ไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ โรคติดต่ออุบัติใหม่ การติดเชื้อไวรัสที่ทางเดินหายใจ ทำให้เกิดอาการปอดอักเสบแบบกระทันหัน ไข้สูง ไอ หายใจไม่ออก ทำให้เสียชีวิตได้

ไข้หวัดนก โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ โรคทางเดินหายใจ

ไข้หวัดนก ( Bird Flu ) เป็นโรคติดต่อจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ ซึ่งมีที่มาจากสัตว์ปีกแพร่สู่คน ซึ่งเชื้อไวรัสไข้หวัดนกพบ 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธ์ H5N1 และ สายพันธ์ H7N9 รายลเอียดของสายพันธ์ไวรัส มีดังนี้

  • ไวรัสสายพันธุ์ H5N1 พบการระบาดในประเทศไทยครั้งแรกปี พ.ศ. 2547 และมีการระบาดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศจีนและฮ่องกง
  • ไวรัสสายพันธุ์ H7N9 พบการระบาดในประเทศจีน ปี พ.ศ. 2556 แต่ไม่พบการระบาดในประเทศไทย

นอกจากนี้ยังมีไข้หวัดนกสายพันธุ์อื่น ๆ ได้แก่ H7N7, H9N2, H6N1, H10N8 และ H5N6 ที่พบว่าสามารถระบาดสู่คนได้ แต่ก็เกิดขึ้นได้น้อย และก็มีน้อยที่เป็นสาเหตุของอาการป่วยที่รุนแรง

การอุบัติของโรคไข้หวัดนก

ไข้หวัดนกพบได้ในช่วงเดือนธันวาคมถึงมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงอพยพหนีหนาวของสัตว์ปีกจากโลกซีกเหนือ จากสถิติล่าสุดขององค์การอนามัยโลก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 จนถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2559 พบผู้ติดเชื้อไข้หวัดนกทั่วโลก 856 คน และมีผู้เสียชีวิต 452 คน อัตราการเสียชีวิตสูงถึง 50% โดยผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ต้องสัมผัสกับซากสัตว์ปีกหรือคนที่ทำงานกับสัตว์ปีก

สาเหตุของไข้หวัดนก

สำหรับสาเหตุของการติดเชื้อไข้หวัดนก เกิดจากการสัมผัสสารคัดหลั่งหรืออุจจาระของสัตว์ปีกที่ีมีเชื้อโรค รวมถึงการสูดดมเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย เมื่อเชื้อโรคจากสัตว์เข้าสู่คน สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ จากการหายใจหรือสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อเช่นกัน ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ติดเชื้อไข้หวัดนก มีดังนี้

  • การสัมผัสสารคัดหลั่งหรืออุจจาระของสัตว์ปีกที่มีเชื้อโรค
  • การอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดนก
  • ประกอบอาชีพที่ต้องคลุกคลีกับสัตว์ปีก
  • รับประทานอาหารจากสัตว์ปีกที่ม่ถูกสุขอนามัย

อาการของผู้ป่วยไข้หวัดนก

เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย จะมีระยะเวลาในการฟักตัวของเชื้อโรค ประมาณ 5 วัน โดยในช่วงที่เชื้อโรคฟักตัวผู้ป่วยอาจไม่แสดงอาการ แต่เมื่อถึงระยะแสดงอาการของโรค ผู้ป่วยจะมีอาการ ดังนี้

  • มีไข้สูง
  • มีอาการปวดตามตัว
  • ปวดหัว
  • มีอาการไอ จาม มีน้ำมูกไหล
  • ปอดอักเสบอย่างรุนแรง
  • ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการ ท้องเสีย อาเจียน ปวดท้อง เจ็บหน้าอก มีเลือดออกตามไรฟัน มีเลือดกำเดาไหล หรือมีอาการเยื่อบุตาอักเสบ เป็นต้น

การรักษาไข้หวัดนก

ปัจจุบันโรคไข้หวัดนกสามารถรักษาให้หายได้ โดยการใช้ยารักษาโรค คือ ยาโอเซทามิเวียร์ (Oseltamivir) และ ยาซานามิเวียร์ (Zanamivir) แต่ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที สิ่งสำคัญของการรักษา คือ การป้องกัยภาวะแทรกซ้อนของโรค เมื่อได้รับยารักษาโรค ผู้ป่วยจะหายป่วยภายใน 48 ชั่วโมง

การป้องกันไข้หวัดนก

สำหรับวิธีป้องกันไข้หวัดนกที่ดีที่สุด คือ การหลีกเลี่ยงการสัมผัสเชื้อโรค ควรล้างมือทุกครั้งหากจำเป็นต้องสัมผัสสัตว์ปีก นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อหรือไข่ของสัตว์ปีก ที่ปรุงไม่สุก การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ไม่สามารถป้องกันโรคนี้ได้ การลดความเสี่ยงการติดเชื้อโรค จึงดีที่สุด

ไข้หวัดนก หรือ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ โรคติดต่ออุบัติใหม่ ภาวะการติดเชื้อโรคที่ระบบทางเดินหายใจ พบในสัตว์ปีกแพร่สู่คน ทำให้เกิดอาการปอดอักเสบแบบกระทันหัน ไข้สูง ไอ ทำให้เสียชีวิตได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

โรคคอตีบ ( Diphtheria ) การติดเชื้อแบคทีเรียที่ทางเดินหายใจ ติดต่อสู่คนได้ อาการมีไข้ มีเสมหะ เจ็บคอ หายใจลำบาก มีแผลตามตัว หากไม่รักษาเป็นอันตรายถึงชีวิต

โรคคอตีบ โรคระบบทางเดินหายใจ ติดเชื้อที่ทางเดินหายใจ ติดเชื้อที่คอ

โรคคอตีบ ( Diphtheria ) คือ โรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ชนิด Chorynebac terium diphtheriae เป็นโรคพบได้น้อยในประเทศที่พัฒนาแล้ว โรคคอตีบมีฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโรค ต้องฉีดวัคซีนตั้งแต่เป็นทารกอายุ 2 เดือนโรคที่พบได้บ่อยในประเทศในเขตร้อน เมื่ออดีตโรคคอตีบมีอาการที่รุนแรงเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตจนนวนมาก

สาเหตุของการเกิดโรคคอตีบ

สำหรับโรคคอตีบเกิดจากเชื้อแบคทีเรียคอตีบ ชื่อว่า โครินแบคทีเรียดิฟทีเรีย ( Corynebacterium diphtheriae ) เชื้อโรคเมื่อเข้าสู่งร่างกายเชื้อโรคจะปล่อยสารพิษ ( Exotoxin ) ออกมาทำลายเนื้อเยื่อต่างๆ โดยเฉพาะเยื่อบุคอหอย กล้ามเนื้อหัวใจ และ เส้นประสาท ซึ่งโรคคอตีบนี้สามารถติดต่อกันได้ โดยการรับเชื้อทางปาก หรือ การหายใจ เช่น การไอ การจาม หรือ การสัมผัสน้ำลายหรือเสมหะของคนที่มีเชื้อโรคคอตีบ หลังจากได้รับเชื้อภายใน 10 วันผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการของโรคคอตีบ

อาการของผู้ป่วยโรคคอตีบ  

การแสดงอาการของผู้ป่วยโรคคอตีบ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บคอ มีไข้ มีน้ำมูก ครั่นเนื้อครั่นตัว ต่อมน้ำเหลืองโต หายใจลำบาก กลืนน้ำลายไม่สะดวก และ ผิวหนังจะมีอาการผิดปรกติ เช่น มีแผลที่ผิวหนัง มีอาการอักเสบที่แผล เจ็บแผล และ มีหนองที่แผล ผู้ป่วยโรคคอตีบหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที จะทำให้เกิดอาการต่างๆจากโรคแทรกซ้อนเพิ่มได้ คือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ภาวะหัวใจล้มเหลว น้ำท่วมปอด หัวใจเต้นผิดปรกติ อาจทำให้เป็นอัมพาต ปากเบี้ยว ตาเข มือเท้าชา และ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ได้ สามารถสรุบลักษณะอาการของโรคคอตีบ ได้ดังนี้

  • มีไข้สูง แต่ไม่เกิน 39 องศาเซลเซียส
  • รู้สึกหนาวสั่น
  • อ่อนเพลีย
  • เจ็บคอมาก
  • หายใจลำบาก
  • หอบเหนื่อย
  • คออาจบวม
  • ไอมีเสียงดังเหมือนสุนัขเห่า
  • เสียงแหบ
  • น้ำมูกอาจมีเลือดปน
  • มีแผลบริเวณผิวหนัง บริเวณแขนและขา

ระยะของโรคคอตีบ

สำหรับระยะของอาการโรคคอตีบ มี 2 ระยะ คือ คอตีบระยะฟักตัวของโรค และ คอตีบระยะติดต่อ ซึงรายละเอียดของโรคคอตีบแต่ละระยะ มีดังนี้

  • คอตีบระยะฟักตัว ตั้งแต่ได้รับเชื้อจะแสดงอาการภายใน 10 วัน ในบางกรณีผู้ติดเชื้ออาจจะไม่แสดงอาการใดๆเลยก็ได้ ซึ่งกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการเหล่านี้ มักเป็นแหล่งแพร่เชื้อสำคัญในชุมชน
  • คอตีบระยะติดต่อ หลังจากติดเชื้อได้ประมาณ 3 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะแสดงอาการของโรคคอตีบ ซึ่งสามารถแพร่เชื้อโรคได้ในระยะนี้จากการไอ การจาม และ สารคัดหลั่ง

การรักษาโรคคอตีบ

สำหรับแนวทางการรักษาโรคคอตีบ สามารถรักษาโรคคอตีบได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น penicillin หรือ Erythromycin ใช้เวลาในการรักษาประมาณ 14 วัน  เมื่อให้ยาปฏิชีวนะในการฆ่าเชื้อกับผู้ป่วย แพทย์จะการรักษาด้วยการประคับประคองตามอาการของโรคอื่นๆ เช่น ให้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ให้น้ำเกลือและให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ ใช้เครื่องช่วยหายใจ เพื่อช่วยในการหายใจ ให้ออกซิเจน เป็นต้น

การป้องกันโรคคอตีบ

สำหรับแนวทางการป้องกันการติดเชื้อโรคคอตีบ สามารถทำได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันคอตีบ สรุปแนวทางการป้องกันการเกิดโรคคอตีบได้ ดังนี้

  • เข้ารับการฉีดวัควีนป้องกันโรคคอตีบ
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้สะอาด เพื่อป้องกันอาการติดเชื้อ
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ใช้หน้ากากอนามัยหากต้องอยู่ในพื้นที่เสี่ยงในการรับเชื้อโรค
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยในระยะติดต่อ

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove