ต้นเตย ลักษณะเป็นอย่างไร พืชให้กลิ่นหอม ใบเตยนิยมนำมาประกอบอาหาร สรรพคุณของใบเตย ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ รักษาเบาหวาน กินใบเตยสดๆความหอมของใบเตยทำให้อ้วกได้

ใบเตย สมุนไพร ใบเตย สรรพคุณของเตย

ต้นเตย หรือ เตยหอม ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Pandan leaves เตยมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Pandanus amaryllifolius Roxb. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของต้นเตย อาทิ เช่น ใบส้มม่า ส้มตะเลงเครง ส้มปู ส้มพอดี ผักเก็งเค็ง เป็นต้น จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับตามลำต้น เราสามารถนำใบเตยมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งใบสดและใบแห้ง เป็นพืชที่อยู่คู่สังคมไทยมาอย่างยาวนาน

ต้นเตยในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทยใบเตยหอม เป็นวัตถุดิบหนึ่งในอาหารไทย ใบเตยเป็นเครื่องแต่งกลิ่นและสีของอาหาร จึงจัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ทุกท้องถิ่นของประเทศไทยจะมีใบเตยขายตามตลาด ปัจจุบันการส่งออกใบเตย มีขายในรูปใบแช่แข็ง ซึ่งส่งออกไปหลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังกลาเทศ เวียดนาม พม่า จีน ศรีลังกา ตลาดใบเตยหอมอยู่ทั่วดลกที่มีคนไทยอาศัยอยู่

ชนิดของเตย

ปัจจุบันต้นเตยในประเทศไทย สามารถพบเห็นต้นเตยได้ 2 ชนิด คือ เตยหนาม และ เตยไม่มีหนาม ซึ่งรายละเอียดของเตยแต่ละชนิด มีดังนี้

  • เตยหนาม หรือ ต้นลำเจียก หรือ เตยทะเลลำ ไม่นิยมนำใบมาประกอบอาหาร และนิยมนำมาใช้ทำเครื่องจักสาน เป็นต้นเตยที่ออกดอก และ ดอกมีกลิ่นหอม
  • เตยไม่มีหนาม หรือ เตย หรือ เตยหอม นิยมนำใบมาแต่งกลิ่นอาหารและให้สีเขียวผสมอาหาร ลักษณะของเตยไม่มีหนาม คือลำต้นเล็ก ไม่มีดอก

ลักษณะของต้นเตย

ต้นเตย เป็นพืชที่เป็นพุ่มขนาดเล็ก ลักษณะเป็นกอ สามารถขยายพันธ์โดยการแยกกอ และ การแตกหน่อ ใบเตยนิยมนำมาทำสีผสมอาหาร ให้สีเขียว ลักษณะของต้นเตย มีดังนี้

  • ลำต้นเตย ความสูงของลำต้นประมาณ 60 – 100 เซ็นติเมตร ลักษณะลำต้นกลม เป็นข้อๆ ลำต้นโผล่ออกจากดิน เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ลำต้นแตกรากแขนงออกเป็นรากค้ำจุน
  • ใบเตย ลักษณะเรียวยาว ปลายใบแหลม ใบผิวเรียบปลายใบแหลม เป็นสีเขียว ใบแตกออกจากด้านข้างรอบลำต้น เรียงสลับวนเป็นเกลียว ใบมีกลิ่นหอม

คุณค่าทางอาหารของใบเตย

สำหรับการรับประทานใบเตย นั้นนิยมนำมาคั้นน้ำเพื่อเพิ่มความหอมและสีสันของอาหาร นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบเตยขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 35 กิโลแคลอรี่ โดยมีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย น้ำ 85.3 กรัม โปรตีน 1.9 กรัม ไขมัน 0.8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.9 กรัม กากใยอาหาร 5.2 กรัม แคลเซียม 124 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 2,987 ไมโครกรัม วิตามินเอ 498 RE ไทอามีน 0.20 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 1.2 มิลลิกรัม ไนอาซีน 3 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 100 กรัม

น้ำมันหอมระเหยจากใบเตย ประกอบไปด้วยสารสำคัญหลายชนิด ประกอบด้วย เบนซิลแอซีเทต ( benzyl acetate ) แอลคาลอยด์ ( alkaloid ) ลินาลิลแอซีเทต ( linalyl acetate ) ลินาโลออล ( linalool ) และ เจอรานิออล ( geraniol ) ซึ่งสารจากน้ำมันหอมระเหยที่ให้กลิ่นหอม คือ คูมาริน ( coumarin ) และ เอทิลวานิลลิน ( ethyl vanillin )

สรรพคุณของเตย

การใช้ประโยชน์จากเตย ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค เราสามารถเตยมาสมุนไพร ได้ ตั้งแต่ ราก ลำต้น น้ำมันหอมระเหย และ ใบ ซึ่ง สรรพคุณของเตย มีรายละเอียดดังนี้

  • รากเตย สรรพคุณใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ลำต้นเตย สรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจ รักษาโรคเบาหวาน ทำให้คอชุ่มชื่น แก้กระหายน้ำ ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่วในไต รักษาหนองใน แก้กล้ามเนื้ออ่อนเพลีย
  • ใบเตย สรรพคุณช่วยลดไข้ บำรุงร่างกาย ช่วยให้ร่างกายสดชื่น ช่วยเจริญอาหาร แก้ท้องอืด ลดอาการอาหารไม่ย่อย แก้ร้อนใน ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงกำลัง แก้โรคผิวหนัง ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ช่วยกระตุ้นให้หัวใจเต้นปกติ ช่วยบำรุงหัวใจ ลดการกระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอ นิยมนำมาน้ำผสมกับขนมไทย ให้เกลิ่นหอมและมีสีเขียว
  • น้ำมันหอมระเหยจากใบเตย สรรพคุณช่วยแก้อาการหน้าท้องเกร็ง แก้ปวดตามข้อและกระดูก ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดอาการดปวดหัว แก้โรคลมชัก ลดอาการเจ็บคอ ลดอาการอักเสบในลำคอ

โทษของใบเตย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากใบเตย ความหอมของใบเตยมาจากน้ำมันหอมระเหยในใบเตย การบริโภคเตยปลอดภัย มีข้อมูลทางการแพทย์น้อยมากว่าการบริโภคเตยมีอันตราย ซึ่งหากนำมาต้มจะให้กลิ่นและรสชาติที่รู้สึกสดชื่น แต่ การรับประทานใบแบบสดๆ อาจทำให้อาเจียนได้ ต้องนำมาต้มหรือคั้นน้ำออกมา

ต้นเตย ลักษณะเป็นอย่างไร พืชให้กลิ่นหอม ใบเตยนิยมนำมาประกอบอาหาร สรรพคุณของใบเตย เช่น ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ รักษาเบาหวาน กินใบเตยสดๆความหอมของใบเตยทำให้อ้วกได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.   Take care of yourself first with good information. The content on this website is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick or feel unwell You should consult a doctor. to receive proper treatment For more information, please see our Terms and Conditions of Use.

ใบเตย Pandan leaves สมุนไพร กลิ่นหอม ต้นเตยเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ รักษาเบาหวาน ใบเตยนิยมนำทำอาหารให้กลิ่นหอม และ ให้สีเขียวจากธรรมชาติ

เตย สมุนไพร ใบเตย สรรพคุณของเตย

ต้นเตย หรือที่เรียกกันว่า เตยหอม มีชื่อภาษาอังกฤษ ว่า Pandan leaves ชื่อวิทยาศาสตร์ของเตย คือ  Pandanus amaryllifolius Roxb. ชื่อเรียกอื่นๆ ของเตยนั้น เช่น ใบส้มม่า ส้มตะเลงเครง ส้มปู ส้มพอดี ผักเก็งเค็ง ต้นลำเจียก เตยทะเลลำ เป็นต้น

เตยในสังคมไทย

พืชที่อยู่คู่ครัวไทย หลีกหนีไม่พ้น หนึ่งในในั้น คือ ใบเตยหอม เนื่องจากอาหารไทยนิยมใช้ใบเตยมาประกอบอาหาร โดยการนำมาแต่งกลิ่นและสีของอาหาร ใบเตยจะให้สีเขียวแบบธรรมชาติ การปลูกใบเตยจึงมีอยู่ทั่วไปในทุกบ้านของสังคมไทย ปัจจุบัน เตยเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย มีการส่งออกใบเตยรูปแบบใบแช่แข็งในหลายประเทศทั่วโลกที่มีชุมชนชาวไทยอาศัยอยู่

ชนิดของเตย

สำหรับต้นเตยนั้น มี 2 ชนิด คือ เตยหนาม และ เตยไม่มีหนาม โดยรายละเอียดดังนี้

  • เตยหนาม เรียกว่า ต้นลำเจียก เตยทะเลลำ ซึ่ง ต้นเตยจะออกดอก และดอกมีกลิ่นหอม เตยหนามนั้นไม่นิยมนำใบมาประกอบอาหาร และนิยมนำมาใช้ทำเครื่องจักสาน
  • เตยไม่มีหนาม เรียกว่า เตย หรือ เตยหอม ซึ่งลักษณะของลำต้นจะเล็ก ไม่มีดอก นิยมนำมาใช้ประกอบอาหาร หรือ ทำขนมหวาน

ลักษณะของต้นเตย

เตย เป็นไม้ยืนต้น มีพุ่มเล็ก ลักษณะเป็นกอ ลำต้นของเตยอยู่ใต้ดิน ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว ใบเป็นทางยาว สีเขียวเข้ม มัน ขอบของใบเรียบมีกลิ่นหอม ซึ่งใบของเตย เราสามารถนำมาทำสีผสมอาหาร ให้สีเขียวได้

คุณค่าทางอาหารของเตย

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของใบเตยหอม ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 35 กิโลแคลลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย เบต้าแคโรทีน 3 ไมโครกรัม วิตามินซี 8 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1.2 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 124 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรต 4.6 กรัมและโปรตีน 1.9 กรัม

ใบเตย นั้นจะมีน้ำมันหอมระเหย และสารให้สีเขียว ซึ่งในน้ำมันหอมระเหย นั้นประกอบไปด้วยสารหลายชนิด เช่น เบนซิลแอซีเทต (benzyl acetate) และแอลคาลอยด์ (alkaloid) (Fatihanim et.al.,2008) ลินาลิลแอซีเทต (linalyl acetate ) ลินาโลออล (linalool) และเจอรานิออล (geraniol) และสารที่ทำให้ มีกลิ่นหอม คือคูมาริน (coumarin) และเอทิลวานิลลิน (ethyl vanillin)

สรรพคุณของเตย

เตย เรานำสามารถนำมาทำเป็นสมุนไพร เพื่อประโยชน์การบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ได้ทั้งราก และ ใบ ซึ่งรายละเอียดดังนี้

  • ใบเตย มีสรรพคุณ บำรุงหัวใจ และช่วยลดการกระหายน้ำ มีกลิ่นหอม เมื่อนำไปต้มน้ำ ดื่มจะรู้สึกชุ่มคอ และให้ความสด นิยมนำมาน้ำผสมกับขนมไทย ใหเกลิ่นหอมและมีสีเขียว
  • รากเตย มีสรรพคุณ ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ลดระดับน้ำตาลในเลือด

โทษของเตย

การบริโภคเตยให้ปลอดภัยสูง ไม่มีข้อมูลทางการแพทย์รายงานว่าการบริโภคใบเตยมีอันตราย แต่พืชทุกชนิดจำเป็นต้องใช้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง การกินใบสดๆ นำมาเคี้ยวรับประทาน กลิ่นที่หอมของใบเตย อาจทำให้เกิดอาหารอาเจียนได้ โดยการใช้ประโยชน์จากใบเตย ต้องนำไปต้มเพื่อให้ได้กลิ่นหอม หรือ การนำเอาใบเตยมาบดให้ละเอียด และ คั้นเอาน้ำสีเขียวจากใบเตยมาใช้ประโยชน์ในการรับประทาน

ใบเตย ( Pandan leaves ) สมุนไพร กลิ่นหอม สีเขียว ลักษณะของต้นเตย เป็นอย่างไร สรรพคุณของใบเตย ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ รักษาเบาหวาน ใบเตย นิยมนำมาประกอบ อาหาร ให้กลิ่นหอม และ สีเขียว

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.   Take care of yourself first with good information. The content on this website is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick or feel unwell You should consult a doctor. to receive proper treatment For more information, please see our Terms and Conditions of Use.


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove