ตับอักเสบ ( Hepatitis ) ภาวะตับบาดเจ็บหรือถูกทำลาย อาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว ไข้ต่ำๆ ปวดท้องใต้ชายโครงขวา ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะมีสีเข็ม อุจจาระมีสีซีดตับอักเสบ โรคตับอักเสบ โรคเป็นพิษต่อตับ โรคตับ

ภาวะตับอักเสบ เรียกว่า Hepatitis หมายถึง การอักเสบของเซลล์ตับ ที่เกิดการบาดเจ็บ หรือการถูกทำลายของเนื้อตับ ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพทำงานของตับ  สาเหตุของการเกิดตับอักเสบ แยกได้ 2 กรณี คือ ภาวะตับอักเสบจากการติดเชื้อ และ ภาวะตับอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ

ซึ่งโรคตับอักเสบ หากไม่รักษาภายใน 180 วัน โรคตับอักเสบจะกลายเป็น โรคตับอักเสบเรื้อรัง และหากไม่สามารถรักษาได้ทัน โรคตับอักเสบจะเข้าสู่ภาวะตับแข็ง ซึ่งหากเข้าสู่ภาวะตับแข็ง จะไม่สามารถฟื้นฟูตับได้

ปัจจัยที่ทำใหเกิดโรคตับอักเสบ

สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดโรคตับอักเสบ นั้นจะอยู่ที่คน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคนที่กินยาที่เป็นพิษต่อตับ และ กลุ่มคนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยสามารถสรุปปัจจัย เสี่ยงของการเกิดโรคตับอักเสบได้ ดังนี้

  • อายุหากอายุยิ่งสูง จะมีโอกาสเกิดตับอักเสบมากขึ้น
  • เพศหญิง มีอัตราการเกิดโรคที่สูงกว่าเพศชาย
  • กลุ่มคนเคยมีประวัติหรือเป็นโรคเกี่ยวกับตับ เช่น โรคตับแข็ง โรคไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น
  • กลุ่มคนมีภาวะโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง เป็นต้น
  • กลุ่มคนที่เป็นโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น โรคเอดส์ เป็นต้น
  • กลุ่มคนที่ดื่มเครื่องดื่มสุราเป็นประจำ
  • กลุ่มคนที่สาดสารโปรที่ คนที่ไม่ทานเนื้อสัตว์ นม และ ไข่ เป็นต้น

สาเหตุของภาวะตับอักเสบ

สำหรับภาวะตับอักเสบนั้น สามารถแบ่งได้ 2 สาเหตุ คือ เกิดจากการติดเชื้อและเกิดจากการที่ไม่ได้ติดเชื้อ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ตับอักเสบจากติดเชื้อโรค เรียก Infectious hepatitis เชื้อโรคที่ทำให้เกิดตับอักเสบ คือ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และ เชื้อปรสิต หากเกิดการอักเสบนานๆ จะเกิดฝีที่ตับได้
  • ตับอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ สาเหตุของตับอักเสบลักษณะนี้จะเป็น การถูกกระทบกับสารเคมี หรือ ได้รับสิ่งปนเปื้อนเป็นเวลานาน เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มน้ำที่ปนสารเคมี เป็นเวลานาน ซึ่งลักษณะนี้จะเรียก โรคพิษต่อตับ  เรียก Toxic hepatitis นอกจากนี้ การกินยาที่เป็นพิษต่ตับเป็นเวลานานติดต่อกัน หรือ มากเกินไป ก็ส่งผลเสียต่อตับ เช่นกัน เช่น ยาแก้ปวด นาพาราเซตามอน

อาการของโรคตับอักเสบ

ลักษณะอาการของผุ้ป่วยโรคตับอักเสบ จะมีอาการหลากหลายเป็นมากบ้าง เป็นน้อยบ้าง หรือ บางรายไม่แสดงอาการ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะของอาการโรคตับอักเสบ ได้ดังนี้

  • มีอาการอ่อนเพลียมาก
  • มีอาการปวดเมื่อยตามตัว ข้อกระดูก และ กล้ามเนื้อ
  • มีไข้ต่ำๆ
  • รู้สึกเบื่ออาหาร
  • มีอาการคลื่นไส้และอาเจียน
  • ปวดท้องไม่มาก โดยปวดที่ใต้ชายโครงขวา
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง
  • ปัสสาวะมีสีเข็ม
  • อุจจาระมีสีซีด

การวินิจฉัยโรคตับอักเสบ

สำหรับการวินิจฉัยโรคตับอักเสบ แพทย์จะทำการซักประวัติ และ อาการของผู้ป่วย พฤติกรรมการบริโภค สิ่งแวดล้อมรอบตัว จากนั้นต้องทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด ตรวจเลือดเพื่อตรวจสอบการทำงานของตับ และอาจต้องตัดชิ้นเนื้ิอลงไปเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยาอย่างละเอียด

การรักษาโรคตับอักเสบ

แนวทางการรักษาโรคตับอักเสบ ต้องหาสาเหตุของการเกิดโรคให้พบ และ หยุดสาเหตุของการทำให้เกิดตับอักเสบ รวมถึงประคับประครองอาการอื่นๆที่ร่วมด้วย ซึ่งแนวทางการรักษา เพื่อฟื้นฟูการทำงานของตับ มีดังนี้

  • หยุดดื่มสรุา
  • พักผ่อนให้มากๆ เพื่อลดการทำงานของตับ และทำให้ตับฟื้นตัวเร็วขึ้น
  • ดื่มน้ำสะอาด อย่างน้อยวันละ 8 ถึง 10 แก้ว
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ต้องเป็นอาหารอ่อนๆ
  • ระมัดระวังเรื่องการใช้ยา ต้องกินยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น

สำหรับความรุนแรงของโรคตับอักเสบ นั้นมีอยู่หลายปัจจัย เช่น อายุผู้ป่วย เพศ ความแข็งแรงของผุ้ป่วย เป็นต้น สำหรับผู้ป่วยโรคตับบอักเสบ มีข้อควรปฏิบัตตนดังนี้

  • พักผ่อนให้เต็มที่
  • ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8 ถึง 10 แก้ว
  • ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
  • กินอาหารอ่อนๆ หลีกเลี่ยงอาหารประเภทไขมัน
  • ออกกำลังกายเบาๆ
  • ไม่ซื้อยากินเอง
  • รีบพบแพทย์ เมื่ออาการต่างๆแย่ลง เช่น คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า หรือ เจ็บท้องบริเวณใต้ชายโครงขวาอย่างรุนแรง

การป้องกันการเกิดโรคตับอักเสบ

สำหรับการป้องกันโรคตับอักเสบ ต้องระมัดระวัง หลีกเลี่ยง ปัจจัยต่างๆที่จะทำร้าย และ เป็นพิษต่อตับ โดยการป้องกันโรคตับอักเสบ มีดังนี้

  • ไม่กินยาโดยไม่จำเป็น ไม่ซื้อยาใช้เอง
  • หากมีประวัติการแพ้ยา ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ
  • ไม่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • พักผ่อนให้เต็มที่
  • ดื่มน้ำสะอาดในปริมาณที่ร่างกายต้องการ

โรคตับอักเสบ (Hepatitis ) คือ ภาวะเซลล์ตับอักเสบจากการบาดเจ็บ หรือ ถูกทำลาย โรคเกี่ยวกับตับ อาการโรคตับอักเสบ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว ข้อกระดูก และ กล้ามเนื้อ ไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร คลื่นไส้และอาเจียน ปวดท้องที่ใต้ชายโครงขวา ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะมีสีเข็ม อุจจาระมีสีซีด สาเหตุตับอักเสบเกิจากอะไร การรักษาตับอักเสบ และ ป้องกันอย่างไร

โรคแอดดิสัน ต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนน้อย อาการอ่อนเพลีย ปวดท้อง ท้องเสีย มีภาวะขาดน้ำ เวียนหัว อยากกินของเค็ม กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อ เหงื่อออกมาก ผิวแห้ง

โรคแอดดิสัน โรคต่อมหมวกไต โรคฮอร์โมน โรคไม่ติดต่อ

โรคแอดดิสัน ภาษอังกฤษ เรียก Addison disease มีชื่อเรียกโรคนี้อื่นๆ เช่น Adrenocorti cal hypofunction, Chronic adrenocortical insufficiency, Chronic adrenal insuffi ciency, Primary adrenal insufficiency, Hypoadrenalism, Hypocortisolism โรคแอดดิสัน เป็น โรคเกี่ยวกับต่อมหมวกไต เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนได้น้อยกว่าปรกติ จนเกิดภาวะขาดฮอร์โมน ซึ่งต่อมหมวกไต จะสร้างฮอร์โมนชื่อ Glucocorticoid เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการใช้พลังงานของร่างกายทั้ง แป้ง น้ำตาล ไขมัน และโปรตีน กับฮอร์โมนชื่อ Aldosterone เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการทำงานของเกลือแร่ และการรักษาสมดุลของระดับน้ำเกลือแร่ รวมถึงควบคุมระดับความดันเลือด

โรคแอดดิสัน มีการรายงานเกี่ยวกับโรคนี้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2398 โดยนายแพทย์โทมัส แอดดิสัน เป็นแพทย์ชาวอังกฤษ ซึ่งโรคนี้ไม่ใช้โรคที่เกิดขึ้นบ่อย พบได้ 40 ในล้านเท่านั้น  แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย

เนื่องจากต่อมหมวกไตเป็นต่อมไร้ท่อ ที่ทำหน้าที่ควบคุมฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง การสร้างฮอร์โมนของต่อมหมวกไตจึงอยู่ภายใต้การควบคุมของต่อมใต้สมอง ส่วนไฮโปธาลามัส ซึ่งการที่ต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนลดลง ทำให้เกิดภาวะขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไตปฐมภูมิ ซี่งภาษาอังกฤษ เรียก Primary adrenal insufficiency การที่ฮอร์โมนต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนได้ลดลง มีหลายสาเหตุ เช่น เนื้องอก การใช้ยาสเตรียรอยด์  สมองส่วนไฮโปธาลามัสผิดปรกติ โรคแอดดิสันมีหลายสาเหตุ โดยสาเหตุของโรคแอดดิสันแบ่งเป็นระดับ มี 4 ระดับ ดังนี้

  • ภาวะขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไตในระดับปฐมภูมิ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ของสาเหตุการเกิดโรคแอดดิสัน คือ ร่างกายสร้างฮอร์โมนต่อมหมวกไต ไม่เพียงพอต่อความต้องการ จากการติดเชื้อโรคบางชนิด เช่น วัณโรค หรือภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด การเกิดเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต การเสียเลือดอย่างรุนแรง รวมถึงภาวะพันธุกรรมที่ส่งผลต่อการเจริญเติบดตของต่อมหมวกไตไม่ดี
  • ภาวะขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไตในระดับทุติยภูมิ ในระดับนี้เราพบว่าเกิดจากการใช้ยาในกลุ้มสเตียรอยด์ เป็นยาที่มีฤทธิ์กดประสาททำให้ความสามารถในการทำงานของต่อมหมวกไตลดลง นอกจากการใช้ยาบางชนิดแล้ว การเกิดเนื้องอกของต่อมหมวกไตก็เป็นสาเหตุของการเกิดโรคในระดับนี้
  • ภาวะขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไตในระดับตติยภูมิ ในระดับนี้พบว่าสาเหตุของโรคเกิดจากความผิดปรดติของสมองส่วนไฮโปธาลามัส อาทิเช่นการเกิดเนื้องอก หรือมะเร็งที่สมอง
  • ภาวะวิกฤตของต่อมหมวกไต สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะวิกฤตของต่อมหมวกไต คือการหยุดใช้ยากลุ้มสเตียรอยด์ทันที

นอกจากสาเหตุต่างๆ เหล่านี้ สาเหตุอื่นๆที่อาจทำให้เกิดโรคแอดดิสัน คือ ภาวะร่างกายขาดน้ำ ภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด การเกิดอุบัตติเหตุที่ต่อมหมวกไต การเกิดอุบัตติเหตุของสมอง เป็นต้น

อาการของโรคแอดดิสันเป็นอย่างไร

อาการของโรคแอดดิสัน เราสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ อาการที่เกิดจากระดับภาวะการขาดฮอร์โมน และอาการในระดับภาวะวิกฤตที่ต่อมหมวกไต โดยรายละเอียด ดังนี้

  • อาการของโรคแอดดิสันจากสาเหตุภาวะการขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไต จะมีอาการ คือ อ่อนเพลียมาก เบื่ออาหาร ผอม ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน มีภาวะขาดน้ำ วิงเวียนศีรษะเป็นลม กระหายอยากกินของเค็ม กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ เหงื่อออกมามาก ผิวหนังเหี่ยวและอารมณ์แปรปรวน
  • อาการของโรคแอดดิสันจากสาเหตุภาวะวิกฤติของต่อมหมวกไต จะมีอาการเหมือกับอาการแรก คือ อ่อนเพลียมาก เบื่ออาหาร ผอม ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน มีภาวะขาดน้ำ วิงเวียนศีรษะเป็นลม กระหายอยากกินของเค็ม กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ เหงื่อออกมามาก ผิวหนังเหี่ยวและอารมณ์แปรปรวน แต่มีระดับความรุนแรงที่มากกว่า ความดันโลหิตจะต่ำมาก อาจช็อกและเสียชีวิตได้

การรักษาโรคแอดดิสันสามารถทำอย่างไรได้บ้าง

แนวทางการรักษาโรคแอดอดสัน สามารทำได้โดยการให้ฮอร์โมนต่อมหมวกไต เพื่อปรับระดับฮอร์โมนให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ และรักษาโดยประคับประคองโรคแทรกซ้อนตามอาหาร เช่น ให้ยาแก้ท้องเสีย ให้ยาแก้คลื้นไส้ ให้ยาแก้ปวดท้อง รักษาระดับน้ำและเกลือแร่ในร่างกายให้สมดุลย์ แต่ถ้าหากสาเหตุเกิดจากเนื้องอก ก็จำเป็นต้องผ่าตัดนำเนื้องกส่วนนั้นๆออกไป เป็นต้น

โรคแอดดิสันมีผลข้างเคียงอย่างไร

ผลข้างเคียงที่เกิดจากโรคแอดดิสัน จะสามารถพบว่าการรับฮอร์โมนต่อมหมวกไต จะทำให้ต้องรับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยสามารถติดเชื้อได้ง่าย

ข้อควรปฏิบัติของผู้ป่วยโรคแอดดิสัน

ในการดูแลตนเองของผู้ป่วย แนะนำให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร็งครัด ทานยาตามคำสั่งแพทย์ เข้าพบหมอตามนัด รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ป้องกันความเสี่ยงของการติดเชื้อ โดยรักษาสุขอนามัย ให้สะอาดปลอดภัย

การป้องกันโรคแอดดิสัน

การป้องกันโรคต้องป้องกันสาเหตุของการเกิดโรคทั้งหมด รายละเอียดดังนี้

  • ไม่ซื้อยากินเอง โดยเฉพาะยากลุ่มสเตียรอยด์
  • หากมีโรคประจำตัวที่ต้องรักษาในกลุ่มสเตียรอยด์ ใช้ยาให้ถูกต้อง และพบแพทย์ตามนัดเสมอ
  • ไม่ซื้อยาแผนโบราณหรือยาสมุนไพรต่างๆ จำพวกยาลูกกร มาใช้เอง ควรใช้ยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น

อาการท้องเสีย ปวดท้อง เป็นอาการหนึ่งของโรคแอดดิสัน การบรรเทาอาการท้องเสียโดยใช้สมุนไพรเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยรักษาโรคตามอาการ ขอแนะนำสมุนไพรช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย มีดังนี้

หอมหัวใหญ่ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมุนไพร
หอมหัวใหญ่
สะระแหน่ มินต์ สมุนไพร พืชสวนครัว
สะระแหน่
ฝรั่ง สมุนไพร ผลไม้ ประโยชน์ของฝรั่ง
ฝรั่ง
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ประฌยชน์ของโด่ไม่รู้ล้ม
โด่ไม่รู้ล้ม
รางจืด สมุนไพร สมุนไพรไทย ไม้ยืนต้น
รางจืด
มังคุด ผลไม้ สมุนไพร ประโยชน์ของมังคุด
มังคุด
กล้วยน้ำว้า กล้วย สมุนไพร ประโยชน์ของกล้วย
กล้วยน้ำว้า
ทับทิม ผลไม้ สมุนไพร ประโยชน์ของทับทิม
ทับทิม
ต้นมะลิ ดอกมะลิ สมุนไพร สมุนไพรไทย
ต้นมะลิ
กระเทียม สมุนไพร สมุนไพรไทย เครื่องเทศ
กระเทียม
ลูกยอ ต้นยอ สมุนไพร สมุนไพรไทย
ยอ
มะพร้าว สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชยืนต้น
มะพร้าว

โรคแอดดิสัน ภาวะขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไต เกิดจากการเสียเลือดมาก อาการของโรค คือ อ่อนเพลียมาก เบื่ออาหาร ผอม ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน มีภาวะขาดน้ำ วิงเวียนศีรษะเป็นลม กระหายอยากกินของเค็ม กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ เหงื่อออกมามาก ผิวหนังเหี่ยวและอารมณ์แปรปรวน


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove