ภาวะตับล้มเหลว ตับวาย ( Liver failure ) ตับไม่ทำงาน ทำให้อวัยวะอื่นผิดปรกติ มีน้ำในท้องมาก นอนไม่หลับ หลงลืมง่าย สาเหตุมีหลายปัจจัย การรักษาและป้องกันทำอย่างไรตับวาย ตับหล้มเหลว โรคตับ กินยาพาราเกินขนาด

อวัยวะที่มีความสำคัญมากอวัยวะหนึ่งของร่างกาย คือ ตับ ภาษาอังกฤษ เรียก Liver คำนี้มาจากภาษากรีก คือ Hepar หน้าที่หลักของตับ คือ กำจัดของเสียออกจากร่างกายผ่านทางน้ำดี ช่วยให้เลือกแข็งตัว ช่วยสร้างฮอร์โมนบางชนิด เป็นแหล่งสะสมน้ำตาลที่สำคัญของร่างกาย ช่วยควบคุมระดับความดันเลือดของช่องท้อง และสร้างภูมิต้านทานโรคของร่างกาย การเกิดตับวาย นั้นสามารถเกิดได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย โดยอัตราการเกิดโรคเท่าๆกันทั้งในชายและหญิง สำหรับ ภาวะตับวาย สามารถแบ่งได้ เป็น 2 ลักษณะ ประกอบด้วย ตับวายแบบเฉียบพลัน และ ตับวายแบบเรื้อรัง โดยรายละเอียดมี ดังนี้

  • ตับวายแบบเฉียบพลัน ภาษาอังกฤษ เรียก Acute liver failure หรือ Fulminant hepatic failure มีคำย่อว่า FHF เป็นภาวะตับวายที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว ผู้ป่วยมักไม่เคยมีโรคตับมาก่อน และ ตับทำงานอย่างปกติก่อนเกิดภาวะตับวายเฉียบพลัน อาการที่แสดงให้เห็นชัดเจน คือ มีอาการทางสมอง เช่น คลื่นไส้อาเจียน โดย ลักษณะของตับวายเฉียบพลันสามารถแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ ตับวายเร็วร้าย และ ตับวายกึ่งเร็วร้าย
  • ตับวายเรื้อรัง ภาษาอังกฤษ เรียก Chronic liver failure คือ มีอาการผิดปรกติทางระบบประสาทและสมอง จากการทำงานผิดปรกติของตับ เช่น การดื่มสุราระยะเวลานาน ป่วยเป็นโรคตับอักเสบบี หรือ กินยาพาราเกินขนาด เป็นต้น ลักษณะอาการที่พบ จะ คลื่นไส้ นานเกิน 6 เดือน ซึ่งการรักษาอาการตับวายแบบเรื้อรัง นั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุ และ อาการ  ซึ่งระยะเวลาในการรักษาก็จะต่างกันออกไป

สาเหตุของการเกิดภาวะตับวาย

สำหรับโรคตับวาย สามารถสรุปสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคตับวายได้ ดังนี้

  • เกิดจากการประสบอุบัตติเหตุ ทำให้เกิดการกระแทกอย่างรุนแรงที่ตับ ทำให้ตับสูญเสียการทำงานหรือเซลล์ตับบาดเจ็บ
  • เกิดจากเป็นโรคตับแข็ง
  • ภาวะพิษสุราเรื้อรัง
  • การติดเชื้อโรคที่ตับ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบ
  • ได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย เช่น การกินเห็ดพิษ กินสมุนไพรบางชนิด
  • กินอาหารที่มีพิษต่อร่างกาย เช่น อาหารที่ปนเปื้อนโลหะหนุก เช่น ตะกั่ว ทองแดง
  • กินยาเกินขนาด เช่น ยาพาราเซตามอล
  • การเสพยาเสพติดเกินขนาด
  • เกิดจากป่วยเป็นโรคมะเร็งตับ หรือ มะเร็งแพร่กระจายสู่ตับ

อาการของภาวะตับวาย

สำหรับโรคตับวาย นี้ จะมีอาการเกิดขึ้นจากความผิดปรกติของการทำงานของตับส่งผลต่อการทำงานของร่างกายส่วนอื่นๆ โดยเฉพาะระบบสมอง อาการที่จะเกิดขึ้น คือ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดท้องด้านขวาบน ตัวเหลืองตาเหลือง หลังจากนั้นอาการจะรุนแรงมากขึ้น  โดยอาการจะมีลักษณะตามนี้

  • มีน้ำในท้อง เกิดจากความดันเลือกในช่องท้องสูง ทำให้มีน้ำซึมจากหลอดเลือดเข้าสู่ช่องท้อง
  • เลือดออกง่าย หรือ มีลอยจ้ำห้อเลือด มีจุดแดงเล็กๆคล้ายในไข้เลือดออก เนื่องจากการทำงานหลักของตับ อย่างการทำให้เลือดแข็งตัวไม่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  • มีอาการทางสมอง เนื่องจากตับทำหน้าที่ขับสารพิษ แต่เมื่อการทำงานผิดปรกติ ทำให้พิษเข้าสู่สมองและพิษเข้าไปทำลายเซลล์สมองโดยตรง เกิดภาวะสมองบวมได้ โดยอาการเริ่มต้นจะ นอนไม่หลับ หลงลืมง่าย ตัด สินใจไม่ได้ กระสับกระส่าย สับสน ต่อจากนั้น จะซึมลง
  • มีอาการของ ไตวายเฉียบพลัน โดยไม่เคยมีโรคไตมาก่อนจากไตขาดเลือด สา เหตุจากความดันในระบบไหลเวียนโลหิตของช่องท้องสูงขึ้น เช่น บวมทั้งตัว โดย เฉพาะขาและเท้า ปัสสาวะน้อย หรือไม่มีปัสสาวะ สับสน ซึม ชัก และโคม่า
    หมดสติ โคม่า และเสียชีวิตในที่สุด

การวินิจฉัยภาวะตับวาย

การวินิจฉัยนั้น แพทย์จะทำการซักประวัติ อาการ ประวัติการใช้ยา และพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ที่อยู่อาศัย อาชีพ อาหาร น้ำดื่ม จากนั้นต้องทำการตรวจร่างกาย การตรวจเลือด เพื่อดูการทำงานของตับและไต ดูภูมิต้านทานโรค ทำการอัลตร้าซาวน์ ดูภาพของตับ และต้องตัดชิ้นเนื้อจากตับเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษาภาวะตับวาย

สำหรับการรักษาภาวะตับวาย นั้นต้องรักษาต้นเกตุของปัญหา คือ ตับไม่สามารถกำจัดของเสียออกจากร่างกายได้ โดยจะพยายามกำจัดสารพิษออกจากร่างกายให้เร็วที่สุด รวมถึงการลดปริมาณสารพิษที่จะเข้าสู่ร่างกาย เช่น ลดอาหารประเภทโปรตีนเพื่อลดสารไนโตรเจน ซึ่งเป็นพิษต่อตับ เป็นต้น

การรักษาภาวะตับวาย จะต้องควบคุมอาหาร การรักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย รวมถึงต้องการป้องกันการเกิดเลือดออก
ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับวาย ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ในรายที่ตับสูญเสียมาก ต้องรับการปลูกถ่ายตับ จะทำให้มีโอกาสรอดชีวิตได้

ผลข้างเคียงที่เกิดจากการเกิดภาวะตับวาย

โรคตับวาย เป็นภาวะความผิดปรกติของร่างกานที่มีความรุนแรงสูง สามารถทำให้ตายได้ โดยผลข้างเคียงของการเกิดโรคตับวาย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ระบบการแข็งตัวของเลือด ไม่ทำงาน ทำให้มีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆอย่างรุนแรง
  • ทำให้ตัวเหลืองตาเหลือง
  • ทำให้ร่างกายตืดเชื้อง่าย เนื่องจากภาวะภูมิต้านทานโรคต่ำ
  • ทำให้สมองบวม
  • ทำให้มีน้ำในช่องท้องมากและจะเกิดการติดเชื้อตามมา

การป้องกันโรคตับวาย

สำหรับการป้องกันการเกิดภาวะตับวาย หรือ ภาวะตับล้มเหลวนั้น คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงทั้งหมดที่จะทำให้เกิดการเป็นพิษต่อตับ โดยรายละเอียดดังนี้

  • ไม่กินยาเกินขนาด
  • ระวังเรื่องการรับประทานอาหาร ไม่ทานอาหารที่มีสารพิษเจือปน
  • ระวังการสัมผัสสารคัดหลั่งของคนที่มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคไวรัสตับอักเสบ
  • ระวังเรื่องการใช้สารเคมีทุกชนิด โดยเฉพาะ ยาฆ่าหญ้า
  • งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอร์
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้สะอาด
  • ไม่เสพยาเสพติด
  • เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ บี

ภาวะตับล้มเหลว หรือ ตับวาย ( Liver failure ) ภาวะตับไม่ทำงาน ทำให้อวัยวะต่างๆทำงานผิดปรกติ มีน้ำในท้องมาก นอนไม่หลับ หลงลืมง่าย สาเหตุของโรคมีหลายปัจจัย การรักษาโรค และ การป้องกันต้องทำอย่างไร

มะเร็งลำไส้เล็ก เนื้อร้ายที่ลำไส้เล็ก อาการปวดท้องหลังกินอาหาร ปวดท้องถึงหลัง เบื่ออาหาร มีเลือดออกที่ทางเดินอาหาร สีอุจจาระผิดปรกติ มีก้อนบริเวณท้องส่วนบนขวามะเร็งลำไส้เล็ก โรคระบบทางเดินอาหาร โรคมะเร็ง เนื้อร้าย

มะเร็งลำไส้เล็ก เกิดจากอะไร สาเหตุ ปัจจัยที่ทำให้เกิด โรคมะเร็งลำไส้เล็ก คืออะไร รักษาโรคมะเร็งลำไส้เล็ก อย่างไร สำหรับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้เล็กต้องดูแลอย่างไร โรคในระบบทางเดินอาหาร ความผิดปรกติของเซลล์ในร่างกาย โรคมะเร็งที่พบได้ไมบ่อย ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งลำไส้เล็ก มีอะไรบ้าง

ลำไส้เล็ก

ทำความรู้จักกับ ลำไส้เล็ก หน้าที่ของลำไส้เล็ก นั้นคือ การย่อยอาหารและดูดซึมสารอาหารที่ถูกย่อยเข้ากระแสเลือด เพื่อนำสารอาหารเหล่านั้นไปใช้ประโยชนื ซึ่ง ลำไส้เล็ก นั้นมีความสำคัญต่อร่างกาย ซึ่งใน ลำไส้เล็ก นั้นบทบาทมากที่สุด ในลำไส้เล็กจะมี ติ่งที่ยื่นออกมา เราเรียกติ่งนี้ว่า วิลไล ภาษาอังกฤษ เรียก Villi ส่วนนี้ เป็นส่วนสำคัญที่ใช้เพื่อเพิ่มความสามารถในการดูดซึมสารอาหารของ ลำไส้เล็ก

โครงสร้างลำไส้เล็ก

ลำไส้เล็ก นั้นมีลักษณะเป็นท่อ เป็นกล้ามเนื้อ มีความยาวประมาณ 10 เมตร เป็นจุดที่เชื่อมต่อจากส่วนปลายของกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก นั้นจะสร้างน้ำย่อยออกมา เพื่อประโยชน์ในการย่อยอาหาร และการดูดซึมอาหารให้ได้มากที่สุด ลำไส้เล็ก(Small intestine) สามารถแบ่งได้ 3 ส่วน ประกอบด้วย ลำไส้เล็กตอนต้น เรียก Duodenum ลำไส้เล็กส่วนกลาง เรียก Jejurium  และ ลำไส้เล็กส่วนปลาย เรียก lleum โดยรายละเอียดของลำไส้เล็กส่วนต่างๆ มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำไส้เล็กส่วนต้น ( Duodenum ) คือส่วนที่ต่อจากกระเพาะอาหาร ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่สั่นที่สุด เมื่อเทียบกับลำไส้เล็กส่วนอื่นๆ
  • ลำไส้เล็กส่วนกลาง ( Jejunum ) ส่วนนี้จะมีความยาวประมาณ 9 ฟุต อยู่ต่อจากลำไส้เล็กส่วนต้น
  • ลำไส้เล็กส่วนปลาย ( Ileum ) เป็นส่วนของลำไส้เล็กที่อยู่ปลาย อยู่ติดกับลำไส้ใหญ่ เป็นส่วนที่มีความยาวมากที่สุด เป็นส่วนที่มีความสามารถในการดูดซึมสารอาหารมากที่สุด ของลำไส้เล็ก

โรคมะเร็งลำไส้เล็ก

สำหรับอัตราการเกิด โรคมะเร็งลำไส้เล็ก นั้นเราไม่พบว่ามีการป่วย โรคมะเร็งลำไส้เล็ก ในอัตราที่สูง โดย อัตราการเกิดมะเร็งลำไส้เล็ก ไม่ถึงร้อยละ 1 ของการเกิดมะเร็งในอวัยวะทั้งหมดของร่างกาย แต่โรคมะเร็งชนิดนี้ เราจะพบว่าผู้สูงอายุ ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป มีอัตราการเกิดที่สูงกว่าช่วงอายุที่ต่ำกว่า 50 ปี และอัตราการเกิดโรคเพศชายจะมีอัตราส่วนที่สูงกว่าเพศหญิง

มะเร็งลำไส้เล็ก คือ การเกิดความผิดปรกติของเซลล์ร่างกายบริเวณลำไส้เล็ก ลักษณะเป็นเนื้องอก ก้อนเนื้อร้าย ที่ลามมาจากอวัยวะใกล้เคียง หรือสามารถแพร่่ไปสู่อวัยวะใกล้เคียงได้ เช่น กระเพาะอาหาร ท่อน้ำดี ตับอ่อน เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้เล็ก

การเกิด โรคมะเร็งลำไส้เล็ก นั้น ในปัจจุบันเรายัง ไม่สามารถทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของการเกิด มะเร็งลำไส้เล็ก ได้แน่ชัดนัก แต่มีการพบสารบางตัว ที่ออกมาจากน้ำย่อยจากตับอ่อนและน้ำดี เช่น กรดลิโธโคลิก(Lithocholic) เป็นต้น ปัจจัยที่ทำให้เกิดมะเร็ง มาจาก พันธุกรรม โรคเนื้องอกชนิดดีบริเวณเยื่อบุผิว เนื้องอกชนิดต่อมขนอ่อน แผลที่ลำไส้เล็ก เป็นต้น

ประเภทของมะเร็งลำไส้เล็ก

การเกิดมะเร็งลำไส้เล็ก เราพบว่ามีหลายลักษณะ ซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทของมะเร็งลำไส้เล็กได้ 4 ประเภท มีรายละเอียด ดังนี้

  1. มะเร็งลำไส้เล็ก ชนิดต่อม เกิดต่อมที่เยื่อเมือกลำไส้เล็กส่วนต้น และต่อมนี้เกิดการพัฒนาเป็นเนื้องอก
  2. มะเร็งลำไส้เล็ก ชนิดคาซินอย ( Carcinoid ) เป็นการเกิดเนื้อร้ายจากเซลล์enterochromaffin โดยทั่วไปแล้วเนื้องอกที่เกิดขึ้น จะมีขนาดเล็กและส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นที่ลำไส้เล็กเพียงจุดเดียว แต่เมื่อเนื้องอกนี้พัฒนาตัวจนมีขนาดใหญ่ขึ้น จะสามารถลามจนเกิดเนื้อร้ายได้
  3. มะเร็งลำไส้เล็ก ชนิดกล้ามเนื้อเรียบ เป็นการเกิดชั้นของกล้ามเนื้อ ลักษณะเรียบ ที่ลำไส้เล็ก
  4. มะเร็งลำไส้เล็ก ชนิดเนื้อร้ายของต่อมน้ำเหลือง เป็นเนื้องอกชนิดร้าย เกิดจากต่อมน้ำเหลืองที่ผนังลำไส้เล็ก แต่มะเร็งชนิดนี้ มีความแตกต่างจากมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่รุกล้ำถึงลำไส้เล็ก

อาการของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้เล็ก

อาการของมะเร็งลำไส้เล็ก นั้น ก็จะเกิด การผิดปรกติของระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเราสามารถสรุป อาการของโรคมะเร็งลำไส้เล็ก ได้ดังนี้

  1. มีอาการปวดท้องส่วนบน ปวดท้องตื้อๆ หลังรับประทานอาหาร อาการปวดสามารถลามไปปวดบริเวณหลัง
  2. มีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
  3. มีเลือดออกที่ทางเดินอาหาร แบบเรื้อรัง สังเกตุอาการจาก สีอุจจาระผิดปรกติ มีเลือดปนที่อุจจาระ อุจจาระมีสีดำ
  4. น้ำหนักตัวลดลง ร่างกายอ่อนแอ โลหิตจางฃ
  5. มีก้อนบริเวณท้องส่วนบนขวา เกิดจากเนื้องอก เนื้อร้าย มีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อเนื้องอกมีขนาดใหญ่ขึ้น

วิธีการรักษามะเร็งลำไส้เล็ก

การรักษาโรคมะเร็งลำไส้เล็ก นั้น หากพบว่ามีมะเร็ง ต้องทำการรักษาด้วยการตัดเนื้อร้ายออกและการฉายรังสี การทำเคมีบำบัด เพื่อป้องกันการเติบโตของเนื้อร้าย เราสามารถสรุป วิธีการรักษามะเร็งลำไส้ ได้ดังนี้

  • การรักษามะเร็งลำไส้เล็กด้วยการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดแพทยืจะทำการผ่าตัดลำไส้เล็ก หัวตับอ่อน การผ่าตัดท่อลำไส้เล็กแบบเป็นช่วงๆ และการผ่าตัดส่วนของกระเพาะอาหาร เป็นการตัดเนื้อร้ายออกจากร่างกาย แต่การผ่าตัดยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เนื่องจากเนื้อร้ายสามารถเจริญเติบโตได้ ดังนัั้น ต้องมีการรักษาด้วยเคมีบำบัดควบคู่ไปด้วย
  • การรักษามะเร็งลำไส้เล็กด้วยการฉายรังสีและการทำเคมีบำบัด เป็นการทำให้เนื้อร้าย และเซลล์มะเร็งผ่อ ไม่สามารถเจริญเติบโตได้อีก

วิธีการดูแลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้เล็ก

สำหรับ การดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้เล็ก นั้น การลดการทำงานของระบบทางเดินอาหาร การใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหารเป็นสิ่งที่สำคัญ วิธีการดูแลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้เล็ก มีดังนี้

  • ผู้ป่วยต้องเลิกการบุหรี่
  • ผู้ป่วยต้องไม่ดื่มสุรา
  • ผู้ป่วยต้องไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชาและกาแฟ
  • อาหารสำหรับผู้ป่วยต้องเป็นอาหารเบาๆ ไม่รสจัด หรือเผ็ด
  • การใช้ยาที่มีผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหารต้องปรึกษาแพทย์
  • รับประทานอาหารที่มีกากใยอาหาร เช่น ผลไม้และผักสด
  • ควรให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่ครบห้าหมู่
  • รักษาความสะอาดของภาชนะที่มีส่วนในการรับประทานอาหาร และความสะอาดของสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วย

โรคมะเร็งลำไส้เล็ก เกิดเนื้องอกที่ลำไส้เล็ก ปวดท้องหลังรับประทานอาหาร ลามไปถึงหลัง ก้อนเนื้อร้าย สามารถแพร่่ไปสู่อวัยวะใกล้เคียงได้ โรคนี้เกิดจากอะไร แนวทางการรักษาทำอย่างไร สำหรับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้เล็กต้องดูแลอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove