เนื้องอกในสมอง เนื้อเยื่อผิดปรกติที่สมอง ทำให้เกิดอาการปวดหัวอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ชัก มีปัญหาการพูดและการฟัง รวมถึงการมองเห็น กลายเป็นมะเร็งสมองได้โรคเนื้องอกในสมอง เนื้องอกในสมอง โรคสมอง โรคระบบประสาทและสมอง

ชนิดของเนื้องอกที่สมอง

สำหรับการแบ่งชนิดของเนื้องอกที่สมองนั้น สามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ เนื้องอกที่เป็นเนื้อธรรมดา และ เนื้องอกที่เป็นเนื้อร้าย ดดยรายละเอียดของเนื้องอก แต่ละประเภทมีรายละเอียด ดังนี้

  • เนื้องอกในสมองที่เป็นเนื้อธรรมดา ( Benign Brain Tumors ) ซึ่งเนื้องอกชนิดนี้ ไม่อันตรายและเจริญเติบโตช้า สามารถรักษาให้หายขาดได้
  • เนื้องอกในสมองที่เป็นเนื้อร้าย ( Malignant Brain Tumors ) ซึ่งเนื้องอกชนิดนี้ มีอันตรายเจริญเติบโตแบบผิดปกติ เป็น เซลล์มะเร็ง และจะลามเข้าสู่สมอง ไม่สามารถควบคุมการเจริญเติบโตได้

สาเหตุของการเกิดเนื้องอกในสมอง

สำหรับการเกิดเนื้องอกที่สมองนั้น เราสามารถแยกสาเหตุของโรคได้ 2 สาเหตุ แยกตามชนิดของเนื้องอก คือ สาเหตุของเนื้องอกในสมองแบบธรรมดา และ สาเหตุของเนื้องอกในสมองแบบเนื้อร้าย โยรายละเอียดของการเกิดเนื้องอกในสมอง มีดังนี้

  • สาเหตุการเกิดเนื้องอกในสมองแบบเนื้อธรรมดา พบว่าเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เซลล์มีการแบ่งตัวและเจริญเติบโตแบบผิดปกติ
  • สาเหตุการเกิดเนื้องอกในสมองแบบเนื้อร้าย เกิดจากเซลล์มะเร็งก่อที่สมอง โดยเซลล์มะเร็งจากอวัยวะอื่นลามเข้าสู่สมอง ทางกระแสเลือด จนเกิดเนื้อร้าย โดยเนื้อร้ายจะเจริญเติบโตได้เร็ว และเป็นอันตรายต่อร่างกาย

ระยะของการเกิดเนื้องอกในสมอง

ระยะของการเกิดเนื้องอกในสมอง มี 4 ระยะ เหมือนกับการเกิดมะเร็ง ซึ่งในการดูแลผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง จะไม่แบ่งระยะของมะเร็ง แต่จะแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกในสมองที่สามารถผ่าตัดรักษาได้ กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกในสมองที่ไม่สามารถผ่าตัดรักษาได้ และ กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกในสมองที่รักษาแล้วลับมาเป็นซ้ำ

อาการของผู้ป่วยโรคเนื้องอกในสมอง

เมื่อเกิดเนื้อร้ายขึ้นที่สมองนั้น จะแสดงอาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาทและสมอง โดยลักษณะอาการของโรคเนื้องอกในสมอง เป็นอาการที่แสดงออกอย่างรุนแรง ทำให้ผู้ป่วยได้รับความทรมาน โดยสามารถสรุปอาการของโรคได้ดังนี้

  • ปวดอย่างรุนแรง และ เพิ่มความปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • มีอาการง่วงซึม
  • ประสิทธิภาพในการพูดลดลง พูดจาติดขัด
  • ประสิทธิภาพการฟังลดลง ไม่ได้ยินเสียง
  • ประสิทธิภาพการมองเห็นลดลง มองเห็นเป็นภาพเบลอๆ หรือ มองเห็นภาพซ้อน
  • มีอาการสับสน มึนงง
  • ความจำไม่ดี
  • ประสิทธิภาพการทรงตัวลดลง
  • มีอาการชัก
  • แขนขาอ่อนแรง
  • อัมพาตครึ่งซีก

อาการต่างๆเหล่านี้ บ่งบอกถึงความผิดปรกติของการทำงานของสมองที่เชื่อมต่อกับระบบประสาท หากว่ามีอาการลักษณะดังกล่าว มีความเสี่ยงในการเกิดโรคเนื้องอกในสมองได้

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดเนื้องอกในสมอง

ปัจจัยต่างๆที่ทำให้มีโอกาสเกิดเนื้องอกในสมองนั้น มีหลายปัจจัย สามารถสรุปได้ ดังนี้

  • พันธุกรรม ในกรณีที่คนในครอบครัวมีประวัติการเกิดเนื้องอกในสมอง พบว่าคนในครอบครัวเดียวกันมีโอกาสการเกิดเนื้องอกในสมอง สูงกว่าคนในครอบครัวที่ไม่มีประวัติ
  • การได้รับรังสีอันตรายเป็นเวลานาน เช่น รังสีจากไมโครเวฟ คลื่นโทรศัพท์ รังสีจากการฉายแสงรักษามะเร็ง รังสีจากระเบิดปรมาณู แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานใดเชื่อมโยงว่ารังสีเหล่านี้ แต่การได้รับรังสีเข้าสู่ร่างกาย นั้นเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเนื้องอกในสมองได้
  • อายุ ซึ่งจากสถิติการเกิดโรคเนื้องอกในสมอง พบว่าเกิดขึ้นกับทุกเพศทุกวัย แต่อัตราการเกิดโรคของผู้ใหญ่มีสูงกว่าเด็ก

การวินิจฉัยโรคเนื้องอกในสมอง

เมื่อพบว่าระบบการทำงานของร่างกายผิดปรกติ ลักษณะคล้ายกับโรคเนื้องอกในสมอง นั้นแพทย์จะทำการวินิจฉัย โดยการซักประวัติ และ อาการโดยเบื้องต้น จากนั้นต้องทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดยมีวิธีการตรวจร่างกาย ดังนี้

  • การทำการเอกซเรย์สมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ( MRI ) หรือ การทำตรวจเอกซเรย์สมองทางคอมพิวเตอร์ (CT scan) จะทำให้แพทย์เห็นภาพเกี่ยวกับความผิดปรกติของสมองอย่างชัดเจน
  • การตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อตรวจให้ชัดเจนว่าเนื้องอกเป็นเนื้องอกชนิดใด
  • การตรวจเลือด เพื่อประเมินสภาพร่างกายโดยทั่วไปของผู้ป่วย
  • ตรวจเอกซเรย์ปอด เพื่อดูความผิดปกติในช่องอก ปอด และ การแพร่กระจายของโรคมะเร็งสู่ปอด

วิธีรักษาเนื้องอกในสมอง

การรักษาโรคเนื้องอกในสมอง นั้น มีความแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้องอก แบะ สภาพร่างกายของผู้ป่วย  โดยแนวทางการรักษาเนื้องอกในสมอง มีอยู่ 3 วิธีหลัก คือ การผ่าตัด การฉายรังสี การให้ยาเคมีบำบัด และการให้ยารักษาเพื่อบรรเทาอาการต่างๆ

  • การผ่าตัดเพื่อรักษาเนื้องอกในสมอง สามารถทำได้หากจุดที่เกิดเนื้องอกไม่กระทบต่อเนื้อเยื่อและเส้นประสาท ซึ่งการผ่าตันนั้แพทย์จะทำการผ่าตัดเอาเนื้องอกออกให้มากที่สุด
  • การฉายแสงเพื่อรักษาเนื้องอกในสมอง เป็นการใช้รังสีพลังงานสูง ทำลายเนื้องอกที่สมอง การฉายรังสีนั้นสามารถทำได้ทั้งวิธีการฉายรังสีจากภายนอก และ การฝังรังสี
  • การให้เคมีบำบัด เป็นการใช้ยาเพื่อทำบายเซลล์เนื้องอก โดยการให้เคมีบำบัดมีทั้งรูปแบบยากิน และ ยาฉีด ซึ่งการให้เคมีบำบัดนั้นต้องอยู่ในวินิจฉัยของแพทย์

ภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดเนื้องอกในสมอง

สิ่งที่ต้องระวังจากการเกิดโรคเนื้องอกในสมอง คือ ภาวะแทรกซ้อน ซึ่งภาวะแทรกซ้อนของโรคเนื้องอกในสมองมีความอันตรายถึงชีวิต โดยสามารถสรุป ได้ดังนี้

  • การตกเลือดที่สมอง ณ จุดที่มีเนื้องอกอยู่
  • ภาวะการอุดตันของน้ำไขสันหลัง ทำให้โพรงสมองคั่งน้ำ
  • ภาวะสมองเคลื่อนตัวจากฐานกะโหลก ทำให้ความดันสมองเพิ่มขึ้นอย่างเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิต
  • อาการชัก เมื่อเนื้องอกในสมองขยายตัว หรือ สมองมีอาการบวม เสี่ยงต่อการเกิดลมชัก แพทย์จะให้ทานยาต้านอาการชัก

การป้องกันการเกิดเนื้องอกในสมอง

เนื่องจากในปัจจุบัน การศึกษาทางการแพทย์ยังไม่ทราบยืนยันสาเหตุของการเกิดโรคเนื้องอกในสมองได้ แต่ปัจจัยการเกิดโรค คือ พันธุกรรม การรับรังสีอันตราย และ อายุของผู้ป่วยและภูมิต้านทานต่อโรคของแต่ละคน ดังนั้น ในปัจจัยการเกิดโรคบางอย่างสามารถป้องกันได้ โดยสามารถสมุนปแนวทางการป้องกันการเกิดโรคเนื้องอกในสมอง ได้ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้รังสีอันตราย เป็นเวลานาน เช่น รังสีไมโครเวฟ รังสีปรมณู
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และ ทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น ที่มีควันบุหรี่ สถานที่สกปรกไม่ถูกหลักอนามัย
  • หมั่นตรวจร่างกาย คัดกรองโรค เพื่อให้สามารถรักษาโรคได้ทันท่วงที
  • หากมีอาการผิดปรกติ ปวดหัวรุนแรง ให้พบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของโรค

โรคเนื้องอกในสมอง การเกิดเนื้อเยื่อผิดปรกติที่สมอง ทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ปวดหัวอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ชัก มีปัญหาการพูดและการฟัง รวมถึงการมองเห็น สามารถกลายเป็นมะเร็งสมองได้ หากไม่ได้รับการรักษา

ฝีในสมอง ฝีสมอง ( Brain abscess ) ติดเชื้อโรคที่สมองจนเกิดฝี ทำให้สมองอักเสบ โรคอันตรายเสียชีวิตได้ อาการปวดหัวอย่างรุนแรง แขนขาอ่อนแรง ชัก หมดสติ ส่งแพทย์ด่วน
โรคฝีในสมอง โรคสมอง โรคติดเชื้อ ฝีที่สมอง

โรคฝีในสมอง เกิดจากการการติดเชื้อที่สมอง ภาษาอังกฤษ เรียก Brain abscess เชื้อโรค คือ เชื้อแบคทีเรีย strephyloccus ทำให้พิการ หรือ เสียชีวิตได้ หากมีอาการ ปวดศรีษะอย่างรุนแรง มีไข้ แขนขาอ่อนแรง ชัก อย่าเบาใจให้รีบพบแพทย์ด่วน

ฝีในสมอง โรคเกี่ยวกับการติดเชื้อ ที่สมอง โรคนี้ ผู้ป่วยประมาณไม่เกินร้อยละ 20 จะมีฝีที่สมองมากกว่าหนึ่งจุด และร้อยละ 92 ของผู้ป่วยฝีในสมองพบฝีที่สมองเล็กด้านหน้า โรคอันตรายจากเชื้อแบคทีเรีย ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยมีโอกาสเป็นอัมพาตครึ่งซีก โรคฝีในสมอง ดาราเคยเป็นข่าวใหญ่คร่าชีวิต บิก ดีทูบี มาแล้ว เรามาทำความรู้จักกับโรคฝีในสมองกันว่า สาเหตุของโรค ปัจจัยเสี่ยง อาการและการรักษาโรคทำอย่างไร

โรคฝีสมอง เป็น ภาวะติดเชื้อ ซึ่งสามารถเกิดจากเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรียก็ได้ โดยเป็นการสร้างเชื้อโรคจนเกิดอาการอักเสบที่สมอง ส่งผลต่ออาการผิดปกติของระบบประสาท ลักษณะการก่อตัวของเชื้อเป็นแบบฝี หนอง ในเนื้อสมอง อันตรายส่งผลร้ายแรงถึงเสียชีวิต โรคฝีในสมอง นั้นไม่ใช่โรคปรกติที่เกิดกับคนทั่วไป แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ในการเกิดอุบัตติเหตุ โรคหูน้ำหนวก และโรคหัวใจพิการ มีอัตราเสี่ยงสูงในการเกิดโรคนี้ เรามาดูสาเหตุของการเกิดโรคฝีในสมองว่ามีสาเหตุจากอะไรบ้าง

สาเหตุของการเกิดฝีในสมอง

สำหรับสาเหตุของการเกิดฝีในสมองนั้น มีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อที่สมอง ซึ่งเราสามารถแยกสามเหตุหลักๆ ได้ 3 ประการ คือ การติดเชื้อที่อวัยวะที่ใกล้และเกี่ยวข้องกับสมอง การติดเชื้อในกระแสเลือด และการติดเชื้อที่สมองโดยตรง รายละเอียดของสาเหตุข้อต่างๆ มีดังนี้

  • การติดเชื้อของอวัยวะใกล้เคียงกับสมอง เป็นลักษณะการแพร่กระจายเชื้อโรคเข้าสู่สมอง อวัยวะที่ต้องป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ เนื่องจากอาจทำให้สมองติดเชื้อได้ คือ หู ฟัน ใบหน้า หัว เป็นต้น
  • การติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งการเกิดภาวะพิษที่เลือดสามารถกระจายสู่สมองได้ง่ายมาก การติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นโรคอันตรายส่งผลต่อระบบการทำงานทั้งหมดในร่างกาย
  • การติดเชื้อที่สมองโดยตรง เป็นลักษณะของการเกิดอุบัตติเหตุ เกิดการกระแทกอย่างรุนแรง ทำให้เขื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งทางแผลที่หัว หรือเลือดที่เกิดในอุบัตติเหตุ รวมถึงภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดสมอง

กลไกของฝีเกิดขึ้นได้อย่างไร

กระบวนการทางพยาธิวิทยานั้นสามารถกลับมาปรกติได้ใน 3 วัน ตั้งแต่เริ่มเกิดการอักเสบที่สมอง หากการไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมนั้น จะทำให้สมองอักเสบมากขึ้น ซึ่งจะเกิดหนอง

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคฝีในสมอง

สำหรับปัจจัยของการเกิดโรคฝีในสมองนั้น มีหลายส่วนทั้งที่สามารถควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ แต่เราก็รวมปัจจัยของการเกิดโรคฝีในสมองว่ามีอะไรบ้าง เพื่อจะสามารถป้องกันการเกิดปัจจัยเสี่ยงของโรคได้

  • ภาวะภูมิต้านทานร่างกายต่ำ ซึ่งปัจจัยนี้เกิดจากร่างกายที่อ่อนแอ สามารถควบคุมได้ด้วยการออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชนืต่อร่างกาย
  • ภาวะการติดเชื้อในอวัยวะส่วนที่เชื่อมโยงกับสมองและใกล้สมอง เช่น หู ไซนัส ฟัน เหงือก แผลที่ศรีษะ เป็นต้น
  • โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • โรคหัวใจ
  • การติดเชื้อในกระแสเลือดหรือภาวะโลหิตเป็นพิษ
  • อุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนสมองอย่างรุนแรง

อาการของผู้ป่วยโรคฝีในสมอง

สำหรับอาการของโรคฝีในสมองจะส่งผลกระทบกับระบบประสาทเป็นหลัก ซึ่งอาการที่พบเห็นในกรณีที่ไม่ได้เกิดอุบัติเหตุถึงขั้น โคม่า จะพบอาการ คือ เวียนหัว เสียการทรงตัว ปวดหัวอย่างรุนแรง มีไข้สูง แขนขาอ่อนแรง สายตาพร่ามัว คลื่นไส้อาเจียน มีอาการชัก มีหนองไหลจากหู เป็นต้น

หากพบว่ามีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง มีไข้สูง แขนขาอ่อนแรง ให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลด่วนที่สุด

การวินิจฉัยโรคฝีในสมอง

การวินิจฉัยเพื่อวิเคราะห์หาโรค ซึ่งโรคฝีสมองนั้น สามารถพิจารณาจากอาการผิดปรกติ ประวัติทางการแพทย์ ที่การตรวจเอกเซเลย์สมอง ทำการแสกนเอ็มอาร์ไอ

การรักษาโรคฝีในสมอง

การรักษาโรคฝีในสมองนั้น ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาโรคฝีในสมอง ที่โรงพยาบาลตลอดเวลาและรักษาในห้องปลอดเชื้อโรค สำหรับการรักษานั้น รักษาด้วยการให้ยาต้านจุลชีพ โดยจะให้ยาต้าลจุลชีพ ประมาณ 45 วัน หรือให้จนกว่าฝีที่สมองจะหาย

ในกรณีที่ผู้ป่วยโรคฝีในสมองไม่ตอบสนองต่อยาต้านจุลชีพ แพทย์จะทำการผ่าตัดสมอง เพื่อนำก้อนเนื้อฝีออกให้หมด แต่การรักษาต้องรักษาโรคพร้อมกับควบคุมการเกิดโรคแทรกซ้อน อย่าง โรคหูน้ำหนวก โรคหัวใจ เพื่อป้องกันไม่เกิดฝีที่สมองซ้ำอีก การรักษาโรคฝีในสมองนั้น หากรักษาช้าหรือไม่ถูกวิธี ส่วยมากผู้ป่วยจะเสียชีวิตทุกราย แต่หากรักษาได้ จะพบว่ามีผลข้างเคียงต่อระบบประสาทเช่น แขนขาอ่อนแรง หรือ อาการชัก เป็นต้น

การดูแลผู้ป่วยโรคฝีในสมอง

การดูแลผู้ป่วยโรคฝีในสมองนั้น จำเป็นต้องควบคุมปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคอย่างเคร็งคลัด

  • จัดสถานที่ให้สะดวกต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากผู้ป่วยจะมีร่างกายที่ผิดปรกติ เช่น แขน ขาอ่อนแรง ต้องจัดสถานที่ให้สะดวกเพื่อป้องกันอุบัตติเหตุ
  • ให้ทำกายภาพบำบัดอย่างสม่ำเสมอ
  • ต้องพกยากันอาการชักติดตัวเสมอ อย่าให้ขาดยา
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้ดี เพื่อลดโอกาสการเกิดฝีสมอง อีกครั้ง
  • พาผู้ป่วยพบแทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
  • หากพบอาการผิดปรกติมากขึ้น เช่น ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง แขนขากลับมาอ่อนแรงอีก มีอาการชักบ่อยขึ้น ให้พบแพทย์เพื่อรับการรักษา

การป้องกันโรคฝีในสมอง

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคฝีในสมอง นั้นเราต้องป้องกันปัจจัยทั้งหมดที่สามารถควบคุมได้ โดยการป้องกันโรคฝีในสมองมีดังนี้

  • ใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะที่ศีรษะ
  • ดูแลร่างกายให้แข็งแรง เพื่อให้ร่างกายสามารถมีภูมิต้านทานโรค
  • รับประทาออาหารที่มีประโยชน์และรักษาสุขอนามัยพื้นฐานในสถานที่ที่อยู่อาศัยให้ดี

โรคฝีในสมอง การติดเชื้อที่สมอง เป็นโรคที่คร่าชีวิตดาราชื่อดังอย่าง บิกดีทูบี โรคที่เกิดกับสมองนั้นรุนแรงเสมอไม่ว่าจะโรคอะไร การรักษานั้นก็สามารถทำได้แต่ผู้ป่วยมักไม่เหมือนเดิม หรือ ใช้เวลานานในการเข้าสู่ภาวะปรกติ โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง ยังมีอีกหลายโรคที่อยากแนะนำให้รู้จัก โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง มีดังนี้

โรคสมอง โรคระบบประสาท โรคพาร์กินสัน พาร์กินสันโรคพาร์กินสัน โรคเกี่ยวกับระบบประสาท โรคไม่ติดต่อ แต่สามารถถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมได้ โรคของกลุ่มอาการที่มีการสั่นของมือและการเคลื่อนไหวตัวได้น้อย ความจำเสือม อัลไซล์เมอร์ โรคสมอง โรคความจำโรคอัลไซเมอร์ ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ซึ่งโรคนี้เป็นโรคที่เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อม ผู้ป่วยโรค จะมีอาการ เช่น ความจำเสื่อม หลงลืม
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคสมอง ระบบประสาท หลอดเลือดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคเอมจี โรคภูมิต้านทานตัวเอง ชนิดเรื้อรัง ทำให้ไม่สามารถควบคุมการเคลือนไหวของแขน ขา ดวงตา ใบหน้า โคม่า เจ้าชายนิทรา โรคสมอง โรคต่างๆอาการโคม่า โรคเกี่ยวกับระบบสมอง และ ระบบประสาทมาพอสมควรแล้ว อาการหนึ่งที่ควรทความรู้จักกัน คือ อาการโคม่า อาการโคม่าเป็นอย่างไร
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคระบบประสาท โรคกระดูกหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ปวดหลัง ปวดร้าวลงที่ขา ปวดไปถึงน่อง ปวดหลังเท้า เจ็บข้อพับด้านหลัง นิ้วเท้าชา อาการของ โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท เยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคสมอง โรคติดเชื้อโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคติดเชื้อ ภาวะการอักเสบของเยื่อหุ้มสมอง เกิดจากการติดเชื้อ อาการ มีไข้สูง ปวดหัวรุนแรง คอแข็ง คลื่นไส้ อาเจียน กลัวแสง ชัก หมดสติ

โรคฝีในสมอง ฝีในสมอง ฝีสมอง ( Brain abscess ) ภาวะติดเชื้อที่สมอง เชื้อรา หรือ เชื้อแบคทีเรีย ทำให้สมองอักเสบ ลักษณะของเชื้อเป็นแบบ ฝี หนอง ในเนื้อสมอง ร้ายแรงทำให้เสียชีวิตได้ การติดเชื้อที่สมอง ปวดศรีษะอย่างรุนแรง มีไข้ แขนขาอ่อนแรง ชัก รีบพบแพทย์ด่วน โรคระบบสมอง สาเหตุ อาการ การรักษา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove