โรคงูสวัดเกิดจากการติดเชื้อไวรัสvaricella-zoster virus ทำให้เกิดแผลตุ่มพองที่ผิวหนัง ปวดร้อนมาก มักเกิดที่แนวเส้นประสาทไขสันหลัง การรักษาโรคงูสวัดทำอย่างไร

งูสวัด โรคไม่ติดต่อ ปวดเส้นประสาท โรคระบบประสาทและสมอง

โรคงูสวัด คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ชื่อ varicella-zoster virus  เรียกย่อๆว่า VZV เป็นเชื้อโรคที่ทำให้เกิดแผลตุ่มพอง ที่ผิวหนัง และมีอาการปวดร้อนมาก มักเกิดที่ 3 ตำแหน่งของร่างกาย คือ แนวเส้นประสาทไขสันหลัง แนวเส้นประสาทคู่ที่ 5 และ แนวเส้นประสาทคู่ที่ 7 การรักษาโรคงูสวัดทำอย่างไร

สาเหตุของการเกิดโรคงูสวัด

สาเหตุของการเกอกงูสวัด คือ การติดเชื้อไวรัส โดยการเกิดเชื้อไวรัสที่ปมประสาทของไขสันหลัง เมื่อเชื้อโรคมากขึ้น จะทำให้เกิดแผลที่แนวเส้นประสาท ได้แก่ บริเวณเอว ก้นกบ ตา ใบหน้า ในกลุ่มคนผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเอดส์ มีโอกาสเกิดโรคนี้ได้มา ซึ่งตำแหน่งที่เกิดโรคงูสวัด มักเกิดได้ที่ 3 ตำแหน่ง คือ แนวเส้นประสาทไขสันหลัง แนวเส้นประสาทคู่ที่ 5 และแนวเส้นประสาทคู่ที่ 7 โรคนี้สามารถติดต่อกันได้โดยการสัมผัสแผล โดยไม่ป้องกันได้

อาการของโรคงูสวัด

สำหรับอาการโรคงูสวัดจะเริ่มจากมีผื่นขึ้น ประมาณ 2-3 วัน ผู้ป่วยจะเริ่มมีไข้ต่ำ คั่นเนื้อคั้นตัว ปวดหัว ต่อมาจะปวดแสบปวดร้อนที่แผล จากนั้นไม่เกิน 5 วัน แผลจะเริ่มเป็นตุ่มน้ำใส ตามเส้นประสาท และจะหายภายใน 3 สัปดาห์ แต่ในผู้ป่วยโรคเอดส์ โรคมะเร้ง สามารถเกิดได้บ่อย และอาการรุนแรงมากกว่าปรกติ  ระยะของการเกิดโรค สามารถแบ่งได้ 3 ระยะ คือ ระยะเริ่มต้น ระยะที่สอง และ ระยะที่สาม โดยรายละเอียดของระยะต่างๆ มีดังนี้

  • ระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแสบปวดร้อนโดยไม่ทราบสาเหตุ เพราะว่าในช่วงนี้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายลดต่ำลงแล้ว ทำให้เชื้อไวรัสสามารถเพิ่มจำนวนขึ้นได้อย่างง่ายดาย เกิดการติดเชื้อที่ระบบปมประสาท ทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อน อยู่ลึก ๆ ภายในระบบเส้นประสาท
  • สู่ระยะที่สอง หลังจากที่เริ่มมีอาการปวดแสบปวดร้อนเป็นเวลา 2-3 วันแล้ว ก็จะเริ่มอาการของโรคเข้าสู่ระยะที่สอง โดยจะเริ่มมีผื่นแดง แล้วต่อมาก็จะเริ่มเป็นตุ่มน้ำใส เหมือนกับหยดน้ำที่เกาะอยู่ตามใบหญ้าในตอนเช้า เรียงตัวกันเป็นกลุ่มเป็นแนวยาว ตามเส้นประสาทของร่างกาย กระจายตัวกันเป็นหย่อม ๆ เช่น ตามความยาวของแขน หรือตามความยาวของขา และพบบ่อยในบริเวณรอบเอว รอบหลัง หรือแม้แต่รอบศีรษะ เป็นต้น ตุ่มน้ำใสเต้ง นี้จะแตกออกมาเป็นแผลแล้วตกสะเก็ด และสามารถหายไปได้เองภายในเวลา 2 สัปดาห์
  • ระยะที่สาม เมื่อตุ่มแตกแล้วผลหายดีแล้ว ผู้ป่วยบางคนยังรู้สึกปวดแสบปวดร้อนอยู่ลึก ๆ โดยเฉพาะตามรอยแนวของโรคที่เกิดขึ้น ซึ่งอาการของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน บางคนอาจรู้สึกปวดแสบปวดร้อนได้เป็นเดือน หรือมากกว่านั้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุ อาจจะมีอาการหลังจากแผลหายแล้วเป็นปี

การตรวจวินิจฉัยว่าเกิดโรคงูสวัด

สามารถทำได้โดย ดูลักษณะของผื่น ตำแหน่งของแผล การเพาะเชื้อจากแผล เป็นต้น  ซึ่งโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคงูสวัด เช่น โรคประสาทไขสันหลังอัเสบ โรคหลอดเลือดอักเสบ ปอดอักเสบ ตับอักเสบ มะเร็ง ตาบอด ปากเบี้ยว  เป็นต้น

การรักษาโรคงูสวัด

โรคนี้สามารถรักษาได้โดยรักษาผื่น และให้ยาแก้ปวด ยาในกลุ่ม acyclovir ที่จะช่วยให้ผื่นคันหาย และให้ยาแก้ปวดตามด้วย แนะนำควรปรึกษาแพทย์ ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการตั้งครรถ์ และฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสงูสวัด การรักษาโรคงูสวัด สามารถแบ่งการรักษาได้ 2 ลักษณะตามอายุผู้ป่วย รายละเอียด ดังนี้

  • ผู้ป่วยงูสวัดที่มีอาการไม่รุนแรงมาก แพทย์จะให้การรักษาไปตามอาการ เช่น ถ้ามีอาการปวดก็ให้ยาแก้ปวด, ถ้ามีอาการคันหรือปวดแสบปวดร้อนก็ให้ทายาแก้ผดผื่นคัน ครีมพญายอขององค์การเภสัชกรรมหรือของอภัยภูเบศร หรือให้ทาน้ำยาคาลาไมน์, ถ้าตุ่มกลายเป็นหนองเฟะจากการติดเชื้อแทรกซ้อนก็ให้ยาปฏิชีวนะ เช่น ไดคล็อกซาซิลลิน (Dicloxacillin), อิริโทรมัยซิน (Erythromycin)
  • ผู้ป่วยงูสวัดที่มีอายุมากกว่า 50 ปี หรือในรายที่ขึ้นบริเวณหน้า หรือมีอาการปวดรุนแรงตั้งแต่แรกที่มีผื่นขึ้น แพทย์จะให้กินยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) ครั้งละ 800 มิลลิกรัม ทุก 4 ชั่วโมง วันละ 5 ครั้ง (เว้นมื้อหลังเข้านอนตอนดึก) นาน 7 วัน แต่จะต้องเริ่มให้ภายใน 48-72 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ จึงจะได้ผลดีในการลดความรุนแรงและย่นระยะเวลาให้หายเร็วขึ้น รวมทั้งอาจช่วยลดอาการปวดประสาทแทรกซ้อนในภายหลังได้ด้วย

วิธีปฏิบัตตนเมื่อเป็นโรคงูสวัด

ต้องรักษาแผลให้สะอาด ป้องกันแผลแตกและเกิดการติดเชื้อ หากเกิดแผลลามไปถึงใบหน้าให้รีบปรึกษาจักษุแพทยื เพื่อป้องกันเชื้อเข้าตา การดูแลตนเองของป่วยงูสวัด สามารถปฏิบัติ ได้ดังนี้

  • ตัดเล็บให้สั้น ไม่แกะหรือเกาบริเวณที่เป็นผื่นหรือตุ่ม และไม่เป่าหรือพ่นยาลงบนแผล เช่น ยาพื้นบ้านหรือยาสมุนไพรลงไปบริเวณตุ่มน้ำ เพราะอาจจะทำให้มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนจนกลายเป็นตุ่มหนอง แผลหายช้า และกลายเป็นแผลเป็นได้
  • สวมใส่เสื้อผ้าที่หลวมและสบายตัว
  • ระมัดระวังในเรื่องของความสะอาด อาบน้ำฟอกสบู่ให้ดี เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนของผื่นและตุ่มน้ำ
  • รักษาแผลให้สะอาดอยู่เสมอ ในระยะที่เป็นตุ่มน้ำใ]tส ให้ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเกลืออุ่น ๆ นำมาประคบแผลไว้ครั้งละประมาณ 5-10 นาที แล้วชุบเปลี่ยนใหม่ โดยให้ทำวันละ 3-4 ครั้ง จะช่วยทำให้แผลแห่งเร็วมากขึ้น ส่วนในระยะที่ตุ่มน้ำแตกมีน้ำเหลืองไหลต้องระมัดระวังการติดเชื้อแบคทีเรียที่อาจเข้าสู่แผลได้มากยิ่งขึ้น ด้วยการล้างแผลด้วยน้ำเกลือสะอาด แล้วปิดแผลด้วยผ้าก๊อซ
  • หากมีอาการคันให้ทาน้ำยาคาลาไมน์ (Calamine lotion) และอาจร่วมกับการกินยาบรรเทาอาการคันและยาแก้ปวดด้วย (ในกรณีซื้อยาเองควรปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนเสมอ เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา)
  • ให้ประคบด้วยความเย็นบริเวณที่มีอาการปวด
  • ถ้ามีอาการปากเปื่อยให้ใช้น้ำเกลือกลั้วปาก
  • ผู้ที่เป็นงูสวัดอาจแพร่เชื้อให้ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดที่ยังไม่เคยรับเชื้อนี้มาก่อนได้ เช่น เด็ก ๆ หรือผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสมาก่อน หรือบางครั้งแม้เคยฉีดวัคซีนมาแล้วก็อาจจะทำให้เป็นอีสุกอีใสได้เช่นกัน แต่จะพบได้น้อยมาก (ติดต่อได้จากการสัมผัสผื่นหรือตุ่มพองของโรค) ดังนั้น ผู้ป่วยที่โรคงูสวัดจึงควรแยกตัวอยู่ต่างหาก แยกข้าวของเครื่องใช้ ที่นอน เครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดตัว ฯลฯ ของผู้ป่วยกับผู้ที่ยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน
    ในผู้ป่วยที่เป็นโรคงูสวัดแบบแพร่กระจายหรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง สามารถแพร่กระจายเชื้อได้ทางการหายใจ ดังนั้นจึงควรแยกผู้ป่วยไม่ให้อยู่ใกล้ชิดกับเด็ก ๆ คุณแม่ตั้งครรภ์ และผู้ที่ไม่เคยเป็นโรคมาก่อน
  • หากผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
    • มีอาการปวดมากหรือมีผื่นขึ้นมาก
    • ตุ่มพองเป็นหนอง เพราะต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ซึ่งควรได้รับการรักษาโดยแพทย์
    • มีอาการผิดปกติกับลูกตา เช่น ปวดตา เคืองตา หรือตาแดง
    • มีไข้สูง ไข้ไม่ลดลงหลังกินยาลดไข้ไปแล้ว 1-2 วัน
    • ปวดศีรษะอย่างรุนแรง หรือสับสน หรือแขน/ขามีอาการอ่อนแรงร่วมกับการมีไข้ (เป็นอาการของสมองอักเสบ ควรรีบไปแพทย์โดยด่วน)
    • การได้ยินลดลง
    • เมื่อมีความกังวลในอาการของโรคงูสวัดที่เป็นอยู่
    • ถ้ามีอาการปวดหลังการติดเชื้อ ให้รับประทานยาพาราเซตามอลแก้ปวด แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรรีบไปพบแพทย์

สมุนไพรแก้ปวด ซึ่ง สมุนไพรแก้ปวด สามารถช่วยลดอาการปวดแผลจากผื่นคันตามแนวเส้นประสาท ได้ สมุนไพรที่ช่วยลดอาการปวด มีดังนี้

หญ้าปักกิ่ง สมุนไพร หญ้าเทวดา สรรพคุณหญ้าเทวดาหญ้าปักกิ่ง เก๋ากี้ สมุนไพร โกจิเบอร์รี่ สรรพคุณของโกจิเบอร์รี่เก๋ากี้ โกจิเบอร์รี่
ยางนา น้ำมันยางนา สมุนไพร สรรพคุณของยางนายางนา ตะลิงปลิง ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของตะลิงปลิงตะลิงปลิง
ถั่วเขียว ถั่วงอก ธัญพืช สมุนไพรถั่วเขียว ต้นนุ่น ต้นงิ้ว สมุนไพร สรรพคุณของนุ่นต้นนุ่น ต้นงิ้ว

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove