กลุ่มอาการซีแฮน ต่อมใต้สมองขาดเลือดทำให้ฮอร์โมนน้อย มักเกิดกับสตรีหลังคลอดลูก เสียเลือดมาก ทำให้น้ำนมไม่ไหล ไม่มีประจำเดือน ผมร่วง เหนื่อยอ่อนเพลีย เบื่ออาหารกลุ่มอาการซีแฮน โรคต่อมใต้สมอง โรคต่อมไร้ท่อ ภาวะขาดฮอร์โมนหลังจากคลอดลูก

โรคซีแฮน หรือ โรคกลุ่มอาการชีแฮน ภาษาอังกฤษ เรียก Sheehan Syndrome เกิดจากการที่ ต่อมใต้สมองรขาดเลือด ไปเลี้ยงสมองอย่างเฉียบพลัน ทำให้ ต่อมใต้สมอง เกิดการ ทำงานผิดปรกติ มักจะเกิดกับสตรีที่ เสียเลือดมากหลังจากการคลอดลูก การเสียเลือดมาก เป็นภาวะที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็น โรคกลุ่มอาการซีแฮน การเสียเลือด จำนวนมากจะ ทำให้ผู้ป่วยช็อก ทำให้ ความดันเลือดต่ำลง ทำให้ เลือดไปไม่ถึงสมอง และส่วนต่างๆของร่างกาย ต่อมใต้สมอง ก็จะเกิดผลกระทบจากการที่ เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ  ซึ่ง ต่อมใต้สมอง ใช้ ผลิตฮอร์โมน หลายชนิด เช่น ฮอร์โมนเพศ ( Follicular stimulating hormone / FSH , Lutienizing hormone / LH ) ฮอร์โมนการสร้างน้ำนม ( Prolactin ) ฮอร์โมนกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ ( Thyroid stimulat ing hormone / TSH )  เป็นต้น โรค นี้จะเกิดกับกับ สตรีหลังคลอดลูก 5 ใน 100,000 ราย

ภาวะที่มีผลต่อการเสี่ยงการเกิดโรคกลุ่มอาการชีแฮน

  1. การตกเลือดหลังการคลอดลูก การเสียเลือดมาก จากการ คลอดลูก หากไม่ได้รับเลือดและสารอาหารทดแทนการเสียเลือดทันต่อความเสี่ยง ภาวะความดันเลือดต่ำ อาจทำให้เกิด โรคซีแฮน ได้
  2. ภาวะเลือดแข็งตัวผิดปรกติ การที่มี เลือดออก แล้วเกิด เลือดแข็งตัวผิดปรกติ จะทำให้ การแข็งตัวของเลือดช้ากว่าปรกติ ทำให้เสียเลือดมาก การเสียเลือดมาก เป็นสาเหตุของการเกิด โรคกลุ่มอาการซีแฮน
  3. ภาวะเบาหวานในสตรี โรคเบาหวาน ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลต่อ การขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง ได้

จะเห็นได้ว่า โรคซีแฮนเ กิดจากสาเหตุหลักคือ เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทำให้ ต่อมไร้ท่อใต้สมอง ทำงานผิดปรกติ  ดังนั้น ทุกภาวะที่ ทำให้ความดันเลือดต่ำลง การเสียเลือดมาก ส่งผลกระทบกระตุ้นให้เกิด โรคกลุ่มอาการซีแฮน ทั้งหมด

อาการของโรคกลุ่มอาการชีแฮน

ลักษณะของผู้ป่วยที่กำลังมี อาการโรคกลุ่มอาการซีแฮน มีดังนี้

  1. สำหรับสตรีหลังคลอด น้ำนมไม่ไหล เกิดจาก ต่อมใต้สมอง ไม่สามารถสร้างฮอร์โมน ในการผลิตน้ำนม ได้
  2. ไม่มีประจำเดือน ซึ่งการไม่มาของประจำเดือน เกิดจากต่อมใต้สมอง ไม่สามารถผลิตฮอร์โมน ไป กระตุ้นรังไข่  เพื่อ สร้างฮอร์โมนเพศหญิง ได้
  3. เดินช้า พูดช้า คิดช้า เซื่องซึม กินจุ ผมร่วง เป็น อาการของภาวะขาดออร์โมนไทรอยด์ เกิดจาก ต่อมใต้สมองไม่สามารถสร้างฮอร์โมนต่อมไทรอยด์ ได้มากพอต่อความต้องการ
  4. ขาดเกลือแร่ เนื่องจาก ต่อมหมวกไตทำงานผิดปกติ ซึ่งเป็น อันตรายต่อชีวิต ได้
  5. เหนื่อย ล้า อ่อนเพลีย และ เบื่ออาหาร

การตรวจภาวะโรคกลุ่มซีแฮน

ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจสาเหตุของการเกิดโรค จากการสืบประวัติของผุ้ป่วย การสังเกตุการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และ การตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมนในเลือด รายละเอียด ดังนี้

  1. การตรวจประวัติทางการแพทย์ ดู ประวัติการเสียเลือดหลังคลอด และ ความผิดปรกติของร่างกาย ต่างๆ
  2. การตรวจร่างกาย ดูความผิดปรกติต่างๆ ที่มี อาการจากการขาดฮอร์โมน เช่น น้ำนมมาปรกติหรือไม่ ร่างกายบวม หรือไม่ ช่องคลอดแห้ง หรือไม่ และ ผนังช่องคลอดบาง หรือไม่ ซึ่งลักษณะต่างๆเหล่านี้เกิดจาก การขาดฮอร์โมน ทั้งสิ้น
  3. การตรวจเลือด เพื่อดู ระดับฮอร์โมนในเลือด เป็นการตรวจที่มีความแม่นยำที่สุด

การรักษาโรคกลุ่มอาการชีแฮน

การรักษาสามารถทำได้โดยการให้ฮอร์โมน เพิ่มฮอร์โมนในร่างกาย เพื่อ ชดเชยฮอร์โมนที่ไม่เพียงพอ เช่น หากฮอร์โมนไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ ก็ ให้ฮอร์โมนไทรอยด์เสริม ให้ฮอร์โมนเพศหญิงเพิ่มหากฮอร์โมนเพศไม่เพียงพอ

การดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคกลุ่มอาการซีแฮน

ผู้ป่วยต้องรับประทานยาและฮอร์โมนเสริมตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร็งครัด และพบแพทย์ตามนัดของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ นอกจากการพบแพทย์และรับประทานยาตามคำสั่งแพทย์แล้ว การออกกำลังกายและการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เป็นวิธีการดูแลตัวเองที่ดีที่สุด

การป้องกันการเกิดโรคกลุ่มอาการชีแฮน

การป้องกันโรคซีแฮน โรค นี้เป็น โรคที่เกิดจากการเสียเลือด มาก หลังคลอดบุตร การป้องกันการเกิดโรค คือ การบำรุงร่างกายเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารและแร่ธาตุ ที่ ช่วยบำรุงร่างกายหลังจากการเสียเลือดหลังคลอด

สมุนไพรสำหรับสตรีหลังคลอดมีอะไรบ้าง สมุนไพรสำหรับการอยู่ไฟ ของ สตรีหลังคลอด มีดังนี้

แคนา ต้นแคนา สมุนไพร ประโยชน์ของแคนาแคนา
ฟักทอง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของฟักทองฟักทอง
ขิง สมุนไพร สรรพคุณของขิง ประโยชน์ของขิงขิง
หอมหัวใหญ่ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมุนไพรหอมหัวใหญ่
มะขาม สมุนไพร สรรพคุณของมะขาม ประโยชน์ของมะขามมะขาม
กานพลู สมุนไพร เครื่องเทศ สรพคุณของกานพลูกานพลู
มะละกอ สมุนไพร สมุนไพรไทย ผลไม้มะละกอ
กระชาย สมุนไพร สมุนไพรไทย ต้นกระชายกระชาย

กลุ่มอาการชีแฮน โรคซีแฮน โรคกลุ่มอาการชีแฮน คือ ภาวะการเกิดโรคที่เกิดจากการขาดฮอร์โมน เกิดกับต่อมใต้สมองขาดเลือด ทำให้เกิดความผิดปรกติต่างๆของร่างกาย เกิดกับสตรีหลังคลอดลูก ส่งผลให้เกิดอาการ น้ำนมไม่ไหล ไม่มีประจำเดือน เดินช้า พูดช้า คิดช้า เซื่องซึม กินจุ ผมร่วง เหนื่อย ล้า อ่อนเพลีย และ เบื่ออาหาร

ซิฟิลิส ( Syphilis ) เกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียที่ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ปาก เยื่อบุตา แผลตามร่างกาย ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดตามข้อ ผื่นแดง มีตุ่มแดงๆที่อวัยวะเพศโรคซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

โรคซิฟิลิส ติดต่อสู่คนได้อย่างไร โรคซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งเชื้อโรคเข้าสู่เยื่อบุช่องคลอด ท่อปัสสาวะ สามารถติดต่อกันได้ในระยะแรก เพราะว่าในระยะนี้ยังไม่มีอาการให้เห็น และผู้ป่วยจะเริ่มมีหูด ในระยะต่อมา นอกจากการติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ แล้ว ยังพบว่า สามารถติดต่อได้ทางการสัมผัสเชื้อโรคทางการสัมผัสมือ นั่งโถส่วมร่วมกัน ผิวหนังมี่มีแผล และการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก

สาเหตุของโรคซิฟิลิส

  • เชื้อที่เป็นสาเหตุ : เกิดจากเชื้อซิฟิลิส ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า “ทรีโพนีมาพัลลิดุม” (Treponema pallidum) มีลักษณะคล้ายเกลียวสว่าน (Spirochete bacteria) เชื้อชอบอยู่ในที่ที่มีความชื้นและตายได้ง่ายในที่ที่มีความแห้ง และถูกทำลายได้ง่ายด้วยสบู่หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ
  • การติดต่อ : สามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรคซิฟิลิสในระยะที่ 1 และถ้าสัมผัสกับน้ำเหลืองที่ผิวหนังของผู้ที่เป็นโรคซิฟิลิสในระยะที่ 2 (ระยะออกดอก) ก็จะมีโอกาสที่จะรับเชื้อได้เช่นกัน นอกจากนี้เชื้อยังสามารถติดจากแม่ไปสู่ลูกในขณะตั้งครรภ์โดยผ่านทางรกและในขณะคลอดได้ด้วย ส่วนโรคในระยะที่ 3 มักจะเป็นระยะที่ไม่มีการติดต่อ
    • เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเยื่อเมือก เช่น ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ทวารหนัก ช่องปาก เยื่อบุตา หรือเข้าผ่านทางรอยถลอกหรือบาดแผลเล็กน้อยที่ผิวหนัง เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายเชื้อจะเข้าสู่กระแสเลือดและไปจับตามอวัยวะต่าง ๆ ทำให้เกิดโรคตามอวัยวะและทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนในระยะยาว
    • เนื่องจากเชื้อซิฟิลิสเป็นเชื้อที่อ่อนแอและตายได้ง่าย ดังนั้น เชื้อจึงไม่สามารถติดต่อกันได้ผ่านการสัมผัสมือหรือเสื้อผ้า การนั่งโถส้วม การจับลูกบิดประตู การใช้ช้อนส้อม การเล่นในอ่างอาบน้ำหรือสระว่ายน้ำร่วมกัน
  • ระยะฟักตัวของโรค (ตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งเกิดอาการ) : ประมาณ 10-90 วัน (โดยเฉลี่ยคือประมาณ 21 วัน)

อาการของผู้ป่วยโรคซิฟิลิส อาการมี 4 ระยะ คือ Primary Secondary Latent และTertiary

  • อาการระยะแรก(Primary Syphilis) ผู้ป่วยจะเป็นแผลที่ริมแผลแข็ง หลังจากนั้นประมาณไม่เกิน 3 เดือนจะมีตุ่มแดงๆเป็นแผลที่อวัยวะเพศ ไม่เจ็บแต่ขอบแผลจะนูน จะมีอาการต่อมน้ำเหลืองโต แต่กดแล้วไม่เจ็บ ตำแหน่งที่พบแผลบ่อย คือ อวัยวะเพศชาย อัณฑะ ทวารหนัก ช่องคลอด และ ริมฝีปาก แผลจะหายไปเองได้ แต่เชื้อโรคจะยังอยู่ในกระแสเลือด ผู้ป่วยต้องตรวจเลือด
  • อาการในระยะที่ 2(Secondary Syphilis) ภายใน 6 เดือน ผู้ป่วยจะมีอาการต่อมน้ำเหลืองโต ปวดตามข้อ จากสาเหตุข้ออักเสบ มีผื่นสีแดงน้ำตาล ตาม มือ เท้าแต่ไม่คัน มีหูดในบริเวณที่อับชื้นของร่างกาย ผื่นสีเทาจะขึ้นบริเวณปาก คอ และปากมดลูก มีอาการผมร่วง มีไข้ คั้นเนื้อคั้นตัว อาการเหล่านี้จะเป็นๆหายๆ
  • อาการในระยะที่ 3 (Latent Stage) ระยะนี้ผู้ป่วยจะไม่มีอาการของโรคให้เห็น ระยะนี้ผู้ป่วยจะทราบว่าเป็นโรคด้วยการตรวจเลือดเท่านั้น อาการของโรคเหมือนระยะที่สอง
  • อาการในระยะที่ 4 (Late Stage) เชื้อโรคจะเข้าไปทำลายอวัยวะต่างๆของร่างกาย เช่น หัวใจ หลอดเลือด สมอง อาจทำให้ตาบอด และกระดูกหักง่าย ในระยะนี้เป็นระยะที่ไม่มีทางรักษาแล้ว

การตรวจว่าเราติดเชื้อซิฟิลิสหรือไม่ เราสามารถทำได้โดย เอาหนองจากแผลไปตรวจเชื้อ หรือการตรวจเลือด

การรักษาโรคซิฟิลิส

สามารถรักษาได้โดยการให้ยา Penicillin และต้องเข้ารับการตรวจเลือดตามระยะที่หมอกำหนด

  • สำหรับซิฟิลิสในระยะที่ 1 และ 2 แพทย์จะฉีดเบนซาทีนเพนิซิลลิน (Benzathine penicillin) ให้ในขนาด 2.4 ล้านยูนิตเข้ากล้ามเนื้อเพียงครั้งเดียว (สำหรับระยะที่ 2 อาจฉีดซ้ำอีกครั้งในอีก 1 สัปดาห์ต่อมา) แต่ถ้าผู้ป่วยแพ้ยานี้ แพทย์อาจให้รับประทานยาเตตราไซคลีน (Tetracycline) ครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง หรือดอกซีไซคลีน (Doxycycline) ครั้งละ 100 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง นาน 15 วัน แต่ถ้ารับประทานยาเตตราไซคลีนไม่ได้ แพทย์จะให้รับประทานยาอิริโทรมัยซิน (Erythromycin) ในขนาดเดียวกันแทน นาน 15 วัน
  • สำหรับซิฟิลิสในระยะแฝง (เป็นมานานมากกว่า 2 ปี ตั้งแต่เริ่มเป็นแผลริมแข็ง) หรือแผลซิฟิลิสเรื้อรัง หรือซิฟิลิสเข้าระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular syphilis) แพทย์จะฉีดเบนซาทีนเพนิซิลลิน (Benzathine penicillin) ให้ครั้งละ 2.4 ล้านยูนิตเข้ากล้ามเนื้อ เป็นจำนวน 3 ครั้ง โดยฉีดห่างกันทุก 1 สัปดาห์ แต่ถ้าผู้ป่วยแพ้ยานี้ แพทย์จะให้รับประทานยาเตตราไซคลีน (Tetracycline), ดอกซีไซคลีน (Doxycycline) หรืออิริโทรมัยซิน (Erythromycin) ในขนาดดังกล่าวข้างต้นแทน นาน 30 วัน
  • ในรายที่เป็นซิฟิลิสเข้าระบบประสาท (Neurosyphilis) แพทย์จะให้การรักษาโดยการฉีดเพนิซิลลินจี (Penicillin G) ให้ในขนาด 2-4 ล้านยูนิต เข้าหลอดเลือดดำ ทุก 4 ชั่วโมง นาน 14 วัน แต่ถ้าผู้ป่วยแพ้ยานี้ แพทย์จะให้รับประทานยาดอกซีไซคลีน (Doxycycline) แทน โดยให้รับประทานครั้งละ 300 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง นาน 30 วัน
  • สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคซิฟิลิส แพทย์จะให้การรักษาตามระยะของโรคเหมือนผู้ป่วยทั่วไป ถ้าผู้ป่วยแพ้ยาเพนิซิลลิน แพทย์จะให้รับประทานยาอิริโทรมัยซิน (Erythromycin) แทน โดยให้รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง นาน 30 วัน
  • สำหรับซิฟิลิสแต่กำเนิด แพทย์จะให้การรักษาโดยการฉีดเพนิซิลลินจี (Penicillin G) ให้ในขนาดวันละ 50,000 ยูนิต/กิโลกรัม โดยแบ่งให้วันละ 2 ครั้ง นาน 10 วัน

การป้องกันโรคซิฟิลิส

สำหรับการป้องกันโรคซิฟิลิส สามารถทำได้โดย การรักษาสุขอนามัย ป้องกันไม่ให้แผลตามร่างกายติดเชื้อ และใช้ถุงยางอนามัยป้องกันการติดเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์ วิธีที่ดีที่สุดคือการไม่มีเพศสัมพันธ์ หรือมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนเพียงคนเดียว และทราบผลเลือดของคู่นอนด้วยว่าปกติ ไม่ติดเชื้อ

  • คู่นอนควรจะต้องแจ้งถึงสถานะการติดเชื้อเอชไอวีหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ รวมทั้งซิฟิลิส เพื่อจะได้ป้องกันการติดเชื้อ
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และใช้สารเสพติด เพราะจะทำให้ขาดสติและเพิ่มการมีเพศสัมพันธ์แบบเสี่ยงได้
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรคซิฟิลิส
  • หลีกเลี่ยงการเที่ยวหรือการสำส่อนทางเพศ และถ้าจะหลับนอนกับคนที่สงสัยว่าเป็นโรค ควรป้องกันการติดเชื้อโดยสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ซึ่งจะช่วยป้องกันได้เกือบ 100%
  • แผลของอวัยวะเพศ เช่น ซิฟิลิส เกิดได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ทั้งที่ถุงยางครอบถึงหรือไม่ถึงได้ การใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซิฟิสได้
  • การใช้ถุงยางอนามัยที่มีสารฆ่าเชื้ออสุจิ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Nonoxynol-9 นั้นไม่ได้ผลดีไปกว่าถุงยางที่ไม่มีสารชนิดนี้ในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จึงไม่แนะนำให้ใช้ถุงยางอนามัยที่มีสารชนิดนี้เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมทั้งซิฟิลิสไม่สามารถป้องกันได้ด้วยการล้างอวัยวะเพศ การปัสสาวะ หรือสวนล้างช่องคลอดทันทีหลังการมีเพศสัมพันธ์
  • ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศและร่างกายอยู่เสมอ รักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้ดีโดยการปฏิบัติตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและช่วยลดโอกาสการติดเชื้อต่าง ๆ
  • ไปพบแพทย์เสมอเมื่อมีอาการดังกล่าว อย่ารักษาด้วยตัวเอง หรือไปพบแพทย์เมื่อมีความกังวลในอาการหรือสงสัยว่าตนเองอาจติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งรวมถึงซิฟิลิส

โรคซิฟิลิส ( Syphilis ) ติดเชื้อแบคทีเรียที่ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ปาก เยื่อบุตา แผลตามร่างกาย ส่งผลให้เกิดอาการต่อมน้ำเหลืองโต ปวดตามข้อ ผื่นแดง มีตุ่มแดงๆเป็นแผลที่อวัยวะเพศ เมื่อเชื้อโรคจะเข้าสู่กระแสเลือด สามารถทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนมากมาย โรคซิฟิลิส มี 4 ระยะ คือ Primary Secondary Latent และ Tertiary


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove