กุยช่าย ( Garlic chives ) สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว สรรพคุณมีสารต้านอนุมูลอิสระ บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศกุยช่าย สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของกุยช่าย

กุยช่าย ( Garlic chives ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกุยช่าย คือ Allium tuberosum Rottler ex Spreng. สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของใบกุยช่าย สรรพคุณของกุยช่าย ประโยชน์ของกุยช่าย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ชนิดของกุยช่าย เช่น กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว

ต้นกุยช่าย เป็นพืชสมุนไพร ในครัวเรือน นิยมนำใบและดอกกุยช่ายมาทำอาหาร สรรพคุณของกุยช่าย เช่น รักษาหวัด บำรุงกระดูก แก้ลมพิษ แก้ท้องอืด บำรุงไต บำรุงกำหนัด กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ กุยช่ายที่รู้จักกันในท้องตลาด มี กุยช่ายขาว และกุยช่ายเขียว ซึ่งคือพืชชนิดเดียวกัน แต่เทคนิคด้านการผลิตพืช ทำให้ใบกุยช่ายสามารถเป็นสีขาวได้ ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็งได้ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสมุนไพร ชื่อ กุยช่าย กัน

กุยช่าย นิยมนำใบมาทำเป็นส่วนประกอบของอาหาร ตัวอย่างอาหารเมนูกุยช่าย เช่น ผัดเต้าหู้ ผัดหมูกรอบ ผัดหมี่ซั่ว ผัดหมีฮ่องกง เป็นต้น กุยช่ายเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออก แถบเทือกเขาหิมาลัย ประเทศอินเดีย ประเทศจีน และประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น กุยช่าย ภาษาอังกฤษ เรียก Garlic chives กุยช่าย มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Allium tuberosum Rottler ex Spreng. เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับพลับพลึง สำหรับกุยช่ายมีชื่อเรียกอื่น ๆ อาทิเช่น ผักไม้กวาด, ผักแป้น, กูไฉ่ เป็นต้น

ลักษณะของต้นกุยช่าย

ต้นกุยช่าย เป็นพืชตระกูบล้มลุก ความสูงของต้นกุยช่ายประมาณไม่เกิน 45 เซนติเมตร มีเหง้าเล็กๆ และแตกกอ ลักษณะของต้นกุ่ยฉ่าย มีดังนี้

  • ใบของกุยช่าย เป็นใบแบน และยาว ขึ้นที่โคนต้นเหมือนต้นหญ้า
  • ดอกของกุยช่าย จะออกเป็นช่อ มีดอกสีขาว มีกลิ่นหอม
  • ก้านของช่อดอกกุยช่าย มีความยาวประมาณ 45 เซนติเมตร
  • ผลของกุยช่าย มีลักษณะกลม เมล็ดของกุยช่าย มีสีน้ำตาล ลักษณะแบน

คุณค่าทางโภชนาการของกุยช่าย

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของใบกุยช่ายและดอกกุยช่าย พบว่า ต้นกุยช่ายขนาด 100 กรัม สามารถให้พลังงาน 28 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหารต่างๆ มากมายประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 4.1 กรัม กากใยอาหาร 3.9 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม เบต้าแคโรทีน 136.79 ไมโครกรีม ธาตุแคลเซียม 98 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.5 มิลลิกรัมและธาตุฟอสฟอรัส 46 มิลลิกรัม ในการศึกษาดอกกุยช่ายขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 38 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.3 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม เบต้าแคโรทีน 152.92 ไมโครกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 31 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัมและธาตุฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกุยช่าย

สำหรับ ประโยชน์ของกุยช่าย ด้านการรักษาโรคต่างๆ นั้่น สามารถใช้กุยช่าย ตั้งแต่ ต้น ใบ ราก เมล็ด ดอก รายละเอียดของ สรรพคุณของกุยช่าย มีดังนี้

  • ใบกุยช่าย ช่วยบำรุงกระดูก กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ แก้ปัญหาการหลั่งเร็วในเพศชาย เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยลดความดัน รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาโรคเบาหวาน ช่วยรักษาโรคหูน้ำหนวก เป็นยาแก้หวัด แก้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลมในกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาแผลริดสีดวงทวาร ช่วยแก้โรคนิ่ว รักษาหนองในได้ บำรุงไต แก้พิษแมลงกัดต่อย รักษาห้อเลือด รักษาอาการฟกช้ำ รักษาแผลเป็นหนอง บำรุงน้ำนม ช่วยลดอักเสบ
  • รากกุยช่าย ช่วยแก้อาการเลือดกำเดาไหล แก้อาการอาเจียน มีฤทธิ์ในการช่วยห้ามเหงื่อ ช่วยแก้อาการแน่นหน้าอก ช่วยแก้อาการปัสสาวะขัด
  • เมล็ดของกุยช่าย ช่วยอุดฟัน ป้องกันฟันผุ ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ เป็นยาฆ่าแมลง
    ช่วยแก้อาเจียน ด้วยการใช้ต้นกุยช่ายนำมาคั้นเอาแต่น้ำผสมกับเกลือเล็กน้อย หรือจะผสมกับน้ำขิงสักเล็กน้อยอุ่นให้
  • ต้นกุยช่าย ช่วยรักษาอาการท้องเสีย ช่วยแก้โรคนิ่ว ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี รักษาโรคหนองใน บำรุงน้ำนม ลดอาการอักเสบ

ข้อควรระวังในการบริโภคกุยช่าย

  • กุยช่ายมีสรรพคุณให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย หากรับประทานมากเกินไปจะทำให้ตัวร้อน และร้อนในได้
  • ไม่ควรดื่มสุรา ร่วมกับกุยช่าย เนื่องจากกุยช่ายทให้ร่างกายร้อนขึ้น และสุราก็มีฤทธิ์ร้อนเช่นกัน อาจเป็นพิษต่อร่างกายได้
  • กุยช่ายกระตุ้นการทำงานของระบบลำไส้ หากมีอาการท้องเสีย หรือเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ไม่ควรกินกุยช่าย
  • กุยช่ายแก่ จะมีกากใยอาหารมาก ในการรับประทานกุยช่าย จะทำให้ระบบลำไส้ ทำงานหนักมากขึ้น

กุยช่าย ( Garlic chives ) สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของใบกุยช่าย ชนิดของกุยช่าย เช่น กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว สรรพคุณของกุยช่าย ประโยชน์ของกุยช่าย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ

หอมแดง ( Shallot ) สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหาร ต้นหอมแดงเป็นอย่างไร คุณค่าทางอาหาร สรรพคุณของหอมแดง ช่วยเจริญอาหาร บำรุงร่างกาย บำรุงสมอง บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ

หอมแดง ต้นหอม สมุนไพร สรรพคุณของหอมแดง

ต้นหอมแดง เป็น พืชเศรษฐกิจ เนื่องจากนิยมนำมาทำอาหาร และสามารถหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดของประเทศไทย นิยมปลูกมากในภาคอีสาน จังหวัดศรีษะเกษ ซึ่งในหอมหัวแดงนั้น มีสารตัวหนึ่ง ชื่อ Allicin และ n-propyl disulphide ที่มีประโยชน์และมีกลิ่นฉุน วันนี้เราจามาทำความรู้จักกัน

หอมแดง ภาษาอังกฤษ เรียก Shallot อ่านว่า ชาลอต หอมแดงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Allium ascalonicum L. หอมแดงเป็นพืชตระกูลเดียวกับพลับพลึง สำหรับหอมแดง มีชื่อเรียกอื่น ๆ อาทิเช่น ผักบั่ว หอมหัวขาว หอมบัว หอมปั่ว หอมแกง หอมไทย หอมเล็ก หอมหัว เป็นต้น

ในหอมหัวแดงนั้นมีกลิ่นฉุ่น จากน้ำมันหอมระเหยจากตัวหอมหัวแดง ซึ่งสารต่างๆที่อยู่ในหอมหัวแดง ประกอบด้วย  Ethanol, Acetonc, methyl Ethyl, Methyl Disulfide, Methyl, Methyl Trisulfide, Methyl I-propyl Trisulfide, I-propyl Trisulfide, Ketone, I-propanol, 2 – propanol, Methanol, I-butanol, Hydrogen Sulfidc, I-propanethiol, I-propyl Disulfide, Thioalkanal-S-oxide, di-n- propyl Disulfide, n- propyl-allyl Disulfide, Diallyl Disulfide, Dithiocarbonate และ Thiuram Sulfidc  น้ำมันหอมระเหยจากหอมหัวแดง จะมีรสขม เผ็ดร้อน มีฤทธิ์ทำให้ระคายเคืองตา แสบจมูก และเป็นพิษต่อผิวหนัง เช่น ทำให้เกิดผื่นคัและแสบร้อน แต่สารน้ำมันหอมระเหยนี้ ช่วยลดไขมัน และน้ำตาลกในเลือดได้เป็นอย่างดี และยังมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ได้ดี

คุณค่าทางโภชนาการของหอมหัวแดง

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางอาหารของหอมแดง นั้น พบว่าในหอมแดงขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 63 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหาร ต่างๆ ประกอบด้วย โปรตีน 2.7 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 12.6 กรัม กากใยอาหาร 0.6 กรัม แคลเซียม 16 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 59 มิลลิกรัม วิตามินเอ 28 ไมโครกรัม ไทอามีน 0.09 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.03 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.5 มิลลิกรัม และวิตามินซี 5 มิลลิกรัม

ต้นหอมแดงเป็นอย่างไร

สำหรับต้อนหอมแดง เป็นพืชล้มลุก หัวอยู่ในดิน ซึ่งหัวของหอมแดงเป็นแหล่งสะสมอาหารและน้ำ การขยายพันธ์ุของหอมแดงใช้การแตกหน่อ จากหัวของหอมแดง ใบของหอมแดง เป็นลักษณะยาวกลม ผิวเรียบในตั้งตรงขึ้นฟ้า ความยาว 20 ถึง 30 เซ็นติเมตร แต่ละต้นจะมีใบประมาณ 5 ถึง 8 ใบต่อต้น รากของหอมแดง เป็นรากฝอยขึ้นบิเวณก้นของหัวหอม สำหรับหมอแดงมีหลายสายพันธ์ แต่สำหรับหัวหอมที่นิยมปลูกในประเทศไทย มี 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วย

  • หอมแดง พันธุ์ศรีสะเกษ ลักษณะของหอมแดงพันธ์ุนี้ คือ เปลือกของหัวด้านนอกหนา มีสีแดงอมม่วง หัวกลมป้อม มีกลิ่นฉุน รสหวาน ใบเขียวเข้ม
  • หอมแดง พันธุ์บางช้าง สำหรับหอมแดงพันธุ์นี้ มีลักษณะใกล้เคียงกับพันธุ์ศรีสะเกษ แต่เปลือกของหัวหอมจะสีจางกว่า แต่ลักษณะเด่น คือ ให้ผลผลิตต่อไร่สูง
  • หอมแดง พันธุ์เชียงใหม่ สำหรับพันธุ์นี้ ลักษณะ คือ เปลือกของหัวหอมบาง มีสีส้มอ่อน หัวกลมรี กลิ่นไม่ฉุนรสหวาน ใบสีเขียว
  • หอมแดง พันธุ์สีขาว ลักษณะเด่นของพันธุ์นี้ คือ เปลือกบาง หัวมีสีสีขาวอมเหลือง หัวกลมป้อม กลิ่นไม่ฉุน

สรรพคุณของหอมแดง

สำหรับการใช้ประโยชน์ของหอมแดง นั้นจะใช้ประโยชน์จากหัวและใบของหอมแดง ซึ่งประโยชน์ของส่วนต่างๆของหอมแดง มีดังนี้ คือ ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงสมอง บำรุงความจำ ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ปรับสมดุลย์ของความดันเลือด ช่วยลดอาการเวียนหัว ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยกำจัดไขมันเลวส่วนเกิน ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้หวัด แก้คัดจมูกได้ ช่วยขับเสมหะ รักษาโรคในช่องปาก แก้อาการปวดหู ช่วยทำให้อาเจียน แก้อาการท้องเสีย แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้เป็นยาถ่าย ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับพยาธิ ช่วยรักษาแผล ช่วยบรรเทาอาการคัน ช่วยแก้พิษแมงมุมกัด รักษาแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย หอมแดงรักษาสิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ บำรุงผิวพรรณ แก้ผมร่วง ช่วยบำรุงเส้นผม ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

การปลูกหอมแดง

สำหรับการปลูกหอมแดง นั้น มี 4 ขั้นตอนหลักๆ คือ การเตรียมดิน การปลูก การดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยว ซึ่งรายละเอียด มีดังนี้

  • การเตรียมปลูกหอมแดง หอมแดงชอบดินร่วนซุย ต้องการความชื้นในดินสูง ชอบแสงแดด อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของหอมแดงอยู่ที่ 12 ถึง 23 องศาเซลเซียส ในการเตรียมดินสำหรับปลูก ให้ทำการยกแปลง สูงประมาณ 20 เซ็นติเมตร
  • วิธีการปลูกหอมแดง ให้นำหัวหอมแดง กดลงดินในแปลงปลูก ระยะห่าง หัวละ 15 ถึง 20 เซ็นติเมตร ก่อนนำหัวหอมลงไปดำในแปลงปลูก ควรทำให้ดินชื้นก่อน หญ้าแห้งหรือฟางคลุม เพื่อช่วยรักษาความชื้น และไม่ให้มีวัชพืชมาแย่งอาหารของหอมหัวแดง
  • วิธีการดูแลรักษาหอมแดง หลังจากปลูกได้ 2 สัปดาห์ จะช่วยให้การเจริญเติบโตของหอมแดง ดีขึ้น ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ หมั่นทำให้ดินร่วนซุย อย่าปล่อยให้หน้าดินแห้ง  การให้น้ำนั้นต้องให้หลังจากการปลูกอย่างสม่ำเสมอ และงดการให้น้ำเมื่อหอมแดงเริ่มแก่
  • การเก็บเกี่ยวหอมแดง สำหรับการเก็บผลผลิต สามารถเก็บได้เมื่อหอมแดงอายุได้ 70 ถึง 110 วัน โดยให้สังเกตสีของใบ หากสีเขียวจางลงและเหลือง หมายความว่าหอมแดงแก่เพียงพอสำหรับพร้อมจะเก็บเกี่ยวแล้ว

หอมแดง ( Shallot ) เป็นพืช ที่คนไทยรู้จักกันดี เป็นพืชที่มีกลิ่นฉุน นิยมนำมาทำเป็นส่วนประกอบของอาหาร ให้รสหวาน แต่ประโยชน์ของหอมหัวแดง มีมากมายเหลือเกิน ที่สำคัญคือ ช่วยลดไขมันและน้ำตาลในเส้นเลือด วันนี้ เราจึงแนะนำ สมุนไพรไทยในครัวเรือน ที่มีชื่อว่า หอมแดง หอมแดงเป็นอย่างไร มีชื่อเรียกว่าอย่างไร ลักษณะของต้นหอมแดง การปลูกหอมแดง การใช้ประโยชน์ด้านยาของหอมแดง มีอะไรบ้าง คุณค่าทางอาหารของหอมแดง เป็นอย่างไร บทความนี้จะให้ความรู้ รอบด้านเกี่ยวกับหอมแดง

หอมแดง ( Shallot ) สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหาร ประโยชน์ของหอมหัวแดง ลักษณะของต้นหอมแดง การปลูกหอมแดง คุณค่าทางอาหารของหอมแดง สรรพคุณของหอมแดง ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงสมอง บำรุงความจำ ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove