รากสามสิบ ( Shatavari ) สมุนไพร เขตร้อน ต้นรากสามสิบเป็นอย่่างไร ประโยชน์และสรรพคุณลดความดัน ลดไขมันในเลือด บำรุงกำลัง ว่านสาวร้อยผัว สามร้อยราก โทษรากสามสิบรากสามสิบ ต้นรากสามสิบ สรรพคุณของรากสามสิบ ประโยชน์ของรากสามสิบ

รากสามสิบ ภาษาอังกฤษ เรียก Shatavari ชื่อวิทยาศาสตร์ของรากสามสิบ คือ Asparagus racemosus Willd. พืชตระกูลเดียวกับหน่อไม้ฝรั่ง ชื่อเรียกอื่นๆของรากสามสิบ เช่น สามร้อยราก ผักหนาม ผักชีช้าง จ๋วงเครือ เตอสีเบาะ พอควายเมะ ชีช้าง ผักชีช้าง จั่นดิน ม้าสามต๋อน สามสิบ ว่านรากสามสิบ ว่านสามสิบ ว่านสามร้อยราก สามร้อยผัว สาวร้อยผัว ศตาวรี เป็นต้น

รากสามสิบ เจริญเติบโตได้ดีในประเทศเขตร้อน พบมากในเขตป่าร้อนชื้น ป่าเขตร้อนแห้งแล้ง เขาหินปูน ป่าผลัดใบ และ ป่าโปร่ง มีต้นกำเนิดในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทย พม่า ลาว มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย

คุณค่าทางโภชนาการของรากสามสิบ

นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาสารอาหารในรากสามสิบ พบว่ารากสามสิบมีองค์ประกอบทางเคมีสารที่สำคัญ ประกอบด้วย ได้แก่ asparagamine cetanoate daucostirol sarsasapogenin shatavarin racemosol rutin alkaloid steroidal และ saponins

ลักษณะของต้นรากสามสิบ

ต้นรากสามสิบ เป็น ไม้เถา จัดเป็นไม้เนื้อแข็ง การขยายพันธุ์ของรากสามสิบ ใช้ เหง้า หน่อ และ เมล็ด การปลูกรากสามสิบให้ปลูกในช่วงฤดูฝนจะเหมาะสมที่สุด ปลูกเป็นไม้ประดับ โดยลักษณะของต้นรากสามสิบมีลักษณะ ดังนี้

  • ลำต้นรากสามสิบ ลำต้นเป็นเถา ไม้เนื้อแข็ง ความสูงประมาณไม่เกิน 4 เมตร ลำต้นเป็นสีเขียว หรือ สีขาวแกมเหลือง เถาของรากสามสิบมีขนาดเล็ก เรียบ เรียว ลื่น และ มีลักษณะผิวมัน ตามข้อเถามีหนามแหลม
  • ใบรากสามสิบ มีลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว แข็ง มีสีเขียว ลักษณะของใบเป็นรูปเข็มขนาดเล็ก ปลายใบแหลม
  • ดอกรากสามสิบ ดอกของรากสามสิบออกดอกเป็นช่อ ดอกออกที่ปลายกิ่ง และ ตามซอกใบ รวมถึง ข้อของเถา ดอกมีสีขาวและ ดอกมีกลิ่นหอม ดอกของรากสามสิบจะออกดอกช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน ของทุกปี
  • ผลรากสามสิบ ลักษณะของผลกลม ผิวเรียบ ลักษณะมัน ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกมีสีแดงอมม่วง ภายในผลมีเมล็ดสีดำ ผลของรากสามสิบจะออกผลช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม ของทุกปี

ประโยชน์ของรากสามสิบ

สำหรับประโยชน์ของต้นรากสามสิบนั้น โดยหลักๆนั้นนำมาทำเป็นยาบำรุงร่างกายและรักษาโรค ซึ่งจะกล่าวในส่วนของสรรพคุณของรากสามสิบ นอกจากนั้น สามารถทำมาทำอาการ เป็นผักสดนำมาลวกกินเป็นเครื่องเคียง สามารถนำทำทำอาหารแปรรูปจากรากสามสิบ เช่น รากสามสิบแช่อิ่ม รากสามสิบเชื่อม เป็นต้น รากสามสิบสามารถนำมาทำสบู่ และ ใช้ซักเสื้อผ้า รากสามสิบช่วยบำรุงดิน ทำให้ดินชุ่มน้ำ

สรรพคุณของรากสามสิบ

สำหรับการใช้ประโยชน์ของรากสามสิบในด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนั้น สามารถใช้ได้ทั้งตน ใบ ผล และ รากของรากสามสิบ โดยรายละเอียดของสรรพคุณของรากสามสิบ มีดังนี้

  • ใบรากสามสิบ สรรพคุณเป็นยาระบาย ช่วยขับน้ำนม ช่วยทำให้เจริญอาหาร
  • ทั้งต้นของรากสามสิบ นำมาต้มกับน้ำดื่มใช้รักษาโรคคอพอก แก้อาการตกเลือด
  • ผลของรากสามสิบ เป็นยาแก้พิษไข้ รักษาอาการบิดเรื้อรัง
  • รากของรากสามสิบ สรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง แก้กระษัย กระตุ้นระบบประสาท แก้วิงเวียนศรีษะ ลดความดันโลหิต ลดไขมันในเส้นเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคคอพอก แก้กระหายน้ำ แก้ไอ ช่วยขับเสมหะ รักษาการติดเชื้อที่หลอดลม ช่วยขับลม ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร รักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้อาการอาหารไม่ย่อย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้อาการท้องเสีย รักษาริดสีดวงทวาร ช่วยขับปัสสาวะ รักษาอาการประจำเดือนผิดปกติ แก้อาการตกเลือด รักษาภาวะหมดประจำเดือน  แก้ปวดประจำเดือน แก้ตกขาว ทำให้มีบุตร กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ช่วยบำรุงครรภ์ บำรุงน้ำนม ป้องกันการแท้ง แก้พิษจากแมลงป่องกัดต่อย ช่วยถอนพิษฝี แก้อาการปวดเมื่อย แก้อาการปวดข้อและปวดคอ

ข้อควรระวังในการใช้รากสามสิบ

รากสามสิบมีช่วยกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย เป็นยาสมุนไพรที่ไม่ปลอดภัยนักต่อเพศหญิง มีความเสี่ยงเป็นเนื้องอกในมดลูก หรือ ก้อนเนื้อที่เต้านม เป็นต้น ดังนั้นการใช้สมุนไพรรากสามสิบต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อน

น้ำรากสามสิบ

ส่วนผสมของน้ำรากสามสิบ ประกอบด้วย รากของรากสามสิบ 2.5 กิโลกรัม และ น้ำเปล่า 10 ลิตร วิธีทำน้ำรากสามสิบ นำรากสามสิบไปล้างให้สะอาด ปอกเปลือก และ ดึงไส้ของรากออก หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปต้มในน้ำเดือด เคี่ยวประมาณ 3 ชั่วโมง เติมน้ำตาลเพิ่มรสชาติให้ทานง่าย

รากสามสิบแช่อิ่ม

ส่วนผสมสำหรับทำรากสามสิบแช่อิ่ม ประกอบด้วย รากของรากสามสิบ 2.5 กิโลกรัม น้ำตาลทราย 1.5 กิโลกรัม น้ำเปล่า 5 ลิตร วิธีทำรากสามสิบแช่อิ่ม นำรากสามสิบล้างให้สะอาด ปอกเปลือกและดึงไส้ออก หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปต้มในน้ำเดือด เติมน้ำตาลทรายลงไป เคี่ยวจนน้ำตาลทรายละลายหมด เคี่ยวจนรากสามสิบเป็นสีเหลืองทอง

รากสามสิบ ( Shatavari ) คือ สมุนไพร ลดความดัน ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงกำลัง กระตุ้นระบบประสาท ต้นรากสามสิบ ถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน นิยมนำรากมาใช้ประโยชน์ ว่านสาวร้อยผัว สามร้อยราก ประโยชน์และสรรพคุณของรากสามสิบ โทษของรากสามสิบ

แก้วมังกร ( dragon fruit ) ลักษณะของต้นแก้วมังกร คุณค่าทางโภชนาการ ผลไม้ขึ้นชื่ิอของเวียดนาม สรรพคุณบำรุงผิว ลดความอ้วน โทษของแก้วมังกร มีอะไรบ้างแก้วมังกร สมุนไพร สรรพคุณของแก้วมังกร โทษของแก้วมังกร

แก้วมังกร ภาษาอังกฤษ เรียก dragon fruit ชื่อวิทยาศาสตร์ของแก้วมังกร คือ Hylocereus undatus (Haw) Britt. Rose. เป็นผลไม้ขึ้นชื่ิอของเวียดนาม มีเนื้อมาก รสหวาน คุณค่าทางอาหารสูง

ต้นแก้วมังกร เป็นพืชล้มลุก ประเภทไม้เลื้อย ตระกูลเดียวกับกระบองเพชร มีถิ่นกำเนิดจากทวีปอเมริกากลาง และมีการนำเข้ามาเอเชียครั้งแรก ที่ประเทศเวียดนาม แหล่งเพาะปลูกแก้วมังกรสำคัญของไทย คือ จันทบุรี ชลบุรี กาญจนบุรี สระบุรี และ สมุทรสงคราม แก้วมังกร จะออกผลผลิตในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี สรรพคุณเด่นของแก้วมังกร คือ ช่วยกระตุ้นระบบขับถ่าย ลดไขมันในเส้นเลือด รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ รักษาโรคเบาหวาน แก้ท้องผูก ช่วยลดน้ำหนัก ป้องกันโรคมะเร็งเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด ลดความดันโลหิต ป้อกงันโรคโลหิตจาง ช่วยขับสารพิษ ช่วยให้นอนหลับ เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกศาสตร์ของแก้วมังกร

ต้นแก้วมังกร เป็นพืชล้มลุก โดย ลักษณะของราก ลำตัน ดอกและผล มีลักษณะทั่วไป ดังนี้

  • รากของแก้วมังกร มีรากเป็นรากฝอย ขนาดเล็ก แทงลึกลงดิน
  • ลำต้นของแก้วมังกร มีลำต้นคล้ายต้นกระบองเพชร เป็นสามเหลี่ยม อวบน้ำ ขอบมีรอยหยักเป็นระยะๆ ลำต้นเป็นปล้องๆ มีหนาม ผิวลำต้นมีสีเขียว
  • ดอกของแก้วมังกร เป็นดอกเดี่ยว ขึ้นบริเวณส่วนปลายของปล้องสุดท้าย แก้วมังกรจะออกดอกประมาณ 8 ถึง 10 เดือน ดอกแก้วมังกรในระยะแรกจะเป็นตุ่มสีเขียว เมื่อดอแก้วมังกรสมบูรณ์พร้อม จะบานออกกลีบเลี้ยงจะมีสีเขียวอ่อน รูปร่างทรงกรวย คล้ายกับดอกโบตั๋น ดอกแก้วมังกรจะบานเวลากลางคืน และจะหุบในช่วงเช้า
  • ผลแก้วมังกร ลักษณะของผลแก้วมังกรเป็นทรงกลมรี เปลือกสีบานเย็น เปลือกหนา ผิวเปลือกปกคลุมด้วยกลีบเลี้ยง สีเขียว เนื้อของแก้วมังกรมีสีขาวหรือสีแดง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก

สายพันธุ์แก้วมังกร

สำหรับแก้วมังกรที่นิยมปลูกกัน มี 3 สายพันธุ์ ประกอบด้วย แก้วมังกรพันธ์เนื้อขาวเปลือกแดง แก้วมังกรพันธ์เนื้อขาวเปลือกเหลือง และ แก้วมังกรพันธ์เนื้อแดงเปลือกแดง โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • แก้วมังกรพันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Hylocercus undatus (Haw) Brit. & Rose. เปลือกจะมีสีชมพูสด กลีบสีเขียว รสชาติของเนื้อจะมีรสหวานอมเปรี้ยว
  • แก้วมังกรพันธุ์เนื้อขาวเปลือกเหลือง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Hylocercus megalanthus ผลจะมีขนาดเล็ดกว่าพันธ์อื่นๆ มีเปลือกสีเหลือง เนื้อสีขาว และเมล็ดจะมีขนาดใหญ่ รสชาติของเน้ือจะหวาน
  • แก้วมังกรพันธุ์เนื้อแดงเปลือกแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Hylocercus costaricensis เปลือกจะมีสีแดงจัด เนื้อก็มีสีแดงภายในมีเมล็ดจำนวนมาก รสชาติหวาน

คุณค่าทางอาหารของแก้วมังกร

มีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลแก้วมังกรขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 67.70 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 1.10 กรัม ไขมัน 0.57 กรัม น้ำตาลกลูโคส 5.70 กรัม น้ำตาลฟรูทโทส 3.20 กรัม ซอร์บิทอล 0.33 กรัม คาร์โบไฮเดรท 11.20 กรัม กากใยอาหาร 1.34 กรัม วิตามินซี 3 มิลลิกรัม ไนอาซิน 2.8 มิลลิกรัม วิตามินเอ 0.01 มิลลิกรัม แคลเซียม 10.2 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.37 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 38.9 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 27.5 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 272.0 มิลลิกรัม โซเดียม 8.9 มิลลิกรัม และ สังกะสี 0.35 มิลลิกรัม

จะเห็นได้ว่าแก้วมังกร อุดมไปด้วย วิตามินและแร่ธาตุ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หลายชนิด ทั้ง วิตามินซี วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น  แก้วมังกรจึงถูกจัดว่าเป็นอาหารเพื่อสุขภาพชนิดหนึ่ง

สรรพคุณของแก้วมังกร

สำหรับการใช้ประโยชน์ของแก้วมังกร เรานำผลของแก้วมังกรมาบริโภค เพื่อประโยชน์ต่างๆ โดย สรรพคุณของแก้วมังกร มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง สดใส ชุ่มชื่น เพราะมีวิตามินซีสูง
  • ช่วยคลายร้อน ดับกระหาย
  • ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
  • ช่วยควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากมีแคลอรีต่ำ และกากใยอาหารสูง
  • ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ
  • ช่วยชะลอวัย ลดริ้วรอยต่างๆ
  • ป้องกันโรคหัวใจ
  • ช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด
  • รักษาโรคเบาหวาน
  • ช่วยลดความดันโลหิต
  • ช่วยบรรเทาอาการของโรคโลหิตจาง
  • ช่วยกระตุ้นการขับน้ำนม
  • ช่วยดูดซับสารพิษที่ตกค้างในร่างกาย เช่น ตะกั่วที่มาจากควันท่อไอเสีย ยาฆ่าแมลง เป็นต้น
  • ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
  • ช่วยในการขับถ่าย แก้อาการท้องผูก
  • ช่วยให้ผ่อนคลาย และ ช่วยให้นอนหลับง่าย

ข้อควรระวังในการกินแก้วมังกร

สำหรับข้อควรระวังในการกินแก้วมังกร มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • แก้วมังกร เป็นผลไม้เย็น หากบริโภคมากเกินไป จะทำให้มือเท้าเย็น ท้องเสียง่าย
  • สำหรับสตรีมีประจำเดือน ไม่ความกินแก้วมังกรมาก เนื่องจากความเย็นของแก้วมังกรมีผลต่อเลือดจับตัวเป็นก้อน ทำให้ประจำเดือนขัด
  • แก้วมังกรห้ามกินคู่กับนมสด เพราะจะทำให้อาหารไม่ย่อย

การเพาะปลูกแก้วมังกร

แก้วมังกร เป็นไม้เลื้อย ต้องมีหลักสำหรับให้ต้นแก้วมังกรยึดเกาะ นิยมใช้ไม้เนื้อแข็งหรือเสาซีเมนต์ ระยะปลูก 3 x 3 เมตร โดยให้เตรียมหลุมขนาด 30 x 30 x 30 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักเก่า นำกิ่งพันธุ์ลงหลุมแล้วมัดกิ่งพันธุ์ให้แนบหลักและกันแดดให้ 1 – 2 สัปดาห์ แก้วมังกร เป็นพืชที่เติบโตได้ทุกสภาพดิน แต่จะชอบดินร่วน ดินร่วนปนทราย และไม่ชอบดินชื้น และน้ำท่วมขัง พื้นที่มีการระบายน้ำดี


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove