ริดสีดวงจมูก ( Nasal poly ) เนื้องอกในจมูก ติ่งเนื้อเมือกในจมูก การเกิดเนื้อเมือก เรียกว่า Polyp ไม่อันตรายแต่ทำให้มีปัญหาการหายใจ หายใจลำบาก เสียงพูดเปลี่ยนโรคริดสีดวงจมูก โรคทางเดินหายใจ โรคจมูก โรคต่างๆ

โรคริดสีดวงจมูก ภาษาอังกฤษ เรียก Nasal poly หรือเรียก เนื้องอกในจมูก หรือ ติ่งเนื้อเมือกในจมูก เป็นลักษณะ การเกิดเนื้อเมือก ที่เรียกว่า Polyp ที่เยื่อจมูก โดยมากจะมีโอกาสเป็นได้ทั้งสองข้างภายในรูจมูก ไม่เป็นอันตรายร้ายแรงแต่อย่างไร แต่หากปล่อยให้เกิดก้อนโตมาก อาจทำให้มีปัญหาด้านการหายใจ แต่เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้กันว่า สาเหตุของการเกิดริดสีดวงจมูก อาการของโรค และการรักษา การป้องกันการเกิดโรค ในบทความนี้กัน

ริดสีดวงจมูก เป็นโรคหนึ่ง ของโรคทางจมูกและไซนัส ลักษณะเป็นก้อนเนื้อเมือกในโพรงจมูก ซึ่งสร้างปัญหาให้กับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก และส่วนมากผู้ป่วยจะเกิดโรคไซนัสอักเสบร่วมด้วย สำหรับโรคนี้สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย และพบมากในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป และในกลุ่มคนที่เป็นโรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง มีการศึกษาสถิติของผู้ป่วยโรคนี้ พบว่าผู้ป่วยชายมีอัตราการเกิดโรคที่สูงกว่าเพศหญิง

สาเหตุของการเกิดริดสีดวงจมูก

เกิดจากไซนัสอักเสบ และโพรงจมูกอักเสบ นอกจากนั้นยัมมีสาเหตุอื่นๆอีก ที่ทำให้เกิดริดสีดวงที่โพรงจมูก โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดริดสีดวงจมูก ได้แก่

  • การอักเสบและการติดเชื้อของโพรงจมูก
  • ลักษณะทางกายวิภาคในโพรงจมูก ระบบประสาทและหลอดเลือด
  • ปัจจัยทางพันธุกรรม
  • ปัจจัยมี่เป็นผลกระทบจากการเกิดโรคที่มีผลต่อโพรงจมูก เช่น ไซนัสอักเสบ, ภาวะภูมิแพ้ , โรคหอบหืด , ภาวะไวต่อยาแอสไพริน , ติดเชื้อรา , โรคซิสติกไฟโบรซิส เป็นต้น
  • ผู้ที่มีความผิดปกติของขนเล็กที่เยื่อบุจมูก
  • ความผิดปกติของการขับเกลือแร่ของเซลล์ ทำให้มีน้ำเมือกมีความเหนียวข้น
  • ความผิดปกติของกระแสลมที่ผ่านเข้าไปในบริเวณโพรงจมูก เช่น โพรงจมูกส่วนกลางและรูเปิดของไซนัส

อาการของโรคริดสีดวงจมูก

จะเกิดก้อนริดสีดวง หรือ ติ่งเนื้อ ในโพรงจมูก ซึ่งลักษณะนี้จะทำให้ผู้ป่วย เกิดอาการคัดจมูก แน่นจมูก หายใจลำบาก เสียงพูดเปลี่ยน  การปล่อยให้อาการนี้เป็นนานโดยไม่รักษา ขนาดของก้อนเนื้อจะใหญ่ขึ้น จนทำให้ความสามารถในการสูดดมกลิ่นลดลง เกิดการจาม มีน้ำมูก หากถ้าเนื้อริดสีดวง ไปอุดกั้นรูเปิดของไซนัส จะทำให้ปวดหัวที่บริเวณหัวคิ้ว ปวดหัวที่บริเวณโหนดแก้ม เหมือนเป็นโรคไซนัส

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคริดสีดวงจมูกที่มีโรคไซนัสอักเสบ ร่วม นั้น ผู้ป่วยจะมีอาการ ปวดบริเวณใบหน้า มึนศีรษะ มีน้ำมูก ที่มีลักษณะเป็นหนอง สีเหลืองข้น หรือสีเขียวไหลออกมา หากน้ำหนองไหลลงคอ จะทำให้เกิดการติดเชื้อ ทำให้มีไข้ อ่อนเพลีย เจ็บคอ ปวดหู หายใจมีกลิ่นเหม็น และการรับรู้กลิ่นลดลง รวมทั้งการรับรู้รสชาติลดลง

ภาวะแทรกซ้อนของโรคริดสีดวงจมูก

  • อาการไซนัสอักเสบแทรกซ้อน และทำให้เกิดอาการแน่นจมูก
  • อาจทำให้มีการผิดรปของจมูก เช่น ลักษณะของสันจมูกจะกว้าง
  • อาจทำลายกระดูกในโพรงจมูกได้
  • อาจทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

การวินิจฉัยโรคริดสีดวงจมูก

สำหรับการวินิจฉัยโรค แพทย์จะทำการใช้เครื่องมือตรวจภายในโพรงจมูก และหลังโพรงจมูก ซึ่งหากริดสีดวงจมูก มีขนาดใหญ่ก็สามารถมองเห็นได้ สำหรับโรคนี้ วินิจฉัยจากอาการของโรคนั้นลำบาก เนื่องจากอาการของโรคเหมือนโรค หลายๆโรค เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหวัด แต่อาการที่เด่นชัด คือ อาการแน่นที่จมูกตลอดเวลา

การรักษาโรคริดสีดวงจมูก

การรักษาริดสีดวงจมูกนั้น  เป็นการรักษา 2 ลักษณะ คือ การรักษาต้นเหตุของโรค คือ ก้อนเนื้อที่โพรงจมูก และรักษาเพื่อบรรเทาอาการของโรค เช่น ทำให้หายใจสะดวกขึ้น ลดอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล จาม อาการเสมหะไหลลงคอ ปัญหาการดมกลิ่น รักษาไซนัสอักเสบ โดยการรักษา มีดังนี้

  • การให้ยากลุ่มสเตียรอยด์ ชนิดพ่นจมูก เพื่อช่วยลดขนาดของริดสีดวงจมูก และป้องกันไม่ให้มีขนาดของริดสีดวงโตขึ้น
  • ให้ยากลุ่มสเตียรอยด์ ชนิดกิน หรือฉีด เพื่อช่วยเรื่องการรับกลิ่นให้ดีขึ้น
  • ทำการผ่าตัดเอาริดสีดวงจมูก แบบธรรมดา เรียกวิธีนี้ว่า Simple polypectomy เป็นการผ่าตัดเอาริดสีดวงที่จมูกออก โดยการใช้ลวดคล้องและดึงออกมา
  • ทำการผ่าตัดริดสีดวงจมูกและไซนัส โดยวิธีการส่องกล้อง จะตัดเอาริดสีดวงจมูกออก และผ่าตัดบริเวณรูเปิดไซนัสด้วย ทำให้โล่ง

ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคริดสีดวงจมูก

  • ควรหลีกเลี่ยงจากปัจจัยที่ทำให้เกิดการคัดจมูก ทำให้คันจมูก หรือทำให้จาม
  • ห้ามสั่งน้ำมูกแรง ๆ เนื่องจากจะทำให้เยื่อเมือกจมุกช้ำ และอักเสบมากขึ้น
  • ห้ามใช้ยาหยอดจมูก ยาพ่นจมูก หรือยานัตถุ์ เนื่องจากจะทำให้เยื่อจมูกอักเสบมากขึ้น
  • ให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง
  • ให้ทำการรักษาโรคที่มีผลต่อการเกิดโรคริดสีดวงจมูก เช่น โรคติดเชื้อ โรคภูมิแพ้ เป็นต้น

ริดสีดวงจมูก ( Nasal poly ) เนื้องอกในจมูก ติ่งเนื้อเมือกในจมูก การเกิดเนื้อเมือก เรียกว่า Polyp ที่เยื่อจมูกมีโอกาสเป็นได้ทั้งสองข้างภายในรูจมูก ไม่อันตราย แต่หากปล่อยให้เกิดก้อนโต ทำให้มีปัญหาด้านการหายใจ ทำให้หายใจลำบาก เสียงพูดเปลี่ยน สาเหตุของโรคริดสีดวงจมูก อาการ การรักษา การป้องกัน

มะเร็งลำไส้เล็ก เนื้อร้ายที่ลำไส้เล็ก อาการปวดท้องหลังกินอาหาร ปวดท้องถึงหลัง เบื่ออาหาร มีเลือดออกที่ทางเดินอาหาร สีอุจจาระผิดปรกติ มีก้อนบริเวณท้องส่วนบนขวามะเร็งลำไส้เล็ก โรคระบบทางเดินอาหาร โรคมะเร็ง เนื้อร้าย

มะเร็งลำไส้เล็ก เกิดจากอะไร สาเหตุ ปัจจัยที่ทำให้เกิด โรคมะเร็งลำไส้เล็ก คืออะไร รักษาโรคมะเร็งลำไส้เล็ก อย่างไร สำหรับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้เล็กต้องดูแลอย่างไร โรคในระบบทางเดินอาหาร ความผิดปรกติของเซลล์ในร่างกาย โรคมะเร็งที่พบได้ไมบ่อย ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งลำไส้เล็ก มีอะไรบ้าง

ลำไส้เล็ก

ทำความรู้จักกับ ลำไส้เล็ก หน้าที่ของลำไส้เล็ก นั้นคือ การย่อยอาหารและดูดซึมสารอาหารที่ถูกย่อยเข้ากระแสเลือด เพื่อนำสารอาหารเหล่านั้นไปใช้ประโยชนื ซึ่ง ลำไส้เล็ก นั้นมีความสำคัญต่อร่างกาย ซึ่งใน ลำไส้เล็ก นั้นบทบาทมากที่สุด ในลำไส้เล็กจะมี ติ่งที่ยื่นออกมา เราเรียกติ่งนี้ว่า วิลไล ภาษาอังกฤษ เรียก Villi ส่วนนี้ เป็นส่วนสำคัญที่ใช้เพื่อเพิ่มความสามารถในการดูดซึมสารอาหารของ ลำไส้เล็ก

โครงสร้างลำไส้เล็ก

ลำไส้เล็ก นั้นมีลักษณะเป็นท่อ เป็นกล้ามเนื้อ มีความยาวประมาณ 10 เมตร เป็นจุดที่เชื่อมต่อจากส่วนปลายของกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก นั้นจะสร้างน้ำย่อยออกมา เพื่อประโยชน์ในการย่อยอาหาร และการดูดซึมอาหารให้ได้มากที่สุด ลำไส้เล็ก(Small intestine) สามารถแบ่งได้ 3 ส่วน ประกอบด้วย ลำไส้เล็กตอนต้น เรียก Duodenum ลำไส้เล็กส่วนกลาง เรียก Jejurium  และ ลำไส้เล็กส่วนปลาย เรียก lleum โดยรายละเอียดของลำไส้เล็กส่วนต่างๆ มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำไส้เล็กส่วนต้น ( Duodenum ) คือส่วนที่ต่อจากกระเพาะอาหาร ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่สั่นที่สุด เมื่อเทียบกับลำไส้เล็กส่วนอื่นๆ
  • ลำไส้เล็กส่วนกลาง ( Jejunum ) ส่วนนี้จะมีความยาวประมาณ 9 ฟุต อยู่ต่อจากลำไส้เล็กส่วนต้น
  • ลำไส้เล็กส่วนปลาย ( Ileum ) เป็นส่วนของลำไส้เล็กที่อยู่ปลาย อยู่ติดกับลำไส้ใหญ่ เป็นส่วนที่มีความยาวมากที่สุด เป็นส่วนที่มีความสามารถในการดูดซึมสารอาหารมากที่สุด ของลำไส้เล็ก

โรคมะเร็งลำไส้เล็ก

สำหรับอัตราการเกิด โรคมะเร็งลำไส้เล็ก นั้นเราไม่พบว่ามีการป่วย โรคมะเร็งลำไส้เล็ก ในอัตราที่สูง โดย อัตราการเกิดมะเร็งลำไส้เล็ก ไม่ถึงร้อยละ 1 ของการเกิดมะเร็งในอวัยวะทั้งหมดของร่างกาย แต่โรคมะเร็งชนิดนี้ เราจะพบว่าผู้สูงอายุ ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป มีอัตราการเกิดที่สูงกว่าช่วงอายุที่ต่ำกว่า 50 ปี และอัตราการเกิดโรคเพศชายจะมีอัตราส่วนที่สูงกว่าเพศหญิง

มะเร็งลำไส้เล็ก คือ การเกิดความผิดปรกติของเซลล์ร่างกายบริเวณลำไส้เล็ก ลักษณะเป็นเนื้องอก ก้อนเนื้อร้าย ที่ลามมาจากอวัยวะใกล้เคียง หรือสามารถแพร่่ไปสู่อวัยวะใกล้เคียงได้ เช่น กระเพาะอาหาร ท่อน้ำดี ตับอ่อน เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้เล็ก

การเกิด โรคมะเร็งลำไส้เล็ก นั้น ในปัจจุบันเรายัง ไม่สามารถทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของการเกิด มะเร็งลำไส้เล็ก ได้แน่ชัดนัก แต่มีการพบสารบางตัว ที่ออกมาจากน้ำย่อยจากตับอ่อนและน้ำดี เช่น กรดลิโธโคลิก(Lithocholic) เป็นต้น ปัจจัยที่ทำให้เกิดมะเร็ง มาจาก พันธุกรรม โรคเนื้องอกชนิดดีบริเวณเยื่อบุผิว เนื้องอกชนิดต่อมขนอ่อน แผลที่ลำไส้เล็ก เป็นต้น

ประเภทของมะเร็งลำไส้เล็ก

การเกิดมะเร็งลำไส้เล็ก เราพบว่ามีหลายลักษณะ ซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทของมะเร็งลำไส้เล็กได้ 4 ประเภท มีรายละเอียด ดังนี้

  1. มะเร็งลำไส้เล็ก ชนิดต่อม เกิดต่อมที่เยื่อเมือกลำไส้เล็กส่วนต้น และต่อมนี้เกิดการพัฒนาเป็นเนื้องอก
  2. มะเร็งลำไส้เล็ก ชนิดคาซินอย ( Carcinoid ) เป็นการเกิดเนื้อร้ายจากเซลล์enterochromaffin โดยทั่วไปแล้วเนื้องอกที่เกิดขึ้น จะมีขนาดเล็กและส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นที่ลำไส้เล็กเพียงจุดเดียว แต่เมื่อเนื้องอกนี้พัฒนาตัวจนมีขนาดใหญ่ขึ้น จะสามารถลามจนเกิดเนื้อร้ายได้
  3. มะเร็งลำไส้เล็ก ชนิดกล้ามเนื้อเรียบ เป็นการเกิดชั้นของกล้ามเนื้อ ลักษณะเรียบ ที่ลำไส้เล็ก
  4. มะเร็งลำไส้เล็ก ชนิดเนื้อร้ายของต่อมน้ำเหลือง เป็นเนื้องอกชนิดร้าย เกิดจากต่อมน้ำเหลืองที่ผนังลำไส้เล็ก แต่มะเร็งชนิดนี้ มีความแตกต่างจากมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่รุกล้ำถึงลำไส้เล็ก

อาการของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้เล็ก

อาการของมะเร็งลำไส้เล็ก นั้น ก็จะเกิด การผิดปรกติของระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเราสามารถสรุป อาการของโรคมะเร็งลำไส้เล็ก ได้ดังนี้

  1. มีอาการปวดท้องส่วนบน ปวดท้องตื้อๆ หลังรับประทานอาหาร อาการปวดสามารถลามไปปวดบริเวณหลัง
  2. มีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
  3. มีเลือดออกที่ทางเดินอาหาร แบบเรื้อรัง สังเกตุอาการจาก สีอุจจาระผิดปรกติ มีเลือดปนที่อุจจาระ อุจจาระมีสีดำ
  4. น้ำหนักตัวลดลง ร่างกายอ่อนแอ โลหิตจางฃ
  5. มีก้อนบริเวณท้องส่วนบนขวา เกิดจากเนื้องอก เนื้อร้าย มีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อเนื้องอกมีขนาดใหญ่ขึ้น

วิธีการรักษามะเร็งลำไส้เล็ก

การรักษาโรคมะเร็งลำไส้เล็ก นั้น หากพบว่ามีมะเร็ง ต้องทำการรักษาด้วยการตัดเนื้อร้ายออกและการฉายรังสี การทำเคมีบำบัด เพื่อป้องกันการเติบโตของเนื้อร้าย เราสามารถสรุป วิธีการรักษามะเร็งลำไส้ ได้ดังนี้

  • การรักษามะเร็งลำไส้เล็กด้วยการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดแพทยืจะทำการผ่าตัดลำไส้เล็ก หัวตับอ่อน การผ่าตัดท่อลำไส้เล็กแบบเป็นช่วงๆ และการผ่าตัดส่วนของกระเพาะอาหาร เป็นการตัดเนื้อร้ายออกจากร่างกาย แต่การผ่าตัดยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เนื่องจากเนื้อร้ายสามารถเจริญเติบโตได้ ดังนัั้น ต้องมีการรักษาด้วยเคมีบำบัดควบคู่ไปด้วย
  • การรักษามะเร็งลำไส้เล็กด้วยการฉายรังสีและการทำเคมีบำบัด เป็นการทำให้เนื้อร้าย และเซลล์มะเร็งผ่อ ไม่สามารถเจริญเติบโตได้อีก

วิธีการดูแลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้เล็ก

สำหรับ การดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้เล็ก นั้น การลดการทำงานของระบบทางเดินอาหาร การใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหารเป็นสิ่งที่สำคัญ วิธีการดูแลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้เล็ก มีดังนี้

  • ผู้ป่วยต้องเลิกการบุหรี่
  • ผู้ป่วยต้องไม่ดื่มสุรา
  • ผู้ป่วยต้องไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชาและกาแฟ
  • อาหารสำหรับผู้ป่วยต้องเป็นอาหารเบาๆ ไม่รสจัด หรือเผ็ด
  • การใช้ยาที่มีผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหารต้องปรึกษาแพทย์
  • รับประทานอาหารที่มีกากใยอาหาร เช่น ผลไม้และผักสด
  • ควรให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่ครบห้าหมู่
  • รักษาความสะอาดของภาชนะที่มีส่วนในการรับประทานอาหาร และความสะอาดของสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วย

โรคมะเร็งลำไส้เล็ก เกิดเนื้องอกที่ลำไส้เล็ก ปวดท้องหลังรับประทานอาหาร ลามไปถึงหลัง ก้อนเนื้อร้าย สามารถแพร่่ไปสู่อวัยวะใกล้เคียงได้ โรคนี้เกิดจากอะไร แนวทางการรักษาทำอย่างไร สำหรับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้เล็กต้องดูแลอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove