บุก Konjac พืชไฟเบอร์สูง  King Of Fiber สมุนไพรสำหรับคนลดน้ำหนัก บุกช่วยลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวานได้ ทำความรู้จักกับสรรพคุณและโทษของบุก ประโยชน์ของบุก โดยทั่วไปนิยมใช้ประโยชน์จากหัวบุกในการบริโภค

บุก สรรพคุณของบุก สมุนไพร

ต้นบุก ภาษาอังกฤษ เรียก Konjac อ่านออกเสียงว่า คอน-จัค ชื่อวิทยาศาสตร์ของบุก คือ Amorphophallus konjac K.Koch สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของบุก เช่น บุกคุงคก เบีย เบือ มันซูรัน หัวบุก บุกคางคก บุกหนาม บุกหลวง หมอ ยวี จวี๋ ยั่ว หมอยื่อ เป็นต้น บุกมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบมากในประเทศอินโดนีเซียและไทย ซึ่งประเทศไทยพบบุกมากในแถบภาคเหนือและภาคตะวันตก ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี เป็นต้น

ประโยชน์ของบุก โดยทั่วไปนิยมใช้ประโยชน์จากหัวบุกในการบริโภค ซึ่งหัวบุกเป็นแป้งสามารถทานแทนข้าวได้ มีการนำบุกมาทำอาหารไทยหลายเมนู เช่น แกงบวชมันบุก แกงส้ม แกงเลียง ห่อหมก หรือนำมาต้มลวกจิ้มกับน้ำพริกรับประทานได้ นอกจากนี้มีการนำบุกมาแปรรูปเป็นอาหารต่างๆ เช่น วุ้นเส้นบุก เส้นหมี่แป้งหัวบุก วุ้นบุกก้อน ขนมบุก เครื่องดื่มบุกผง

ประโยชน์จากบุกไม่ใช่เพียงเป็นอาหาร บุกสามารถปลูกเพื่อเป็นพืชสวยงามได้ นิยมนำมาปลูกประดับตามใต้ร่มเงาของไม้ยืนต้น ปลูกใส่กระถางเป็นไม้ประดับทั่วไป

ส่วนประโยชน์ของบุกด้านการรักษาโรค สรรพคุณของบุก ช่วยลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาโรคเบาหวาน เป็นยาแก้ไข้จับสั่น ช่วยแก้ไอ ละลายเสมหะ แก้โรคท้องมาน ใช้สำหรับสตรีประจำเดือนมาไม่ปรกติ ใช้แก้พิษงู ใช้เป็นยาแก้แผลไฟไหม้และน้ำร้อนลวก แก้ฝีหนองบวมอักเสบ  ใช้เป็นยาแก้ปวด แก้ฟกช้ำดำเขียว ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร ช่วยขับระดูของสตรี ใช้เป็นยาพอกฝี

ลักษณะของต้นบุก

ต้นบุก ถือเป็น พืชล้มลุกชนิกหนึ่ง เป็นไม้เนื้ออ่อน ลักษณะของลำต้นอวบและมีสีเขียวเข้ม ใบบุกเป็นใบเดี่ยว ซึ่งใบของบุกจะแตกใบที่ยอดและใบแผ่ขึ้นเหมือนร่มกาง ดอกของบุกจะมีสีเหลือง จะบานในตอนเย็น มีกลิ่นฉุน ลักษณะเหมือนดอกหน้าวัว ลักษณะของต้นบุก มีดังนี้

  • ลำต้นแทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน มีความสูงของต้นประมาณ 50-150 เซนติเมตร หัวที่อยู่ใต้ดินนั้นมีขนาดใหญ่ ลักษณะของหัวเป็นรูปค่อนข้างกลมแบนเล็กน้อย หรือกลมแป้น มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 25 เซนติเมตร ผิวเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ ลำต้นและกิ่งก้านมีลักษณะกลมใหญ่ เปลือกลำต้นเป็นสีเขียวมีลายแต้มสีขาวปะปนอยู่
  • ใบบุก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลมรี ปลายใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร
  • ดอกบุก ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะของดอกเป็นรูปทรงทรงกระบอกกลมแบน มีกลิ่นเหม็น สีม่วงแดงอมเขียว มีกาบใบยาวประมาณ 30 เซนติเมตร สีม่วงอมเหลือง โผล่ขึ้นพ้นจากกลีบเลี้ยงที่มีสีม่วง
  • ผลบุก ลักษณะของผลเป็นรูปกลมแบน เมื่อสุกจะเป็นสีส้ม

สรรพคุณของบุก

สำหรับสรรพคุณของบุก เรานิยมใช่ประโยน์ทางยาของบุก จาก หัว รากและเนื้อของลำต้น รายละเอียด ดังนี้

  • หัวบุก มีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาโรคเบาหวาน เป็นยาแก้ไข้จับสั่น ช่วยแก้ไอ ละลายเสมหะ แก้โรคท้องมาน ใช้สำหรับสตรีประจำเดือนมาไม่ปรกติ ใช้แก้พิษงู ใช้เป็นยาแก้แผลไฟไหม้และน้ำร้อนลวก แก้ฝีหนองบวมอักเสบ  ใช้เป็นยาแก้ปวด แก้ฟกช้ำดำเขียว
  • รากของบุก ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร ช่วยขับระดูของสตรี ใช้เป็นยาพอกฝี

ข้อควรระวังในการบริโภคบุก

สำหรับข้อห้ามสำหรับการรับประทานบุก คือ หัวบุกจะมีรสเผ็ด เป็นยาร้อน มีพิษ ออกฤทธิ์ต่อม้าม ตับ และระบบทางเดินอาหาร ดังนั้น ในกลุ่มคนที่ ม้าม ตับ และระบบทางเดินอาหาร ไม่ดี ควรหลีกเลี่ยงรับประทาน และไม่รับประทานมากเกินไป ซึงข้อควรระวังในการบริโภคบุก มีรายละเอียดดังนี้

  • ในเนื้อหัวบุกป่าจะมีผลึกของแคลเซียมออกซาเลท (Calcium oxalate) เป็นจำนวนมาก ที่ทำให้เกิดอาการคัน ส่วนเหง้าและก้านใบถ้าปรุงไม่ดีแล้วรับประทานเข้าไปจะทำให้ลิ้นพองและคันปากได้
  • ก่อนนำมารับประทานจะต้องกำจัดพิษออกก่อน และไม่รับประทานกากยาหรือยาสด
  • กรรมวิธีการกำจัดพิษจากหัวบุก ให้นำหัวบุกมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตำพอแหลก คั้นเอาน้ำออกพักไว้ นำกากที่ได้ไปต้มน้ำ แล้วคั้นเอาแต่น้ำ นำไปผสมกับน้ำที่คั้นครั้งแรก แล้วนำไปต้มกับน้ำปูนใสเพื่อให้พิษหมดไป เมื่อเดือดก็พักไว้ให้เย็น จะจับตัวกันเป็นก้อน จึงสามารถใช้ก้อนดังกล่าวในการปรุงอาหารหรือนำไปตากแห้งเพื่อใช้เป็นยาได้
  • ถ้าเกิดอาการเป็นพิษจากการรับประทานบุก ให้รับประทานน้ำส้มสายชูหรือชาแก่ แล้วตามด้วยไข่ขาวสด แล้วให้รีบไปพบแพทย์
  • เนื่องจากวุ้นบุกสามารถขยายตัวได้มาก จึงไม่ควรบริโภควุ้นบกภายหลังการรับประทาน แต่ให้รับประทานก่อนอาหารไม่น้อยกว่าครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมง ส่วนการบริโภคอาหารที่ผลิตจากวุ้น เช่น วุ้นก้อนและเส้นวุ้น สามารถบริโภคพร้อมอาหารหรือหลังอาหารได้ เพราะวุ้นดังกล่าวได้ผ่านกรรมวิธีและได้ขยายตัวมาก่อนแล้ว และการการที่จะขยายตัวหรือพองตัวได้อีกนั้นจึงเป็นไปได้ยาก ส่วนในเรื่องของคุณค่าทางโภชนาการนั้นพบว่าวุ้นบุกไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย เนื่องจากไม่มีการย่อยสลายเป็นน้ำตาลในร่างกาย และไม่มีวิตามินและแร่ธาตุ หรือสารอาหารใด ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเลย
  • กลูโคแมนแนนมีผลทำให้การดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมันลดลง ซึ่งจะไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมได้ แต่จะไม่มีผลต่อการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในน้ำ
  • การกินผงวุ้นบุกในปริมาณมาก อาจทำให้มีอาการท้องเดินหรือท้องอืด มีอาการหิวน้ำมากกว่าเดิม บางคนอาจมีอาการอ่อนเพลียเพราะระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

สะระแหน่ Mint นิยมรับประทานใบและใช้รักษาโรค ต้นสะระแหน่เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของสะระแหน่ ดูแลช่องปาก แก้ท้องอืด ช่วยขับลม โทษมีอะไรบ้าง

สะระแหน่ มินต์ สมุนไพร สรรพคุณของสะระแหน่

สะระแหน่ ภาษาอังกฤษ เรียก Mint ชื่อวิทยาศาสตร์ของสะระแหน่ คือ Ment ha aruensis Linn สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของสะระแหน่ เช่น หอมด่วน หอมเดือน ขะแยะ สะระแหน่สวน มักเงาะ สะแน่ เป็นต้น ต้นสะระแหน่ มีแหล่งกำเนิดในแถบทวีปยุโรปตอนใต้และในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ใบสะระแหน่คล้ายกับมิ้นต์มีกลิ่นหอมคล้ายมะนาว รสชาติคล้ายตะไคร้ สามารถใช้ แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้ปวดเมื่อย แก้แมงสัตว์กัดต่อย นิยมนำมาทำอาหาร เพราะ ให้กลิ่นหอม

ประโยชน์ของสะระแหน่ นิยมนำมาใช้เป็นส่วนผสมของการทำอาหารและทำเป็นยา ซึ่งตามตำรายาของแพทย์แผนไทย นำสะระแหน้มาใช้รักษาโรคต่างๆ เช่น แก้ปวดท้อง แก้จุกเสียด ขับผายลม แก้แน่น แก้ไอ ขับเสมหะ ขยี้ทาขมับ แก้ปวดศีรษะ ดมแก้ลม ทาแก้ฟกบวม ท้องเฟ้อ เป็นต้น นอกจากนี้ สะระแหน่มีสารยูเจนอล สามารถทำลายแบคทีเรีย นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยแทนนินและเทอร์เพนท์ที่ใช้ในการเป็นยาเย็น สามารถสกัดเพื่อใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมยา

ลักษณะของต้นสะระแหน่

สะระแหน่ เป็นพืชล้มลุก ซึ่งมีลำต้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมเลื้อยบนดิน ใบกลม ขอบใบหยัก สีเขียว มีกลิ่นหอม ดอกมีกลีบสีขาว สามารถขยายพันธ์โดยการปักชำ เพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นสะระแหน่ มีดังนี้

  • ลำต้นสะระแหน่ ลำต้นสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร ลำต้นสะระแหน่จะทอดเลื้อยแผ่ไปตามดิน ลำต้นเป็นเหลี่ยม สีเขียวแกมม่วงน้ำตาล แตกกิ่งก้านมาก
  • ใบสะระแหน่ ลักษณะเป็นใบเดี่ยวออกเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกันบนกิ่ง ใบมีสีเขียว รูปทรงรี ผิวใบย่นเป็นลูกคลื่น ขอบใบหยัก ปลายใบมนหรือแหลม
  • ดอกสะระแหน่ ลักษณะดอกออกเป็นช่อ ออกดอกเหนือซอกใบบริเวณปลายยอด แต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก ดอกมีสีชมพูอมม่วง
  • ผลสะระแหน่ ผลมีสีดำ ขนาดเล็ก เป็นรูปกระสวย เปลือกผลเกลี้ยงมัน

คุณค่าทางโภชนาการของสะระแหน่

สำหรับการรับประทานสะระแหน่เป็นอาหารนิยมรับประทานใบสะระแหน่เป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบสะระแหน่ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 47 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 3 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม คาร์โบไฮเดรต 6 กรัม แคลเซียม 40 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 7 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4 มิลลิกรัม วิตามิน บี 1 0.13 มิลลิกรัม วิตามิน บี 2 0.29 มิลลิกรัม ไนอาซีน 0.7 มิลลิกรัม วิตามิน ซี 88 มิลลิกรัม เบต้า แคโรทีน 538 ไมโครกรัม

น้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่ มีสารสำคัญ ประกอบด้วย เมนทอล ( Menthol ) ไลโมนีน ( Limonene ) นีโอเมนทอล ( Neomenthol ) สามารถนำมาเป็นส่วนปะกอบของผลิตภัณฑ์ทางอุสาหกรรมต่างๆมากมาย

สะระแหน่ มีสารยูเจนอลที่สามารถทำลายแบคทีเรีย นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยแทนนินและเทอร์เพนท์ที่ใช้ในการเป็นยาเย็น

สรรพคุณของสะระแหน่

สำหรับการใช้ประโยชน์จากสะระแหน่ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากทุกส่วนทั้งใบและลำต้น ซี่งสรรพคุณของสะระแหน่ มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิว ทำให้ผิวชุ่มชื้น ช่วยทำให้ลดลอยเหี่ยวย่นก่อนวัยอันครว
  • เป็นยาเย็น ช่วยดับร้อนในร่างกาน ช่วยขับเหงื่อ ขับของเสียออกทางผิวหนัง
  • ช่วยบำรุงสายตา ลดรอยคล้ำใต้ตา
  • ช่วยบรรเทาอาการเครียด รักษาอาการปวดศีรษะ รักษาไมเกรน ทำให้สมองปลอดโปร่ง รักษาอาการหน้ามืดตาลาย
  • ช่วยรักษาไข้หวัด รักษาอาการไอ ลดน้ำมูก รักษาโรคหอบหืด รักษาโรคหลอดลมอักเสบ
  • บำรุงหัวใจ ทำให้หัวใจแข็งแรง ทำให้กระปรี่กระเปร่า รักษาอาการอ่อนเพลียของร่างกาย
  • บำรุงเหงือกและฟัน ระงับกลิ่นปาก บรรเทาอาการปวดฟัน รักษาอาหารเจ็บปาก แก้เจ็บลิ้น รักษาแผลในปาก
  • ช่วยรักษาอาการปวดหู ด้วยการใช้น้ำคั้นจากใบสะระแหน่มาหยอดที่รูหู
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร รักษาอาการท้องร่วง แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้จุกเสียด
  • ใช้ไล่ยุงและแมลงต่างๆ รักษาอาการแมลงสัตว์กัดต่อย
  • แก้อักเสบ แก้ปวด
  • ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย

โทษของสะระแหน่

สำหรับการใช้ประโยชน์จากสะระแหน่ มีข้อควรระวังการใช้ประโยชน์ ดังนี้

  • การใช้สะระแหน่ทาบริเวณผิวหนัง อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ เช่น หลอดลมตีบ หายใจลำบาก ผื่นแดง ผิวหนังอักเสบ
  • สำหรับคนที่มีอาการท้องเสีย ไม่ควรกินสะระแหน่จำนวนมาก เนื่องจากน้ำมันสะระแหน่หากตกตัวในลำไส้ อาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนที่บริเวณทวารหนัก

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove