อาการเวียนศรีษะจากความผิดปรกติของหูชั้นใน และ ความผิดปรกติของระบบเลือด เลือดไหวเวียนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอาการโลกหมุน หน้ามืด เป็นลม คลื่นไส้อาเจียนโรคเวียนศีรษะ โรคหู บ้านหมุน โรคไม่ติดต่อ

โรคเวียนศีรษะ ภาษาอังกฤษ เรียก Dizziness หากท่านมีอาการ เช่น มึนหัว บ้านหมุน หนักหัว เป็นลม เป็นสัญญานว่าท่านกำลังเป็นโรคเวียนศรีษะ สาเหตุ การรักษา และการป้องกันโรคเวียนหัว อยู่ในเนื้อหา ในบทความนี้ แต่สาเหตุที่พบบ่อย โรคนี้เกิดจาก ความผิดปรกติของหูชั้นใน และความผิดปรกติของระบบเลือด

การตรวจวินิจฉัยโรคเวียนศรีษะ

แพทย์จะสังเกตุจากอาการ อยู่ 3 ส่วน ใหญ่ๆ คือ ลักษณะของอาการเวียนศรีษะ ระยะเวลาในการเวียนศรีษะ และอาการอื่นๆที่เกิดขึ้นในช่วงที่เวียนศรีษะ เป็นต้น  ซึ่งการตรวจวินิจฉัย จะทำการตรวจระบบหู ตรวจตา ตรวจการได้ยิน ตรวจหู คอ จมูก ตรวจชีพขจร วัดความดัน ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจการทำงานของหัวใจตรวจความเครียด ตรวจการทรงตัว และ ตรวจระบบประสาท เป็นต้น ซึ่งการตรวจทั้งหมดเพื่อดูความผิดปรกติของร่างกายว่าเกิดจากจุดใดที่มหให้เกิดอาการเวียนหัว

อาการของผู้ป่วยโรคเวียนศรีษะ

ทางการแพทย์แบ่งลักษณะของอาการ เป็น 4 ชนิด คือ การเวียนศรีษะแบบโลกหมุน การเวียนศรีษะแบบหน้ามืดเป็นลม การเวียนศรีษะแบบมึนๆหนักศรีษะ และการเวียนศรีษะแบบสูญเสียการทรงตัว รายละเอียด ดังนี้

  1. การเวียนศีรษะ แบบโลกหมุน ภาษาอังกฤษ เรียก vertigo ลักษณะ คือ ผู้ป่วยจะเห็นภาพหมุน หมุนมากจนต้องหลับตา หากเปิดตาก็จะทำให้เวียนหัว คลื่นไส้อาเจียน ได้ สาเหตุของอาการโลกหมุน เกิดจากความผิดปรกติของ หูชั้นใน ซึ่งโรคเกี่ยวกับหูชั้นในเช่น Benign paroxysmal positional vertigo (BPPV) หูชั้นในอักเสบจากเชื้อไวรัส น้ำเลี้ยงในหูชั้นในเพิ่มขึ้น เนื้องอกกดเส้นประสาท  และการบริโภคยาบางชนิด เช่น Aspirin, streptomycin, gentamicin, caffeine, alcohol และยาเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และยาเกี่ยวกับโรคหัวใจ เป็นต้น
  2. การเวียนศรีษะ แบบหน้ามืดเป็นลม ภาษาอังกฤษ เรียก Fainting อาการจะเกิดขึ้นตอน นั้งหรือนอนอยู่แล้วลุกขึ้นกระทันหัน แล้วเกิดอาการ หน้ามืด ใจสั่น เหงื่อออก หน้าซีด ต้องนั้งหรือนอนสักพักก็จะค่อยๆดีขึ้น ในผู้ป่วยบางรายถึงกับคลื่นไส้อาเจียน สาเหตุของอาการแบบนี้ เกิดจาก ภาวะความดันโลหิตต่ำ และอาการเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
  3. การเวียนศรีษะ แบบหนักศีรษะมึนๆ ลักษณะอาการแบบนี้เป็นอาการที่พบบ่อยสุดในอาการของผู้ป่วยโรคปวดศรีษะ ซึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคนี้ คือ ความผิดปรกติของหูชั้นใน และโรคเครียด
  4. การเวียนศีรษะ แบบเสียการทรงตัว ผู้ป่วยจะไม่สามารถทรงตัวได้ ซึ่งสาเหตุของอาการลักษณะนี้ เกิดจาก ความผิดปรกติของหูชั้นใน โรคระบบประสาท โรคข้อเสื่อม โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง และการใช้ยาบางชนิด เช่น ยานอนหลับและยากันการชัก เป็นต้น

การป้องกันและการดูแลตนเองเบื้องต้น

สามารถทำได้โดย การนอนพัก อย่าเปลี่ยนท่าอย่างกระทันหัน หันศีรษะช้าๆ หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองลดลง หลีกเลี่ยงการขับยานพาหนะ การขึ้นลงบันได หลีกเลี่ยงการอ่านหนังสือขณะอยู่ในยานพาหนะ เป็นต้น

อาการเวียนหัวสาเหตุหนึ่งเกิดจากการที่เลือดไหวเวียนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ซึ่งอาการเลือดเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ อาจเกิดจากการตีบตันในเส้นเลือด ซึ่งไขมันที่เกาะตัวในเส้นเลือดเป็นสาเหตุของการทำให้เส้นเลือดตีบตัน ดังนั้น สมุนไพรที่ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเวียนหัวได้ จึงขอแนะนำสมุนไพรช่วยลดไขมันในเส้นเลือด มีดังนี้

คาเคา โกโก้ สรรพคุณของโกโก้ สมุนไพรคาเคา คะน้าเม็กซิกัน ผักไชยา สมุนไพร ต้นผงชูรสผักไชยา
เก๋ากี้ สมุนไพร โกจิเบอร์รี่ สรรพคุณของโกจิเบอร์รี่เก๋ากี้ โกจิเบอร์รี่ ลูกสมอไทย สมอไทย ราชาสมุนไพร สมุนไพรไทยสมอไทย
ถั่วเขียว ถั่วงอก ธัญพืช สมุนไพรถั่วเขียว หญ้าปักกิ่ง สมุนไพร หญ้าเทวดา สรรพคุณหญ้าเทวดาหญ้าปักกิ่ง

โรคเวียนศรีษะ ( Dizziness ) คือ ภาวะความผิดปรกติของหูชั้นใน และ ความผิดปรกติของระบบเลือด อาการเวียนหัวสาเหตุหนึ่งเกิดจากการที่เลือดไหวเวียนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอาการ โลกหมุน หน้ามืด เป็นลม คลื่นไส้ อาเจียน โรคเกี่ยวกับระบบประสาท หูคอจมูก การรักษาโรค และ การป้องกันการเกิดโรค

หัวใจวาย ( Heart Failure ) กล้ามเนื้อหัวใจไม่ทำงานตามปรกติ เกิดกับผู้สูงวัยและคนเครียด อาการเหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หัวใจเต้นผิดปกติ หน้ามืด ใจสั่นหัวใจวาย ภาวะหัวใจวาย โรคหัวใจ เจ็บหน้าอก

โรคหัวใจวาย ภาษาอังกฤษ เรียก Heart Failure ซึ่งเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ภาวะหัวใจล้มเหลว หรือ ภาวะหัวใจวาย โรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ ไม่ใช่โรคติดเชื้อ การเกิดหัวใจล้มเหลว เกิดจากภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ตามปรกติ ซึ่งผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยง จะมีอาการที่เป็นสัญญาณ เช่น เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก หายใจลำบาก

โรคหัวใจล้มเหลว สามารถเกิดขึ้นได้กับ คนทุกวัย ทุกชาติ ทุกศาสนา และทุกเพศ ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคนี้จะแตกต่างกันไป จากสถิติพบว่าร้อยละ 3 ของประชากรในประเทศกำลังพัฒนาเป็นโรคหัวใจ และร้อยละ 30 ของคนอายุ 70 ปีขึ้นไป เป็นโรคนี้ แต่สาเหตุของการเกิดจะแตกต่างกันไป โดยรวมแล้ว ยิ่งอายุมากขึ้นจะพบได้มากขึ้น โดยในภาพรวมในประเทศที่กำลังพัฒนา พบความชุกของภาวะหัวใจล้มเหลวได้ประมาณ 2 – 3% ของประชากรทั้งหมด แต่หากอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป จะพบความชุกของภาวะนี้ได้ 20 – 30%

สาเหตุของการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว 

อาจเป็นสาเหตุจากการ เป็นผลข้างเคียงของโรคอื่น เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ โรคลิ้นหัวใจรั่ว โรคลิ้นหัวใจตีบ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ นอกจากโรคต่างๆ เป็นสาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลวแล้ว ความเครียด การพักผ่อนน้อย การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ ก็เป็นสาเหตุของโรคหัวใจวายได้

  • โรคหัวใจขาดเลือด (โรคหลอดเลือดหัวใจ) เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ คือ เป็นโรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ เป็นต้น
  • โรคของกล้ามเนื้อหัวใจที่เรียกว่า Dilated cardiomyopathy
  • โรคลิ้นหัวใจต่างๆ เช่น โรคลิ้นหัวใจรั่ว โรคลิ้นหัวใจตีบ
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • สาเหตุอื่นๆที่พบได้ค่อนข้างน้อย เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ การได้รับยาหรือสารบางประ เภทเกินขนาด เช่น โคเคน แอลกอฮอล์ การได้รับยาเคมีบำบัดบางชนิดที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง โรคที่มีโปรตีนชื่อ Amyloid เข้าไปสะสมที่กล้ามเนื้อหัวใจ (Amyloidosis) เป็นต้น

อาการของโรคหัวใจวาย

เราสามารถแยกเป็นข้อๆ ได้ ดังนี้

  1. มีอาการเหนื่อยและหายใจลำบาก ( Dyspnea )
  2. นอนราบไม่ได้ ( Orthopnea )
  3. เหนื่อยฉับพลันขณะหลับ ( Paroxysmal nocturnal dyspnea )
  4. มีอาการอ่อนเพลีย อ่อนแรง
  5. เกิดน้ำคั่งในอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ
  6. หัวใจเต้นผิดปกติ
  7. หน้ามืด
  8. ใจสั่น
  9. ปากเขียว
  10. เล็บมือเขียว

ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจวาย

สำหรับกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจ ประกอบด้วย คนที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป และ คนที่เป็นที่มีโอกาสเสี่ยง เช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันในหลอดเลือดสูง ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ คนอ้วน และ คนที่ไม่ออกกำลังกาย

การรักษาภาวะหัวใจวาย

สำหรับแนวทางการรักษา โรคหัวใจต้องทำการลดภาระการทำงานของหัวใจลง สามารถทำได้โดย

  1. การป้องกันการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  2. การควบคุมและกำจัดน้ำส่วนเกินหรือน้ำคั่งในอวัยวะต่างๆ โดย ลดการบริโภคเกลือหรือของเค็ม เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับเกลือมากเกินกว่าความสามารถในการกำจัดของเสียของไต
  3. การลดภาระการทำงานของหัวใจ โดยการไม่ออกแรงมาก หรือ ไม่ออกกำลังกายหนักเกินไป หากรู้ตัวว่าเหนื่อยต้องพัก
  4. การเพิ่มความสามารถในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ

การป้องกันภาวะหัวใจวาย

สำหรับการป้องกันการเกิดภาวะหัวใจวาย คือ การป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว โดยเฉพาะการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ( โรคหลอดเลือดหัวใจ ) เช่น การไม่สูบบุหรี่ การลดระดับไขมันในเลือดหากมีไขมันในเลือดสูง และการป้องกันการเป็นโรคเบาหวาน เป็นต้น

หัวใจวาย ( Heart Failure ) ภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจไม่ทำงานตามปรกติ พบมากในผู้สูงอายุ คนที่อยู่ในภาวะเครียด อาการของโรคหัวใจวาย เช่น เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก หายใจลำบาก นอนราบไม่ได้ อ่อนเพลีย เกิดน้ำคั่งในอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ หัวใจเต้นผิดปกติ หน้ามืด ใจสั่น ปากเขียว เล็บมือเขียว การรักษาโรคหัวใจ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove