การกินปลาดิบสาเหตของโรคพยาธิใบไม้ในตับ ทำเกิดอาการท้องอืด ตัวเหลือง ตาเหลือง คันตามตัว ปวดท้องด้านขวาบน ซึ่งพยาธิจะทำให้ตับอักเสบ การรักษาป้องกันโรคทำอย่างไร

พยาธิใบไม้ในตับ โรคพยาธิ โรค

โรคพยาธิใบไม้ตับ เกิดจากการเจริญเติบโตของพยาธิใบไม้ในตับสายพันธุ์โอปิสทอร์คิส วิเวอร์รินี ( Ophisthorchis Viverrini ) อาศัยในร่างกายทำให้เกิดการติดเชื้อที่ท่อน้ำดี ทำให้ท่อน้ำดีอักเสบเรื้อรัง พยาธิใบไม้ตับเกิดมากกับประชากรไทย ภาคอีสาน ที่นิยมกินปลาดิบ พยาธิใบไม้ในตับสามารถอาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์ได้นานถึง 26 ปี

สาเหตุของโรคพยาธิใบไม้ตับ

สำหรับการติดโรคพยาธิใบไม้ตับ เกิดจากการอาศัยและเจริญเติบโตของพยาธิใบไม้ในตับในร่างกายมนุษย์ และ พยาธิใบไม้ในตับทำให้เกิดการติดเชื้อโรคภายในท่อน้ำดีของตับ ทำให้ตับอักเสบ และ เสียหาย ซึ่งพยาธิใบไม้ในตับจะอาศัยในปลาน้ำจืด เช่น ปลาตะเพียน ปลาซิว ปลาสร้อย ปลาแก้มช้ำ ปลาขาวนา และปลาขาว หรือ ปลาร้า หากรับประทานปลาเหล่านี้โดยไม่ปรุงให้สุกจะทำให้พยาธิใบไม้ในตับเข้าสู่ร่างกายได้

อาการของโรคพยาธิใบไม้ตับ

สำหรับโรคพยาธิใบไม้ในตับ จะแสดงอาการผิดปรกติของโรคที่เกิดจากตับ ซึ่งอาการของโรคจะขึ้นอยู่กับอาการอักเสบของตับว่ามากน้อยเพียงใด

  • ระบบทางเดินอาหารผิดปรกติ เช่น อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเสียเรื้อรัง ท้องเสียสลับกับท้องผูก
  • มีอาการปวดหลัง โดยเฉพาะปวดบริเวณท้องด้านขวาบน เจ็บใต้ชายโครงขวา เจ้บใต้ลิ้นปี่
  • มีก้อนตรงท้องด้านขวาบน
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า
  • ตาเหลืองตัวเหลือง
  • เบื่ออาหาร
  • มีไข้ต่ำ
  • คันตามตัว
  • แขนขาบวม
  • มีน้ำในท้องมาก หรือ ท้องมาน
  • ปัสสาวะสีเข้ม
  • อุจจาระสีซีด
  • ถุงน้ำดีโตมากจนสามารถคลำเจอได้ด้วยตนเอง

การวินิจฉัยโรคพยาธิใบไม้ตับ

แนวทางการวินิจฉัยโรคพยาธิใบไม้ในตับ นั้นแพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติของผู้ป่วย ตรวจอุจจาระ ตรวจอัลตราซาวด์ หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

การรักษาพยาธิใบไม้ตับ

แนวทางการรักษาโรคพยาธิใบไม้ตับ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการผู้ป่วย ว่ามีอาการแทรกซ้อนและอาการติดเชื้อร่วมหรือไม่ ซึ่งการรักษาใช้ยารักษาโรคและการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับดุลย์พินิจของแพทย์ และ ความแข็งแรงของผู้ป่วย รายละเอียด ดังนี้

  • การใช้ยารักษาโรค โดยใช้ยาพราซิควอนเทล และ ยาปฏิชีวนะสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย
  • การผ่าตัด ใช้สำหรับกรณีการเกิดอาการแทรกซ้อนที่ท่อน้ำดีร่วม

นอกจากนั้น การรักษาใช้การรักษาด้วยการประคับประคองตามอาการของโรค เช่น ยาแก้ปวด ต่อท่อระบายน้ำดี ลดอาการตัวเหลืองตาเหลือง หรือ เจาะน้ำออกจากช่องท้อง เป็นต้น

การป้องกันพยาธิใบไม้ตับ

แนวทางการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ในตับ คือ การป้องกันพยาธิเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งปลาน้ำจืดเป็นพาหะนำโรค แนวทางการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ในตับ มีดังนี้

  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุกก่อน โดยเฉพาะ ปลาน้ำจืด และ ปลาร้า
  • หมั่นตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ

โรคพยาธิใบไม้ในตับ สาเหตุเกิดจากการกินปลาดิบ ทำเกิดอาการ เช่น ท้องอืด ตัวเหลือง ตาเหลือง คันตามตัว ปวดท้องด้านขวาบน เมื่อพยาธิเข้าสู่ร่างกายทำให้ตับอักเสบ การรักษาและแนวทางการป้องกันโรค ทำอย่างไร

ลำไส้อักเสบ ( Enterocolitis ) เกิดจากหลายสาเหตุทั้งติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ อาการของโรคปวดท้องรวมกับท้องเสีย อุจจาระเป็นมูกเลือดเหม็น อุจจาระสีซีด อ่อนเพลีย ลำไส้อักเสบ โรคระบบทางเดินอาหาร โรคไม่ติดต่อ โรคลำไส้

โรคลำไส้อักเสบ ภาษาอังกฤษ เรียก Enterocolitis โรคลำไส้อักเสบ คือ ภาวะที่เกิดจากเนื้อเยื่อภายในลำไส้อักเสบ  ซึ่งสาเหตุของการอักเสบมักเกิดจากการติดเชื้อโรค แต่สามารถเกิดการอักเสบโดยไม่ติดเชื้อได้เหมือนกัน ลำไส้อักเสบ เกิดขึ้นกับทั้งลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ ทั้งนี้ลำไส้อักเสบ อาจเกิดร่วมกับโรคกระเพาะอักเสบ หรือ ทวารหนักอักเสบได้

การเกิดลำไส้อักเสบแบบเฉียบพลัน จะเกิดการอักเสบอย่างกระทันหันภายในระยะเวลา 7 วัน แต่ถ้าหากอาการอักเสบเป็นๆ หายๆ เราจะเรียกว่า ลำไส้อักเสบเรื้อรัง โรคลำไส้อักเสบจะพบมากในประเทศที่มีสุขอนามัยไม่ดี

สาเหตุของการเกิดโรคลำไส้อักเสบ

สำหรับ สาเหตุของลำไส้อักเสบ นั้น เราสามารถแบ่งสาเหตุของโรคได้ 2 ลักษณะ คือ อาการลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อโรค และ โรคลำไส้อักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อโรค ซึ่งเชื้อโรคที่ทำให้เกิดลำไส้อักเสบ คือ แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต และเชื้อรา แต่เชื้อแบคทีเรีย เป็นเชื้อโรคที่ทำให้เกิดลำไส้อักเสบมากที่สุด เชื้อแบคทีเลียที่พบมากที่สุดคือ เชื้อแบคทีเรียอีโคไลและเชื้อแบคทีเรียสตาพีโลคอกคัส เป็นสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษ โรคบิด โรคไทฟอยด์ อหิวาตกโรค
    สำหรับเชื้อไวรัสนั้น เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบ คือ ไวรัสโรตา ไวรัสอะดีโน ไวรัสซีเอมวี ลักษณะของการติดเชื้อไวรัสเกิดจากระบบภูมิต้านทานร่างกายบกพร่อง ส่วนเชื้อปรสิตที่เป็นสาเหตุของลำไส้อักเสบ คือ อะมีบา(Amoeba) พยาธิตัวกลม เป็นต้น นอกจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และปรสิต แล้วเชื้อราก็คือ เชื้อโรคอีกตัวหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบ มักพบในคนที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง เช่น โรคเอดส์
  • ลำไส้อักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เป็นสาเหตุของลำไส้อักเสบที่พบได้ไม่บ่อย ลักษณะของลำไส้อักเสบเกิดจาก ลำไส้ขาดเลือด เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบ

สำหรับกลุ่มที่มี ความเสี่ยงของการเกิดโรคลำไส้อักเสบ เกิดจากปัจจัย 2 ส่วน คือ ปัจจัยของโรคที่สาเหตุจากการติดเชื้อและปัจจัยของโรคจากการไม่ติดเชื้อ สามารถแยกปัจจัยเสี่ยงเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

  • กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่สะอาด
  • นักท่องเที่ยวและนักเดินทาง อาจจะเดินทางไปในสถานที่ทีไม่สะอาดและเกิดการติดเชื้อโรคได้
  • กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน โอกาสในการรับเชื้อโรคโดยไม่รู้ตัวได้
  • กลุ่มคนที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคระบบทางเดินอาหาร
  • กลุ่มคนที่คนในนครอบครัวมีประวัติโรคระบบทางเดินอาหาร
  • เด็กที่คลอดก่อนกำหนด

อาการของผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบ

สำหรับผู้ป่วยที่เป็น โรคลำไส้อักเสบ นั้น จะมีอาการ ท้องเสียร่วมกับปวดท้อง ลักษณะปวดแบบบีบ นอกจากอาการปวดท้องแล้ว จะพบว่ามีอาการอื่นๆ ดังต่อไปนี้ คือ อุจจาระเหลวเป็นมูก มีเลือดปน กลิ่นเหม็นมากกว่าปรกติ อุจจาระสีซีดกว่ารกติ มีไข้สูง หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย

อาการที่น่ากังวลคือ อาการเสียน้ำมาก จนร่างกายขาดน้ำ หากร่างกายเกิดช็อกต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลพบแพทย์โดยด่วน

การรักษาโรคลำไส้อักเสบ

สำหรับ การรักษาโรคลำไส้อักเสบ นั้น ใช้การรักษาอยู่ 2 อย่าง คือ การรักษาสาเหตุของโรคและการประคับประครองอาการของโรค รายละเอียด ดังนี้

  • การรักษาโรคลำไส้อักเสบ ที่สาเหตุของโรค เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะในการฆ่าเชื้อโรคทีเป็นสาเหตุของอาการอักเสบ
  • การรักษาโรคลำไส้อักเสบ ด้วยการประคับประคองอาการของโรค เช่น การให้เกลือแร่เพื่อชดเชยอาการขาดน้ำ และการให้ยาแก้ปวด ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น

การดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบ

การดูแลตัวเองสำหรับผู้ที่เป็นโรคลำไส้อักเสบนั้น มีวิธีดูแลตัวเอง

  • ให้รับประทานอาหารอ่อนๆ ที่ย่อยง่าย
  • ให้ดื่มน้ำให้มากขึ้น เพื่อชดเชยอาการขาดน้ำ
  • ให้รับประทานอาหารมีประโยชน์ครบ 5 หมู่
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รักษาความสะอาดของอาหารและน้ำดื่มที่รับประทาน

การป้องกันการเกิดโรคลำไส้อักเสบ

สำหรับ การป้องกันโรคลำไส้อักเสบ นั้นสามารถป้องกันได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคที่หมด โดยรายละเอียด ของการป้องกันการเกิดโรคลำไส้อักเสบ ดังนี้ที่

  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน
  • รักษาความสะอาดของอาหาร น้ำดื่ม
  • กินอาหารปรุงสุกเสมอ
  • ล้างมือทุกครั้งก่อนกินอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ
  • ใช้ส้วมเสมอในการขับถ่าย เพื่อลดโอกาสเกิดโรคระบาดติดต่อทางอุจจาระ
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่สกปรกและแออัด
  • หากจำเป้นต้องไปอยู่ในสถานที่ไม่สะอาด ต้องทำความสะอาดชำระร่างกายให้สะอาดเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

โรคลำไส้อักเสบ นั้น ไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่โรคนี้หากเกิดภาวะเรื้อรัง จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หลีกเลี่ยงโรคนี้ได้ก็เป็นดี อาการปวดท้อง ท้องเสีย อุจจาระเป็นมูก อาการเหล่านี้เป็น อาการของโรคลำไส้อักเสบ ซึ่งเป็นการระคายเคืองที่ลำไส้เป็นเวลานานจากปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร สามารถพบได้บ่อยในคนช่วงอายุประมาณ 15-30 ปี และมักจะเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ลำไส้อักเสบ รักษาอย่างไร อาการลำไส้อักเสบสามารถรักษาด้วยวิธีธรรมชาติได้

ซึ่ง ลำไส้อักเสบ โดยทั่วไปเป็น โรคที่ไม่รุนแรง ทางการแพทย์สามารถรักษาและควบคุมโรคได้ สำหรับอาการของโรคนี้จะมีการอักเสบเกิดขึ้นเฉพาะที่ลำไส้  ซึ่งความสำคัญของโรคนี้เป็นอาการโรคเรื้อรัง ที่จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป้วย วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ โรคลำไส้อักเสบ กันว่า เป็นอย่างไร อะไรเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคนี้ อาการของโรคเป็นอย่างไร รักษาอย่างไร และป้องกันอย่างไร

โรคลำไส้อักเสบ ( Enterocolitis ) คือ ภาวะเนื้อเยื่อลำไส้อักเสบ เกิดจากหลายสาเหตุทั้งการติดเชื้อและการไม่ติดเชื้อ เกิดจากการระคายเคืองที่ลำไส้เป็นเวลานาน  เกิดกับลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ สามารถเกิดร่วมกับโรคกระเพาะอักเสบ ทวารหนักอักเสบ อาการของโรคไส้อักเสบ คือ ปวดท้อง ท้องเสีย อุจจาระเป็นมูก สาเหตุ อาการ การรักษา และ การดูแลโรคทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove