เส้นเลือดสมองแตก ภาวะสมองขาดเลือดและออกซิเจน ทำให้สมองถูกทำลาย สูญเสียการควบคุมร่างกาย เป็นภาวะอันตราย ต้องรับการรักษาจากแพทย์อย่างใกล้ชิด คนสูบบุหรี่เสี่ยงหลอดเลือดสมองแตก เส้นเลือดสมองแตก โรคสมอง อัมพฤษ์

เส้นเลือดสมองแตก จัดเป็นโรคอันตราย ต้องนำผุ็ป่วยส่งโรงพยาบาลให้ทัน โรคนี้คนไทยเป็นเยอะและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆเลยทีเดียวพบมากในคนอายุ 50 ปีขึ้นไป โรคนี้มักเกิดจากความเสื่อมของหลอดเลือดที่สมองจากการเสื่อมตามอายุ ผู้ป่วยที่เส้นเลือดสมองแตกอาจกลายเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต กลายเป็นผุ้ป่วยติดเตียงได้ การรักษานอกจากต้องรักษาโรคทางกาย โรคทางใจเป็นสิ่งที่จะควบคู่กันไปกับคนเส้นเลือดสมองแตก

6 สัญญาณเตือนสำหรับโรคเส้นเลือดสมองแตก

  • ความเครียด ความเครียดทำให้ระบบการทำงานของร่างกายขาดความสมดุล หากมีอาการเหนื่อยโดยไม่มีสาเหตุ ควรพบแพทย์ทันที เนื่องจากนี้เป็นสัญญาณของเส้นโลหิตในสมองแตก
  • มีปัญหาของตาข้างใดข้างหนึ่งมองไม่เห็น สมองแต่ละซีกทำงานในการควบคุมการทำงานของร่างกาย เมื่อสมองได้รับการกระทบกระเทือนจากเส้นเลือดในสมองแตก จะทำให้เกิดปัญหาการมองไม่เห็น
  • อ่อนแรง โดยมีอาการแขนขาอ่อนแรงการทำงานของสมองผิดปกติทำให้แขนหรือขาด้านใดด้านหนึ่งชา ถ้ารู้สึกว่าแขนขาชานั้นอาจจะเป็นเรื่องปกติหากหายเองภายใน 2-3 นาที แต่หากไม่หายต้องพบแพทย์ด่วน
  • มีอาการเวียนหัวและพูดติดขัด เรื่องการพูดนั่นเป็นสัญญาณว่าสมองไม่สามารถจะตอบสนองต่อการพูดและเส้นประสาทในการรับผิดชอบในการพูดได้ควรปรึกษาแพทย์ทันที
  • มีความสับสนด้านความคิด เนื่องจากสมองอาจขาดออกซิเจน ทำให้ไม่สามารถจดจำได้อย่างคล่องแคล่ว ไม่สามารถจะพูดให้คนอื่นเข้าใจได้ อาจจะมีเส้นเลือดในสมองที่แตกอยู่
  • ปวดหัวอย่างรุนแรง คนที่ไม่เคยมีประวัติเป็นไมเกรนมาก่อน อาจเป็นสัญญาณเตือนว่า โรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน ควรเช็คกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที

สาเหตุของเส้นเลือดสมองแตก

ภาวะเส้นเลือดในสมองแตก หรือ ตีบตัน นั้นเป็นสาเหตุจากโรคหลอดเลือดในสมอง ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยเส้นเลือดสมองแตกเกิดจากลิ่มเลือดอุดตันระบบไหลเวียนของโลหิต หรือ ไขมันอุดตันหลอดเลือดในสมอง ทำให้หลอดเลือดตีบ และ ประสิทธิภาพในการไหลเวียนเลือดลดลง ส่งผลให้เลือดและออกซิเจนไม่สามารถเข้าไปเลี้ยงสมองได้ และ อีกร้อยละ 20 ของผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตก เกิดจาก หลอดเลือดสมองแตก หรือ ฉีกขาด เกิดจาก หลอดเลือดที่สมองเปราะบาง เมื่อมีภาวะความดันโลหิตสูงอาจทำให้เส้นเลือดสมองแตกได้ เส้นเลือดสมองหากแตกถือว่าอันตรายมาก ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดเส้นเลือดสมองแตก

สามารถสรุปปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองแตก หรือ ตีบตัน นั้น ได้ดังนี้

  • ภาวะความดันโลหิตสูง ความดันดลหิตที่สูงทำให้เกิดแรงดันที่หลอดเลือดหากหลอดเลือดเปราะบางก้สามารถแตกได้ง่าย
  • ภาวะไขมันในเลือดสูง การมีไขมันในเส้นเลือดสูงทำให้เกิดไขมันสะสมและเกาะตัวที่เส้นเลือดทำให้เกิดความดันเลือดสูงขึ้น
  • มีภาวะโรคเบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูงทำให้เกิดหลอดเลือดแข็งทั่วร่างกาย
  • การสูบบุหรี่และการใช้ยาเสพติด
  • การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก
  • มีประวัติบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นโรคเส้นเลือดในสมองแตก
  • มีความเสี่ยงที่ทำให้ลิ่มเลือดที่จะไปอุดตันหลอดเลือดสมอง
  • การขาดการออกกำลังกาย
  • การเสื่อมของหลอดเลือดตามอายุ

อาการของโรคเส้นเลือดสมองแตก

สำหรับอาการของโรคนี้สามารแบ่งอาการของโรค ได้ 2 ระยะ คือ ระยะเส้นเลือดสมองเริ่มตีบตัน และ ระยะเส้นเลือดสมองแตกไปแล้ว

  • ระยะเส้นเลือดสมองเริ่มตีบตัน ระบบไหลเวียนเลือดสู่สมองเริ่มติดขัด ทำให้สมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ทำให้มีอาการตาพร่ามัว ชาตามร่างกาย อาจมีอาการหมดสติได้
  • ระยะเส้นเลือดในสมองแตก เป็นระยะที่เกิดอาการแล้ว เป็นระยะที่มีความอันตรายมาก เนื่องจากมีเลือดออกในสมอง ต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน เป็นระยะที่เสี่ยงต่อการเป็นอัมพาตได้

ลักษณะความรุนแรงของอาการเส้นเลือดในสมองแตกนั้นแตกต่างกันออกไปตามความแข็งแรงของร่างกายแต่ละคน และความเสียหายของสมองจากการขาดเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง อาการที่เป็นสัญญาณของเส้นเลือดในสมองแตก ดังนี้

  • มีอาการชาตามตัว แขนขาอ่อนแรง ขยับตัวไม่ได้ อัมพาตครึ่งซีก
  • ใบหน้าบิดเบี้ยว ควบคุมกล้ามเนื้อบนใบหน้าไม่ได้ สูญเสียการควบคุมใบหน้า เช่น มุมปากตก น้ำลายไหล กลืนลำบาก พูดลำบาก พูดติดขัด สื่อสารไม่ได้ มึนงง
  • ทรงตัวไม่ได้ เสียสมดุลการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น เดินเซ เดินลำบาก ขยับแขนขาลำบาก
  • มีปัญหาด้านสายตา เช่น สายตาพร่ามัว มองไม่เห็น มองเห็นภาพซ้อน ตาบอดข้างเดียว
  • มีอาการเวียหัวอย่างรุนแรง คลื่นไส้อาเจียนร่วม

เมื่อมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นตามลักษณะที่กล่าวมาข้างต้นให้รีบพบแพทย์ทันที

การวินิจฉัยโรคเส้นเลือดสมองแตก

การวินิตฉัยการเกิดโรคเส้นเลือดในสมองแตกนั้น แพทย์สามารถทำการวินิจฉัยโรคได้จาก ลักษณะทางกายภาพที่พบเห็น และ ต้องทำการตรวจร่างกาย เพื่อให้ทราบความชั้ดเจนของโรค โดย

  • ตรวจความดันโลหิต
  • ตรวจเลือด
  • ตรวจเอกซเรย์หลอดเลือดสมอง (Angiogram) แพทย์จะฉีดสารย้อมสีเข้าสู่เส้นเลือด จากนั้นจึงฉายภาพเอกซเรย์ส่วนศีรษะเพื่อหาจุดที่เส้นเลือดในสมองแตกหรืออุดตัน
  • ตรวจสมองด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ใช้รังสีจากเครื่อง CT Scan ฉายไปยังบริเวณศีรษะ แล้วสร้างภาพออกมาด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยลักษณะและตำแหน่งที่เส้นเลือดในสมองแตกหรืออุดตัน
  • ตรวจสมองด้วยเครื่องจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI Scan) การตรวจคล้ายกับ CT Scan แต่เครื่องจะสร้างภาพจากสนามแม่เหล็กที่ส่งคลื่นไปรอบ ๆ ตัวผู้ป่วยในขณะตรวจ และภาพที่ออกมาจะมีรายละเอียดที่ชัดเจนกว่า CT Scan
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: EKG) ด้วยการติดขั้วไฟฟ้าบริเวณหน้าอก แพทย์จะตรวจหาความผิดปกติผ่านทางจอภาพที่แสดงจังหวะการเต้นของหัวใจ
  • ตรวจหลอดเลือดใหญ่ที่คอ (Carotid Ultrasound) เป็นการตรวจการไหลเวียนของเลือดในเส้นเลือดบริเวณลำคอที่ทำหน้าที่ส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง
  • ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram)

การรักษาโรคเส้นเลือดสมองแตก

สำหรับการรักษาโรคเส้นเลือดในสมองแตกนั้น มีแนวทางการรักษาที่แตกต่างกัน ตามระยะของโรค โดยรายละเอียดของการรักษาโรคมี ดังนี้

  • การรักษาโรคหลอดเลือดในสมองแตกในระยะที่หลอดเลือดตีบตัน รักษาด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือดเพื่อทำให้เลือดไหลเวียนได้อย่างปกติ
  • การรักษาโรคหลอดเลือดในสมองในระยะหลอดเลือดสมองแตกไปแล้ว ต้องทำการการควบคุมเลือดที่ออกในสมอง รักษาระดับความดันเลือด และต้องผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายของเนื้อสมอง

เส้นเลือดสมองถูกลิ่มเลือดอุดตันทำให้ระบบไหลเวียนเลือดสู่สมองไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อออกซิเจนในเลือดไม่เพียงพอ การรักษาจะได้ผลดีกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต้องรีบพบแพทย์ภายใน 4 ชั่วโมงนับจากมีอาการอย่างไรก็ตาม หากเป็นกรณีฉุกเฉินที่ผู้ป่วยเกิดเส้นเลือดอุดตันในสมอง เป้าหมายของการรักษา คือ ควบคุมปริมาณเลือดที่ออกด้วยการรักษาระดับความดันโลหิต ในกรณีที่เลือดออกมาก แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสมองด้วย

การป้องกันการเกิดโรคเส้นเลือดสมองแตก

เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเส้นเลือดในสมองแตกมีหลายประการ การป้องกันการเกิดโรคทำได้ง่ายกว่าการรักษาเนื่องจากหากเกิดขึ้นแล้วการจะกลับมาใช้ชีวิตอย่างปรกติทำได้ยาก แนวทางการป้องกันการเกิดโรค มีดังนี้

  • ตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ เพื่อทราบถึงระดับความดันเลือดของตนเอง
  • ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในระดับสมดุลย์
  • ตรวจวัดระดับไขมันในเส้นเลือดให้อยู่ในระดับปรกติ
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ไม่สูบบุหรี่
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม หวานและมัน

เส้นเลือดสมองแตก ภาวะสมองขาดเลือด และ ออกซิเจน จากหลอดเลือดสมอง ตีบ อุดตัน หรือ แตก สมองถูกทำลาย สูญเสียการควบคุมร่างกาย โรคอันตราย การป้องกันโรคง่ายกว่าการรักษา

อัมพาต ภาวะสมองขาดเลือด ( Ischemic Stroke ) ส่งผลต่อประสาทควบคุมร่างกาย ทำให้แขนขาอ่อนแรง เกิดจากหลอดเลือดสมองอุดตันหรือแตก เป็นภาวะฉุกเฉินทำให้เสียชีวิตได้โรคซีวีเอ โรคอัมพาต ภาวะสมองขาดเลือด โรคสมองขาดเลือด

โรคอัมพาต เกิดจากภาวะสมองขาดเลือด ส่งผลให้ระบบประสาทควาบคุมร่างกายไม่สามารทำงานได้ แขน ขา อ่อนแรง ไม่สามารถขยับได้ ผู้ป่วยที่เกิดภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว ร้อยละ 20 สามารถหายได้ภายใน 90 วัน หากสามารถหาสาเหตุของปัญหาทัน ในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ส่วนใหญ่จะไม่เสียชีวิต แต่จะอยู่ในภาวะซึมเศร้าและตรอบใจตาย

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคอัมพาต

การเกิดโรคสมองขาดเลือด ปัจจัยทั้งหมดเกิดจากปัจจัยการดำรงชิวิตที่ไม่ถูกวิธีเป็นส่วนใหญ่ ทั้งการกิน และความเครียด ปัจจัยเสี่ยงมีดังนี้

  • เกิดจากโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากแรงดันโลหิตสูง ทำให้ผนังหลอดเลือดเปราะ ทำให้หลอดเลือดสมองแตก ทำให้สมองขาดเลือด
  • เกิดจากโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะทำให้เลือดสูบฉีดมาก ทำให้แรงดันเลือดสูง เป็นโรคที่อยู่คู่กับโรคความดันโลหิตสูง
  • เกิดโรคอ้วน การมีน้ำหนักตัวมาก ทำให้เกิดการสะสมไขมันส่วนเกินในเลือดสูง เมื่อไขมันไปเกาะที่ผนังหลอดเลือดทำให้แรงดันเลือดสูงขึ้น และอาจทำให้แตกได้
  • การสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากสิ่งนี้ทำให้ผนังหลอดเลือดบาง ทำให้หลอดเลือดเปราะและแตกง่าย
  • การไม่ออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ ทำให้ระบบภายในร่างกายไม่แข็งแรง
  • การอยู่ในภาวะเครียด ไม่ผ่อนคลาย ทำให้ร่างกายเสื่อมสภาพเร็วขึ้น
  • ปัจจัยเกี่ยวกับอายุ เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายก็เสื่อมสภาพตามการใช้งาน ซึ่งพบว่าคนอายุ 45 ปีขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงสูงมากที่สุด
  • การเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อเส้นเลือด และแรงดันเลือด
  • กรรมพันธ์ พบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ คนในครอบครัวมีโอกาสเกิดโรคนี้สูงกว่าปรกติ

ในประเทศที่พัฒนาแล้ว มีอัตราความเสี่ยงของการเกิดโรคนี้มากกว่าปรกติ จากภาวะสภาพสังคมที่เครียดและการแข่งขันสูง

สำหรับการเกิดอัมพาต นั้นจะมีสัญญาณเตือนล่วงหน้า เราสามารถสังเกตุความเปลี่ยนแปรงของร่างกายได้ว่าหากมีความผิดปรกติ สามารถหาแพทย์เพื่อรักษาให้ทันเวลา โดยผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการ ชาที่แขนขา จากนั้านแขขาจะเริ่มอ่อนแรง หรือมีอาการชา หรืออ่อนแรงที่ร่างกายซีกใดซีกหนึ่ง สายตาจะมืด และมองไม่เห็นชั่วคราว มีภาพซ้อนและเบลอ เวียนหัว อาการบ้านหมุน เป็นลมบ่อยๆ และปวดหัวอย่างรุนแรง การพูดจาไม่ชัด ออกเสียงลำบาก มีอาการพูดตะกุกตะกัก พูดติดขัด ออกเสียงไม่ชัด  ความสามารถการกลืนอาหารลดลง อาการเหล่านี้หากหายภายใน 24 ชั่วโมง สามารถจะกลับสูภาวะปรกติ หากเกิน 24 ชั่วโมง ถือว่าเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ต้องใช้เวลาในการบำบัด

สาเหตุของการเกิดโรคอัมพาต

สาเหตุของการเกิดโรคอัมพาต หรือ โรคอัมพฤกษ์ เกิดจากสมองขาดเลือดอย่างกระทันหัน ซึ่งสาเหตุของสมองขาดเลือด เกิดจาก 2 สาเหตุสำคัญ คือ หลอดเลือดแดงไปเลื้ยงสมองอุดตัน และหลอดเลือดแดงไปเลี้ยงสมองแตก

  • หลอดเลือดสมองอุดตัน เกิดจากหลอดเลือดแดงสมองตีบตัน สาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดแดงตีบ คือ ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน การสูบบุหรี่ เกิดภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมอง หรือ ลิ่มเลือดจากโรคหัวใจเต้นรัว
  • หลอดเลือดสมองแตก เป็นสาเหตุที่พบมาก เกิดจากภาวะหลอดเลือดสมองโปร่งพอง จากโรคความดันโลหิตสูง

แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดหลอดเลือดไปเลี้ยงสมองมีปัญหา ไม่ได้เกิดจากปัญหาของหลอดเลือดโดยตรง แต่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน โรคความดัน และภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง ซึ่งสาเหตุที่แท้จริงคือ การใช้ชีวิตไม่ถูกวิธี คือ การพักผ่อนน้อย กินอาหารไม่มีประโยชน์ และเครียด

อาการของผู้ป่วยโรคอัมพาต

สำหรับอาการได้กล่าวไปแล้วในข้างต้น แต่เราจะแสดงรายการอาการโรคอัมพาต เพื่อให้ดูง่ายมากขึ้นมีดังนี้

  • แขน ขา ชาและอ่อนแรงไม่สามารถขยับได้ หรือ อ่อนแรงครึ่งซีก ข้างใดข้างหนึ่ง
  • ความสามารถในการพูด และฟังน้อยลง
  • มีปัญหาระบบการมองเห็น เช่น ตาพร่ามัว มองไม่ชัด เห็นภาพเพียงบางส่วน เห็นภาพได้แคบลง
  • ความสามารถในการหายใจน้อยลง ทำให้หายใจลำบาก และเหนื่อยหอบง่าย
  • ปวดหัว เวียนหัว เสียความสามารถในการทรงตัว
  • ปวดหัวอย่างรุนแรงแบบกระทันหัน
  • คลื่นไส้อาเจียน

การตรวจวินิจฉัยโรคอัมพาต

การตรวจวินิจฉัย แพทย์จะสังเกตุจากอาการ การตรวจร่างกาย เช่น ความดันโลหิต การตรวจการเต้นของหัวใจ การตรวจระบบประสาท การตรวจเลือด เพื่อดูน้ำตาลและไขมันในเลือด จากนั้นทำการตรวจสมองด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

การรักษาโรคอัมพาต

สำหรับการรักษานั้น ต้องรักษาตามอาการของสาเหตุที่ทำให้สมองขาดลเือด

  • หากเกิดจากหลอดเลือดสมองแตก ต้องเข้ารับการผ่าตัด ใส่สารบางอย่างเพื่อไปอุดหลอดเลือด
  • หากเกิดจากภาวะหลอดเลือดสมองโป่งพอง สามารถรักษาโดยการให้ยาละลายลิ่มเลือด

นอกจากนั้นแล้ว การรักษาจะทำเพื่อป้องกันการเกิดโรคอีกครั้ง เช่น การให้กินยาลดการแข็งตัวของเลือด การควบคุมการเกิดโรคที่มีผลต่อหลอดเลือด เช่น รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาโรคเบาหวาน และรักษาโรคไขมันในหิตสูง รวมถึงการทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อให้แข้งแรง และฝึกการพูด เป็นต้น

การดูแลตนเองและดูแลผู้ป่วยโรคอัมพาต

  • ให้ปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • ให้ขยันทำกายภาพบำบัด
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน ของผู้ป่วยให้ดี เพื่อคามเสี่ยงการติดเชื้อ
  • จัดสถานที่ที่มีผู้ป่วยให้เหมาะสม และเพื่อความสะดวกในการช่วยตัวเองได้
  • จัดอาหารให้ครบหมวดหมู่ และถูกสุขอนามัย

ป้องกันโรคอัมพาต

  • หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคที่หมด
  • ไม่สูบบุหรี่
  • ไม่ดื่มเครื่องดืมผสมแอลกอฮอ
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ลดของหวาน และไขมัน
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในภาวะปรกติ
  • ตรวจสุขภาพร่างกายประจำปี
  • ในผู้ป่วยให้กินยาตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด

ผลข้างเคียง ที่เกิดจากโรคอัมพาต นั้น คือ คุณภาพชีวิตที่ลดลง ความพิการ ปัญหาด้านการทำงาน ปัญหารายได้ ซึ่งทั้งหมด จะส่งผลผลต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพ เป็นอย่างมาก

โรคอัมพาต โรคอัมพฤกษ์ เกิดจากภาวะสมองขาดเลือด เป็นโรคที่มีความรุนแรงสูง ทำให้เสียชีวิตได้ และหากรอดชีวิตร่างกายก็จะไม่กลับสู่ปรกติ มักจะพิการ ช่วยตัวเองไม่ได้มาก ร่างกายอ่อนแอ ติดเชื้อง่าย รวมถึงเกิดภาวะโรคซึมเศร้า ด้วย เป็นโรคที่ต้องการกำลังใจในการใช้ชีวิตสูงมาก

หลายคนเรียกโรคนี้ว่าโรคเวรโรคกรรม เหมือนตายทั้งเป็น เป็นโรคที่ไม่ฆ่าใครตายแต่สร้างความทรมานทางจิตใจมาก ในปัจจุบันภาวะสังคมที่มีการแข่งขันสูง ความเครียดทำให้เกิดโรคนี้มากขึ้น ในวันที่ 24 พ.ค.ของทุกปี เป็นวันอัมพฤกษ์ อัมพาตโลก วันหลอดเลือดสมอง ผู้เกี่ยวข้องด้านสาะารณสุขจะออกมารณรงค์ให้ประชาชน หันมาใส่ใจดูแลสุขภาพ ร่างกายและจิตใจให้แข็งแรง เพื่อป้องกัน โรคสมองขาดเลือด เรามาทำความรู้จักกับโรคสมองขาดเลือด โรคอัมพาต ให้ละเอียดมากขึ้น ว่า ปัจจัยเสี่ยงของโรค สาเหตุของโรค อาการ การรักษา และการดูแลผู้ป่วย จะทำอย่างไร

จากสถิติของประชากรไทย ปี พ.ศ.2547 พบว่า ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของหญิงไทยอันดับหนึ่ง ร้อยละ 15 ของการเสียชิวิต การเกิดโรคหลอดเลือดในสมอง ของคนไทย มีอัตรา 250 คน ต่อ หนึ่งแสนคน คนไทยเป็นโรคหลอดเลือดในสมอง ปีละ 150,000 คน มีการเสียชีวิตทุกๆ 10 นาที จากโรคนี้

โรคอัมพาต เป็นอาการ แขน ขา หรือร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ ขยับไม่ได้ และอ่อนแรง ส่วนอัมพฤกษ์ คือ อาการ แขน ขา อ่อนแรงกว่าเดิม แต่สามารถใช้งานได้อยู่ ทั้งสองอาการเกิดจากอาการสมองขาดเลือด จึงทำให้เกิดอาการแขนขาใช้งานไม่ได้ หรืออ่อนแรง โรคนี้ทางการแพทย์ เรียก โรคซีวีเอ ย่อมาจาก cerebrovascu lar accident

อาการผิดปกติของร่างกายที่ที่เกิดจากสมองขาดเลือด นานกว่า 24 ชั่วโมง โรคอัมพาต สามารถพบได้มากในคนอายุ 45 ปีขึ้นไป ซึ่งสามารถพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคนี้มีหลายปัจจัย เราได้รวมปัจจัยของการเกิดอัมพาต มาให้ มีดังนี้

โรคอัมพาต ภาวะสมองขาดเลือด ( Ischemic Stroke ) คือ ภาวะขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง ส่งผลให้ระบบประสาทควบคุมร่างกายทำงานผิดปรกติ แขนขาอ่อนแรง เกิดจาก หลอดเลือดแดงไปเลื้ยงสมองอุดตัน หรือ หลอดเลือดแดงไปเลี้ยงสมองแตก กรณีรุนแรงรักษาไม่ทันอาจเสียชีวิตได้ สาเหตุ อาการ การรักษา การป้องกันโรค


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove