มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ Bladder cancer มะเร็งที่กระเพาะปัสสาวะ อาการปัสสาวะเป็นเลือดแต่ไม่เจ็บ ปวดหลัง ปัสสสาวะมาก ปัสสาวะบ่อย แนวทางการรักษาและป้องกันโรคทำอย่างไร

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โรคมะเร็ง โรคไม่ติดต่อ โรคระบบทางเดินปัสสาวะ

โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากเซลล์ที่เยื่อบุผนังของกระเพาะปัสสาวะ เกิดการแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างผิดปกติ จนเกิดเนื้องอก และ เป็นเนื้อมะเร็งในที่สุด สามารถลุกลามเข้าสู่อวัยวะอื่นๆได้ เช่น ต่อมน้ำเหลือง กระดูก ปอด และตับ

ชนิดของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ สามารถแบ่งได้ 5 ชนิด ซึ่งการแบ่งชนิดของโรคนั้นแบ่งออกได้ตามลักษณะของเซลล์มะเร็ง โดยชนิดของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มีรายละเอียด ดังนี้

  • Transitional cell carcinoma ( TCC ) พบมากที่สุด ร้อยละ 95 ของผู้ป่วยเกิดมะเร็งชนิดนี้
  • Squamous cell carcinoma ( SCC ) พบว่าผู้ป่วยมะเร็งจากชนิดนี้ ร้อยละ 5 ของผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากเซลล์รูปสี่เหลี่ยม ทำให้ระคายเคือง เช่น พยาธิใบไม้ในเลือด
  • Adenocarcinoma พบว่าผู้ป่วยมะเร็งชนิดนี้ เกิดร้อยละ 2 ของผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • Small cell carcinoma พบได้น้อยกว่าร้อยละ 1 ของผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากเซลล์ Neuroendocrine cells
  • Sarcomas เป็นชนิดที่พบได้น้อยมาก โดยเกิดในเซลล์กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ยังไม่หาสาเหตุที่แท้จริงได้ แต่พบว่ามีปัจจัยในการกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โดยรายละเอียดของปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรค มีดังนี้

  • การสูบบุหรี่ หรือ การสูดดมควันบุหรี่
  • การได้รับสารเคมีบางอย่าง เช่น สารอะนิลีน ( Aniline ) สารไฮโดรคาร์บอน  ( Hydrocarbon ) เป็นสารเคมีใช้ในการย้อมผ้า และ ใช้ในอุตสาหกรรมเสื้อผ้า ยาง และ สายไฟ
  • การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในเลือด ( Schistosomiasis ) พยาธิชนิดนี้จะวางไข่ฝังที่ผนังของกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดการระคายเคืองแบบเรื้อรัง
  • การรับยาเคมีบำบัด เช่น ยา Cyclophosphamide
  • เป็นความผิดปรกของร่างกายจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม

ระยะของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มีระยะของโรค 4 ระยะ คือ ระยะ 1-4 โดยแตกต่างกันที่ระดับความรุนแรงของโรค โดยรายละเอียดดังนี้

  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่ 1 เกิดมะเร็งบริเวณเยื่อบุภายในกระเพาะปัสสาวะ
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่ 2 เนื้อมะเร็งบางส่วนลุกลามเข้าสู่กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่ 3 เนื้อมะเร็งลุกลามเข้าสู่ผนังกระเพาะปัสสาวะ และ เนื้อเยื่อรอบๆกระเพาะปัสสาวะ
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่ 4 เนื้อมะเร็งลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง และ กระจายสู่อวัยวะอื่น ๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง กระดูก ตับ หรือ ปอด เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับอาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ จะแสดงอาการอย่างชัดเจนที่การปัสสาวะ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้ ดังนี้

  • ปัสสาวะเป็นเลือดโดยไม่มีอาการเจ็บปวด
  • ปัสสาวะมากผิดปกติ
  • ปัสสาวะบ่อย มีอาการแสบ หรือ ขัดตอนปัสสาวะ
  • มีอาการปวดหลัง
  • มีอาการต่อมน้ำเหลืองบวมโต บริเวณขาหนีบ หรือ ไหปลาร้า
  • อาจมีอาการไอ หายใจลำบาก ปวดกระดูก

การวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับการวินิจฉัยโรคนั้น หากผู้ป่วยมีอาการตามอาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ตามที่กล่าวมาในข้างต้น เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์จะซักประวัติ และ ลักษณะของอาการที่เกิดขึ้น จากนั้น ต้องทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดย การตรวจร่างกายและตรวจชิ้นเนื้อ มีรายละเอียด ดังนี้

  • การตรวจปัสสาวะ เพื่อดูปริมาณของเม็ดเลือดแดงและเซลล์มะเร็งที่ปะปนมากับปัสสาวะ
  • การส่องกล้องตรวจทางเดินปัสสาวะ เพื่อตรวจดูโครงสร้างภายในของกระเพาะปัสสาวะกับท่อปัสสาวะ เพื่อให้เห็นเนื้องอกได้อย่างชัดเจน
  • การตรวจชิ้นเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ การนำชื้นเนื้อต้องสงสัยไปตรวจ เพื่อดูว่าชิ้นเนื้อนั้นๆ เป็นเซลล์มะเร็งหรือไม่
  • การตรวจทางรังสีวิทยา โดยใช้การ เอกซเรย์ ซีทีสแกน เอ็มอาร์ไอ หรือ อัลตราซาวด์ ตรวจที่บริเวณช่องท้อง เพื่อดูตำแหน่งและขนาดของมะเร็ง

การรักษาโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับการรักษาโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ นั้น ต้องทำการรักษาโดยการกำจัดก้อนมะเร็ง บรรเทาอาการของโรค และ การรักษาโดย การใช้ เคมีบำบัด การให้ยาฆ่ามะเร็ง การรังสีบำบัด และ การผ่าตัด แต่การเลือกใช้วิธีการรักษาต้องอยู่ในดุลย์พินิจของแพทย์ โดยรายละเอียดของการรักษามะเร็งกระเพาปัสสาวะ มีดังนี้

  • การรักษาด้วนเคมีบำบัด โดยแพทย์จะฉีดยาเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะผ่านทางสายสวน เพื่อรักษามะเร็งในระยะเริ่มต้น อาจใช้การรักษาด้วยรังสีบำบัด ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้
  • การให้ยาฆ่าเซลล์มะเร็ง จะใช้หลังจากการตัดเนื้อมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะออกไปแล้ว ให้ยาฆ่าเซลล์มะเร็ง เพื่อลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำใหม่
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด วิธีนี้ทำเพื่อกำจัดเนื้อมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ รวมถึงอวัยวะใกล้เคียง ซึ่งการผ่าตัดนั้นใช้ 2 วิธี คือ การผ่าตัดโดยส่องกล้องซึ่งผ่านทางท่อปัสสาวะ และ การผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะผ่านทางช่องท้อง ซึ่งการผ่าตั้นนั้น แพทย์อาจต้องตัดกระเพาะปัสสาวะบางส่วนออก รวมถึงอวัยวะข้างเคียงออก เช่น ท่อไต ต่อมน้ำเหลืองบริเวณอุ้งเชิงกราน ต่อมลูกหมาก ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ มดลูก รังไข่ และ ช่องคลอดบางส่วน เป็นต้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
  • การรักษาด้วยรังสีบำบัด วิธีการรังสีบำบัดนั้นจะทำหลังจากการผ่าตัด หรือ ใช้การเคมีบำบัดร่วม สำหรับผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้

ภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

การเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ สร้างความลำบากต่อร่างกายแล้ว แต่สิ่งที่ทำให้แย่ขึ้นไปอีก คือ การเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค ซึ่งสามารถเกิดได้ทั้งก่อนการรักษาโรคและหลังการรักษาโรค โดยภาวะแทรกซ้อนของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ประกอบด้วย

  • การเกิดโรคโลหิตจาง
  • เกิดความผิดปรกติเกี่ยวกับการปัสสาวะ เช่น กลั้นปัสสาวะไม่ได้ หรือ ปัสสาวะไม่ออก
  • เกิดภาวะท่อปัสสาวะตีบตัน ทำให้ปัสสาวะไม่ออก หรือ ปัสสาวะยาก
  • เกิดกรวยไตคั่งปัสสาวะ
  • เกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • เกิดการลามของมะเร็ง จนเกิดมะเร็งในอวัยวะอื่นๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง ตับ ปอด หรือ กระดูก เป็นต้น
  • ทำให้หย่อนสมรรถภาพทางเพศ
  • ทำให้เกิดวัยทองก่อนวัยอันควร

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคนั้นยังไม่มีวิธีทางการแพทย์ที่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้อย่างเด็ดขาด แต่สิ่งที่สามารถทำได้ คือ การลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรค ที่เราสามารถควบคุมได้ โดยแนวทางการปฏิบัติมีดังนี้

  • เลิกสูบบุหรี่ หรือ ไม่สูบบุหรี่ หรือ หลีกเลี่ยงการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีควันบุหรี่
  • ไม่เที่ยวสถานท่องเที่ยวกลางคืน เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีการปล่อยให้มีการสูบบุหรี่ การที่เราไม่สูบบุหรี่แต่การสูดดมควันบุรหรี่ก็เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเช่นกัน
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมีที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • ให้ดื่มน้ำตามปรริมาณความต้องการของร่างกาย
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ผักและผลไม้ โดยเฉพาะผักและผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ
  • หากมีอาการผิดปรกติที่ระบบขัยถ่าย เช่น ปัสสาวะเป็นเลือด ให้รีบพบแพทย์เพื่อรักษาอย่างทันท่วงที

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ( Bladder cancer ) คือ มะเร็งเกิดที่กระเพาะปัสสาวะ ส่งผลต่อระบบการปัสสาวะ อาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะเป็นเลือดแต่ไม่เจ็บ ปวดหลัง ปัสสสาวะมาก ปัสสาวะบ่อย เป็นต้น การรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะทำอย่างไร สาเหตุของการเกิดโรค การป้องกันการเกิดโรค

มะเร็งกระเพาะอาหาร ( Cancer of Stomach ) เนื้อร้ายที่กระเพาะอาหาร กินเค็มจัด ของหมักดอง อาการอุจจาระมีเลือด อุจจาระมีสีดำ น้ำหนักลด ปวดท้อง ก้อนเนื้อที่ลิ้นปี่มะเร็งกระเพาะอาหาร โรคระบบทางเดินอาหาร โรคไม่ติดต่อ การรักษามะเร็ง

มะเร็งกระเพาะอาหาร คือ โรคจากการเกิดเนื้อร้ายชนิดหนึ่ง ที่เซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหาร ซึ่งเนื้อร้ายหรือเซลล์นั้นเกิดการแบ่งตัวอย่างผิดปกติ จนเป็นเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นบริเวณกระเพาะอาหาร แต่สามารถกระจายตัวไปยังอวัยวะสำคัญของร่างกายอื่นๆได้ ไม่ว่าจะเป็น ตับ ตับอ่อน ลำไส้ ปอด รังไข่ รวมถึงต่อมน้ำเหลืองได้ มะเร็งกระเพาะอาหารมีสาเหตุของโรคอย่างไร อาการของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร การตรวจวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคทำอย่างไร สำหรับคนที่กลัวโรคมะเร็งกระเพาะอาหารต้องทำอย่างไร

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

การเกิดโรคมะเร็งที่กระเพาะอาหาร มีสาเหตุและปัจจัยต่างๆ โดยสามารถแบ่งเป็นข้อๆได้ ดังนี้

  • พันธุกรรม ในกลุ่มคนที่มีญาติสายตรง เช่น พ่อ แม่ พี่น้อง ป่วยเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร มีโอกาสเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ ซึ่งหากพบว่าญาติสายตรงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารต้องหมั่นตรวจสุขภาพบ่อยๆ
  • การติดเชื้อแบตทีเรีย เฮลโคแบกเทอร์ไพโลรี (Helicobacter pylori) เป็นเชื้อโรคที่ทำใหเเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และสามารถลามเกิดเนื้อร้ายในกระเพาะอาหารได้
  • การดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่จัด เป็นสาเหตุของโรคร้ายทั้งหลายรวมถึงโรคมะเร็งกระเพาะอาหารด้วย
  • การกินอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น อาหารรสเค็มจัด อาหารหมักดอง อาหารรมควัน อาหารที่มีดินประสิวเจือปน เป็นต้น
  • กินผักและผลไม้น้อย เนื่องจากอาหารประเภทนี้มีกากใยอาหาร ที่ช่วยในการล้างและทำความสะอาดลำไส้ ช่วยลดการเกิดโรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร
  • การมีประวัติการผ่าตัดกระเพาะอาหาร มานานกว่า ๒๐ ปี
  • การเกิดเนื้องอกที่กระเพาะและลำไส้ ซึ่งเนื้องอกบางชนิดสามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม

ระยะของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

สำหรับ โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร นั้น สามารถแบ่งระยะของโรคได้ เป็น 4 ระยะ ตามระดับความรุนแรงของโรค ซึ่งรายละเอียดของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารระยะต่างๆ มีดังนี้

  • มะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 1 เนื้อร้ายอยู่ในชั้นเยื่อเมือกถึงชั้นกล้ามเนื้อของกระเพาะอาหาร ยังไม่มีการลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง
  • มะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 2 เนื้อร้ายที่กระเพาะอาหารลุกลามเข้าเยื่อบุช่องท้อง แต่ยังไม่ลุกลามไปถึงต่อมน้ำเหลือง
  • มะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 3 เนื้อร้ายที่กระเพาะอาหารลุกลามเข้าอวัยวะข้างเคียง เช่น ม้าม ลำไส้เล็ก ตับอ่อน และเยื่อบุช่องท้อง รวมถึงต่อมน้ำเหลือง
  • มะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 4 เนื้อร้ายมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ทั่วอวัยวะภายในของร่างกาย

อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

สำหรับ ผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหาร ในระยะเริ่มต้นนั้น มักจะไม่แสดงอาการให้เห็นอย่างเด่นชัด มีลักษณะอาการ คล้ายกับโรคกระเพาะอาหารธรรมดา หรือ โรคแผลที่กระเพาะอาหาร ซึ่งลักษณะ อาการ ดังนี้ อาหารไม่ย่อย รู้สึกไม่สบายท้อง ท้องอืดหลังกินข้าว คลื่นไส้เล็กน้อยแต่มักไม่อาเจียน เบื่ออาหาร แสบร้อนกลางอก เป็นต้น

เมื่อเกิด มะเร็ง รุนแรงมากขึ้น จะแสดงอาการให้เห็นอย่างชัดเจนมากขึ้น ลักษณะอาการ คือ มีเลือดปนในอุจจาระ อุจจาระมีสีดำ อาเจียนเป็นเลือด น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ปวดท้อง มีก้อนเนื้อบริเวณลิ้นปี่ หากเกิดการแพร่กระจายของเชื้อมะเร็ง จะพบว่าเกิดอาการต่อมน้ำเหลืองโต ตับโต ตาเหลือง ตัวเหลือง มีน้ำในช่องท้อง หายใจลำบาก เป็นต้น

วินิจฉัยมะเร็งกระเพาะอาหารของแพทย์ทำอย่างไร

เมื่อผู้ป่วยมีอาการดังกล่าวมาข้างต้น และสงสัยว่าจะเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ทางแพทย์จะมีวิธีในการวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ดังต่อไปนี้

  • แพทย์จะซักประวัติ เช่น ลักษณะของอาการปวดท้อง สีของอุจจาระ ประวัติการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อประกอบการวินิจฉัย
  • ตรวจร่างกายด้วยการเอกซเรย์ทางเดินอาหารส่วนบน
  • ทำการเอกซเรย์กลืนแป้ง
  • อัลตราซาวน์ระบบภายในหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร เพื่อดูร่องรอยของโรค
  • เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ช่องท้อง เพื่อดูร่องรอยของโรคที่บริเวณหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น
  • การตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจทางพยาธิ
  • การตรวจเลือดซีบีซี (CBC) เพื่อประเมินสภาพร่างกายทั่วๆไป เบาหวาน การทำงานของไต การทำงานของตับ และดูระดับเกลือแร่ในเลือด การตรวจเลือดเพื่อหาสารมะเร็งชนิดซีอีเอ (CEA)
  • ทำการเอกซเรย์ปอด เพื่อดูความผิดปกติในช่องอกและปอด
  • ตรวจปัสสาวะ เพื่อประเมินสภาพร่างกายทั่วๆไปของผู้ป่วยก่อนการรักษา

รักษามะเร็งกระเพาะอาหารอย่างไร

สำหรับการรักษาโรคมะเร็งที่กระเพาะอาหารนั้น มีวิธีการในการรักษาอยู่ 4 วิธี คือ การผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด การฉายรังสีรักษา และการประคับประคองตามอาการของผู้ป่วย ซึ่งการรักษาด้วยวิธีการต่างๆนั้นขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ว่าจะใช้การรักษาอย่างไร ซึ่งรายละเอียดของการรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มีดังนี้

  • การรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร ด้วยการผ่าตัด เป็นวิธีแรกที่จะใช้ในการรักษา การผ่าตัดนั้นจะทำการผ่าตัดเนื้อร้ายที่กระเพาะอาหารออกจากร่างกายออกก่อน
  • การรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร ด้วยการใช้ยาเคมีบำบัด การใช้เคมีบำบัดนั้นทำเพื่อลดขนาดของก้อนเนื้อร้าย ซึ่งการใช้เคมีบำบัดจะทำร่วมกับการฉายรังสี
  • การรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร ด้วยการรังสี ทำเพื่อบรรเทาอาการและลดการแพร่กระจายของเนื้อร้าย
  • การรักษาด้วยการประคับประคองเพื่อบรรเทาอาการของผู้ป่วย เพื่อให้ร่างกายและอวัยวะอื่นๆที่ได้รับผลกระทบค่อยๆฟื้นตัวและหายเอง

ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

สำหรับการป้องกันโรคมะเร็งกระเพาะอาหารนั้นยังไม่มีวิธีใดที่มีประสิทธิภาพ 100 % แต่การลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค เช่น หลีกเลี้ยงการรับประทานอาหารปิ้งย่าง หลีกเลี่ยงการกินของหมักดอง หลีกเลี่ยงกินอาหารเค็มจัด เลิกการดื่มเหล้าและเลิกการสูบบุหรี่  รับประทานอาหารประเภทผักและผลไม้เป็นประจำ

โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ( Cancer of Stomach ) คิือ การเกิดเนื้อร้ายที่กระเพาะอาหาร สาเหตุของโรคจากการกิน เค็มจัด ของหมักดอง อาหารเจือปนดินประสิว มะเร็งกระเพาะอาหาร ในระยะแรกคล้ายโรคกระเพาะอาหารธรรมดา เมื่อแสดงอาการชัดเจน จะมีเลือดปนในอุจจาระ อุจจาระมีสีดำ อาเจียนเป็นเลือด น้ำหนักลดลง ปวดท้อง มีก้อนเนื้อบริเวณลิ้นปี่ การรักษาและดูแลเมื่อเป็นมะเร็ง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove