มังคุด Mangosteen ราชินีแห่งผลไม้ นิยมกินผลมังคุดเป็นอาหาร เปลือกผลมังคุดมีประโยชน์ ช่วยสมานแผล แก้ท้องเสีย ลดอักเสบ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ทำเครื่องสำอางค์

มังคุด ผลไม้ สมุนไพร

ต้นมังคุดภาษาอังกฤษ เรียก Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ของมังคุด คือ Garcinia mangostana Linn.  สำหรับชื่อเรียกอื่นของมังคุด เช่น แมงคุด เมงค็อฟ เป็นต้น ซึ่งชื่อเรียกจะเรียกแตกต่างกันตามแต่ละพื้นที่ ต้นมังคุด เป็นพันธุ์ไม้ไม่ผลัดใบเขตร้อนชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ที่หมู่เกาะซุนดาและหมู่เกาะโมลุกกะ แพร่กระจายพันธุ์ไปสู่หมู่เกาะอินดีสตะวันตกเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 24 แล้วจึงไปสู่ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส ปานามา เอกวาดอร์ ไปจนถึงฮาวาย ประเทศไทยมีการปลูกมังคุดมานานแล้ว มีกล่าวถึงมังคุดในพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ในสมัยรัชกาลที่ 1 นอกจากนั้นบริเวณโรงพยาบาลศิริราชยังเคยเป็นที่ตั้งของวังที่มีชื่อว่า วังสวนมังคุด รวมถึงในจดหมายเหตุของราชทูตจากศรีลังกาที่เข้ามาขอพระสงฆ์ไทย ได้กล่าวถึงมังคุดว่าเป็นหนึ่งในผลไม้ที่นำออกมารับรองคณะทูต

ประโยชน์ของมังคุด สามารถนำมารับประทานเป็นผลไม้ หรือ ทำเป็นน้ำผลไม้ ซึ่งมังคุดมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัยและการเกิดริ้วรอย ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส เสริมสร้างระบบภูมิต้านทานโรค ช่วยลดกลิ่นปาก ผลมังคุดสามารถนำมาประกอบอาหารทั้งคาวและหวาน เช่น แกง ยำ มังคุดลอยแก้ว ซอสมังคุด นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น มังคุดกวน แยมมังคุด มังคุดแช่อิ่ม ทอฟฟี่มังคุด เป็นต้น นอกจากนั้นเปลือกมังคุด มีสารช่วยป้องกันเชื้อรา เหมาะสำหรับนำมาทำปุ๋ย เปลือก มังคุดมีสารจีเอ็ม-1 ใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง และนำมาแปรรูปเป็นสบู่

มังคุดในประเทศไทย

ประเทศไทยมึภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสำหรับการปลูกมังคุ ซึงมังคุดจากประเทศไทยมีรสชาติที่อร่อยมาก จึงเป็นแหล่งผลิตมังคุดเพื่อการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆของโลก โดยส่งออกไปหลายประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และเนเธอแลนด์ มูลค่าการส่งออกแต่ละปีมากกว่า 1,500 ล้านบาท

มังคุดของประเทศไทยที่ถูกส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศนั้นมีทั้งในรูปของผลไม้สดและมังคุดแปรรูป ซึ่งภาคใต้เป็นแหล่งปลูกมังคุดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มังคุดเป็นผลไม้ที่มีเอกลักษณ์ในรูปร่างของผลที่สวยงาม มีขั้วผลเหมือนมงกุฎรสชาติอร่อยหวานอมเปรี้ยวเป็นที่ชื่นชอบของทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ จนได้รับฉายาว่า “ Queen of Fruits

ปัจจุบันมังคุด เป็นผลไม้ที่มีศักยภาพสูงทางเศรษฐกิจการ ผลไม้ส่งออกของประเทศไทยและมีแนวโน้มว่ามังคุดจะมีความสำคัญมากขึ้นอีกด้วย เนื่องจากว่าประเทศไทยได้ทำการขยายตลาดการส่งออกมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีนซึ่งมีประชากรสูง ก็ให้ความสนใจกับไม้ผลชนิดนี้ด้วย

ลักษณะของต้นมังคุด

ต้นมังคุด เป็นไม้ยืนต้น พันธุ์ไม้ไม่ผลัดใบเขตร้อนชนิดหนึ่ง ความสูงประมาณ 10-12 เมตร สามารถขยายพันธ์โดยการทายกิ่ง ตอนกิ่ง และ เพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นมังคุด มีดังนี้

  • ลำต้นของมังคุด ลักษณะลำต้นตั้งตรง เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลเข้ม เปลือกของมังคุดมีน้ำยางสีเหลือง
  • ใบของมังคุด เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงกัน รูปไข่หรือรูปวงรี มีขอบขนาน ความกว้างประมาณ 6-12 เซนติเมตร ความยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร เนื้อของใบหนาและค่อนข้างเหนียวเหมือนหนัง ด้านหลังของใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบจะมีสีเขียวอ่อน
  • ดอกของมังคุด เป็นดอกเดี่ยวออกตามซอกใบ เป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลือง กลีบดอกมีสีแดง
  • ผลของมังคุด ลักษณะกลม เปลือกนอกสีเข้มแข็ง เมื่อผลแก่เต็มที่จะมีสีม่วงแดง มียางสีเหลือง เนื้อผลสีขาวฉ่ำน้ำ มีเมล็ดอยู่ในเนื้อผล

คุณค่าทางโภชนาการของมังคุด

สำหรับการบริโภคมังคุดเป็นอาหารนิยมรับประทานเนื้อของผลมังคุด ซึ่งนักโภชานการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมังคุดขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 76 แคลอรี และ มีสามารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 0.5 กรัม คาร์โบไฮเดรท 18.4 กรัม ใยอาหาร 1.7 กรัม แคลเซียม 11 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 17 มิลลิกรัม เหล็ก 0.9 มิลิลกรัม วิตามินบี1 0.09 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.06 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.01 มิลลิกรัม

เปลือกของมัคคุด มีสารแทนนิน ( tannin ) ช่วยให้แผลหายเร็ว ช่วยลดอาการอักเสบ ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนองได้

สรรพคุณของมังคุด 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมังคุดด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จากเปลือกมังคุด ซึ่งสรรพคุณของเปลือกมังคุดมี ดังนี้

  • รักษาโรคท้องเสียเรื้อรัง และโรคลำไส้ โดยใช้เปลือกมังคุดครึ่งผลต้มกับน้ำรับประทานครั้งละ 1 แก้ว
  • รักษาอาการท้องเดิน ท้องร่วง โดยเปลือกมังคุต้มกับน้ำปูนใส ในเด็กให้รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชาทุก 4 ชั่วโมง ในผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะทุก 4 ชั่วโมง
  • รักษาแผลน้ำกัดเท้า แผลพุพอง ใช้เปลือกผลสดหรือแห้ง ฝนกับน้ำปูนใส ทาแผลน้ำกัดเท้า แผลพุพอง วันละ 2-3 ครั้ง
  • บำรุงผิวพรรณ รักษาสิว รักษากลากเกลือน
  • ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย
  • ช่วยลดไข้
  • ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง
  • ช่วยเพิ่มพลังงานแก่ร่างกาย เพิ่มความกระปรี้กระเปร่า
  • ช่วยลดความเครียด ป้องกันสมองเสื่อม บำรุงระบบประสาท บำรุงสมอง
  • ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งชนิดต่างๆ เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร
  • บำรุงหัวใจ ช่วยขยายหลอดเลือด ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ ลดความดันโลหิต ลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด
  • ช่วยบำรุงและรักษาสายตา
  • ช่วยบำรุงสุขภาพช่องปาก รักษาแผลในช่องปาก
  • แก้อักเสบ ช่วยรักษาข้อเข่าอักเสบ
  • มีสารแทนนิน ช่วยสมานแผล ทำให้แผลหายเร็ว

โทษของมังคุด

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมังคุดต้องใช้อย่างเหมาะสมและต้องได้รับคำแนะนำการใช้อย่างถูกต้องจากผู้เชียวชาญ ซึ่งโทษของมังคุด มีดังนี้

  • มังคุดมีสารแซนโทน ( Xanthone ) ในปริมาณมาก มีประโยชน์ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ ลดความดันโลหิต ต้านการเกิดโรคมะเร็ง และอาการแพ้ต่าง ๆ แต่ก็ยังขาดข้อมูลในการสนับสนุนว่ามังคุดจะสามารถรักษาอาการต่าง ๆ เหล่านี้ได้จริง ถึงแม้ยังไม่มีรายงานการศึกษาความเป็นพิษในมนุษย์ แต่ก็พบอาการไม่พึงประสงค์หลายอย่างในแต่ละบุคคล เช่น มีอาการผิวหนังบวมแดง เป็นผื่นคันขึ้นตามตัว ปวดศีรษะ ปวดบริเวณข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ท้องเสีย ถ่ายเหลว ลำไส้แปรปรวน เป็นต้น
  • มังคุดมีสารแทนนิน ( Tannin ) ในเปลือกของมังคุด หากบริโภคมากเกินไปและต่อเนื่อง อาจจะทำให้เกิดเป็นพิษต่อตับ ไต การเกิดมะเร็งในร่องแก้ม ในทางเดินอาหารส่วนบน และยังไปลดจำนวนของเม็ดเลือดขาวจนทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดต่ำลงจากปกต

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

กุยช่าย ( Garlic chives ) สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว สรรพคุณมีสารต้านอนุมูลอิสระ บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศกุยช่าย สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของกุยช่าย

กุยช่าย ( Garlic chives ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกุยช่าย คือ Allium tuberosum Rottler ex Spreng. สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของใบกุยช่าย สรรพคุณของกุยช่าย ประโยชน์ของกุยช่าย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ชนิดของกุยช่าย เช่น กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว

ต้นกุยช่าย เป็นพืชสมุนไพร ในครัวเรือน นิยมนำใบและดอกกุยช่ายมาทำอาหาร สรรพคุณของกุยช่าย เช่น รักษาหวัด บำรุงกระดูก แก้ลมพิษ แก้ท้องอืด บำรุงไต บำรุงกำหนัด กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ กุยช่ายที่รู้จักกันในท้องตลาด มี กุยช่ายขาว และกุยช่ายเขียว ซึ่งคือพืชชนิดเดียวกัน แต่เทคนิคด้านการผลิตพืช ทำให้ใบกุยช่ายสามารถเป็นสีขาวได้ ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็งได้ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสมุนไพร ชื่อ กุยช่าย กัน

กุยช่าย นิยมนำใบมาทำเป็นส่วนประกอบของอาหาร ตัวอย่างอาหารเมนูกุยช่าย เช่น ผัดเต้าหู้ ผัดหมูกรอบ ผัดหมี่ซั่ว ผัดหมีฮ่องกง เป็นต้น กุยช่ายเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออก แถบเทือกเขาหิมาลัย ประเทศอินเดีย ประเทศจีน และประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น กุยช่าย ภาษาอังกฤษ เรียก Garlic chives กุยช่าย มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Allium tuberosum Rottler ex Spreng. เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับพลับพลึง สำหรับกุยช่ายมีชื่อเรียกอื่น ๆ อาทิเช่น ผักไม้กวาด, ผักแป้น, กูไฉ่ เป็นต้น

ลักษณะของต้นกุยช่าย

ต้นกุยช่าย เป็นพืชตระกูบล้มลุก ความสูงของต้นกุยช่ายประมาณไม่เกิน 45 เซนติเมตร มีเหง้าเล็กๆ และแตกกอ ลักษณะของต้นกุ่ยฉ่าย มีดังนี้

  • ใบของกุยช่าย เป็นใบแบน และยาว ขึ้นที่โคนต้นเหมือนต้นหญ้า
  • ดอกของกุยช่าย จะออกเป็นช่อ มีดอกสีขาว มีกลิ่นหอม
  • ก้านของช่อดอกกุยช่าย มีความยาวประมาณ 45 เซนติเมตร
  • ผลของกุยช่าย มีลักษณะกลม เมล็ดของกุยช่าย มีสีน้ำตาล ลักษณะแบน

คุณค่าทางโภชนาการของกุยช่าย

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของใบกุยช่ายและดอกกุยช่าย พบว่า ต้นกุยช่ายขนาด 100 กรัม สามารถให้พลังงาน 28 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหารต่างๆ มากมายประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 4.1 กรัม กากใยอาหาร 3.9 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม เบต้าแคโรทีน 136.79 ไมโครกรีม ธาตุแคลเซียม 98 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.5 มิลลิกรัมและธาตุฟอสฟอรัส 46 มิลลิกรัม ในการศึกษาดอกกุยช่ายขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 38 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.3 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม เบต้าแคโรทีน 152.92 ไมโครกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 31 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัมและธาตุฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกุยช่าย

สำหรับ ประโยชน์ของกุยช่าย ด้านการรักษาโรคต่างๆ นั้่น สามารถใช้กุยช่าย ตั้งแต่ ต้น ใบ ราก เมล็ด ดอก รายละเอียดของ สรรพคุณของกุยช่าย มีดังนี้

  • ใบกุยช่าย ช่วยบำรุงกระดูก กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ แก้ปัญหาการหลั่งเร็วในเพศชาย เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยลดความดัน รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาโรคเบาหวาน ช่วยรักษาโรคหูน้ำหนวก เป็นยาแก้หวัด แก้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลมในกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาแผลริดสีดวงทวาร ช่วยแก้โรคนิ่ว รักษาหนองในได้ บำรุงไต แก้พิษแมลงกัดต่อย รักษาห้อเลือด รักษาอาการฟกช้ำ รักษาแผลเป็นหนอง บำรุงน้ำนม ช่วยลดอักเสบ
  • รากกุยช่าย ช่วยแก้อาการเลือดกำเดาไหล แก้อาการอาเจียน มีฤทธิ์ในการช่วยห้ามเหงื่อ ช่วยแก้อาการแน่นหน้าอก ช่วยแก้อาการปัสสาวะขัด
  • เมล็ดของกุยช่าย ช่วยอุดฟัน ป้องกันฟันผุ ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ เป็นยาฆ่าแมลง
    ช่วยแก้อาเจียน ด้วยการใช้ต้นกุยช่ายนำมาคั้นเอาแต่น้ำผสมกับเกลือเล็กน้อย หรือจะผสมกับน้ำขิงสักเล็กน้อยอุ่นให้
  • ต้นกุยช่าย ช่วยรักษาอาการท้องเสีย ช่วยแก้โรคนิ่ว ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี รักษาโรคหนองใน บำรุงน้ำนม ลดอาการอักเสบ

ข้อควรระวังในการบริโภคกุยช่าย

  • กุยช่ายมีสรรพคุณให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย หากรับประทานมากเกินไปจะทำให้ตัวร้อน และร้อนในได้
  • ไม่ควรดื่มสุรา ร่วมกับกุยช่าย เนื่องจากกุยช่ายทให้ร่างกายร้อนขึ้น และสุราก็มีฤทธิ์ร้อนเช่นกัน อาจเป็นพิษต่อร่างกายได้
  • กุยช่ายกระตุ้นการทำงานของระบบลำไส้ หากมีอาการท้องเสีย หรือเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ไม่ควรกินกุยช่าย
  • กุยช่ายแก่ จะมีกากใยอาหารมาก ในการรับประทานกุยช่าย จะทำให้ระบบลำไส้ ทำงานหนักมากขึ้น

กุยช่าย ( Garlic chives ) สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของใบกุยช่าย ชนิดของกุยช่าย เช่น กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว สรรพคุณของกุยช่าย ประโยชน์ของกุยช่าย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove