ไมยราบ ใบไมยราบจะหุบตัวได้หากโดนสัมผัส ลักษณะของต้นไมยราบเป็นอย่างไร สรรพคุณของไมยราบ เช่น ช่วยขับปัสสาวะ แก้ไอ ขับเสมหะ โทษของไมยราบ มีอะไรบ้าง

ไมยราบ สมุนไพร วัชพืืช สรรพคุณของไมยราบ

ไมยราบ เป็นพืชล้มลุกที่มีลักษณะพิเศษ คือ หากได้รับแรงสั่นสะเทือน ก้านและใบก็จะตอบสนองด้วยการหุบตัวลงอย่างรวดเร็ว และยังเป็นพืชที่จัดอยู่ในตระกูลและมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับผักกระเฉด

ต้นไมยราบ ( Sensitive plant ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของไมยราบ คือ Mimosa pudica L. พืชตระกูลถั่ว วัชพืช พืชคลุมดิน สมุนไพร  สรรพคุณของไมยราบ เช่น ขับปัสสาวะ รักษาโรคกระเพาะ รักษาลำไส้อักเสบ แก้เครียด ช่วยให้นอนหลับสบาย แก้ไอ ขับเสมหะ แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ช่วยย่อยอาหารในเด็ก รักษาโรคกระเพาะอาหาร แก้บิด ช่วยบรรเทาปวดประจำเดือน แก้คลื่นไส้ แก้อาเจียน รักษาริดสีดวงทวาร แก้ปวดข้อ ป้องกันและรักษาไตพิการรักษาโรคเริม รักษาโรคงูสวัด

ต้นไมยราบ มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกาใต้ ซึ่งประเทศไทยได้มีการนำเข้ามาโดย กรมทางหลวง ใช้ในการนำมาใช้คลุมหน้าดิน มักแผ่ทอดเลื้อยตามพื้นดิน บางครั้งจะสูงถึง 1 เมตร ต้นมีน้ำตาลแดง มีขนาดเล็ก และมีขนหยาบ ๆ ปกคลุมที่ลำต้น แกนก้านใบ ท้องใบ รวมไปถึงช่อดอก และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด

ลักษณะของต้นไมยราบ

ไมยราบ เป็น พืชล้มลุก พืชคลุมดิน ยาวประมาณ 1 เมตร มีขนหยาบปกคลุมที่ลำต้น ท้องใบ แกนก้านใบแลช่อดอก ใบของต้นไมยราบเป็นแบบแขนก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 4 เซ็นติเมตร มีดอกจำนวนมาก กลีบดอกรูประฆังแคบและมีขนแข็งตามขอบ

  • ใบไมยราบ จัดเป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น แกนกลางรวมกับก้านใบ มีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ส่วนใบย่อยมี 2 ใบ มีความยาวประมาณ 7 เซนติเมตร โดยใบย่อยจะมีอยู่ประมาณ 25 คู่ ลักษณะคล้ายรูปขอบขนานหรือคล้าย ๆ รูปเคียวยาวประมาณ 1 เซนติเมตร
  • ดอกไมยราบ ออกดอกเป็นช่อกลมสีชมพู เป็นดอกเดี่ยวหรือดอกคู่ ออกที่บริเวณซอกใบ ก้านดอกมีความยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ดอกมีจำนวนมาก ไร้ก้าน มีกลีบเลี้ยงขนาดเล็กมาก ประมาณ 0.1 มิลลิเมตร กลีบดอกจะคล้ายกับรูประฆังแคบ มีความยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร กลีบดอกจะมนกลม มีความยาวประมาณ 0.8 มิลลิเมตร มีเกสรตัวผู้อยู่ 4 อัน และมีรังไข่ยาวประมาณ 0.5 มิลลิกรัม
  • ผลไมยราบ มีลักษณะเป็นฝักแห้ง แบน ยาวเรียว ฝักมีหลายฝักในแต่ละช่อดอก ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ตรง และยาวประมาณ 1.8 เซนติเมตร มีขนแข็งปกคลุมตามสันขอบผล ส่วนเมล็ดมีสีน้ำตาลอ่อน เมล็ดแบนเป็นสันนูนตรงกลาง หนึ่งผลมีเมล็ดประมาณ 5 เมล็ด ผลหักตามรอยคอด

ต้นไมยราบ ชื่อสามัญ เรียก Sensitive plant มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mimosa pudica L. จัดเป็นพืชในตระกูลถั่ว จัดเป็นวัชพืช ที่มีประโยชน์ในด้านสมุนไพรมาก ไมยราบ ภาษาอังกฤษ เรียก Sensitive plant มีชื่ออื่นๆ เช่น หนามหญ้าราบ กะหงับ ก้านของ ระงับ หงับพระพาย หญ้าจิยอบ หญ้าปันยอด

สรรพคุณของไมยราบ

สรรพคุณของไมยราบ เราสามารถนำไมยราบมาใช้เป็นสมุนไพร ได้ทั้ง ส่วน ราก ลำต้นและใบ

  • รากของไมยราบ สามารนำมาใช้ แก้ไอ ขับเสมหะ แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ช่วยย่อยอาหารในเด็ก รักษาโรคกระเพาะอาหาร แก้ลำไส้อักเสบ แก้บิด ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยบรรเทาปวดประจำเดือน แก้คลื่นไส้ แก้อาเจียน รักษาริดสีดวงทวาร ปวดข้อ
  • ลำต้นของไมยราบ เรานำมาใช้ ช่วยขับปัสสาวะ ป้องกันและรักษาไตพิการ แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ขับโลหิต
  • ใบของไมยราบ ใช้รักษาโรคเริม โรคงูสวัด
ข้อควรระวังในการใช้ไมยราบ
สำหรับการใช้ไมยราบ ต้องมีการระวังในการใช้ ต้องใช้ให้เหมาะสมกับและเลือกใช้อย่างถูกต้อง โดย คำแนะนำมีดังนี้
  • ไม่ควรรับประทานไมยรายต่อเนื่องเป็นเวลานาน เนื่องจากไมยราบมีฤทธิ์ต่อสมองส่วนกลาง
  • ห้ามรับประทานในสตรีมีครรภ์ และ สตรีหลังคลอดบุตร
  • ห้ามใช้กับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี

ต้นไมยราบ พืชล้มลุก ต้นสีน้ำตาลแดง แผ่ไปตามพื้น ชูยอดขึ้นข้างบน มีหนามขนาดสั้น ใบประกอบ ดอกเป็นช่อกลมสีชมพู ก้านดอกยาว ฝักยาวเรียวแบน มีขนเหนียวติดมือ เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน ไมยราบ ใบสามารถพับเข้าหากันด้านใน เมื่อถูกสัมผัส ในทางสมุนไพร ไมยราบ มีรสจืดเฝื่อน มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ระดูขาว แก้ไตพิการ ต้มกับน้ำกินแก้อ่อนเพลีย ตานขโมย โรคกระเพาะอาหาร ใช้ทาแก้ผื่นคันและหัด ใบสดตำผสมกับเกลือและพิมเสน ใช้พอกแผลพุพอง รากแห้ง ต้มน้ำแก้ปวดประจำเดือน ปวดศีรษะ

ไมยราบ วัชพืช พืชท้องถิ่น ใบไมยราบจะหุบตัว หากโดนสัมผัส ลักษณะของต้นไมยราบเป็นอย่างไร สรรพคุณของไมยราบ เช่น ช่วยขับปัสสาวะ แก้ไอ ขับเสมหะ โทษของไมยราบ มีอะไรบ้าง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

มะพร้าว สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ใบมะพร้าว ผลมะพร้าว ต้นมะพร้าวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของมะพร้าว สรรพคุณบำรุงผิวพรรณ แก้กระหาย โทษของมะพร้าวมีอะไรบ้าง

มะพร้าว ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของมะพร้าว

ต้นมะพร้าว ( coconut ) มีชื่อภาษาอังกฤษ ว่า Coconut  มะพร้าวมีชื่อเรียก อื่นๆ เช่น ดุง เฮ็ดดุง โพล คอส่า พร้าว หมากอุ๋น เป็นชื่อเรียกที่ใช้เรียกมะพร้าวแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่นของประเทศไทย เราจะพบว่าเรานำ มะพร้าว มาบริโภค น้ำ และเนื้อของมะพร้าว แต่เนื้อมะพร้าวนี้มีความมันสูง เรามีการนำเนื้อมะพร้าวแก่ มาคั้นทำกะทิ วัตถุดิบหลักของอาหารไทย ( Thai Food ) ตัวอย่าง อาหาร เมนูกะทิ (Coconut Milk Receipt)  ในส่วนของเนื้อมะพร้าวอ่อนเรานิยมนำมาบริโภคกันสดๆ

มะพร้าวกับสังคมไทย

มะพร้าวมีความสำคัญกับความเชื่อของสังคมไทย เชื่อว่าการปลูกมะพร้าวไว้ทางทิศตะวันออกของบ้าน จะส่งเสริมให้อยู่เย็นเป็นสุข ส่วนด้านพิธีกรรมทางศาสนา นำมะพร้าวอ่อน เป็นเครื่องสังเวย เส้นไหว้ เนื่องจากเชื่อว่ามะพร้าวเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์  น้ำมะพร้าวใช้ล้างหน้าศพ เนื่องจากน้ำมะพร้าวเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ ทำให้ผู้ตายเดินทางไปยังภพภูมิหน้าได้อย่างเป็นสุข

มะพร้าว คือ ผลไม้ และ สมุนไพร ที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน ต้นมะพร้าวถูกนำมาใช้ประโยชน์มากมาย นำมาทำอาหาร เป็นยารักษาโรค เครื่องใช้ต่างๆ สรรพคุณของมะพร้าว ประกอบด้วย ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับสารพิษในร่างกาย ช่วยสมานแผล บำรุงผิว แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้ปวดเมื่อย ห้ามเลือด รักษาโรคกระเพราะ แก้อาเจียน แก้ปวดเอ็น แก้ปวดข้อ รักษาโรคผิวหนัง บำรุงผิวหนัง บำรุงสมอง รักษาโรคในช่องปาก แก้เจ็บปาก แก้ปวดฟัน แก้นิ่ว ป้องกันสมองเสื่อม ดับกระหาย สมานแผล

ลักษณะของต้นมะพร้าว

ต้นมะพร้าว เป็นไม้ยืนต้นความสูงประมาณ 20 เมตร โดยประมาณ ลำต้นกลม เปลือกของมะพร้าวแข็ง สีเทา ขรุขระ  ลักษณะใบเป็นแบบขนนก รูปพัด ยาว 80  เซ็นติเมตรโดยประมาณ ขอบใบเรียบ สีเขียว มะพร้าวออกตอกเป็นช่อแขนงที่ซอกใบ ผลของมะพร้าวมีสีเขียว และผลแก่จะมีสีน้ำตาล เนื้อมะพร้าวจะมีสีขาว มีน้ำในผลมะพร้าว

คุณค่าทางโภชนาการของมะพร้าว

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของ เนื้อมะพร้าวและน้ำมะพร้าว โดยจากการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะพร้าว มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อมะพร้าว ขนาด 100 กรัม ให้ พลังงาน 1,480 กิโลแคลอรี มีสารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 24.23 กรัม น้ำตาล 6.23 กรัม กากใยอาหาร 9 กรัม ไขมัน 33.49 กรัม โปรตีน 3.33 กรัม วิตามินบี 1 0.66 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.02 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.54 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 1.014 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.05 มิลลิกรัม วิตามินซี 3.3 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 14 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.43 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 32 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 113 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 356 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 1.1 มิลลิกรัม

ส่วน น้ำมะพร้าว ขนาด 100 กรัม นักโภชนาการพบว่า ให้พลังงาน 79 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3.71 กรัม น้ำตาล 2.61 กรัม กากใยอาหาร 1.1 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.72 กรัม วิตามินบี 1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.057 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.08 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.032 มิลลิกรัม วิตามินซี 2.4 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 24 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.29 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 250 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะพร้าว

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทยของมะพร้าว เราสามารถนำมะพร้าวมาใช้ประโยชน์ ได้ ตั้งแต่ เปลือก กะลา น้ำมะพร้าว เนื้อมะพร้าว ราก และ เปลือกของต้นมะพร้าว

  • เปลือกของลูกมะพร้าว จะมีรสฝาดและขม สามารถนำมาใช้ห้ามเลือด แก้ปวด รักษาโรคกระเพาะ และแก้อาเจียน
  • กะลา เรานำกะลามาใช้ในการ แก้ปวดเอ็น และ แก้ปวดกระดูก นำกะลามาเผาถ่านและกิน ช่วยแก้ท้องเสีย และดูดสารพิษในร่างกายได้ น้ำมันที่ได้จากการเผากะลา สามารถนำมาทาแผล รักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื่อน อุดฟัน แก้ปวดฟัน
  • เนื้อมะพร้าว เรานำเนื้อมพร้าวมาบริโภค ให้สรรพคุณบำรุงร่างกาย ช่วยขับพยาธิ ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันสมองเสื่อม เนื้อมะพร้าวสามารถนำมาเคี้ยวเอาน้ำมันจากมะพร้าว นำมาทาผิว ช่วยรักษาแผล และ แก้โรคผิวหนัง ทาแก้ปวดเมื่อยตามข้อและเอ็น
  • น้ำมะพร้าว เรานำมาบริโภค ช่วยแก้กระหาย นอกจากนั้นน้ำมะพร้าวยังสามารถ แก้พิษ แก้การอาเจียนเป็นเลือด แก้ท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ แก้นิ่ว ช่วยขับของเสีย ช่วยสมานแผล บำรุงผิว ทำให้ผิวกระชับ
  • รากของมะพร้าว สามารถนำมาต้ม และดื่ม ช่วยขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย และอมรักษาอาการปากเจ็บ
  • เปลือกของต้นมะพร้าว นำมาเผาแล้วทาแก้หิด และนำมาสีฟัน ช่วยแก้ปวดฟัน

มะพร้าว เป็นผลไม้ คุณสมบัติเด่น ๆ คือ สามารถนำมาใช้ทำเป็นประโยชน์ ไม่ว่าจะทำเป็นอาหารคาวหวาน เพื่อบำรุงสุขภาพ และ รักษาโรคต่าง ๆ รวมไปถึงการผลิตน้ำมันมะพร้าว กะทิ น้ำตาล และยังทำสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ได้มากมาย

โทษของมะพร้าว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะพร้าว สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม แต่การรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของกะทิ หากรับประทานกะทิมากเกินไป หรือ รับประทานในปริมาณมากและติดต่อกัน จะทำให้เกิดการสะสมของไขมันในร่างกาย ทำให้เป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด และ หัวใจได้

มะพร้าว คือ พืชพื้นเมือง สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ตั้งแต่ ใบมะพร้าว ผลมะพร้าว ลักษณะของมะพร้าวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของมะพร้าว สรรพคุณของมะพร้าว เช่น บำรุงผิวพรรณ แก้กระหาย โทษของมะพร้าว มีอะไรบ้าง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.   Take care of yourself first with good information. The content on this website is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick or feel unwell You should consult a doctor. to receive proper treatment For more information, please see our Terms and Conditions of Use.


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove