ฟักทอง Pumpkin พืชคุณค่าทางอาหารสูง สรรพคุณของฟักทอง ช่วยควบคุมน้ำหนัก บำรุงผิว ขับปัสสาวะ แก้ไอ บำรุงร่างกาย บำรุงระบบประสาท บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงดวงตา

ฟักทอง สมุนไพร สรรพคุณของฟักทอง

ต้นฟักทอง ภาษาอังกฤษ เรียก Pumpkin มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cucurbita maxima Duchesne. ชื่ออื่นของฟักทอง เช่น หมากอึ มะฟักแก้ว มะน้ำแก้ว น้ำเต้า หมักอื้อ หมากฟักเหลือง เหลืองเคล่า หมักคี้ล่า ฟักทอง นิยมนำมาทำเป็นส่วนประกอบของ อาหาร ตัวอย่าง อาหารเมนูฟักทอง เช่น  แกงเผ็ดไก่ฟักทอง แกงเลียง ฟักทองผัดไข่ ส่วนของหวานก็มี สังขยาฟักทอง ขนมฟักทอง บวดฟักทอง ฟักทองนึ่ง ฟักทองเชื่อม เป้นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของฝักทอง

นักโภชนาการได้ศึกษาผลฟักทอง ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 26 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ ที่มีประโยชน์ประกอบด้วย
คาร์โบไฮเดรต 6.5 กรัม น้ำตาล 2.76 กรัม กากใยอาหาร 0.5 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม โปรตีน 1 กรัม วิตามินเอ 476 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 3,100 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 1,500 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.05 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.11 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.6 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.298 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.061 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 16 ไมโครกรัม วิตามินซี 9 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.44 มิลลิกรัม วิตามินเค 1.1 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 21 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.8 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.125 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 44 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 340 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.32 มิลลิกรัม

เมล็ดดอกฟังทอง สามารถสกัดน้ำมันได้ สรรพคุณ ช่วยบำรุงประสาท ป้องกันโรคต่อมลูกหมาก ช่วยปรับระดับฮอร์โมนเพศชาย

ลักษณะของต้นฟักทอง

ต้นฟักทอง จัดว่าเป็น ไม้ล้มลุก ลักษณะของลำต้น ใบ ดอก และ ผล มีดังนี้

  • ลำต้นฟักทอง ลักษณะลำต้นเป็นเถาเลื้อยไปตามพื้นดิน นิยมปลูกริมรั้ว เถาของฟักทองมีขนาดยาว ใหญ่ และมีขน ปกคลุม สีเขียว
  • ใบของฟักทอง เป็นใบเดี่ยว ใบของฝักทองมีแผ่นใหญ่สีเขียว แยกออกเป็น 5 หยักและมีขนสาก ๆ
  • ดอกของฟักทอง จะออกดอกเดี่ยวตามง่ามใบ และที่ส่วนยอดของเถาฟักทอง ลักษณะของดอกเป็นรูประฆังสีเหลือง
  • ผลของฟักทอง มีขนาดใหญ่ ลักษณะกลมแบน เปลือกของฟักทองจะแข็ง ผิวขรุขระ มีทั้งสีเขียวหรือสีน้ำตาล เนื้อของผลฟักทองมีสีเหลือง เมล็ดของฟักทองมีสีขาว

สรรพคุณของฟักทอง

สำหรับสรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทยของฟักทอง สามารถใช้ประโยชน์ ทั้ง ใบ ดอก เมล็ด ราก  และ ผล มีรายละเอียด ดังนี้

  • ใบของฟักทอง วิตามินซีสูงเหมือเนื้อฟักทอง นอกจากวิตามินซีแล้ว ยังมีฟอสฟอรัสสูง
  • ดอกของฟักทอง มีวิตามินเอ แคลเซียม และฟอสฟอรัส สูงและวิตามินซีเล็กน้อย
  • เมล็ดฟักทอง มีคาร์โบไฮเดรต ฟอสฟอรัส โปรตีนและวิตามิน มีสารคิวเคอร์บิตาซิน ( Cucurbitacin ) สามรถกำจัดพยาธิตัวตืด  ช่วยขับปัสสาวะ ป้องกันการเกิดนิ่ว และป้องกันมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เมล็ดดอกฟังทอง สามารถสกัดน้ำมันได้ สรรพคุณ ช่วยบำรุงประสาท ป้องกันโรคต่อมลูกหมาก ช่วยปรับระดับฮอร์โมนเพศชาย
  • รากฟักทอง นำมาต้ม ใช้ดื่มแก้ไอ ยังช่วยบำรุงร่างกาย
  • เยื่อกลางที่ผลของฟักทอง สามรถนำมาพอกแผลได้ แก้อาการฟกช้ำปวดอักเสบ
  • ผลฟักทอง มีไขมันน้อย จึงเหมาะแก่คนที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก ฟักทองยังมีกากไยอาหารมาก ช่วยระบบขับถ่าย
    มีคาร์โบไฮเดรตสูง ช่วยรักษาและบรรเทาอาการ แผลในกระเพาะอาหาร และลำไส้ ฟักทองมีคอลลาเจนตามธรรมชาติ จะช่วยทำให้ผิวพรรณผ่องใส  ผลของฟักทองยัง สามารถช่วยบรรเทาอาการหอบหืดที่เกิดจากหลอดลมอักเสบ  สตรีหลังคลอดบุตรหากทางฟักทอง ซึ่งตามตำราสมุนไพรไทยเขาเรียก”มีฤทธิ์อุ่น” จะช่วยย่อยอาหารทำให้กระเพาะอุ่น บำรุงกำลัง และลดการอักเสบ แก้ปวดได้ดีมากๆ
  • เปลือกของผลฟักทอง ควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกาย รักษาโรคเบาหวานได้ ควบคุมความดันโลหิต บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงดวงตา และสร้างเซลล์ใหม่ทดแทนเซลล์เก่าที่เสื่อมสภาพได้อีกด้วย

ฟักทอง ถือเป็นพืชในตระกูลมะระ ชนิดไม้เถาขนาดใหญ่ ผิวผลขณะยังอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะแล้วจะมีสีเขียวสลับเหลือง ผิวไม่เรียบขรุขระเปลือกมีลักษณะแข็งเนื้อในสีเหลือง มีเส้นใยอยู่ภายในเป็นสีเหลืองนิ่มพร้อมกับเมล็ดสีขาวแบนๆ ติดอยู่ ประโยชน์ของฟักทองนั้นมีมากมาย สามารถนำมาใช้กินบำรุงร่างกายและรักษาโรคได้ดี

โทษของฟักทอง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากฟักทองด้านการอาหาร และ การรักษาโรค ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม จึงจะไม่มีอันตายต่อสุขภาพ โดยข้อควรระวังในการกินฟักทอง มีดังนี้

  • เมล็ดฟักทองทำให้เกิดแก็สสะสมในลำไส้ และ กระเพาะอาหาร หารกินมากไป อาจทำให้ท้องอืดได้ สตรีมีครรถ์ไม่ควรกินมากเกินไป อาจเป็นอันตรายได้
  • เมล็ดฟักทอง มีสารอาหารไขมันและให้แคลอรี่สูง สำหรับผู้ป่วยไขมันสูงไม่ควรกินมากเกินไป
  • ผลฟักทอง กระตุ้นให้ร่างกายร้อนขึ้น อาจทำให้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ไม่สบายท้อง สำหรับกลุ่มคนที่มีอาการ เช่น กระหายน้ำ ปากเหม็น หิวง่าย ปัสสาวะเหลือง ท้องผูก มีแผลในช่องปาก เหงือกบวม ไม่ควรทานฟักทองมากเกินไป

ฟักทอง ( Pumpkin ) คือ พืชล้มลุก คุณค่าทางอาหารสูง สรรพคุณของฟักทอง ช่วยควบคุมน้ำหนัก บำรุงผิว ป้องกันมะเร็ง ยาถ่ายพยาธิ ขับปัสสาวะ รักษาหอบหืด รักษาเบาหวาน รักษาโรคกระเพาะ รักษาลำไส้อักเสบฟักทอง แก้ไอ บำรุงร่างกาย บำรุงระบบประสาท ควบคุมความดันโลหิต บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงดวงตา และสร้างเซลล์ใหม่ทดแทนเซลล์เก่า

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.   Take care of yourself first with good information. The content on this website is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick or feel unwell You should consult a doctor. to receive proper treatment For more information, please see our Terms and Conditions of Use.

ชะอม Climbing Wattle สมุนไพร ต้นชะอมเป็นอย่างไร สรรพคุณของชะอม เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความร้อนในร่างกาย บำรุงเส้นผม แก้ท้องผูก แก้ปวดท้อง ช่วยขับลม

ชะอม สมุนไพร พืชพื้นบ้าน สรรพคุณของชะอม

ต้นชะอม ภาษาอังกฤษ เรียก Climbing Wattle มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Acacia pennata (L.) Willd ชื่ออื่นๆ ของชะอม เช่น ผักหละ อม ผักขา พูซูเด๊าะ โพซุยโดะ เป็นต้น ใบชะอม นิยมนำมาทำเป็นส่วนประกอบการทำอาหาร เช่น ไข่ทอดชะอม แกงส้มชะอมกุ้ง ชะอมชุบไข่  แกงส้มชะอมไข่ นำมาลวกเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของชะอม

จากการศึกษาชะอมของนักโภชนาการ พบว่า ชะอม มีคุณค่าทางอาหาร ประกอบด้วย ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินซี

คุณค่าทางโภชนาการของชะอม ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงานมากถึง 57 กิโลแคลอรี่ และ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย กากใยอาหาร 5.7 กรัม ฟอสฟอรัส 80 กรัม แคลเซียม 58 กรัม ธาตุเหล็ก 4.1 มิลลิกรัม วิตามินเอ 10066 IU (หน่วยสากล) วิตามินบี1 0.05มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.25 มิลลิกรัม วิตามินบี 31.5 มิลลิกรัม วิตามินบี 58 มิลลิกรัม

ลักษณะชองต้นชะอม

ต้นชะอม เป็นพืชชนิดไม้พุ่ม พบว่ามีถิ่นกำเนิดแถวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชะอมจะมีหนามที่ลำต้นและกิ่งก้าน ใบของชะอม มีสีเขียวขนาดเล็ก ก้านใบย่อยแตกออกจากแกนกลางใบ ใบอ่อนของชะอมจะมีกลิ่นฉุน ปลายของใบชะอมจะแหลมขอบใบเรียบ ส่วนดอกของชะอม มีขนาดเล็กและออกตามซอกใบมีสีขาวนวล ชะอมสามารถขยายพันธ์ได้ โดยการปักชำ การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง หรือการโน้มกิ่งลงดิน

  • ลำต้น ชะอมเป็นไม้พุ่มขนาดย่อมไม่สูงมาก แต่เคยมีพบการพบชะอมในป่า ลักษณะเป็นต้นไม้ใหญ่ วัดเส้นรอบวงของลำต้นได้ 1.2 เมตร กิ่งก้านของชะอมมีหนามแหลม
  •  ใบ ลักษณะ เป็นใบประกอบขนาดเล็ก มีก้านใบแยกเป็นใบอยู่  2 ทาง ลักษณะคล้ายใบกระถิน (แยกได้โดยการสังเกตุดีๆหรือดมกลิ่น)  ใบอ่อนมีกลิ่น ฉุนคล้ายกลิ่นลูกสะตอแต่ก็ไม่เหมือนซะทีเดียวนะครับ ใบเรียงแบบสลับใบย่อย ออกตรง ข้ามกัน ใบย่อรูปรี มีประมาณ 13-28 คู่ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ส่วนที่มักนำไปทานก็คือใบออ่นหรือยอกของชะอมนั่นเอง
  • ดอก ชะอมจะออกที่ซอกกิ่ง สีขาวหรือขาวนวล ดอกขนาดเล็กและเห็นชัด เฉพาะเกสรตัวผู้ที่เป็นฝอยๆ
  •  ผล เป็นฝัก มีขนาดเล็กกว่าฝักกระถิน

สรรพคุณของชะอม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากชะอม เพื่อการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ได้จาก ยอดชะอม และ รากชะอม สรรพคุณของชะอม มีดังนี้

  • ยอดชะอม จะมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยลดความร้อนในร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ
    ชะอม สรรพคุณช่วยในการขับถ่าย แก้โรคท้องผูก ช่วยบำรุงเส้นผม
  • รากชะอม จะมีสรรพคุณช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ลดการปวดท้อง และช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยบำรุงเส้นเอ็น ช่วยแก้อาการลิ้นอักเสบเป็นผื่นแดง

โทษของชะอม

ข้อควรระวังในการบริโภคชะอม โทษของชะอม เนื่องจาก ชะอมมีกรดยูริกสูง หากบริโภคมากเกินไปก็จะส่งผลเสียกับร่างกายได้ ดดยรายละเอียด ดังนี้

  1.  ชะอมจะทำให้น้ำนมแห้ง คุณแม่หลังคลอดไม่ควรรับประทาน
  2. การรับประทานชะอม ในช่วงฤดูฝน ชะอ อาจมีรสเปรี้ยว อาจทำให้ปวดท้องได้
  3. ชะอมมีกรดยูริก หากรับประทานมากๆ อาจทำให้เป็นโรคเกาต์ ทำให้ปวดกระดูก เป็นเกาต์ไม่ควรบริโภคชะอม 
  4. สำหรับคุณแม่ที่เพิ่งมีบุตรอ่อน ไม่ควรรับประทานผักชะอม เพราะจะทำให้น้ำนมแม่แห้งได้
  5. ผักชะอม สำหรับคุณแม่ลูกอ่อน จะแพ้กลิ่นของผักชนิดนี้อย่างมาก ดังนั้นควรอยู่ห่าง ๆ
  6. การรับประทานผักชะอมในหน้าฝน อาจจะมีรสเปรี้ยว กลิ่นฉุน บางครั้งอาจทำให้มีอาการปวดท้องได้ (ปกตินิยมรับประทานผักชะอมหน้าร้อน)
  7. กรดยูริกเป็นตัวการที่ทำให้เกิดข้ออักเสบในผู้ป่วยโรคเกาต์ ซึ่งเกิดมาจากสารพิวรีน (Purine) โดยผักชะอมนั้นก็มีสารพิวรีนในระดับปานกลางถึงระดับสูง ผู้ป่วยโรคเกาต์สามารถรับประทานได้ แต่ควรรับประทานในปริมาณที่จำกัด หากเป็นมากก็ไม่ควรรับประทาน เพราะจะทำให้ปวดกระดูกได้
  8. อาจพบเชื้อก่อโรคอย่างซาลโมเนลลา (Salmonella) ซึ่งเป็นเชื้อที่สามารถพบได้ทั่วไปในสภาพแวดล้อม เช่น ดิน น้ำ อากาศ เมื่อเรานำผักชะอมที่ปนเปื้อนสารชนิดนี้มาประกอบอาหารโดยไม่ล้างทำความสะอาดหลาย ๆ ครั้ง หรือไม่นำมาปรุงให้สุกก่อนรับประทาน อาจมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อชนิดนี้ได้ โดยผู้ที่ได้รับเชื้อชนิดอาจจะมีอาการท้องเสีย ปวดท้อง ถ่ายเหลวเป็นน้ำสีเขียว หรือถ่ายเป็นมูกมีเลือดปน มีไข้ เป็นต้น

วิธีการปลูกและการดูแล

ชะอม เป็นผักพื้นบ้าน ริมรั่ว เป็นพืชพื้นบ้าน ปลูกง่าย ชะอมไม่ชอบน้ำท่วมขัง ดังนั้นการปลูกชะอม ต้องยกร่องสวน และเว้นระยะห่างให้พอดี ต่อการเดินเก็บชะอม อย่าปลูกชิดกันเกินไปเนื่องจากชะอมมีหนาม ชะอม 1 ไร่ สามารถปลูกได้ถึง 2,000 ต้น การปลูกชะอมง่ายไม่ต้องรดน้ำบ่อย 2 ถึง 3 วัน ค่อยให้น้ำครั้งหนึ่งก็ได้

การขยายพันธุ์ชะอม

ชะอมสามารขยายพันธุ์ได้ โดยการปักช นำกิ่งของชะอมที่กลางอ่อนกลางแก่ มาปักในดิน ประมาร 1 สัปดาห์ ก็ติดดินแล้ว ประมาณ 30 วัน รากของชะอมออกก็สามารถเริ่มให้ปุ๋ย ได้ การปลูกและขยายพันธ์ชะอมง่ายมาก

ศัตรูพืชของชะอม

ศัตรูของชะอม จะเป็นพวกหนอนคืบและมดแดง ซึ่งในการปลูกแบบอินทรีย์ ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง เราสามารถใช้พวกน้ำหมักชีวภาพ โดยใช้พืชที่มีกลิ่นแรง มีน้ำมันหอมระเหยที่สัตว์ไม่ชอบ เช่น ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด เป็นส่วนผสมของน้ำหมัก เมื่อแมลงหรือหนอนได้กลิ่นก็จะหนีไปเอง แต่ชะอมเป็นพืชที่ศัตรูพืชน้อย ไม่ต้องกังวล

เทคนิคกระตุ้นยอดอ่อนชะอม

หากต้องการใช้ชะอมแตกยอดดีให้ใช้น้ำหมักชีวะภาพ ที่มีส่วนผสมของน้ำมะพร้าว จะช่วยให้ชะอมแตกยอดได้ดี

ชะอม ( Climbing Wattle ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของชะอม คือ Acacia pennata (L.) Willd สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของชะอม ป้องกันมะเร็ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความร้อนในร่างกาย ช่วยบำรุงเส้นผม ยาอายุวัฒนะ ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง และช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยบำรุงเส้นเอ็น ช่วยแก้อาการลิ้นอักเสบ

ชะอม ( Climbing Wattle ) สมุนไพร ผักสวนครัว ลักษณะของต้นชะอม สรรพคุณของชะอม เช่น ป้องกันมะเร็ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความร้อนในร่างกาย ช่วยบำรุงเส้นผม ยาอายุวัฒนะ ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง และช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยบำรุงเส้นเอ็น ช่วยแก้อาการลิ้นอักเสบ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove