สะระแหน่ Mint นิยมรับประทานใบและใช้รักษาโรค ต้นสะระแหน่เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของสะระแหน่ ดูแลช่องปาก แก้ท้องอืด ช่วยขับลม โทษมีอะไรบ้าง

สะระแหน่ มินต์ สมุนไพร สรรพคุณของสะระแหน่

สะระแหน่ ภาษาอังกฤษ เรียก Mint ชื่อวิทยาศาสตร์ของสะระแหน่ คือ Ment ha aruensis Linn สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของสะระแหน่ เช่น หอมด่วน หอมเดือน ขะแยะ สะระแหน่สวน มักเงาะ สะแน่ เป็นต้น ต้นสะระแหน่ มีแหล่งกำเนิดในแถบทวีปยุโรปตอนใต้และในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ใบสะระแหน่คล้ายกับมิ้นต์มีกลิ่นหอมคล้ายมะนาว รสชาติคล้ายตะไคร้ สามารถใช้ แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้ปวดเมื่อย แก้แมงสัตว์กัดต่อย นิยมนำมาทำอาหาร เพราะ ให้กลิ่นหอม

ประโยชน์ของสะระแหน่ นิยมนำมาใช้เป็นส่วนผสมของการทำอาหารและทำเป็นยา ซึ่งตามตำรายาของแพทย์แผนไทย นำสะระแหน้มาใช้รักษาโรคต่างๆ เช่น แก้ปวดท้อง แก้จุกเสียด ขับผายลม แก้แน่น แก้ไอ ขับเสมหะ ขยี้ทาขมับ แก้ปวดศีรษะ ดมแก้ลม ทาแก้ฟกบวม ท้องเฟ้อ เป็นต้น นอกจากนี้ สะระแหน่มีสารยูเจนอล สามารถทำลายแบคทีเรีย นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยแทนนินและเทอร์เพนท์ที่ใช้ในการเป็นยาเย็น สามารถสกัดเพื่อใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมยา

ลักษณะของต้นสะระแหน่

สะระแหน่ เป็นพืชล้มลุก ซึ่งมีลำต้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมเลื้อยบนดิน ใบกลม ขอบใบหยัก สีเขียว มีกลิ่นหอม ดอกมีกลีบสีขาว สามารถขยายพันธ์โดยการปักชำ เพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นสะระแหน่ มีดังนี้

  • ลำต้นสะระแหน่ ลำต้นสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร ลำต้นสะระแหน่จะทอดเลื้อยแผ่ไปตามดิน ลำต้นเป็นเหลี่ยม สีเขียวแกมม่วงน้ำตาล แตกกิ่งก้านมาก
  • ใบสะระแหน่ ลักษณะเป็นใบเดี่ยวออกเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกันบนกิ่ง ใบมีสีเขียว รูปทรงรี ผิวใบย่นเป็นลูกคลื่น ขอบใบหยัก ปลายใบมนหรือแหลม
  • ดอกสะระแหน่ ลักษณะดอกออกเป็นช่อ ออกดอกเหนือซอกใบบริเวณปลายยอด แต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก ดอกมีสีชมพูอมม่วง
  • ผลสะระแหน่ ผลมีสีดำ ขนาดเล็ก เป็นรูปกระสวย เปลือกผลเกลี้ยงมัน

คุณค่าทางโภชนาการของสะระแหน่

สำหรับการรับประทานสะระแหน่เป็นอาหารนิยมรับประทานใบสะระแหน่เป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบสะระแหน่ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 47 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 3 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม คาร์โบไฮเดรต 6 กรัม แคลเซียม 40 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 7 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4 มิลลิกรัม วิตามิน บี 1 0.13 มิลลิกรัม วิตามิน บี 2 0.29 มิลลิกรัม ไนอาซีน 0.7 มิลลิกรัม วิตามิน ซี 88 มิลลิกรัม เบต้า แคโรทีน 538 ไมโครกรัม

น้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่ มีสารสำคัญ ประกอบด้วย เมนทอล ( Menthol ) ไลโมนีน ( Limonene ) นีโอเมนทอล ( Neomenthol ) สามารถนำมาเป็นส่วนปะกอบของผลิตภัณฑ์ทางอุสาหกรรมต่างๆมากมาย

สะระแหน่ มีสารยูเจนอลที่สามารถทำลายแบคทีเรีย นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยแทนนินและเทอร์เพนท์ที่ใช้ในการเป็นยาเย็น

สรรพคุณของสะระแหน่

สำหรับการใช้ประโยชน์จากสะระแหน่ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากทุกส่วนทั้งใบและลำต้น ซี่งสรรพคุณของสะระแหน่ มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิว ทำให้ผิวชุ่มชื้น ช่วยทำให้ลดลอยเหี่ยวย่นก่อนวัยอันครว
  • เป็นยาเย็น ช่วยดับร้อนในร่างกาน ช่วยขับเหงื่อ ขับของเสียออกทางผิวหนัง
  • ช่วยบำรุงสายตา ลดรอยคล้ำใต้ตา
  • ช่วยบรรเทาอาการเครียด รักษาอาการปวดศีรษะ รักษาไมเกรน ทำให้สมองปลอดโปร่ง รักษาอาการหน้ามืดตาลาย
  • ช่วยรักษาไข้หวัด รักษาอาการไอ ลดน้ำมูก รักษาโรคหอบหืด รักษาโรคหลอดลมอักเสบ
  • บำรุงหัวใจ ทำให้หัวใจแข็งแรง ทำให้กระปรี่กระเปร่า รักษาอาการอ่อนเพลียของร่างกาย
  • บำรุงเหงือกและฟัน ระงับกลิ่นปาก บรรเทาอาการปวดฟัน รักษาอาหารเจ็บปาก แก้เจ็บลิ้น รักษาแผลในปาก
  • ช่วยรักษาอาการปวดหู ด้วยการใช้น้ำคั้นจากใบสะระแหน่มาหยอดที่รูหู
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร รักษาอาการท้องร่วง แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้จุกเสียด
  • ใช้ไล่ยุงและแมลงต่างๆ รักษาอาการแมลงสัตว์กัดต่อย
  • แก้อักเสบ แก้ปวด
  • ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย

โทษของสะระแหน่

สำหรับการใช้ประโยชน์จากสะระแหน่ มีข้อควรระวังการใช้ประโยชน์ ดังนี้

  • การใช้สะระแหน่ทาบริเวณผิวหนัง อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ เช่น หลอดลมตีบ หายใจลำบาก ผื่นแดง ผิวหนังอักเสบ
  • สำหรับคนที่มีอาการท้องเสีย ไม่ควรกินสะระแหน่จำนวนมาก เนื่องจากน้ำมันสะระแหน่หากตกตัวในลำไส้ อาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนที่บริเวณทวารหนัก

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

ข่า ( Galanga ) สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหาร ต้นข่าเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของข่า ประโยชน์และสรรพคุณช่วยดับคาว ลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันมะเร็ง โทษข่ามีอะไรบ้างข่า สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของข่า

ต้นข่า ภาษาอังกฤษ เรียก Galanga ข่ามีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Alpinia galanga (L.) Willd. เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับกระชาย ขิง กระวาน ขมิ้น เป็นต้น สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของข่า เช่น ข่าหยวก ข่าหลวง กฎุกกโรหินี เป็นต้น

ข่า พืชท้องถิ่น ปลูกง่าย นิยมปลูกในทุกครัวเรือนของบ้านในประเทศไทย ข่า เป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง สามารถหาซื้อได้ตามตลาด สำหรับอาหารไทยและอาหารอินโดนีเซีย นิยมใช้ข่ามาปรุงอาหาร ข่าเป็นหนึ่งในเครื่องเทศยอดนิยม เมนูอาหารอย่าง ต้มข่าไก่ หรือต้มยำกุ้ง น้ำพริกต่างๆ ต้องมีข่าเป็นส่วนผสม

ลักษณะของต้นข่า

ข่า จัดเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ในดิน เหง้าจะมีข้อและปล้องมองเห้นได้ค่อนข้างชัดเจน ลำต้นตรง มีความสูงประมาณ 1 ถึง 2 เมตร ลำต้นมีสีเขียว ใบของข่า เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันที่ยอดของลำต้น ใบมีลักษณะรี ดอกของข่าจะออกที่ยอดลำต้น มีขนาดเล็ก สีขาว และผลของข่าจะเป็นทรงกลม สามารถมองเห็นได้เมื่อดอกแห้ง

คุณค่าทางโภชนาการของข่า

สำหรับการใช้ประโยชน์จากข่า นิยมนำข่ามาบริโภค เหง้าอ่อนของข่า ซึ่งเป็นส่วนที่มีรสเผ็ด ช่วยขับลมได้ดี มีการศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของเหง้าข่าอ่อน ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 20 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 1.1 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.15 กรัม และวิตามินซี 23 มิลลิกรัม

สรรพคุณทางสมุนไพรของข่า

สำหรับการใช้ ประโยชน์ข่า ด้านการรักษาโรค และใช้ทำสมุนไพร นั้น นิยมใช้ หน่อ เหง้า ราก ดอก ผล และใบ เรียกได้ว่าทุกส่วนของข่าสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด รายละเอียด ดังต่อไปนี้

  • เหง้าของข่า สามารถนำมาช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยแก้บิด แก้อาหารเป็นพิษ ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยยับยั้งแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ ช่วยขับน้ำดี ช่วยขับเลือด ขับน้ำคาวปลา เป็นยารักษาแผลสด ช่วยลดอาการอักเสบ ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ใช้รักษาโรคผิวหนัง ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ช่วยรักษากลากเกลื้อน ช่วยแก้โรคน้ำกัด ช่วยแก้ฟกช้ำ ช่วยแก้เหน็บชา ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ช่วยบำรุงสมรรถภาพทางเพศ ช่วยไล่แมลง
  • ใบของข่า สามารถนำมาช่วยฆ่าพยาธิ ช่วยรักษากลากเกลื้อน
  • รากของข่า สามารถนำมาช่วยให้ระบบไหลเวียนของเลือดปรกติ ช่วยขับเสมหะ
  • ดอกของข่า สามารถนำมาช่วยแก้อาการท้องเสีย ช่วยแก้ฝีดาษ
  • ผลของข่า สามารถนำมารักษาอาการปวดฟัน ช่วยรักษาโรคท้องร่วง ช่วยย่อยอาหาร
  • หน่อของข่า สามารถนำมาช่วยบำรุงธาตุไฟ ช่วยแก้ลมแน่นหน้าอก

โทษของข่า

ข่า เป็นพืชที่มีรสเผ็ดร้อน การใช้ประโยชน์จากข่า มีข้อควรระวังในการใช้ข่า ดังนี้

  • น้ำมันหอมระเหยจากเหง้าข่า มีความเป็นพิษ หากบริโภคในปริมาณมากเกินไป ทำให้เป็นพิษต่อร่างกาย
  • ข่า ทำให้เกิดอาการระคายเคืองผิวหนังได้ ทำให้มีอาการแสบร้อนผิวหนัง

ข่า ( Galanga ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของข่า คือ Alpinia galanga (L.) Willd. สมุนไพร พืชตระกูลกระชาย ลักษณะของต้นข่า คุณค่าทางโภชนาการของข่า ประโยชน์ของข่า สรรพคุณของข่า ช่วยดับคาว ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยช่วยรักษาหลอดลมอักเสบ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม ต้นข่าเป็นอย่างไร ต้นข่า เป็นพืชพื้นเมือง มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศเขตร้อน สามารถพบได้ตามประเทศ ศรีลังกา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย และไทย เป็นต้น คนไทยมีความคุ้นเคยกับข่าเป็นอย่างดี ข่าสำหรับคนไทย นิยมนำมาเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร ช่วยดับความอาหารได้เป็นอย่างดี แต่ข่ามีประโยชน์ด้านสมุนไพร มากมาย

การปลูกข่า

ข่าเป็นพืช เศรษฐกิจ ปลูกง่าย ไม่ต้องดูแลรักษามาก ศัตรูพืชน้อย สำหรับการปลูกข่า นั้นมีเรื่องที่ต้องรู้ คือ การเตรียมดิน การปลูก การเก็บผลผลิต รายละเอียด ดังนี้

  1. การเตรียมดิน สำหรับปลูกข่า ข่าชอบดินร่วนซุย มีความชื้น แต่ไม่ชอบน้ำขัง สำหรับการเตรียมต้นพันธุ์ สำหรับปลูกข่า ให้ใช้ต้นพันธุ์อายุ 1 ปี ครึ่ง เนื่องจากอายุพันธุ์ข่า ขนาดนี้เหมาะสำหรับการนำมาปลูก เนื่องจากมีแข็งแรง และมีตามาก ทำให้การเจริญเติบโตจะดี
  2. การปลูกข่า ใช้วิธีการปักดำ นำเหง้าพันธ์ุข่ามาปักลงหลุมที่เตรียมดินไว้ สำหรับหลุมละ 3 เหง้า ระยะห่าง ประมาณ 1 เมตร ต่อหลุม ข่าสามารถแตกหน่อได้มากถึง 1500 กอ ให้ผลผลิตที่ดี
  3. การดูแลข่า ข่าเป็นพืชที่ชอบความชื้นแต่ไม่ชอบน้ำขัง จึงต้องหมั่นตรวจสอบอย่าให้น้ำขัง รดน้ำเดือนละ 2 ครั้งก็เพียงพอสำหรับข่า หมั่นให้ปุ๋ย สามารถเก็บเกี่ยวข่าได้ตามต้องการ

ข่า ( Galanga ) สมุนไพร พืชสวนครัว นิยมนำมาทำอาหาร ลักษณะของต้นข่า เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของข่า ประโยชน์และสรรพคุณของข่า เช่น ช่วยดับคาว ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันมะเร็ง โทษของข่า มีอะไรบ้าง

บทความนี้เรามาทำความรู้จักกับข่ากัน ว่า ข่าเป็นอย่างไร ประโยชน์ด้านยาของข่า การปลูกข่า คุณค่าทางโภชนาการของข่า และเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับข่า ต้มข่าไก่

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove