อน เกิดจากปัจจัยต่างๆ ประกอบด้วย

  • นอนหลังจากกินอาหารไม่ถึง 4 ชั่วโมง เนื่องจากการย่อยยังไม่เสร็จ เมื่อนอนก็เกิดการย้อยกลับของอาหารเข้าสู่หลอดอาหาร
  • เกิดจากกระเพาะอาหารส่วนต้น ยื่นเข้าไปกะบังลม
  • การสูบบุหรี่
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์
  • การดื่มน้ำอัดลม
  • การรับประทานอาหารทอด ของมัน หรืออาหารรสเปรี้ยวหรือเผ็ดจัด

อาการของผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน

อาการของผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน จะมีอาการ เสียงแหบ ซึ่งเป็นอาการแหบที่มากกว่าปกติ แต่ผู้ป่วยไม่ได้เป็นโรคเกี่ยวกับหลอดอาหาร มีอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณหน้าอก เนื่องจากกรดเข้าไปทำให้หลอดอาหารอักเสบ มีอาการจุกเสียด และแน่นหน้าอก หายใจไม่ออกเวลานอน กลืนอาหารลำบาก เจ็บคอเวลากลืนอาหาร คลื่นไส้ มีอาการเรอ ซึ่งการเรอนั้นจะมีกลิ่นเปรี้ยวและรสขม

การรักษาโรคกรดไหลย้อน
การรักษาโรคกรดไหลย้อนนั้น สามารถทำการรักษาโดยการใช้ยารักษา การผ่าตัดและการปรับพฤติกรรมส่วนตัว โดยรายละเอียดดังนี้

  1. การรักษาโรคกรดไหย้อนโดยใช้ยา ซึ่งวิธีนี้จะได้ผลดีที่สุด เมื่อเกิดอาการอักเสบที่ของหลอดอาหาร ดดยใช้ยาลดกรด ใช้สำหรับผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง การใช้ยานั้นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
  2. การรักษาโรคกรดไหลย้อนโดยการผ่าตัด เป็นการผ่าตัดผูกหูรูดกระเพาะอาหาร เพื่อป้องกันอาการกรดไหลย้อน วิธีนี้จะใช้รักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
  3. การรักษาโดยการปรับพฤติกรรม เป็นวิธีการรักษาที่ยั่งยืนที่สุด ซึ่งพฤติกรรมใดๆที่มีส่วนทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อนให้เลิกกระทำทั้งหมด เช่น การทานอาหารมากเกินไป การนอนหลังจากรับประทานอาหารเลย การกินอาหารที่มีรสจัด การปรับท่านอน เลิกสูบบุหรี่ และดื่มสุรา เป็นต้น

วิธีบรรเทาอาการโรคกรดไหลย้อน

  • ลดความอ้วน เนื่องจากไขมันในช่องท้องและไขมันรอบพุง มีส่วนเพิ่มแรงดันในช่องท้อง ทำให้กรดไหลย้อนได้ง่าย
  • ลดเครียด เนื่องจาก ความเครียดจะทำให้เกิดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหามากขึ้นได้
  • เลิกบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่สามารถเพิ่มการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารได้
  • ไม่สวมเสื้อผ้าที่รัดเกินไป การใส่เสื้อผ้ารัดมากจะช่วยให้การบีบรัดตัวของดันของกระเพาะอาหารมากขึ้น
  • ระวังเรื่องท้องผูก การถ่ายอุจจาระในขณะเกิดภาวะท้องผูกจะเพิ่มแรงดันในกระเพาอาหาร
  • ระวังเรื่องการไอ เนื่องจากการไปจะทำให้ช่องท้องเกรงเพิ่มแรงดันที่ช่องท้อง
  • ไม่รับประทานอาหารอิ่มเกิน เนื่องจาก อาหาร น้ำ และลมในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้นมาก
  • รับประทานอาหารในมิ้อค่ำ ให้น้อยลง
  • ไม่ยกของหนัก การยกของหนักทำให้เกิดการเกร็งที่ลำตัว เพิ่มการบีบรัดของกระเพาอาหาร
  • ลดการดื่มน้ำอัดลม
  • ปรับท่านอนให้หัวสูงขึ้นลำตัวลาดลง ช่วยลดการไหลย้อนของกรดในกระเพาะอาหาร

ข้อปฏิบัติต่างๆเหล่านี้ สามารถช่วยให้บรรเทาการเกิดโรคกรดไหลย้อนได้ ซึ่งจากรายละเอียดที่กล่าวมา ปัญหาของโรคกรดไหลย้อนเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เมื่อเกิดอาการผิดปรกติแล้วก็ต้องดูแลตัวเองให้หายจากโรคกรดไหลย้อน ซึ่งการรักษานั้น ต้องใช้เวลานาน ค่อยเป็นค่อยไป

โรคกรดไหลย้อน ภาวะน้ำย่อยไหลย้อนเข้าสู่หลอดอาหาร ทำให้หลอดอาหารอักเสบ จุกเสียด แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก กลืนลำบาก เจ็บคอเวลากลืนอาหาร คลื่นไส้ เรอ กรดไหลย้อน โรคระบบทางเดินอาหาร สาเหตุของโรค อาการโรคกรดไหลย้อน การรักษาและดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคกรดไหลย้อน


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove