อัญชัน นิยมใช้ประโยชน์หลาหลาย สมุนไพร สีผสมอาหาร ต้นอัญชันเป็นอย่างไร สรรพคุณของอัญชัน บำรุงผม บำรุงความงาม บำรุงสายตา ทำให้ผมดกดำ โทษของอัญชันมีอะไรบ้างอัญชัน สมุนไพร สรรพคุณของอัญชัน

ต้นอัญชัน ภาษาอังกฤษ เรียก Butterfly pea ชื่อวิทยาศาสตร์ของอัญชัน คือ Clitore ternatea Linn สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของอัญชัน เช่น แดงชัน ( เชียงใหม่ ) เอื้องชัน ( ภาคเหนือ ) เป็นต้น ต้นอัญชัน สมุนไพรประเภทไม้เลื้อย มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชีย เขตร้อน และมีการแพร่พันธ์ไปในแอฟริกา ออสเตรเลีย และอเมริกา จัดเป็นพืชท้องถิ่นที่อยู่คู่กับสังคมไทย มีการนำอัญชันมาใช้ประโยชน์หลากหลาย ทั้งการรักษาโรคและบำรุงร่างกาย รวมถึงนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร

ดอกอัญชันมีสารที่ชื่อว่า แอนโทไซยานิน ( Anthocyanin ) ซึ่งเป็นสารที่ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะรากผม ช่วยทำให้ผมดกดำ เงางาม ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณดวงตา ทำให้บำรุงสายตาไปในตัว ลดอาการเหน็บชา นอกจากนั้น สรรพคุณของอัญชัน เช่น ขับปัสสาวะ บำรุงผม ยาระบาย แก้อาการคลื้นไส้ อาเจียน บำรุงความงาม นำมาทำเครื่องสำอางค์ ทำสีผสมอาหารให้สีม่วง

อัญชันในวรรณคดีสมัยก่อนหญิงสาวมักนำอัญชันมาเขียนคิ้วให้ดำขลับ อันชัญนิยมนำไปทำอาหาร โดยปกติจะใช้สีจากการต้มและคั้นน้ำของดอกเพื่อมาผสมกับแป้งต่าง ๆ ทำเป็น ขนมชั้น ทับทิมกรอบ บัวลอย เป็นต้น นอกจากนั้น ดอกอัญชัน สามารถนำมาชุบแป้งทอด พื่อตกแต่งจาน หรือ ทำไข่เจียวอัญชัน ก็ได้

อัญชันที่พบอยู่ทั่วไปมี 2 ชนิด คือ อัญชันดอกขาว กับ อัญชันดอกน้ำเงิน และบางครั้งอาจพบอัญชัญชนิดดอกสีม่วง ซึ่งเกิดจากการผสมระหว่างสีขาวกับสีน้ำเงิน ดอกอัญชันนำมาคั้นทำสีผสมอาหาร นิยมนำมาผสมขนมไทย เช่น ขนมช่อม่วง ขนมเรไร ขนมขี้หนู ขนมน้ำดอกไม้ น้ำดอกอัญชัน

ลักษณะของต้นอัญชัน

อัญชัน เป็นพืชไม้เลื้อย ขนาดไม่ใหญ่ สามารถปลูกตามรั้วบ้าน หรือ ปลูกเป็นซุ้มประตูให้ความสวยงาม สามารถขยายพันธ์ุโดยการเพาะเมล็ดพันธ์ สามารถปลูกได้ในทุกสภาพดิน โตง่าย ลักษณะของต้นอัญชัน มีดังนี้

  • ลำต้นอัญชัน ลักษณะเป็นไม้เนื้ออ่อน เป็นไม้เลื้อย อายุสั้น ใช้ยอดเลื้อยพันตามหลักหรือเสา ลำต้นมีขนปกคลุม ลำต้นอ่อนสีเขียว หากลำต้นแก่จะเป็นสีน้ำตาล
  • ใบอัญชัน ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้ามยาว 6-12 เซนติเมตร มีใบย่อยรูปไข่ 5-7ใบ กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนหนาปกคลุม
  • ดอกอัญชัน ดอกสีขาว ฟ้า และม่วง ดอกออกเดี่ยว ๆ รูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ออกเป็นคู่ตามซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่ยาว 2.5-3.5 เซนติเมตรกลีบคลุมรูปกลม ปลายเว้าเป็นแอ่ง ตรงกลางมีสีเหลือง มีทั้งดอกซ้อนและดอกลา ดอกชั้นเดียวกลีบขั้นนอกมีขนาดใหญ่กลางกลีบสีเหลือง ส่วนกลีบชั้นในขนาดเล็กแต่ดอกซ้อนกลีบดอกมีขนาดเท่ากัน ซ้อนเวียนเป็นเกลียว ออกดอกเกือบตลอดปี
  • ผลอัญชัน ผลแห้งแตก เป็นฝักแบน กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร เมล็ดรูปไต สีดำ มี 5-10 เมล็ด

สารสำคัญในอัญชัน

สารเคมีจากต้นอัญชัน พบว่ามีสารเคมีสำคัญต่างๆ ประกอบด้วย ดังนี้

  • สารอดีโนซีน ( adenosine ) ช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจ
  • สารแอสตรากาลิน ( astragalin ) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดการแข็งตัวของหลอดเลือดแดง
  • สารเคอร์เซติน (quercetin)  ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • สารแอฟเซลิน ( afzelin )
  • สารอปาราจิติน ( aparajitin )
  • กรดอราไชดิก ( arachidic acid )
  • กรดชินนามิกไฮดรอกซี ( cinnamic acid )
  • สารซิโตสเตอรอล

สรรพคุณของอัญชัน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากอัญชัญ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถให้ประโยชน์จาก ใบ ราก เมล็ด และ ดอก ซึ่งสรรพคุณของอัญชัญ มีดังนี้

  • ดอกอัญชัน สรรพคุณช่วยให้ผมดกดำ ผมนุ่มสวย บำรุงเลือด บำรุงสมอง มีสารตานอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงสายตา ขับสารพิษในร่างกาย ลดน้ำตาลในเลือด
  • เมล็ดของอัญชัญ มีสรรพคุณเป็นยาระบาย แก้อาการคลื้นไส้ อาเจียน
  • รากของอัญชัญ มีรสขม นำมาใช้เป็นยาขับปัสสาวะ และทำยาระบาย แก้อาการปวดฟัน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็นให้ดียิ่งขึ้น
  • ใบของอัญชัน ช่วยขับปัสสาวะ  ช่วยบำรุงสายตา ขับของเสียออกจากร่างกาย

โทษของอัญชัน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากอัญชันในการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค มีข้อควรระวังต่างๆ ดังนี้

  • ดอกอัญชัน หากบริโภคมากเกินไปจะทำให้ไตทำงานหนักขึ้น เนื่องจากไตต้องทำการขับสารสีของอัญชันออก
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจาง ไม่ควรจะรับประทานอัญชัน เพราะ ดอกอัญชันมีฤทธิ์ละลายลิ่มเลือด จะเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโลหิตจาง
  • ไม่ควรดื่มน้ำอัญชันในขณะอุณหภูมิร้อนจัด เพราะ อาจจะทำให้เยื่อบุผิวหลอดอาหารเสียสภาพภูมิคุ้มกันได้ ทำให้ดูดซับสารก่อมะเร็งได้ง่าย
  • ดอกอัญชันมีฤทธิ์ในการละลายลิ่มเลือด สำหรับผู้มีเลือดจางห้ามรับประทานดอกอัญชันเด็ดขาด หรืออาหารเครื่องดื่มที่ย้อมสีด้วยอัญชันก็ไม่ควรรับประทานบ่อย ๆ
  • ไม่ควรดื่มน้ำสมุนไพรใด ๆ ชนิดเดียวติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งอาจจะเป็นผลเสียต่อร่างกายมากกว่าผลดี

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

ต้นเตย ลักษณะเป็นอย่างไร พืชให้กลิ่นหอม ใบเตยนิยมนำมาประกอบอาหาร สรรพคุณของใบเตย ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ รักษาเบาหวาน กินใบเตยสดๆความหอมของใบเตยทำให้อ้วกได้

ใบเตย สมุนไพร ใบเตย สรรพคุณของเตย

ต้นเตย หรือ เตยหอม ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Pandan leaves เตยมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Pandanus amaryllifolius Roxb. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของต้นเตย อาทิ เช่น ใบส้มม่า ส้มตะเลงเครง ส้มปู ส้มพอดี ผักเก็งเค็ง เป็นต้น จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับตามลำต้น เราสามารถนำใบเตยมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งใบสดและใบแห้ง เป็นพืชที่อยู่คู่สังคมไทยมาอย่างยาวนาน

ต้นเตยในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทยใบเตยหอม เป็นวัตถุดิบหนึ่งในอาหารไทย ใบเตยเป็นเครื่องแต่งกลิ่นและสีของอาหาร จึงจัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ทุกท้องถิ่นของประเทศไทยจะมีใบเตยขายตามตลาด ปัจจุบันการส่งออกใบเตย มีขายในรูปใบแช่แข็ง ซึ่งส่งออกไปหลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังกลาเทศ เวียดนาม พม่า จีน ศรีลังกา ตลาดใบเตยหอมอยู่ทั่วดลกที่มีคนไทยอาศัยอยู่

ชนิดของเตย

ปัจจุบันต้นเตยในประเทศไทย สามารถพบเห็นต้นเตยได้ 2 ชนิด คือ เตยหนาม และ เตยไม่มีหนาม ซึ่งรายละเอียดของเตยแต่ละชนิด มีดังนี้

  • เตยหนาม หรือ ต้นลำเจียก หรือ เตยทะเลลำ ไม่นิยมนำใบมาประกอบอาหาร และนิยมนำมาใช้ทำเครื่องจักสาน เป็นต้นเตยที่ออกดอก และ ดอกมีกลิ่นหอม
  • เตยไม่มีหนาม หรือ เตย หรือ เตยหอม นิยมนำใบมาแต่งกลิ่นอาหารและให้สีเขียวผสมอาหาร ลักษณะของเตยไม่มีหนาม คือลำต้นเล็ก ไม่มีดอก

ลักษณะของต้นเตย

ต้นเตย เป็นพืชที่เป็นพุ่มขนาดเล็ก ลักษณะเป็นกอ สามารถขยายพันธ์โดยการแยกกอ และ การแตกหน่อ ใบเตยนิยมนำมาทำสีผสมอาหาร ให้สีเขียว ลักษณะของต้นเตย มีดังนี้

  • ลำต้นเตย ความสูงของลำต้นประมาณ 60 – 100 เซ็นติเมตร ลักษณะลำต้นกลม เป็นข้อๆ ลำต้นโผล่ออกจากดิน เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ลำต้นแตกรากแขนงออกเป็นรากค้ำจุน
  • ใบเตย ลักษณะเรียวยาว ปลายใบแหลม ใบผิวเรียบปลายใบแหลม เป็นสีเขียว ใบแตกออกจากด้านข้างรอบลำต้น เรียงสลับวนเป็นเกลียว ใบมีกลิ่นหอม

คุณค่าทางอาหารของใบเตย

สำหรับการรับประทานใบเตย นั้นนิยมนำมาคั้นน้ำเพื่อเพิ่มความหอมและสีสันของอาหาร นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบเตยขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 35 กิโลแคลอรี่ โดยมีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย น้ำ 85.3 กรัม โปรตีน 1.9 กรัม ไขมัน 0.8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.9 กรัม กากใยอาหาร 5.2 กรัม แคลเซียม 124 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 2,987 ไมโครกรัม วิตามินเอ 498 RE ไทอามีน 0.20 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 1.2 มิลลิกรัม ไนอาซีน 3 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 100 กรัม

น้ำมันหอมระเหยจากใบเตย ประกอบไปด้วยสารสำคัญหลายชนิด ประกอบด้วย เบนซิลแอซีเทต ( benzyl acetate ) แอลคาลอยด์ ( alkaloid ) ลินาลิลแอซีเทต ( linalyl acetate ) ลินาโลออล ( linalool ) และ เจอรานิออล ( geraniol ) ซึ่งสารจากน้ำมันหอมระเหยที่ให้กลิ่นหอม คือ คูมาริน ( coumarin ) และ เอทิลวานิลลิน ( ethyl vanillin )

สรรพคุณของเตย

การใช้ประโยชน์จากเตย ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค เราสามารถเตยมาสมุนไพร ได้ ตั้งแต่ ราก ลำต้น น้ำมันหอมระเหย และ ใบ ซึ่ง สรรพคุณของเตย มีรายละเอียดดังนี้

  • รากเตย สรรพคุณใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ลำต้นเตย สรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจ รักษาโรคเบาหวาน ทำให้คอชุ่มชื่น แก้กระหายน้ำ ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่วในไต รักษาหนองใน แก้กล้ามเนื้ออ่อนเพลีย
  • ใบเตย สรรพคุณช่วยลดไข้ บำรุงร่างกาย ช่วยให้ร่างกายสดชื่น ช่วยเจริญอาหาร แก้ท้องอืด ลดอาการอาหารไม่ย่อย แก้ร้อนใน ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงกำลัง แก้โรคผิวหนัง ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ช่วยกระตุ้นให้หัวใจเต้นปกติ ช่วยบำรุงหัวใจ ลดการกระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอ นิยมนำมาน้ำผสมกับขนมไทย ให้เกลิ่นหอมและมีสีเขียว
  • น้ำมันหอมระเหยจากใบเตย สรรพคุณช่วยแก้อาการหน้าท้องเกร็ง แก้ปวดตามข้อและกระดูก ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดอาการดปวดหัว แก้โรคลมชัก ลดอาการเจ็บคอ ลดอาการอักเสบในลำคอ

โทษของใบเตย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากใบเตย ความหอมของใบเตยมาจากน้ำมันหอมระเหยในใบเตย การบริโภคเตยปลอดภัย มีข้อมูลทางการแพทย์น้อยมากว่าการบริโภคเตยมีอันตราย ซึ่งหากนำมาต้มจะให้กลิ่นและรสชาติที่รู้สึกสดชื่น แต่ การรับประทานใบแบบสดๆ อาจทำให้อาเจียนได้ ต้องนำมาต้มหรือคั้นน้ำออกมา

ต้นเตย ลักษณะเป็นอย่างไร พืชให้กลิ่นหอม ใบเตยนิยมนำมาประกอบอาหาร สรรพคุณของใบเตย เช่น ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ รักษาเบาหวาน กินใบเตยสดๆความหอมของใบเตยทำให้อ้วกได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.   Take care of yourself first with good information. The content on this website is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick or feel unwell You should consult a doctor. to receive proper treatment For more information, please see our Terms and Conditions of Use.


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove