แตงกวา ( Cucumber ) สมุนไพร ประโยชน์ของแตงกวา สรรพคุณของแตงกวา บำรุงผิวพรรณ แก้กระหาย ลดความร้อนในร่างกาย พืชใช้บำรุงความงามทำให้ผิวพรรณดีแตงกวา สมุนไพร สรรพคุณของแตงกวา

ต้นแตงกวา ภาษาอังกฤษ เรียก Cucumber ชื่อวิทยาศาสตร์ของแตงกวา คือ Sucumis sativus Linn สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของแตงกวา เช่น แตงขี้ไก่ แตงขี้ควาย แตงช้าง แตงร้าน แตงปี แตงยาง แตงเห็น แตงอ้ม ตาเสาะ อึ่งกวย เป็นต้น ชื่อของแตงกวาจะเรียกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย นิยมนำผลแตงกวามารับประทานเคียงกับน้ำพริก ลาบ อาหารจานเดียวต่างๆ เช่น ข้าวผัด ข้าวมันไก่ หมูแดง หมูกรอบ สลัดผัก เป็นต้น

ประโยชน์ของแตงกวา น้ำของแตงกวา สามารถนำมาเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง เช่น ครีมล้างหน้า เจลล้างหน้า สบู่ล้างหน้า ครีมบำรุงผิว ครีมกันแดด เป็นต้น  แตงกวานำมาทำทรีตเมนต์ ช่วยลดรอยเหี่ยวย่น ลดสิว บำรุงผิวหน้า นอกจากนั้นนำผลแตงกวามาทำอาหารรับประทาน โดยเมนูแตงกวา เช่น ยำแตงกวา ต้มจืดแตงกวา ส้มตำแตงกวา  เป็นต้น

ลักษณะของต้นแตงกวา

ต้นแตงกวา พืชล้มลุก ชนิดไม้เถา อายุเพียงหนึ่งปี เป็นพืชอายุสั้น ปลูกได้ในทุกสภาพดินชอบดินร่วนซุยปนทราย สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นแตงกวา มีดังนี้

  • ลำต้นของแตงกวา เป็นลำต้นเดี่ยว ลักษณะเป็นเถาไม้เลื้อย ลำต้นกลม เถาแข็งแรงและเหนียว สีเขียว ลำต้นจะเกาะตามกิ่งไม้หรือสิ่งที่ยึดเกาะได้ดี ลำต้นมีขนหยาบ สีขาว
  • ใบแตงกวา เป็นใบประกอบ ขนาดเท่าฝ่ามือ ใบมีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม ปลายใบแหลม สีเขียว มีก้านใบยาว ใบมีขนหยาบ
  • ดอกแตงกวา ลักษณะเป็นดอกเดี่ยว กลีบดอกมีสีเขียว และ สีเหลือง ดอกเป็นช่อออกตามซอกใบ ก้านช่อดอกจะยาว ไม่มีลูกเล็กๆ ติดที่โคนดอก
  • ผลของแตงกวา ลักษณะทรงกลมยาวเป็นทรงกระบอก เนื้อผลฉ่ำน้ำ รสจืด ผลมีสีเขียวเข้ม
  • เมล็ดของแตงกวา ลักษณะของเมล็ดรีแบน ปลายแหลม สีขาว เมล็ดอยู่ภายในผล มีหลายเมล็ดในผล

คุณค่าทางโภชนาการของแตงกวา

สำหรับต้นแตงกวานั้น นิยมรับประทานผลของแตงกวาเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้มีการศึกษา คุณประโยชน์ของแตงกวา พบว่า แตงกวา ขนาด 100 กรัม มีความชื้นร้อยละ 96.4  โปรตีนร้อยละ 0.4 ไขมันร้อยละ 0.1 คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 2.8 และแร่ธาตุต่างๆ ตัวผลของแตงกวา มีสารเอนไซม์อยู่หลายชนิด เช่น เอนไซม์ที่ย่อยโปรตีน  Oxidase Ascorbic acid  Dehydroginase  Succinic malic  ซึ่งส่วนของ เถ้าและเมล็ดของแตงกวา มี ฟอสฟอรัสในปริมาณที่สูง

  • กากใยอาหาร ช่วยบำรุงระบบขับถ่าย ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
  • สารไฟโตนิวเทรียนท์ ( Phytochemicals ) เป็นสารตามธรรมชาติที่พบได้ในอาหารจำพวกพืชผักผลไม้ ได้แก่ ฟลาโวนอยด์ ( Flavonoid ) คิวเคอร์บิทาซิน ( Cucurbitacin ) และลิกแนน ( Lignan ) เป็นต้น
  • สารต้านอนุมูลอิสระ ( Antioxidants ) แตงกวามีสารที่ช่วยกำจัดสารอนุมูลอิสระในร่างกายได้
  • วิตามิน แตงกวาอุดมไปด้วยวิตามินต่างๆที่เป็นประโยชน์สุขภาพ ประกอบกด้วย วิตามินเอ วิตามินบี และ วิตามินซี เป็นต้น
  • แร่ธาตุ แตงกวามีแร่ธาตุหลายชนิดที่อาจเป็นผลดีต่อสุขภาพผิวและระบบหมุนเวียนโลหิตได้ เช่น โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส และธาตุเหล็ก เป็นต้น

สรรพคุณของแตงกวา

สำหรับการนำเอาแตงกวามาใช้ประโยชน์ ด้านสมุนไพร การรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย นั้น สามารถใช้ประโยชน์ได้ ตั้งแต่ผลสด ใบ เมล็ด และ เถา โดยรายละเอียดของสรรพคุณของแตงกวา มีดังนี้

  • ผลสดของแตงกวา สรรพคุณเป็นยาเย็น ช่วยลดความร้อนในร่างกาย ลดไข้ แก้กระหายน้ำ แก้เจ็บคอ แก้ตาแดง รักษาแผลไฟลวก แก้ผด ผื่น คัน ช่วยกระชับรูขุมขน ทำให้ผิวเรียบตึง ทำให้ผิวที่หยาบกร้านอ่อนนุ่มลง
  • ใบของแตงกวา สรรพคุณแก้ท้องเสีย
  • เมล็ดของแตงกวา สรรพคุณเป็นยาถ่ายพยาธิ
  • เถาของแตงกวา สรรพคุณช่วยลดความดันโลหิต แก้บิด รักษาหนองใน ขับปัสสาวะ

โทษของแตงกวา

สำหรับการใช้ประโยชน์จากแตงกวาด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรค มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ ดังนี้

  • แตงกวามีกรดยูริกในน้ำเมือกใสๆ ร่างกายก็อาจจะสะสมกรดยูริกเข้าไปมากเกินไป  ถ้าหากร่างกายกำจัดออกไม่หมด
  • ใบแตงกวาสด มีรสขม มีความเป็นพิษ ไม่ควรรับประทานใบแตงกวาสด
  • เถาแตงกวาสดมีความเป็นพิษรสขม ไม่ควรรับประทานเถาแตงกวาสด

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

ชะอม Climbing Wattle สมุนไพร ต้นชะอมเป็นอย่างไร สรรพคุณของชะอม เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความร้อนในร่างกาย บำรุงเส้นผม แก้ท้องผูก แก้ปวดท้อง ช่วยขับลม

ชะอม สมุนไพร พืชพื้นบ้าน สรรพคุณของชะอม

ต้นชะอม ภาษาอังกฤษ เรียก Climbing Wattle มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Acacia pennata (L.) Willd ชื่ออื่นๆ ของชะอม เช่น ผักหละ อม ผักขา พูซูเด๊าะ โพซุยโดะ เป็นต้น ใบชะอม นิยมนำมาทำเป็นส่วนประกอบการทำอาหาร เช่น ไข่ทอดชะอม แกงส้มชะอมกุ้ง ชะอมชุบไข่  แกงส้มชะอมไข่ นำมาลวกเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของชะอม

จากการศึกษาชะอมของนักโภชนาการ พบว่า ชะอม มีคุณค่าทางอาหาร ประกอบด้วย ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินซี

คุณค่าทางโภชนาการของชะอม ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงานมากถึง 57 กิโลแคลอรี่ และ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย กากใยอาหาร 5.7 กรัม ฟอสฟอรัส 80 กรัม แคลเซียม 58 กรัม ธาตุเหล็ก 4.1 มิลลิกรัม วิตามินเอ 10066 IU (หน่วยสากล) วิตามินบี1 0.05มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.25 มิลลิกรัม วิตามินบี 31.5 มิลลิกรัม วิตามินบี 58 มิลลิกรัม

ลักษณะชองต้นชะอม

ต้นชะอม เป็นพืชชนิดไม้พุ่ม พบว่ามีถิ่นกำเนิดแถวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชะอมจะมีหนามที่ลำต้นและกิ่งก้าน ใบของชะอม มีสีเขียวขนาดเล็ก ก้านใบย่อยแตกออกจากแกนกลางใบ ใบอ่อนของชะอมจะมีกลิ่นฉุน ปลายของใบชะอมจะแหลมขอบใบเรียบ ส่วนดอกของชะอม มีขนาดเล็กและออกตามซอกใบมีสีขาวนวล ชะอมสามารถขยายพันธ์ได้ โดยการปักชำ การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง หรือการโน้มกิ่งลงดิน

  • ลำต้น ชะอมเป็นไม้พุ่มขนาดย่อมไม่สูงมาก แต่เคยมีพบการพบชะอมในป่า ลักษณะเป็นต้นไม้ใหญ่ วัดเส้นรอบวงของลำต้นได้ 1.2 เมตร กิ่งก้านของชะอมมีหนามแหลม
  •  ใบ ลักษณะ เป็นใบประกอบขนาดเล็ก มีก้านใบแยกเป็นใบอยู่  2 ทาง ลักษณะคล้ายใบกระถิน (แยกได้โดยการสังเกตุดีๆหรือดมกลิ่น)  ใบอ่อนมีกลิ่น ฉุนคล้ายกลิ่นลูกสะตอแต่ก็ไม่เหมือนซะทีเดียวนะครับ ใบเรียงแบบสลับใบย่อย ออกตรง ข้ามกัน ใบย่อรูปรี มีประมาณ 13-28 คู่ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ส่วนที่มักนำไปทานก็คือใบออ่นหรือยอกของชะอมนั่นเอง
  • ดอก ชะอมจะออกที่ซอกกิ่ง สีขาวหรือขาวนวล ดอกขนาดเล็กและเห็นชัด เฉพาะเกสรตัวผู้ที่เป็นฝอยๆ
  •  ผล เป็นฝัก มีขนาดเล็กกว่าฝักกระถิน

สรรพคุณของชะอม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากชะอม เพื่อการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ได้จาก ยอดชะอม และ รากชะอม สรรพคุณของชะอม มีดังนี้

  • ยอดชะอม จะมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยลดความร้อนในร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ
    ชะอม สรรพคุณช่วยในการขับถ่าย แก้โรคท้องผูก ช่วยบำรุงเส้นผม
  • รากชะอม จะมีสรรพคุณช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ลดการปวดท้อง และช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยบำรุงเส้นเอ็น ช่วยแก้อาการลิ้นอักเสบเป็นผื่นแดง

โทษของชะอม

ข้อควรระวังในการบริโภคชะอม โทษของชะอม เนื่องจาก ชะอมมีกรดยูริกสูง หากบริโภคมากเกินไปก็จะส่งผลเสียกับร่างกายได้ ดดยรายละเอียด ดังนี้

  1.  ชะอมจะทำให้น้ำนมแห้ง คุณแม่หลังคลอดไม่ควรรับประทาน
  2. การรับประทานชะอม ในช่วงฤดูฝน ชะอ อาจมีรสเปรี้ยว อาจทำให้ปวดท้องได้
  3. ชะอมมีกรดยูริก หากรับประทานมากๆ อาจทำให้เป็นโรคเกาต์ ทำให้ปวดกระดูก เป็นเกาต์ไม่ควรบริโภคชะอม 
  4. สำหรับคุณแม่ที่เพิ่งมีบุตรอ่อน ไม่ควรรับประทานผักชะอม เพราะจะทำให้น้ำนมแม่แห้งได้
  5. ผักชะอม สำหรับคุณแม่ลูกอ่อน จะแพ้กลิ่นของผักชนิดนี้อย่างมาก ดังนั้นควรอยู่ห่าง ๆ
  6. การรับประทานผักชะอมในหน้าฝน อาจจะมีรสเปรี้ยว กลิ่นฉุน บางครั้งอาจทำให้มีอาการปวดท้องได้ (ปกตินิยมรับประทานผักชะอมหน้าร้อน)
  7. กรดยูริกเป็นตัวการที่ทำให้เกิดข้ออักเสบในผู้ป่วยโรคเกาต์ ซึ่งเกิดมาจากสารพิวรีน (Purine) โดยผักชะอมนั้นก็มีสารพิวรีนในระดับปานกลางถึงระดับสูง ผู้ป่วยโรคเกาต์สามารถรับประทานได้ แต่ควรรับประทานในปริมาณที่จำกัด หากเป็นมากก็ไม่ควรรับประทาน เพราะจะทำให้ปวดกระดูกได้
  8. อาจพบเชื้อก่อโรคอย่างซาลโมเนลลา (Salmonella) ซึ่งเป็นเชื้อที่สามารถพบได้ทั่วไปในสภาพแวดล้อม เช่น ดิน น้ำ อากาศ เมื่อเรานำผักชะอมที่ปนเปื้อนสารชนิดนี้มาประกอบอาหารโดยไม่ล้างทำความสะอาดหลาย ๆ ครั้ง หรือไม่นำมาปรุงให้สุกก่อนรับประทาน อาจมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อชนิดนี้ได้ โดยผู้ที่ได้รับเชื้อชนิดอาจจะมีอาการท้องเสีย ปวดท้อง ถ่ายเหลวเป็นน้ำสีเขียว หรือถ่ายเป็นมูกมีเลือดปน มีไข้ เป็นต้น

วิธีการปลูกและการดูแล

ชะอม เป็นผักพื้นบ้าน ริมรั่ว เป็นพืชพื้นบ้าน ปลูกง่าย ชะอมไม่ชอบน้ำท่วมขัง ดังนั้นการปลูกชะอม ต้องยกร่องสวน และเว้นระยะห่างให้พอดี ต่อการเดินเก็บชะอม อย่าปลูกชิดกันเกินไปเนื่องจากชะอมมีหนาม ชะอม 1 ไร่ สามารถปลูกได้ถึง 2,000 ต้น การปลูกชะอมง่ายไม่ต้องรดน้ำบ่อย 2 ถึง 3 วัน ค่อยให้น้ำครั้งหนึ่งก็ได้

การขยายพันธุ์ชะอม

ชะอมสามารขยายพันธุ์ได้ โดยการปักช นำกิ่งของชะอมที่กลางอ่อนกลางแก่ มาปักในดิน ประมาร 1 สัปดาห์ ก็ติดดินแล้ว ประมาณ 30 วัน รากของชะอมออกก็สามารถเริ่มให้ปุ๋ย ได้ การปลูกและขยายพันธ์ชะอมง่ายมาก

ศัตรูพืชของชะอม

ศัตรูของชะอม จะเป็นพวกหนอนคืบและมดแดง ซึ่งในการปลูกแบบอินทรีย์ ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง เราสามารถใช้พวกน้ำหมักชีวภาพ โดยใช้พืชที่มีกลิ่นแรง มีน้ำมันหอมระเหยที่สัตว์ไม่ชอบ เช่น ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด เป็นส่วนผสมของน้ำหมัก เมื่อแมลงหรือหนอนได้กลิ่นก็จะหนีไปเอง แต่ชะอมเป็นพืชที่ศัตรูพืชน้อย ไม่ต้องกังวล

เทคนิคกระตุ้นยอดอ่อนชะอม

หากต้องการใช้ชะอมแตกยอดดีให้ใช้น้ำหมักชีวะภาพ ที่มีส่วนผสมของน้ำมะพร้าว จะช่วยให้ชะอมแตกยอดได้ดี

ชะอม ( Climbing Wattle ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของชะอม คือ Acacia pennata (L.) Willd สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของชะอม ป้องกันมะเร็ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความร้อนในร่างกาย ช่วยบำรุงเส้นผม ยาอายุวัฒนะ ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง และช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยบำรุงเส้นเอ็น ช่วยแก้อาการลิ้นอักเสบ

ชะอม ( Climbing Wattle ) สมุนไพร ผักสวนครัว ลักษณะของต้นชะอม สรรพคุณของชะอม เช่น ป้องกันมะเร็ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความร้อนในร่างกาย ช่วยบำรุงเส้นผม ยาอายุวัฒนะ ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง และช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยบำรุงเส้นเอ็น ช่วยแก้อาการลิ้นอักเสบ

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove