มะเร็งต่อมลูกหมาก Prostate Cancer พบในเพศชาย ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ อาการของโรค เช่น ปัสสาวะขัด ปัสสาวะเป็นเลือด แนวทางการรักษาและป้องกันอย่างไรมะเร็งต่อมลูกหมาก โรคมะเร็ง โรคระบบขับถ่าย โรคระบบสืบพันธ์

ต่อมลูกหมาก ( prostate gland ) คือ อวัยวะหนึ่งของระบบสืบพันธุ์และระบบปัสสาวะของเพศชาย ต่อมลูกหมากทำหน้าที่ผลิตน้ำหล่อลื่นที่อยู่ในน้ำอสุจิ ( semen ) ต่อมลูกหมากแบ่งเป็นสองซีก (lobe) และ มีท่อปัสสาวะ (urethra) อยู่ตรงกลาง

มะเร็งต่อมลูกหมาก ( Prostate Cancer ) คือ ภาวะการเกิดเนื้องอก เนื้อร้าย ทีพบได้ในเพศชาย โรคนี้จะค่อยๆเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ ที่ต่อมลูกหมาก ในบางรายมะเร็งมีความรุนแรง เซลล์มะเร็งจากต่อมลูกหมาก สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆของร่างกายได้ โดยเฉพาะกระดูกและต่อมน้ำเหลือง โรคนี้ในระยะแรกไม่มีอาการ ระยะต่อมาอาจทำให้เกิดความเจ็บปวด ปัสสาวะลำบาก เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และ เสียชีวิตในที่สุด

โรคมะเร็งต่อมลูกหมากพบในผุ้ชายอายุประมาณ 70 ปี  ในปัจจุบันสามารถตรวจคัดกรองโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้เร็วขึ้น จากการตรวจโดยใช้นิ้วคลำทางทวาร และ การตรวจเลือดหาสาร PSA ผู้ชายอายุประมาณ 45 – 50 ปี ที่มีประวัติญาติพี่น้องป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรค

สาเหตุของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

โรคนี้จากความรู้ทางการแพทย์ ยังไม่สามารถระบุสาเหตุของการเกิดโรคได้อย่างชัดเจน แต่พบว่าเกิดจากเซลล์ในต่อมลูกหมากผิดปกติ เจริญเติบโตรวดเร็วกว่าปกติ และก่อให้เกิดเนื้องอกลุกลามไปยังเนื้อเยื่อรอบข้าง ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก
สามารถสรุป ปัจจัยของการเกิดโรค ได้ดังนี้

  • อายุ เพศชายคนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มีโอกาสเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากมากขึ้น
  • พันธุกรรม ในคนที่มีประวัติญาติพี่น้องป่วยเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากมีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคมากกว่าคนอื่น
  • เชื้อชาติ จากสถิติการเกิดโรคชายในประเทศตะวันตกและยุโรป มีโอกาสเกิดโรคมากกว่าชายเอเชีย
  • การกินอาหาร สำหรับคนที่ชอบรับประทานอาหารไขมันสูง และ รับประทานเนื้อแดง มีความเสี่ยงเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้

อาการของมะเร็งต่อมลูกหมาก

สำหรับโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ในระยะแรกจะไม่แสดงอาการผิดปรกติ แต่เมื่อมะเร็งเกิดขยายตัวขึ้นจนกดทับท่อปัสสาวะ ก็จะเริ่มแสดงอาการผิดปรกติที่ระบบการปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะบ่อย แสบเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะไม่สุด จนถึงปัสสาวะเป็นเลือดได้ ซึ่งอาการของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก สามารถสังเกตุได้จาก อาการ ดังต่อไปนี้

  • ปัสสาวะผิดปรกติ เช่น ปัสสาวะขัด ปัสสาวะแผ่วเบา ปวดปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่สุด
  • น้ำหนักตัวลดลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ
  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  • อ่อนเพลีย
  • มีอาการบวมตามร่างกายส่วนล่าง
  • ขาอ่อนล้า และ ขยับไม่ได้
  • มีอาการท้องผูก
  • เจ็บบริเวณเชิงกรานและหลังส่วนล่าง

ระยะของมะเร็งต่อมลูกหมาก

โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก สามารถแบ่งระยะของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็น 4 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 ถึง ระยะที่ 4 โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • มะเร็งต่อมลูกหมาก ระยะที่ 1 พบเกิดมะเร็งเฉพาะที่ต่อมลูกหมากเพียงกลีบเดียว ไม่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
  • มะเร็งต่อมลูกหมาก ระยะที่ 2 พบว่ามะเร็งมีขนาดใหญ่ และพบมะเร็งเกิดทั้งสองกลีบของต่อมลูกหมาก ซึ่งในระยะนี้ยังไม่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
  • มะเร็งต่อมลูกหมาก ระยะที่ 3 พบว่ามะเร็งแพร่กระจายสู่ผิวด้านนอกของต่อมลูกหมาก และ ลุกลามไปยังท่อน้ำเชื้อ
  • มะเร็งต่อมลูกหมาก ระยะที่ 4 พบว่ามีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งสู่กระดูกและต่อมน้ำเหลือง

การรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

สำหรับการรักษามะเร็งที่ต่อมลูกหมาก แพทย์จะเลือกวิธีรักษาด้วยการผ่าตัด การฉายรังสี การทำเคมีบำบัด และ การใช้ฮอร์โมน แพทย์จะเลือกใช้วิธีทั้งหมดในการรักษา โดยเลือกตามความเหมาะสม จากปัจจัยต่างๆ เช่น ตำแหน่ง ขนาด ระยะของเซลล์มะเร็ง และ สภาพร่างกายและจิตใจ ของผู้ป่วย รายละเอียดของการรักษา มีดังต่อไปนี้

  • การผ่าตัด สำหรับการรักษาด้วยการผ่าตัด มี 2 วิธี คือ การผ่าตัดโดยใช้วิธีส่องกล้อง ( laparoscopic radical prostatectomy) และ การผ่าตัดโดยใช้แขนกลช่วยผ่าตัด (robotic–assisted da Vinci surgery หรือ da Vinci® prostatectomy)
  • การฉายรังสี โดยการฝังแร่ที่ต่อมลูกหมาก และ ฉายรังสี
  • การทำเคมีบำบัด ปัจจุบันวิธีการรักษานี้ให้ผลการรักษาที่ดี ผลข้างเคียงน้อย
  • การรักษาด้วยฮอร์โมน คืิอ การลดฮอร์โมนเพศชาย เป็นการรักษาร่วมกับการผ่าตัด ซึ่งการลดฮอร์โมนเพศชาย ทำโดยการใช้ยาต้านฮอร์โมน หรือ ผ่าตัดเอาอัณฑะออก

การป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

สำหรับแนวทางการปฏิบัติตน เพื่อลดโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มีแนวทางการปฏิบัติตน ดังนี้

  • การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควรรับประทานผัก ผลไม้และธัญพืช แต่ยังไม่มีข้อมูลพิสูจน์ได้ว่า ช่วยป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ แต่การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เป็นพื้นฐานการดูแลร่างกาย
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • เข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เมื่อถึงระยะอายุที่มีความเสี่ยง

มะเร็งต่อมลูกหมาก ( Prostate Cancer ) คือ เนื้องอกชนิดหนึ่งพบในเพศชาย ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ มีปัจจัยจาก เพศ อายุ เชื้อชาติ และ การกินอาหาร อาการของโรค เช่น ปัสสาวะขัด ปัสสาวะเป็นเลือด รักษาอย่างไร และ ป้องกันอย่างไร

นิ่วในไต ( Kidney Stone ) กรดยูริคในเลือดสูงจนเกิดตะกอนในไต ทำให้ขัดขวางทางเดินปัสสาวะจนเกิดการติดเชื้อ อาการปวดท้องปวดบั้นเอว ปัสสาวะเป็นเลือด ปวดเวลาปัสสาวะนิ่วในไต โรคไต โรคในช่องท้อง โรคไม่ติดต่อ

นิ่วในไต เป็น โรค ชนิดหนึ่ง โรคที่สามารถพบได้กับคนทุกเพศและทุกวัย ความเข้มข้นของแคลเซียม การติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ ความผิดปกติของร่างกาย จาก การเกิดนิ่วในไต คืออะไร อาการของนิ่วในไต เป็นอย่างไร รักษาอย่างไร

ไต ถือเป็น อวัยวะ ที่เป็นส่วนหนึ่งกับ ระบบทางเดินปัสสาวะ เป็น การขับของเสียออกทางปัสสาวะ การเกิดนิ่วในไต  เกิด การตกผลึกของของเสียที่ทางปัสสาวะ ซึ่งผลิกนี้ เกิดการอุดตันทางเดินปัสสาวะ ทำให้ ขับถ่ายไม่ได้ ซึ่งส่งผลเสียให้เกิดการ ปัสสาวะขัด มี การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ สามารถ ทำให้ไตเสื่อม ได้ มาทำความรู้จักกับ โรคนิ่วในไต และ ระบบทางเดินปัสสาวะ กัน

สาเหตุของการเกิดนิ่วที่ไต

นิ่วที่ไตเกิดจากตกผลึกของสิ่งแปลกปลอมในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งรวมถึง ไต โดย ตะกอน เหล่านี้ ทำให้เกิดการติดขัดของระบบทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เกิดขึ้นจาก การติดเชื้อแบคทีเรีย การมีกรดยูริคในเลือกสูง การดื่มน้ำไม่เพียงพอ
การกินอาหารที่มีโปรตีนสูง ที่ได้มาจากสัตว์ ตำแหน่งที่พบ นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และ ท่อปัสสาวะ

อาการของผู้ป่วยนิ่วในไต

อาการของโรคนิ่วในไต จะพบว่า ผู้ป่วยมี อาการปวดที่ท้องบริเวณบั้นเอว ปัสสาวะเป็นเลือดปน มี อาการปวดเวลาปัสสาวะ มีไข้ มี อาการคลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะขัด

การรักษาโรคนิ่วในไต

การรักษานิ่วที่ทางเดินปัสสาวะ สามารถรักษาด้วยการใช้ยารักษา การผ่าตัด การเจาะเพื่อดูดเอานิ่วออก หรือ การสลายนิ่ว

การป้องกันการเกิดนิ่วในไต

ข้อควรปฏิบัติการดูแลร่างกายให้ปราศจาค โรค และ ลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดนิ่วในไต รายละเอียด ดังนี้

  1. ให้ ดื่มน้ำให้เพียงพอ ต่อความต้องการของร่างกายในปัจจุบัน ซึ่ง ร่างกายต้องการน้ำ ประมาณ วันละ 8 แก้วต่อวัน
  2. ควบคุมการบริโภคอาหาร อาหารในกลุ่มที่ไม่ควรกินมากเกินไป คือ ผักผลไม้ที่มีโพแทสเซียม และ ความเป็นกรด-ด่าง ไขมันจากพืช และ ไขมันจากปลา อาหารที่มีเนื้อสัตว์ ซึ่งเป็น อาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น สัตว์ปีก ตับ เครื่องใน หลีกเลี่ยงอาหาร ที่มี ออกซาเลตสูง เช่น งา ผักโขม และ ถั่วต่างๆ
  3. ออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ ผ่อนคลาย เพื่อลดความเครียด เนื่องจาก ความเครียด มี โอกาสเสี่ยงทำให้เกิดก้อนนิ่ว

อาการปัสสาวะขัด เกิดจากการอัดตันของทางเดินปัสสาวะ จากนิ่ว ซึ่ง สมุนไพรช่วยขับปัสสาวะ ช่วยให้ปัสสาวะขัดหายได้ เราจึงของแนะนำ สมุนไพรช่วยขับปัสสาวะ มีดังนี้

มะเฟือง สมุนไพร สมุนไพรไทย ผลไม้มะเฟือง
เตย ใบเตย สมุนไพร ประโยชน์ของใบเตยเตย
ผักโขม สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของผักโขมผักโขม
กระเจี๊ยบ สมุนไพร สรรพคุณของกระเจี๊ยบ ประโยชน์ของกระเจี๊ยบกระเจี๊ยบ

นิ่วในไต ( Kidney Stone ) คือ ภาวะการเกิดนิ่วหรือตะกอนที่ไต โรคเกี่ยวกับไต ซึ่งนิ่วหรือตะกอน ทำให้เกิดการติดขัดของระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย มีกรดยูริคในเลือกสูง อาการของโรคนิ้วในไต จะมีอาการปวดที่ท้องบริเวณบั้นเอว ปัสสาวะเป็นเลือด ปวดเวลาปัสสาวะ มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะขัด โรคนี้สามารถเกิดได้กับทุกคน โรคนิ่วในไต


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove