ว่านหางจระเข้ Aloe สมุนไพรบำรุงผิวพรรณ รักษาแผล ช่วยชะลอวัย ทำความรู้จักกับต้นว่านหางจระเข้ว่าเป็นอย่างไร สรรพคุณและโทษของว่านหางจรเข้ ผลิตภัณฑ์จากว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้ สมุนไพรบำรุงผิวพรรณ

ว่านหางจระเข้ ภาษาอังกฤษ เรียก Aloe ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของว่านหางจระเข้ คือ Aloe barbadenisi Mill. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของว่านหางจระเข้ เช่น  ว่านไฟไหม้ หางตะเข้ เป็นต้น นิยมนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการทำเครื่องสำอางค์ สำหรับบำรุงผิว สรรพคุณของว่านหางจระเข้ เช่น รักษาแผล บำรุงผิว รักษาแผลในกระเพาะอาหาร และ บำรุงเส้นผม

ประโยชน์ของว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้ สามารถช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความแก่ชรา และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้อีกด้วย อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ รวมไปถึงกรดอะมิโนอีกหลายชนิดที่จำเป็นและมีประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นพืชเพียงไม่กี่ชนิดที่มีวิตามินบี12

ว่านหางจระเข้ มีถิ่นกำเนิดมาจากแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและตอนใต้ของทวีปแอฟริกา ปลูกง่าย โดยการใช้หน่ออ่อน ปลูกได้ดีในบริเวณทะเลที่เป็นดินทราย และมีปุ๋ยอุดมสมบูรณ์ดี จะปลูกเอาไว้ในกระถางก็ได้ ในแปลงปลูกก็ได้ ปลูกห่างกันสัก 1-2 ศอก เป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก แต่ต้องมีการระบายน้ำดีพอ ชอบแดดรำไร ไม่ชอบแดดจัด

ลักษณะของต้นว่านหางจระเข้

ต้นว่านหางจระเข้ เป็น ไม้ล้มลุก ความสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร ลักษณะเป็นข้อและปล้องสั้น ใบของว่านหางจระเข้ เป็น ใบเดี่ยว ยาว อวบน้ำ มีสีเขียวอ่อน ภายในใบมีวุ้นใส ดอกว่านหางจระเข้ จะเป็นช่อออกตรงกลางต้น ดอกย่อยของว่านหางจระเข้ เป็นหลอดห้อยลง จะมีสีส้ม

สรรพคุณของว่านหางจระเข้

สำหรับการใช้ประโยชน์จากว่านหางจระเข้ ในด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค เราจะใช้น้ำยางที่ใบของว่านหางจระเข้มาใช้ประโยชน์ สามารถรับประทานและทาภายนอกได้ ซึ่งสามารถสรุปสรรพคุณของว่านหางจระเข้ ได้ดังนี้

  • ช่วยรักษาแผล รักษาฝี รักษาแผลสด รักษาแผลที่ริมฝีปาก รักษาแผลถลอก ช่วยสมานแผล รักษาแผลไฟไหม้ รักษาแผลน้ำร้อนลวก
  • บำรุงผิวพรรณ ช่วยขจัดรอยแผลเป็น ช่วยปกป้องผิวพรรณจากแสงแดด ลดอาการผิวแห้ง รักษาฝ้า รักษาโรคเรื้อน
  • ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคเบาหวาน
  • ช่วยแก้อาการปวดหัว
  • ช่วยบำรุงระบบทางเดินอาหาร รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยแก้กระเพาะลำไส้อักเสบ
  • เป็นยาระบาย ช่วยรักษาโรคท้องผูก ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดตามข้อ

สารสำคัญในว่านหางจระเข้

น้ำยางของว่านหางจระเข้ มี สารโพลียูโรไนด์และโพลีแซคคาไรด์ ซึ่งเป็นสารสำคัญที่สามารถช่วยรักษาแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้นและป้องกันการติดเชื้อได้ดี แต่การสกัดสารโพลียูโรไนด์และโพลีแซคคาไรด์ต้องใช้กระบวนการผลิตที่ดีเท่านั้น นอกจากว่านหางจระเข้ทำให้แผลสะอาด ยังกระตุ้นเนื้อเยื่อที่เสียให้เจริญเติบโตขึ้นใหม่ได้เร็วขึ้น

ผลิตภัณฑ์จากว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้มีสรรพคุณเด่นในเรื่องการบำรุงผิวพรรณและรักษาแผล จึงมีผลิตภัณฑ์ที่ถูกแปรรูปจากว่านหางจระเข้อยู่หลากหลายเกี่ยวกับผิวพรรณและการรักษาแผล มีดังนี้

  • เจลว่านหางจระเข้ สรรพคุณ ใช้ทาเพื่อลดอาการบวม เป็นครีมทาใต้ตา บำรุงผิวหน้า เพิ่มความชุ่มชื้น ใช้ผสมกับส่วนผสมต่าง ๆ พอกหน้าแทนวุ้นว่านหางจระเข้ได้ ทั้งยังใช้ทาแผลพุพอง แผลสด เพื่อบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อนได้อีกด้วย เหมาะสำหรับผู้ที่เพิ่งผ่านการยิงเลเซอร์ และมีรอยไหม้แดงบนใบหน้า จะทำให้บรรทาอาการลงและฟื้นตัวเร็วขึ้น
  • ครีมว่านหางจระเข้ ก็มีสรรพคุณเดียวกันกับเจลว่านหางจระเข้ แตกต่างกันที่เนื้อผลิตภัณฑ์ ที่มีส่วนผสมของมอยส์เจอไรเซอร์เข้มข้นกว่า อาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีหน้ามัน เพราะเนื้อครีมจะให้ความรู้สึกหนักกว่าเนื้อเจล แต่ค่อนข้างเหมาะกับผู้ที่มีหน้าแห้ง เพราะจะให้ความชุ่มชื้นที่มากกว่า

ทั้งนี้นอกจากเจลว่านหางจระเข้และครีมว่านหางจระเข้แบบทั่วไปแล้ว ยังถูกต่อยอดออกไปเป็นเจลล้างหน้าว่านหางจระเข้ เจลและครีมว่านหางจระเข้แบบผสมสารกันแดด นอกจากนี้ยังมีน้ำว่านหางจระเข้สำหรับดื่มอีกด้วย โดยสรรพคุณไม่แตกต่างจากว่านหางจระเข้สดมากนัก

โทษของว่านหางจระเข้

สำหรับการใช้ประโยชน์จากว่านหางจระเข้ มีข้อควรระวังอยู่บ้าง ซึ่งคำแนะนำในการใช้ว่านหางจระเข้ มีดังนี้

  • วุ้นจากใบว่านหางจระเข้นำมาใช้รักษาแผลได้ดี แต่ต้องทำให้สะอาดก่อนนำมาพอกและทาแผลไม่เช่นนั้นอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้
  • ว่านหวางจะระเข้ มีสรรพคุณเป็นยาระบาย สำหรับสตรีมีครรภ์และสรีระหว่างมีประจำเดือนไม่ควรใช้
  • ไม่ควรรับประทานสารสกัดจากใบว่านหางจระเข้ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เพราะ เป็นอัยตรายต่อร่างกาย อาจทำให้มีผลข้างเคียงต่างๆ เสี่ยงต่อโรคมะเร็ง และ ภาวะไตวายฉับพลัน

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

รากสามสิบ ( Shatavari ) สมุนไพร เขตร้อน ต้นรากสามสิบเป็นอย่่างไร ประโยชน์และสรรพคุณลดความดัน ลดไขมันในเลือด บำรุงกำลัง ว่านสาวร้อยผัว สามร้อยราก โทษรากสามสิบรากสามสิบ ต้นรากสามสิบ สรรพคุณของรากสามสิบ ประโยชน์ของรากสามสิบ

รากสามสิบ ภาษาอังกฤษ เรียก Shatavari ชื่อวิทยาศาสตร์ของรากสามสิบ คือ Asparagus racemosus Willd. พืชตระกูลเดียวกับหน่อไม้ฝรั่ง ชื่อเรียกอื่นๆของรากสามสิบ เช่น สามร้อยราก ผักหนาม ผักชีช้าง จ๋วงเครือ เตอสีเบาะ พอควายเมะ ชีช้าง ผักชีช้าง จั่นดิน ม้าสามต๋อน สามสิบ ว่านรากสามสิบ ว่านสามสิบ ว่านสามร้อยราก สามร้อยผัว สาวร้อยผัว ศตาวรี เป็นต้น

รากสามสิบ เจริญเติบโตได้ดีในประเทศเขตร้อน พบมากในเขตป่าร้อนชื้น ป่าเขตร้อนแห้งแล้ง เขาหินปูน ป่าผลัดใบ และ ป่าโปร่ง มีต้นกำเนิดในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทย พม่า ลาว มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย

คุณค่าทางโภชนาการของรากสามสิบ

นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาสารอาหารในรากสามสิบ พบว่ารากสามสิบมีองค์ประกอบทางเคมีสารที่สำคัญ ประกอบด้วย ได้แก่ asparagamine cetanoate daucostirol sarsasapogenin shatavarin racemosol rutin alkaloid steroidal และ saponins

ลักษณะของต้นรากสามสิบ

ต้นรากสามสิบ เป็น ไม้เถา จัดเป็นไม้เนื้อแข็ง การขยายพันธุ์ของรากสามสิบ ใช้ เหง้า หน่อ และ เมล็ด การปลูกรากสามสิบให้ปลูกในช่วงฤดูฝนจะเหมาะสมที่สุด ปลูกเป็นไม้ประดับ โดยลักษณะของต้นรากสามสิบมีลักษณะ ดังนี้

  • ลำต้นรากสามสิบ ลำต้นเป็นเถา ไม้เนื้อแข็ง ความสูงประมาณไม่เกิน 4 เมตร ลำต้นเป็นสีเขียว หรือ สีขาวแกมเหลือง เถาของรากสามสิบมีขนาดเล็ก เรียบ เรียว ลื่น และ มีลักษณะผิวมัน ตามข้อเถามีหนามแหลม
  • ใบรากสามสิบ มีลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว แข็ง มีสีเขียว ลักษณะของใบเป็นรูปเข็มขนาดเล็ก ปลายใบแหลม
  • ดอกรากสามสิบ ดอกของรากสามสิบออกดอกเป็นช่อ ดอกออกที่ปลายกิ่ง และ ตามซอกใบ รวมถึง ข้อของเถา ดอกมีสีขาวและ ดอกมีกลิ่นหอม ดอกของรากสามสิบจะออกดอกช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน ของทุกปี
  • ผลรากสามสิบ ลักษณะของผลกลม ผิวเรียบ ลักษณะมัน ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกมีสีแดงอมม่วง ภายในผลมีเมล็ดสีดำ ผลของรากสามสิบจะออกผลช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม ของทุกปี

ประโยชน์ของรากสามสิบ

สำหรับประโยชน์ของต้นรากสามสิบนั้น โดยหลักๆนั้นนำมาทำเป็นยาบำรุงร่างกายและรักษาโรค ซึ่งจะกล่าวในส่วนของสรรพคุณของรากสามสิบ นอกจากนั้น สามารถทำมาทำอาการ เป็นผักสดนำมาลวกกินเป็นเครื่องเคียง สามารถนำทำทำอาหารแปรรูปจากรากสามสิบ เช่น รากสามสิบแช่อิ่ม รากสามสิบเชื่อม เป็นต้น รากสามสิบสามารถนำมาทำสบู่ และ ใช้ซักเสื้อผ้า รากสามสิบช่วยบำรุงดิน ทำให้ดินชุ่มน้ำ

สรรพคุณของรากสามสิบ

สำหรับการใช้ประโยชน์ของรากสามสิบในด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนั้น สามารถใช้ได้ทั้งตน ใบ ผล และ รากของรากสามสิบ โดยรายละเอียดของสรรพคุณของรากสามสิบ มีดังนี้

  • ใบรากสามสิบ สรรพคุณเป็นยาระบาย ช่วยขับน้ำนม ช่วยทำให้เจริญอาหาร
  • ทั้งต้นของรากสามสิบ นำมาต้มกับน้ำดื่มใช้รักษาโรคคอพอก แก้อาการตกเลือด
  • ผลของรากสามสิบ เป็นยาแก้พิษไข้ รักษาอาการบิดเรื้อรัง
  • รากของรากสามสิบ สรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง แก้กระษัย กระตุ้นระบบประสาท แก้วิงเวียนศรีษะ ลดความดันโลหิต ลดไขมันในเส้นเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคคอพอก แก้กระหายน้ำ แก้ไอ ช่วยขับเสมหะ รักษาการติดเชื้อที่หลอดลม ช่วยขับลม ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร รักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้อาการอาหารไม่ย่อย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้อาการท้องเสีย รักษาริดสีดวงทวาร ช่วยขับปัสสาวะ รักษาอาการประจำเดือนผิดปกติ แก้อาการตกเลือด รักษาภาวะหมดประจำเดือน  แก้ปวดประจำเดือน แก้ตกขาว ทำให้มีบุตร กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ช่วยบำรุงครรภ์ บำรุงน้ำนม ป้องกันการแท้ง แก้พิษจากแมลงป่องกัดต่อย ช่วยถอนพิษฝี แก้อาการปวดเมื่อย แก้อาการปวดข้อและปวดคอ

ข้อควรระวังในการใช้รากสามสิบ

รากสามสิบมีช่วยกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย เป็นยาสมุนไพรที่ไม่ปลอดภัยนักต่อเพศหญิง มีความเสี่ยงเป็นเนื้องอกในมดลูก หรือ ก้อนเนื้อที่เต้านม เป็นต้น ดังนั้นการใช้สมุนไพรรากสามสิบต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อน

น้ำรากสามสิบ

ส่วนผสมของน้ำรากสามสิบ ประกอบด้วย รากของรากสามสิบ 2.5 กิโลกรัม และ น้ำเปล่า 10 ลิตร วิธีทำน้ำรากสามสิบ นำรากสามสิบไปล้างให้สะอาด ปอกเปลือก และ ดึงไส้ของรากออก หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปต้มในน้ำเดือด เคี่ยวประมาณ 3 ชั่วโมง เติมน้ำตาลเพิ่มรสชาติให้ทานง่าย

รากสามสิบแช่อิ่ม

ส่วนผสมสำหรับทำรากสามสิบแช่อิ่ม ประกอบด้วย รากของรากสามสิบ 2.5 กิโลกรัม น้ำตาลทราย 1.5 กิโลกรัม น้ำเปล่า 5 ลิตร วิธีทำรากสามสิบแช่อิ่ม นำรากสามสิบล้างให้สะอาด ปอกเปลือกและดึงไส้ออก หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปต้มในน้ำเดือด เติมน้ำตาลทรายลงไป เคี่ยวจนน้ำตาลทรายละลายหมด เคี่ยวจนรากสามสิบเป็นสีเหลืองทอง

รากสามสิบ ( Shatavari ) คือ สมุนไพร ลดความดัน ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงกำลัง กระตุ้นระบบประสาท ต้นรากสามสิบ ถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน นิยมนำรากมาใช้ประโยชน์ ว่านสาวร้อยผัว สามร้อยราก ประโยชน์และสรรพคุณของรากสามสิบ โทษของรากสามสิบ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove