ตะไคร้ สมุนไพรไทย น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้มีประโยชน์ นิยมนำมาทำอาหารไทย เช่น ต้มยำ แกงต่างๆ สรรพคุณของตะไคร้ เช่น บำรุงผิว ช่วยขับลม เป็นต้น

ตะไคร้ สมุนไพร

ต้นตะไคร้ ภาษาอังกฤษ เรียก Lemongrass ชื่อวิทยาศาสตร์ของตะไคร้ คือ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf ตะไคร้เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย พม่า ศรีลังกา และไทย นิยมนำลำต้นตะไคร้มาประกอบอาหาร มีสรรพคุณทางยา เช่น ช่วยเจริญอาหาร ขับสารพิษในร่างกาย ลดไข้ ลดความดัน บรรเทาอาการปวด แก้อาเจียน ขับปัสสาวะ รักษานิ่ว รักษาโรคผิวหนัง ช่วยขับลม เป็นต้น ประเภทของตะไคร้มี 6 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และตะไคร้หางสิงห์ เป็นต้น

ประโยชน์ของตะไคร้ นิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหารไทยหลายชนิด เช่น ต้มยำ ใช้เพื่อเพิ่มรสชาติอาหาร กลิ่นหอมของตะไคร้ใช้ไล่ยุงได้ดี น้ำมันหอมระเหยของตะไคร้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์จำพวกยากันยุงชนิดต่าง ๆ เช่น ยากันยุงตะไคร้หอม รวมถึงสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ตะไคร้ผงอบแห้ง ชาตะไคร้ เป็นต้น

ลักษณะของต้นตะไคร้

ตะไคร้ พืชล้มลุก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว การปลูกตะไคร้ เราใช้การปักชำลำต้นของตะไคร้ ตะไคร้ชอบดินร่วนซุย เป็นพืชที่ชอบน้ำ ชอบแดด เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท ลักษณะของต้นตะไคร้ มีดังนี้

  • ลำต้นตะไคร้ มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง รูปทรงกระบอก มีความสูงได้ถึง 1 เมตร (รวมทั้งใบ) ส่วนของลำต้นที่เรามองเห็นจะเป็นส่วนของกาบใบที่ออกเรียงช้อนกันแน่น โคนต้นมีลักษณะกาบใบหุ้มหนา ผิวเรียบ และมีขนอ่อนปกคลุม ส่วนโคนมีรูปร่างอ้วน มีสีม่วงอ่อนเล็กน้อย และค่อยๆเรียวเล็กลงกลายเป็นส่วนของใบ แกนกลางเป็นปล้องแข็ง ส่วนนี้สูงประมาณ 20-30 ซม. ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และพันธุ์ และเป็นส่วนที่นำมาใช้สำหรับประกอบอาหาร
  • ใบตะไคร้ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ก้านใบ (ส่วนลำต้นที่กล่าวข้างต้น) หูใบ (ส่วนต่อ ระหว่างกาบใบ และใบ) และใบ ใบตะไคร้ เป็นใบเดี่ยว มีสีเขียว มีลักษณะเรียวยาว ปลายใบโค้งลู่ลงดิน โคนใบเชื่อมต่อกับหูใบ ใบมีรูปขอบขนาน ผิวใบสากมือ และมีขนปกคลุม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แต่คม กลางใบมีเส้นกลางใบแข็ง สีขาวอมเทา มองเห็นต่างกับแผ่นใบชัดเจน ใบกว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 60-80 เซนติเมตร
  • ดอกตะไคร้ ออกดอกยาก จึงไม่ค่อยพบเห็น ดอกตะไคร้ จะออกดอกเป็นช่อกระจาย มีก้านช่อดอกยาว และมีก้านช่อดอกย่อยเรียงเป็นคู่ๆ ในแต่ละคู่จะมีใบประดับรองรับ มีกลิ่นหอม ดอกมีขนาดใหญ่คล้ายดอกอ้อ

คุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้ 

สำหรับการบริโภคตะไคร้เป็นอาหาร นิยมใช้ลำต้นตะไคร้มาทำอาหาร ซึ่งนักโภขนาการได้ศึกษาตะไคร้ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 143 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 1.2 กรัม ไขมัน 2.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29.7 กรัม กากใยอาหาร 4.2 กรัม แคลเซียม 35 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.6 มิลลิกรัม ตามินเอ 43 ไมโครกรัม มีไทอามีน 0.05 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม ไนอาซิน 2.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม

สารสำคัญพบในน้ำมันหอมระเหยของตะไคร้ ( Volatile oil ) ประกอบด้วย ซิทราล ( Citral ) ซึ่งพบมากที่สุด 90%
ทรานซ์ ไอโซซิทราล ( Trans-isocitral ) ไลโมเนน ( Limonene ) ยูจีนอล ( Eugenol ) ลินาลูล ( Linalool ) เจอรานิออล ( Geraniol ) คาริโอฟิวลีน ออกไซด์ ( Caryophyllene oxide ) เจอรานิล อะซิเตท ( Geranyl acetate ) 6-เมทิล 5-เฮพเทน-2-วัน ( 6-Methyl 5-hepten-2-one ) 4-โนนาโนน ( 4-Nonanone ) เมทิลเฮพทีโนน ( Methyl heptennone ) ซิโทรเนลลอล ( Citronellol ) ไมร์ซีน ( Myrcene ) และ การบูร ( Camphor )

สรรพคุณของตะไคร้

สำหรับประโยชน์ของตะไคร้มีมากมาย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ทั้งต้น หัว ราก ต้น ใบ

  • รากของตะไคร้ สามารถใช้แก้ปวดท้อง และรักษาอาการท้องเสีย
  • ลำต้นตะไคร้ สามารถนำมาใช้เป็น ยาขับลม แก้อาการเบื่ออาหาร ขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ รักษานิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุ รักษาโรคหนองใน และช่วยดับกลิ่นคาวอาหารได้ด้วย
  • ใบสดของตะไคร้ นำมาใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด ลดอาการไอ รักษาโรคความดันโลหิตสูง บรรเทาอาการปวดได้ แก้อาการปวดศีรษะ

โทษของตะไคร้

สำหรับการใช้ประโยชน์จากตะไคร้ จำเป็นต้องใช้อย่างถูกต้องและใช้ในปริมาณที่เหมาะสมจึงจะไม่เกิดโทษ ซึ่งโทษของตะไคร้มีดังนี้

  • น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ ไม่ควรนำมารับประทาน ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองช่องปากและลำคอ ทำให้เกิดอาการอาเจียน และ หากกินมากเกินไปเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ อย่างไรก็ตามการรับประทานตะไคร้สดๆไม่มีรายงานว่ามีอันตราย แต่การรับประทานในประมาณที่มากเกินไปก็ไม่เป็นที่นิยมเช่นกัน

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

มะรุม Horse radish tree ผักพื้นบ้าน มีประโยชน์ด้านอาหารและการรักษาโรคมากมาย สรรพคุณแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงสายตา ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดัน โทษมะรุม

มะรุม สมุนไพร สรรพคุณของมะรุม

ต้นมะรุม ภาษาอังกฤษ เรียก Horse radish tree ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะรุม คือ Moringa oleifera Lam. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของมะรุม เช่น กาเน้งเดิง ผักเนื้อไก่ ผักอีฮึม ผักอีฮุม มะค้อนก้อม เส่ช่อยะ เป็นต้น ต้นมะรุม จัดเป็นพืชผักพื้นบ้าน มีต้นกำเนิดในแถบทวีปเอเชีย อย่างประเทศอินเดียและศรีลังกา เป็นพืชที่โตเร็ว ปลูกง่ายในเขตร้อน ทนแล้ง สามารถรับประทานได้ทุกส่วน

น้ำมันมะรุม ช่วยละลอวัย มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ บำรุงผม รักษาผมร่วง รักษาเชื้อราบนหนังศรีษะ แก้ปวดหัว รักษาสิว รักษาจุดด่างดำบนใบหน้า ฆ่าพยาทในหู รักษาหูน้ำหนวก รักษาเยื่อบุหูอักเสบ รักษาอาการคันตามผิวหนัง รักษาแผลสด รักษาพิษแมลงสัตว์กัดต่อย

ลักษณะของต้นมะรุม

มะรุม พืชผักพื้นบ้าน มีประโยชน์ทั้งด้านอาหาร ยารวมถึงอุตสาหกรรม ปลูกง่าย เจริญได้ดีในดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง สามารถขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดพันธ์และการปักชำ ลักษณะของมะรุม มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นของมะรุม ลักษณะลำต้นตั้งตรง มีกิ่งก้านเป็นพุ่ม ลักษณะโปร่ง เปลือกของลำต้นมีสีเทา ผิวเปลือกเรียบ บาง ความสูงประมาณ 15 เมตร
  • ใบมะรุม เป็นในเดี่ยว ลักษณะใบเป็นทรงรี ปลายใบ และ ฐานใบ มน ใบมีขน ใบแตกออกจากก้าน ออกเรียงสลับกัน
  • ดอกมะรุม ออกเป็นช่อ ดอกมะรุมมีสีขาว ดอกออกตามข้อของกิ่ง ดอกมะรุมแก่ มีสีเหลืองนวล
  • ฝักมะรุม หรือ ผลมะรุม ฝักมะรุมอ่อน มีสีเขียว ฝักแก่จะมีสีน้ำตาล เปลือกหนา ลักษณะเป็นคลื่นนูนตามเมล็ด ภายในฝักมะรุมมีเมล็ด
  • เมล็ดมะรุม ลักษณะรี มีเยื่อหุ้มคล้ายกระดาษแก้วบางๆ ขนาดของเมล็ดประมาณ 1 เซ็นติเมตร

คุณค่าทางโภชนาการของมะรุม

สำหรับการบริโภคมะรุมเป็นอาหาร นิยมบริโภคส่วนของฝักและใบ ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของฝักมะรุมและใบมะรุม รายะเอียดดังนี้

ฝักมะรุมขนาด 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 32 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย แคลเซียม 9 มิลลิกรัม เส้นใย 1.2 กรัม เหล็ก 1.5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม  วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัม วิตามินเอ 532 IU วิตามินซี 262 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.6 มิลลิกรัม

ใบมะรุมขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 37 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 8.53 กรัม กากใยอาหาร 3.2 กรัม ไขมัน 0.20 กรัม โปรตีน 2.10 กรัม น้ำ 88.20 กรัม วิตามินเอ 4 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.0530 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.074 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.620 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.794 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.120 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 44 ไมโครกรัม วิตามินซี 141.0 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.36 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 45 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.259 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 50 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 461 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 42 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.45 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะรุม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะรุมด้ารการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จาก ใบมะรุม ฝักมะรุม เมล็ดมะรุม ยางจากต้นมะรุม รากมะรุม เปลือกมะรุม ดอกมะรุม สรรพคุณของมะรุม มีดังนี้

  • ใบมะรุม สรรพคุณรักษาไข้ รักษาเลือดออกตามไรฟัน ลดอาการอักเสบ รักษาแผล ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ขับปัสสาวะ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต บำรุงผิวพรรณ แก้ปวดหัว รักษาแผลสด
  • ฝักมะรุม สรรพคุณลดไขมันในเส้นเลือด ลดคอเรสเตอรัลในร่างกาย แก้ไข้ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต
  • เมล็ดของมะรุม สรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้ เป็นยาลดไข้ แก้บวม แก้ปวดตามข้อ ป้องกันมะเร็ง แก้ไอ
  • ยางมะรุม สรรพคุณรักษาโรคหอบหืด แก้ปวดฟัน แก้ปวดหู ฆ่าเชื้อไทฟอยด์ รักษาซิฟิลิส
  • รากมะรุม สรรพคุณบำรุงหัวใจ ทำให้ร่างกายอบอุ่น แก้อาการบวม รักษาโรคไขข้อ
  • เปลือกลำต้น สรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร ป้องกันมะเร็ง
  • ดอกมะรุม สรรพคุณบำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันมะเร็ง บำรุงดวงตา บำรุงสายตา

โทษของมะรุม

มะรุม ไม่ได้ปลอดภัยไปเสียทีเดียว เพราะ ในตัวของมะรุมเองนั้นก็มีพิษเหมือนกัน เนื่องจากมะรุมเป็นพืชในเขตร้อน ซึ่งข้อควรระวังในการบริโภคมะรุม มีดังนี้

  • เปลือกของลำต้นมะรุม มีสรรพคุณช่วยคุมกำเนิด สำหรับคนที่มีบุตรยาก หรือ ต้องการมีบุตร ไม่ควรกินมะรุม
  • มะรุมอาจทำให้คุณแม่ผลิตน้ำนมออกมามากกว่าปรกติ จึงไม่ควรรับประทานมะรุม หากกำลังตั้งครรภ์ หรือ อยู่ในช่วงให้นมบุตร
  • ใบมะรุมรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปอาจจะทำให้ท้องเสียได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove