ฝรั่ง Guava ผลไม้แสนอร่อย สรรพคุณของฝรั่ง กลิ่นปาก บำรุงเหงือกและฟัน บำรุงผิวพรรณ รักษาแผลลักษณะของต้นฝรั่งเป็นอย่างไร ทำความรู้จักกับฝรั่ง

ฝรั่ง สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณฝรั่ง

ต้นฝรั่ง ภาษาอังกฤษ เรียก Guava ชื่อวิทยาศาสตร์ของฝรั่ง คือ psidium guajawa L สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของฝรั่ง เช่น จุ่มโป มะแกว มะกา มะมั่น มะปุ่น มะก้วย สีดา ชมพู่ เป็นต้น ฝรั่งมีถิ่นกำเนิดที่ทวีปอเมริกากลาง คาดว่าเข้าสู่ประเทศไทยโดย พ่อค้าชาวโปรตุเกตและสเปน นำเข้ามา ซึ่งปัจจุบันฝรั่งได้รับความนิยมในการบริโภคสูงในประเทศ จัดว่าเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศ

ฝรั่งในปะเทศไทย

ฝรั่งในประเทศไทย ถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ผลฝรั่งได้รับความนิยมในการบริโภคผลสดสูง มีการปลูกต้นฝรั่งเพื่อใช้จำหน่ายเชิงพาณิชย์ ผลฝรั่งรสชาติดี ราคาไม่แพง วิตามินซีสูง นอกจากนั้นผลฝรั่งสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆได้ เช่น น้ำฝรั่ง เยลลี่ฝรั่ง แยมฝรั่ง เป็นต้น ซึ่งแหล่งปลูกฝรั่งที่สำคัญของประเทศไทยอยู่ในจังหวัดนครปฐม ราชบุรี และ จังหวัดใกล้เคียงกับกรุงเทพมหานคร ผลผลิตฝรั่งมีทั้งปี

ลักษณะของต้นฝรั่ง

ต้นฝรั่ง ไม้ยืนต้น สามารถปลูกได้ในทุกสภาพดิน ขยายพันธ์ได้ด้วยการตอนกิ่ง เพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นฝรั่ง มีดังนี้

  • ลำต้นฝรั่ง ลำต้นเป็นทรงพุ่ม ความสูงประมาณ 3 – 8 เมตร เปลือกต้นเรียบ มีเปลือกของลำต้นสีน้ำตาล
  • ใบของฝรั่ง เป็นใบเดี่ยว ยอดอ่อนมีขนสั้นๆ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-8 ซม. ยาว 6-14 ซม.
  • ดอกของฝรั่ง เป็นดอกเดี่ยวหรือช่อ 2-3 ดอก ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ร่วงง่าย มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก
  • ผลของฝรั่งจะมีสีเขียว ผลเป็นผลสด ผลดิบสีเขียว กินได้ เมื่อสุกเป็นสีเหลือง

สายพันธ์ฝรั่ง

พันธุ์ของฝรั่งที่นิยมกินสดๆ เป็นพันธุ์ฝรั่งที่นิยมปลูกเพื่อการค้า นั้น มี 5 พันธ์ ประกอบด้วย ฝรั่งเวียดนาม ฝรั่งกิมจู ฝรั่งกลมสาลี่ ฝรั่งแป้นสีทอง และ ฝรั่งไร้เมล็ด โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ฝรั่งเวียดนาม ลูกใหญ่กว่าฝรั่งพื้นบ้าน ถึง 2 – 3 เท่า ถูกนำเข้าจากเวียดนามมาปลูกที่อำเภอสามพรานเมื่อ พ.ศ. 2521– 2523
  • ฝรั่งกิมจู เป็นฝรั่งไร้เมล็ด สีนวลสวย รสหวานกลมกล่อม กรอบ
  • ฝรั่งกลมสาลี่ เป็นพันธ์แรกๆที่นิยมปลูกกันมาก ต่อมามีพันธ์แป้นสีทองเข้ามา จึงปลูกน้อยลงเรื่อยๆ
  • ฝรั่งแป้นสีทอง ปลูกมากที่สุดในประเทศไทย ผลเมื่อโตเต็มที่จะขาว ฟู กรอบ เริ่มแรกปลูกที่อำเภอสามพราน ภายหลังได้แพร่กระจายไปทั่ว
  • ฝรั่งไร้เมล็ด ลักษณะลูกยาวๆ ไม่มีเมล็ด รสชาติด้อยกว่าฝรั่งแป้นสีทอง และกิมจู

คุณค่าทางโภชนาการของฝรั่ง

สำหรับการบริโภคฝรั่งนิยมรับประทานผลฝรั่งสด ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลฝรั่งขนาด 100 กรัม พบให้พลังงานมากถึง 51 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย วิตามิน B1 0.06 มิลลิกรัม วิตามิน B2 0.13 มิลลิกรัม วิตามิน C 160 มิลลิกรัม วิตามิน A 89 มิลลิกรัม แคลเซี่ยม 13 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 25 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรต 11 กรัม โปรตีน 0.90 กรัม เส้นใยอาหาร 6 กรัม ไขมัน 0.11 กรัม ความชื้น 80.70% และมีสารเพคตินเป็นจำนวนมาก

เพคติน ( pectin ) เป็น พอลิแซ็กคาไรด์ ( polysaccharide ) ประเภท heteropolysaccharide ซึ่งมีหน่วยย่อย คือ กรด กาแล็กทูโรนิก เมทิลการแล็กทูโรเนต และน้ำตาล ทำหน้าที่ยึดเกาะผนังเซลล์ของร่างกายให้แน่น

สรรพคุณของฝรั่ง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากฝรั่งด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถนำฝรั่งมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่ ใบ ผลและราก ซึ่งรายละเอียด สรรพคุณของฝรั่ง มีดังนี้

  • รากของฝรั่ง สามารถใช้ รักษาฝี รักษาแผลพุพอง แก้เลือดกำเดาไหล
  • ใบของฝรั่ง ใช้ในการ แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้ท้องเดิน ใช้ห้ามเลือดในแผลสด ระงับกลิ่นปาก รักษาฝี เป็นยาล้างแผล ดูดหนอง และถอนพิษบาดแผล บรเทาอาการเหงือกบวม แก้พิษเรื้อรัง แก้ปวด
  • ผลอ่อนของฝรั่ง ใช้ในการแก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้ท้องเดิน ระงับกลิ่นปาก รักษาอาการบิด รักษาอาการเลือดออกตามไรฟัน บำรุงเหงือกและฟัน บำรุงผิวพรรณ
  • ผลสุก สามารถใช้เป็นยาระบายได้ดี

วิธีทำน้ำฝรั่ง

  1. เริ่มจากการคัดเเลือกผลฝรั่ง ที่สดๆ ก่อน การสังเกตุผลฝรั่งที่สด ดูจากผลฝรั่งแข็ง ไม่นุ่ม นำผลฝรั่งมาหั่นเป็นชิ้น เอาเมล็ดออก จากนั้นให้เตรียมน้ำเชื่อมโดย
  2. การเตรียมน้ำเชื่อม ให้นำน้ำสะอาดต้มสุก ใส่น้ำตาล และ เกลือลงไปต้ม ให้ได้รสชาติหวานแบบกลมกล่อม
  3. เมื่อเราได้น้ำเชื่อมและเนื้อฝรั่งแล้ว ก็เริ่ม โดยการ นำเนื้อฝรั่งมาใส่น้ำพอท่วมเนื้อฝรั่ง และ ปั่นให้ละเอียด เราจะได้น้ำฝรั่ง จากนั้น ให้ทำการกรองน้ำฝรั่ง เราจะได้น้ำสีเขียวของฝรั่ง
  4. นำน้ำฝรั่งมาปรุงรสกับน้ำเชื่อม ซึ่งขั้นตอนนี้ ความหวานของน้ำเชื่อมให้ใส่ได้ตามใจคนดื่มได้เลย
  5. จากนั้นให้นำน้ำฝรั่ง ที่เราปรุงรสเอาไว้แล้ว แช่เย็น เมื่อน้ำฝรั่งเย็นได้ที่ก็พร้อมสำหรับนำมาดื่มให้ความสดชื่นต่อร่างกาย

โทษของฝรั่ง

สำหรับการกินฝรั่ง หากบริโภคอย่างไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดโทษต่อร่างกายได้ โดยข้อควรระวังในการบริโภคฝรั่ง มีรายละเอียด ดังนี้

  • การรับประทานเมล็ดของฝรั่ง อาจทำให้เมล็ดตกค้างในไส้ติ่ง ทำให้เกิดภาวะไส้ติ่งอักเสบได้
  • สตรีมีครรภ์หากรับประทานผลฝรั่งในปริมาณที่มาก อาจทำให้เกิดภาวะท้องอืดได้ง่าย ทำให้เป็นอันตรายต่อครรภ์
  • ผลฝรั่งอาจมีสารตกค้างที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ การนำฝรั่งมารับประทาน ควรทำความสะอาดอย่าให้มีสารตกค้างที่ผิวของผลฝรั่ง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

อ้อย ( Sugar cane ) สมุนไพร พืชเศรษฐกิจ นำมาทำน้ำตาล ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงร่างกาย อ้อยในประเทศไทย มี 2 ชนิด อ้อยเคี้ยว อ้อยสำหรับทำน้ำตาล ต้นอ้อยเป็นอย่างไร

อ้อย สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณอ้อย

อ้อย ( Sugar cane ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของอ้อย คือ Saccharum officinarum L. พืชตระกลูหญ้า สมุนไพร พืชเศรษฐกิจ นำมาทำน้ำตาล รสหวาน ประโยชน์ของอ้อย สรรพคุณของอ้อย ช่วยบำรุงร่างกาย อ้อยในประเทศไทย ที่นิยมปลูกมี 2 ชนิด คือ อ้อยเคี้ยว  และ อ้อยสำหรับทำน้ำตาล ต้นอ้อยเป็นอย่างไร สมุนไพรไทย ลักษณะของต้นอ้อย การปลูกอ้อย อ้อยสรรพคุณเป็นอย่างไร

ต้นอ้อย เป็นพืชล้มลุก พืชเศรษฐกิจ ใช้ทำน้ำตาล รวมถึงเป็นวัตถุดิบในการทำเอทานอล อ้อยมีสรรพคุณเด่น คือ ให้ความหวาน นิยมนมาทำเป็นเครื่องปรุงอาหารให้ความหวาน เรียกว่า น้ำตาล แต่อ้อยนั้นไม่ใช่แค่ให้วคามหวานเพียงอย่างเดียว อ้อยยังมีประโยชน์ด้านยารักษาโรค สมุนไพรไทย ด้วย เราจะมานำเสนอ เรื่อง อ้อย ว่า อ้อยเป็นอย่าไร ลักษณะของต้นอ้อย การปลูกอ้อย และการนำอ้อยมาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรคต่างๆ เป็นอย่างไร

ลักษณะของต้นอ้อย

ต้นอ้อย เป็น พืชล้มลุก การขยายพันธ์โดยการแตกกอ สามารถปลูกโดยใช้น้ำน้อย ลักษณะของต้นอ้อย มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นอ้อย ลำต้นมีสีแดงอมม่วงความสูงของลำต้นไม่เกิน 5 เมตร ลำต้นของอ้อยจะตั้งตรง ไม่มีกิ่งก้าน ลำต้นของอ้อยจะเป็นข้อปล้องจำนวนมาก ซึ่งมีน้ำมากและมีความหวาน
  • ใบอ้อย มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว รูปใบหอก มีหนามเล็กๆที่ขอบใบ
  • ดอกอ้อย ออกดอกที่ปลายยอด
  • ผลเป็นผลแบบผลธัญพืช แห้งและมีขนาดเล็ก
  • รากของอ้อยนั้นอยู่ใต้ดิน มีขนาดใหญ่ ซึ่งกระจายทั่วลำต้น โดยรากของอ้อยจะแบ่งออกเป็น 2 ชุด คือ รากของท่อนพันธุ์ และรากของหน่อ

สำหรับ อ้อยในประเทศไทย นั้น มีพันธุ์อ้อยที่นิยมปลูกอยู่ 2 ชนิด คือ อ้อยเคี้ยว และอ้อยสำหรับทำน้ำตาล

  • อ้อยเคี้ยว จะมีเปลือกและชานนิ่ม ให้วความหวานปานกลาง นิยมปลูกเพื่อนำน้ำอ้อยมาดื่มสด ซึ่งพันธ์อ้อยเคี้ยวที่นิยมปลูก คือ อ้อยสิงคโปร์  พันธุ์มอริเชียส พันธุ์บาดิลาสีม่วงดำอ้อยทั้ง 3 พันธุ์นี้จัดเป็นพวกอ้อยพันธ์ดั้งเดิม ที่ปลูกในแถบเกาะนิวกินี สามารถเคี้ยวให้ความหวานที่มากพอและไม่แข็งจนเกินไป
  • อ้อยสำหรับทำน้ำตาล เป็นอ้อยที่ถูกพัฒนาสายพันธ์ ให้น้ำมาก เป็นสายพันธ์ที่นิยมปลูกทั่วโลก มีสายพันธ์ต่างๆ มากถึง 220 พันธ์อ้อย

สรรพคุณทางสมุนไพรของอ้อย

สำหรับตำราแพทย์แผนไทยนั้น จะใช้ อ้อยเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ รักษาหนองใน ขับนิ่ว ใช้ขับเสมหะ อ้อย นั้นสามารถใช้ประโยชน์ทางยาได้ตั้งแต่ ราก และลำต้น ซึ่งรายละเอียด ดังนี้

  • รากอ้อย ใช้นำมาเป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้หืด แก้ไอ ช่วยแก้ไข้ ช่วยรักษาเลือดลม ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยบำรุงร่างกาย รักษาอาการอาการอ่อนเพลีย รักษาอาการผอมแห้งหิวและหอบไม่มีเรี่ยวแรง ช่วยบำรุงโลหิตระดูของสตรี
  • ลำต้นอ้อย ใช้นำมาช่วยรักษาแผลพุพอง เป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยแก้อาการท้องผูก ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ช่วยแก้อาการเจ็บคอ ช่วยขับเสมหะ ช่วยรักษาโรคไซนัส ช่วยแก้หืด แก้ไอ ช่วยแก้ไข้ ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยรักษาเลือดลม ช่วยบำรุงร่างกาย รักษาอาการอาการอ่อนเพลีย รักษาอาการผอมแห้งหิวและหอบไม่มีเรี่ยวแรง ช่วยบำรุงโลหิตระดูของสตรี ช่วยรักษาโรคงูสวัด
  • เปลือกของต้นอ้อย ช่วยแก้ตานขโมย รักษาโรคปากเป็นแผล

การนำอ้อยมาใช้ประโยชน์

สำหรับ ประโยชน์ของอ้อย นั้น เราสามารถแบ่งประโยชน์ของอ้อยออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ประโยชน์การใช้โดยตรงจากอ้อย และการใช้อ้อยด้านอุตสาหกรรม ซึ่งรายละเอียดดังนี้

  • การใช้ประโยชน์จากอ้อยโดยตรง คือ เป็นอาหาร ให้ความหวาน เป็นอาหารสัตว์ เป็นเชื้อเพลิง ใช้เป็นวัตถุคลุมดินหรือบำรุงดิน เป็นต้น
  • การใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์จากอ้อยนั้น จะให้ ชานอ้อย  กากตะกอน กากน้ำตาล ซึ่งสิ่งเหล่านี้ นอกจากจะได้น้ำตาลทรายที่เราใช้ปรุงอาหารแล้ว ชานอ้อย กากตะกอน รวมถึงกากน้ำตาล สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน เช่น ชานอ้อย ใช้เป็นเชื้อเพลิง ใช้ผลิตวัสดุก่อสร้าง เช่น อัดเป็นแผ่น  แผ่นกันความร้อน ใช้ผลิตเยื่อกระดาษ และกระดาษชนิดต่าง ๆ ใช้เป็นอาหาร ใช้ทำปุ๋ยหมัก  กากตะกอน ใช้ทำเป็นปุ๋ยบำรุงดิน ใช้ในผลิตภัณฑ์ขัดเงา ผลิตหมึกสำหรับกระดาษคาร์บอน ผลิตลิปสติก กากน้ำตาล ใช้ทำปุ๋ย ใช้เลี้ยงสัตว์ ใช้ผลิตแอลกอฮอล์ ใช้ทำผงชูรส ใช้ทำกรดน้ำส้ม เป็นต้น

โทษของอ้อย

สำหรับการบริโภคน้ำอ้อยในปริมาณมาก และ ติดต่อกันนานเกินไป ทำให้เกิดการสะสมน้ำตาลในร่างกายมากเกินไป ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานตามมาอีกมากมาย

อ้อย ภาษาอังกฤษ เรียก Sugar cane มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Saccharum officinarum L. อ้อย นั้นจัดเป็นพืชในตระกูลหญ้า ไผ่ สำหรับ อ้อยมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น อ้อยขม อ้อยดำ อ้อยแดง อ้อยตาแดง เป็นต้น อ้อย สามารถปลูกได้ในประเทศเขตร้อน น้ำของต้นอ่อยมีความหวาน นำทำน้ำตาลรับประทาน นอกจากน้ำตาลแล้วอ้อยถูกนำมาเป็นวัตถุดิบในการทำกระดาษ พลาสติก เป็นเชื้อเพลิง และอาหารสัตว์ เป็นต้น ประเทศที่มีการปลูกอ้อยจำนวนมาก คือ บลาซิล คิวบา และอินเดีย

การปลูกอ้อย

สำหรับ การปลูกอ้อย นั้น อ้อยจะมีการเจริญเติบโตอยู่ 4 ระยะ ประกอบด้วย

  • ระยะงอก ภาษาอังกฤษ เรียก germination phase เป็นระยะแรก คือ หน่อเริ่มโผล่พ้นดิน ซึ่งใช้เวลาประมาณ 14-21 วัน เป็นหน่อที่เกิดจากตาของท่อนพันธุ์ เราเรียก หน่อแรก (primary shoot)
  • ระยะแตกกอ ภาษาอังกฤษ เรียก tillering phase ในระยะนี้การแตกกอของอ้อยจะใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์หลังปลูก และการแตกกอนี้จะใช้เวลาประมาณ 4 เดือน ซึ่งปัจจัยที่ทำให้อ้อยสามารถแตกกอได้ดี คือ ความชื้นในดิน แสง อุณหภูมิ และปุ๋ย การปลูกอ้อยในระยะการแตกกอต้อง การควบคุม น้ำ และ วัชพืช ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการแตกกอให้ผลผลิตที่ดีได้
  • ระยะย่างปล้อง ภาษาอังกฤษ เรียก stalk elongation phase เมื่อปลูกอ้อยได้อายุ 4-8 เดือน อ้อยจะเข้าสู่ระยะย่างปล้อง คือ อ้อยจะมีการเพิ่มความยาวและขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของปล้องอย่างรวดเร็ว เมื่อผ่านระยะ 8 เดือนแล้ว การเจริญเติบโตของอ้อยจะเริ่มลดลง และเริ่มมีการสะสมน้ำตาลเพิ่มมากขึ้นฃ
  • ระยะแก่และสุก ภาษาอังกฤษ เรียก maturity and ripening phase ในระยะนี้อ้อยพร้อมให้ผลผลิตแล้ว อัตราการเจริญเติบโตช้าลงมาก การสะสมน้ำตาลนั้นจะเริ่มจากส่วนโคนไปหาปลาย สามารถตัดผลผลิตไปใช้ประโยชน์

อ้อย ( Sugar cane ) สมุนไพร พืชเศรษฐกิจ นำมาทำน้ำตาล ประโยชน์และสรรพคุณของอ้อย ช่วยบำรุงร่างกาย อ้อยในประเทศไทย ที่นิยมปลูกมี 2 ชนิด คือ อ้อยเคี้ยว  และ อ้อยสำหรับทำน้ำตาล ต้นอ้อยเป็นอย่างไร สมุนไพรไทย ลักษณะของต้นอ้อย การปลูกอ้อย อ้อยสรรพคุณเป็นอย่างไร

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.   Take care of yourself first with good information. The content on this website is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick or feel unwell You should consult a doctor. to receive proper treatment For more information, please see our Terms and Conditions of Use.


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove