ถั่วเขียว ( Green Bean ) สมุนไพร พืชตระกลูถั่ว ต้นถั่วเขียวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณลดคอเรสเตอรัล ช่วยเจริญอาหาร ลดไขมัน บำรุงผิวถั่วเขียว สมุนไพร สรรพคุณถั่วเขียว ประโยชน์ของถั่วเขียว

ต้นถั่วเขียว ภาษาอังกฤษ เรียก Green Bean ถั่วเขียว มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Vigna radiata (L.) R.Wilczek สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของถั่วเขียว เช่น ถั่วจิม, ถั่วมุม, ถั่วเขียว ถั่วทอง เป็นต้น ถั่วเขียว เป็นพืชตระกลูถั่ว มีสรรพคุณสูง เหมาะสำหรับการลดความอ้วน ถั่วเขียวช่วยลดคอเรสเตอรัล บำรุงหัวใจ ช่วยกำจัดสารพิษ บำรุงผิวพรรณ ถั่วเขียวจัดว่าเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ประโยชน์ของถั่วเขียว มากมาย แต่มีข้อควรระวังในการบริโภคถั่วเขียวอยู่บ้าง วันนี้เรามาทำความรู้จักกับถั่วเขียวอย่างละเอียด ว่าเป็นอย่างไร ใช้รักษาอะไรได้บ้าง

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว

นักโภชนาการได้ทำการศึกษาคุณค่าทางอาหารของ ถั่วเขียว ทั้งใน ถั่วเขียวสด และถั่วเขียวต้ม พบว่า มีคุณค่าทางอาหารที่ใกล้เคียงกัน รายละเอียดดังนี้

ถั่วเขียวต้ม ขนาด 100 กรัม นั้น ให้พลังงาน 105 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ อาทิ เช่น คาร์โบไฮเดรต 19.15 กรัม น้ำ 72.66 กรัม น้ำตาล 2 กรัม กากใยอาหาร 7.6 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 7.02 กรัม วิตามินบี2 0.061 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.164 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.41 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.067 มิลลิกรัม วิตามินบี9 159 ไมโครกรัม วิตามินบี3 0.577 มิลลิกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.15 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.7 ไมโครกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 99 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 27 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.298 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.4 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 266 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 48 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.84 มิลลิกรัม

ถั่วเขียวดิบ ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 347 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยสารอาหาร ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 62.62 กรัม
น้ำ 9.05 กรัม น้ำตาล 6.6 กรัม กากใยอาหาร 16.3 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 23.86 กรัม วิตามินบี1 0.621 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.233 มิลลิกรัม วิตามินเค 9 ไมโครกรัม วิตามินบี3 2.251 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.382 มิลลิกรัม  วิตามินบี5 1.91 มิลลิกรัม วิตามินบี9 625 ไมโครกรัม วิตามินซี 4.8 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.51 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 189 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 132 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 6.74 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,246 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.035 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 367 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 2.68 มิลลิกรัม 28%

ลักษณะของต้นถั่วเขียว

ต้นถั่วเขียว เป็นพืชล้มลุกมีอายุสั้น สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ซึ่งลักษณะของต้นถั่วเขียว นั้นมีรายละเอียด ดังนี้

  • รากของถั่วเขียว เป็นระบบรากแก้ว มีรากแขนงมากมาย ถั่วเขียวจะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้น รากของถั่วเขียว เป็นแหล่งสะสมไนดตรเจนที่ดีสำหรับสารอาหารในดิน
  • ลำต้นของถั่วเขียว มีลักษณะลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้าน เป็นทรงพุ่ม ความสูงประมาณไม่เกิน 150 เซนติเมตร ลำต้นมีขนอ่อน
  • ใบของต้นถั่วเขียว เป็นใบเดียวแต่ในก้านหนึ่งก้านจะมีใบเดียว สามใบ
  • ดอกของต้นถั่วเขียว จะขึ้นบริเวณมุมใบ ปลายยอด และกิ่งก้าน ลักษณะดอกเป็นช่อ ความยาวประมาณ 2 ถึง 13 เซนติเมตร ดอกของถั่วเขียวมีหลายสี อาทิ เช่น สีเหลือง สีขาว และสีม่วง เป็นต้น
  • ฝักและเมล็ดของต้นถั่วเขียว ฝักจะยาวกลม งอเล็กน้อย ผิวเรียบ มีเมล็ดถั่วเขียวอยู่ด้านใน เมื่อฝักแก่เต็มที่ ก็สามารถเก็บเกี่ยวเอาเมล็ดถั่วเขียวมาใช้งานได้

สรรพคุณของถั่วเขียว

สำหรับในการใช้ประโยชน์จากถั่วเขียว นั้นนิยมใช้ประโยชน์จากเมล็ดถั่วเขียว โดยเฉพาะการกินทั้งแบบสดและแบบต้ม หรือ กินต้นอ่อน ที่เรารู้จักกันใน ถั่วงอก รายละเอียดของ สรรพคุณของถั่วเขียว มี ดังนี้

ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ป้องกันมะเร็ง ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงกำลัง รักษาไข้หวัด ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยลดระดับไขมัน ช่วยคอเลสเตอรอล ช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือด ช่วยควบคุมน้ำหนัก ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวานได้ บำรุงกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยขับร้อน แก้อาการร้อนใน รักษาโรคเลือดออกตามไรฟันช่วยถอนพิษ ช่วยกระตุ้นประสาท ทำให้ช่วยสมองทำงานได้ฉับไว ช่วยบำรุงเซลล์ประสาทและสมอง ช่วยบำรุงสายตา ช่วยแก้อาการตาพร่า รักษาตาอักเสบ ช่วยรักษาคางทูม ช่วยแก้อาการอาเจียน ช่วยขับของเหลวในร่างกาย ช่วยในการขับถ่าย เป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยแก้ลำไส้อักเสบ ช่วยบำรุงตับ ช่วยแก้อาการไตอักเสบ ช่วยแก้ผดผื่นคัน ช่วยลดบวม ช่วยรักษาโรคข้อต่าง ๆ ช่วยรักษาฝี ช่วยแก้พิษจากพืช แก้พิษจากสารหนู ช่วยป้องกันการพิการแต่กำเนิดของทารก

ข้อควรระวังในการบริโภคถั่วเขียว

  • ถั่วเขียว มีฤทธิ์ทำให้ท้องอืด ผู้ที่มีอาการท้องอืดอยู่แล้วควรหลีกเลี่ยงการกินถั่วเขียว เพราะจะทำให้ท้องอืดมากขึ้น
  • ถั่วเขียว จะทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานหนักขึ้น สำหรับผู้ที่ระบบกระเพราะอาหารอ่อนแอ ในช่วยเวลานั้นๆ ควรหลีกเลี่ยงการกินถั่วเขียว
  • ถั่วเขียว เป็นคาร์โบไฮเดรต ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันเมื่อร่างกายมนุษย์รับประทานเข้าไป การกินถั่วเขียวมากเกินไป อาจทำให้เกิดไขมันสะสมมากเกินไปได้ ดังนั้น การกินถั่วเขียว ต้องกินให้อยู่ในริมาณที่พอดีต่อความต้องการของร่างกาย
  • ใน ถั่วเขียว มีสารชนิดหนึ่ง ชื่อ พิวรีน (Purine) มีผลการสะสมกรดยูริกในร่างกาย ทำให้เกิดเก๊าท์ได้ ผู้ที่เป็นเก๊าท์อยู่แล้ว ควรหลีกเลี่ยง หรือควบคุมปริมาณการกินถั่วเขียว

ถั่วเขียว ( Green Bean ) สมุนไพร พืชตระกลูถั่ว คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว ประโยชน์ของถั่งเขียว สรรพคุณของถั่วเขียว ลดความอ้วน ช่วยลดคอเรสเตอรัล ช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดระดับไขมัน บำรุงผิวพรรณ ข้อควรระวังในการกินถั่วเขียว ลักษณะของต้นถั่วเขียว

ผักคะน้า ( Kale ) นำมาทำอาหาร สมุนไพร สำหรับสตรีตั้งครรถ์ ต้นคะน้าเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณป้องกันมะเร็ง บำรุงผิวพรรณ บำรุงสายตา

ผักคะน้า สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของผักคะน้า

ผักคะน้า ( Kale ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักคะน้า คือ Brassica albroglabra พืชสวนครัว นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน สมุนไพร เหมาะสำหรับสตรีตั้งครรถ์ คุณค่าทางโภชนาการของผักคะน้า คะน้ามีโฟเลตสูง มีวิตามินหลายชนิด แคลเซียมสูง ผักคะน้า มีถิ่นกำเนิดจากจีน ประโยชน์ของผักคะน้า สรรพคุณของผักคะน้า ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงสายตา

ผักคะน้า ชื่อของพืชชนิดนี้ คุ้นหูคนไทยเป็นอย่างดี คะน้าเป็นผักสวนครัว ที่นิยมนำมาทำอาหาร ได้หลากหลายชนิด เหมาะสำหรับสตรีตั้งครรถ์ เนื่องจากมีโฟเลต ช่วยสร้างสมองทารกใรครรถ์ ผักคะน้ามีถิ่นกำเนิดจากจีน คนจีนนำมาปลูกและนิยมนำมาทำอาหารทั้งเมนูต้ม ผัด แกง ทอด ประโยชน์ของผักคะน้า คือ มีวิตามินหลายชนิด และแคลเซียมสูง

คะน้า ภาษาอังกฤษ เรียก Kale ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักคะน้า คือ Brassica albroglabra ชื่อเรียกอื่นๆของผักคะน้า เช่น ไก๋หลาน กำหนำ เป็นต้น ต้นคะน้า พืชล้มลุก ในตระกูลกะหล่ำปลี นิยมรับประทาน ใบและยอดของคะน้า มาทำความรู้จักกับผักคะน้าให้มากกว่านี้

สายพันธุ์ผักคะน้า

ผักคะน้า ที่นิยมปลูกในประเทศไทยนั้น มีอยู่ 3 พันธุ์ โดยรายละเอียดมีดังนี้

  • พันธุ์ใบกลม ได้แก่ พันธ์ฝางเบอร์1 พันธ์นี้มีลักษณะใบกว้างใหญ่ ปล้องสั้น ปลายใบมนและผิวใบเป็นคลื่นเล็ก
  • พันธุ์ใบแหลม ได้แก่ พันธ์ PL20 พันธ์นี้มีลักษณะใบแคบกว่าพันธุ์ใบกลม ปลายใบแหลม ข้อห่าง ผิวใบเรียบ
  • พันธุ์ยอด ได้แก่ พันธ์แม่โจ้ ซึ่งพันธ์นี้มีลักษณะใบเหมือนกับคะน้าใบแหลม แต่จำนวนใบต่อต้นมีน้อยกว่า ปล้องยาวกว่า

ลักษณะของต้นผักคะน้า

ผักคะน้า เป็น พืชล้มลุก อายุสั้น ผักคะน้ามีอายุ 2 ปี อายุการเก็บเกี่ยวผักคะน้าอยู่ที่ 55 วัน โดยผักคะน้าสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการปลูกผักคะน้ามากที่สุด คือ เดือนตุลาคมถึงเดือนเมษายน ของทุกปี

  • รากของผักคะน้า รากแก้วจะมีขนาดใหญ่ อยู่ติดจากลำต้น ลึกลงดินประมาณ 10 ถึง 30 เซ็นติเมตร รากฝอยจะเกาะตามรากแก้ว มีน้อย
  • ลำต้นของผักคะน้า ลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร ลำต้นอวบใหญ่ สีเขียว
  • ใบของผักคะน้า ใบกลม ลักษณะก้านใบยาว การแตกของใบจะแตกออกจากลำต้นเรียงสลับกัน ผิวของใบ คลืน ผิวมัน สีเขียว
  • ยอดและดอกของผักคะน้า ส่วนของยอดที่มีลักษณะเป็นใบอ่อน คล้ายดอกบัวตุม สีเขียวอ่อน

คุณค่าทางโภชนาการของคะน้า

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของผักคะน้า สดปริมาณ 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 24 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย โปรตีน 2.7 กรัม คาร์โบไฮเดรต 2.2 กรัม แคลเซียม 245 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 147 มิลลิกรัม กากใยอาหาร 3.2 กรัม

คะน้า จะมีสารชนิดหนึ่ง เรียก กอยโตรเจน ( Goitrogen ) สารชนิดนี้ส่งผลต่อร่างกายทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ รวมถึงทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุไอโอดีน ทำให้เป็นดรคคอพอกได้ นอกจากนั้นทำให้การสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์ลดประสิทธิภาพลง ดังนั้น การรับประทานผักคะน้าในปริมาณพอเหมาะ จะทำให้มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

สรรพคุณของผักคะน้า

การรับประทานผักคะน้า ในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยให้มีสรรพคุณทางสมุนไพร ดังนี้ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกาย ช่วยบำรุงผิวพรรณ ป้องกันการติดเชื้อ ช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้ชุ่มชื้น ช่วยบำรุงสายตา  ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต้อกระจก ป้องกันจอประสาทตาเสื่อม ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยลดอาการไมเกรน ช่วยชะลอความจำเสื่อม ช่วยลดความเสี่ยงโรคกระเพาะอาหาร ป้องกันมะเร็งลำไส้ ป้องกันมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ป้องกันมะเร็งปอด ป้องกันมะเร็งเต้านม ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยรักษาโรคหอบหืด ช่วยขยายหลอดลม ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ ป้องกันการเกิดตะคริว รักษาสมดุลฮอร์โมนเอสโตรเจน ควบคุมน้ำตาลในเลือดช่วยลดความเสี่ยงต่อการที่เด็กทารกพิการแต่กำเนิด

โทษของผักคะน้า 

สารกอยโตรเจน ( Goitrogen ) ที่อยู่ในผักคะน้า ทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ ทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุไอโอดีน และ ทำให้การสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์ลดประสิทธิภาพลง การรับประทานผักคะน้าในปริมาณที่เหมาะสม

การปลูกผักคะน้า

  • การเพาะกล้าต้นกล้าผักคะน้า วิธีการหว่านเมล็ดในแปลง โดยแปลงให้ยกร่องสูง 30 เซนติเมตร พร้อมพรวนดิน และรดน้ำให้ชุ่ม เมล็ดจะงอกประมาณ 3 ถึง 5 วัน หลังจากเมล็ดงอกได้ 7 ถึง 10 วัน ให้คัดต้นกล้าแข็งแรงที่สด เพื่อดูแลต่อ และคัดต้นที่อ่อนแอออก
  • วิธีการปลูกผักคะน้า เมื่อต้นกล้าสูงได้ประมาณ 10 เซ็นติเมตร สังเกตุได้ว่ามีใบแท้ประมาณ 3 ถึง 5 ใบ อายุของต้นกล้าประมาณ 30 วัน ก็ให้ย้ายลงแปลงปลูก ให้ระยะห่างระหว่างต้น 20 เซ็นติเมตร
  • การดูแลผักคะน้า ให้น้ำสม่ำเสมอทุกวันเช้าเย็น ให้ปุ๋ยทุก 15 วัน  และกำจัดวัชพืช เป็นประจำทุกเดือน
  • การเก็บผลผลิตผักคะน้า สามารถเก็บผลผลิตได้ หลังตากเพาะต้นกล้า 60 วัน โดยไม่ควรใช้มือเด็ดหรือถอน ใช้มีดตัดออก และให้เด็ดใบแก่ติดโคนต้นออก และนำมาล้างทำความสะอาด

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove