มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ Bladder cancer มะเร็งที่กระเพาะปัสสาวะ อาการปัสสาวะเป็นเลือดแต่ไม่เจ็บ ปวดหลัง ปัสสสาวะมาก ปัสสาวะบ่อย แนวทางการรักษาและป้องกันโรคทำอย่างไร

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โรคมะเร็ง โรคไม่ติดต่อ โรคระบบทางเดินปัสสาวะ

โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากเซลล์ที่เยื่อบุผนังของกระเพาะปัสสาวะ เกิดการแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างผิดปกติ จนเกิดเนื้องอก และ เป็นเนื้อมะเร็งในที่สุด สามารถลุกลามเข้าสู่อวัยวะอื่นๆได้ เช่น ต่อมน้ำเหลือง กระดูก ปอด และตับ

ชนิดของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ สามารถแบ่งได้ 5 ชนิด ซึ่งการแบ่งชนิดของโรคนั้นแบ่งออกได้ตามลักษณะของเซลล์มะเร็ง โดยชนิดของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มีรายละเอียด ดังนี้

  • Transitional cell carcinoma ( TCC ) พบมากที่สุด ร้อยละ 95 ของผู้ป่วยเกิดมะเร็งชนิดนี้
  • Squamous cell carcinoma ( SCC ) พบว่าผู้ป่วยมะเร็งจากชนิดนี้ ร้อยละ 5 ของผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากเซลล์รูปสี่เหลี่ยม ทำให้ระคายเคือง เช่น พยาธิใบไม้ในเลือด
  • Adenocarcinoma พบว่าผู้ป่วยมะเร็งชนิดนี้ เกิดร้อยละ 2 ของผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • Small cell carcinoma พบได้น้อยกว่าร้อยละ 1 ของผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากเซลล์ Neuroendocrine cells
  • Sarcomas เป็นชนิดที่พบได้น้อยมาก โดยเกิดในเซลล์กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ยังไม่หาสาเหตุที่แท้จริงได้ แต่พบว่ามีปัจจัยในการกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โดยรายละเอียดของปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรค มีดังนี้

  • การสูบบุหรี่ หรือ การสูดดมควันบุหรี่
  • การได้รับสารเคมีบางอย่าง เช่น สารอะนิลีน ( Aniline ) สารไฮโดรคาร์บอน  ( Hydrocarbon ) เป็นสารเคมีใช้ในการย้อมผ้า และ ใช้ในอุตสาหกรรมเสื้อผ้า ยาง และ สายไฟ
  • การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในเลือด ( Schistosomiasis ) พยาธิชนิดนี้จะวางไข่ฝังที่ผนังของกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดการระคายเคืองแบบเรื้อรัง
  • การรับยาเคมีบำบัด เช่น ยา Cyclophosphamide
  • เป็นความผิดปรกของร่างกายจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม

ระยะของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มีระยะของโรค 4 ระยะ คือ ระยะ 1-4 โดยแตกต่างกันที่ระดับความรุนแรงของโรค โดยรายละเอียดดังนี้

  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่ 1 เกิดมะเร็งบริเวณเยื่อบุภายในกระเพาะปัสสาวะ
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่ 2 เนื้อมะเร็งบางส่วนลุกลามเข้าสู่กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่ 3 เนื้อมะเร็งลุกลามเข้าสู่ผนังกระเพาะปัสสาวะ และ เนื้อเยื่อรอบๆกระเพาะปัสสาวะ
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่ 4 เนื้อมะเร็งลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง และ กระจายสู่อวัยวะอื่น ๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง กระดูก ตับ หรือ ปอด เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับอาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ จะแสดงอาการอย่างชัดเจนที่การปัสสาวะ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้ ดังนี้

  • ปัสสาวะเป็นเลือดโดยไม่มีอาการเจ็บปวด
  • ปัสสาวะมากผิดปกติ
  • ปัสสาวะบ่อย มีอาการแสบ หรือ ขัดตอนปัสสาวะ
  • มีอาการปวดหลัง
  • มีอาการต่อมน้ำเหลืองบวมโต บริเวณขาหนีบ หรือ ไหปลาร้า
  • อาจมีอาการไอ หายใจลำบาก ปวดกระดูก

การวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับการวินิจฉัยโรคนั้น หากผู้ป่วยมีอาการตามอาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ตามที่กล่าวมาในข้างต้น เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์จะซักประวัติ และ ลักษณะของอาการที่เกิดขึ้น จากนั้น ต้องทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดย การตรวจร่างกายและตรวจชิ้นเนื้อ มีรายละเอียด ดังนี้

  • การตรวจปัสสาวะ เพื่อดูปริมาณของเม็ดเลือดแดงและเซลล์มะเร็งที่ปะปนมากับปัสสาวะ
  • การส่องกล้องตรวจทางเดินปัสสาวะ เพื่อตรวจดูโครงสร้างภายในของกระเพาะปัสสาวะกับท่อปัสสาวะ เพื่อให้เห็นเนื้องอกได้อย่างชัดเจน
  • การตรวจชิ้นเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ การนำชื้นเนื้อต้องสงสัยไปตรวจ เพื่อดูว่าชิ้นเนื้อนั้นๆ เป็นเซลล์มะเร็งหรือไม่
  • การตรวจทางรังสีวิทยา โดยใช้การ เอกซเรย์ ซีทีสแกน เอ็มอาร์ไอ หรือ อัลตราซาวด์ ตรวจที่บริเวณช่องท้อง เพื่อดูตำแหน่งและขนาดของมะเร็ง

การรักษาโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับการรักษาโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ นั้น ต้องทำการรักษาโดยการกำจัดก้อนมะเร็ง บรรเทาอาการของโรค และ การรักษาโดย การใช้ เคมีบำบัด การให้ยาฆ่ามะเร็ง การรังสีบำบัด และ การผ่าตัด แต่การเลือกใช้วิธีการรักษาต้องอยู่ในดุลย์พินิจของแพทย์ โดยรายละเอียดของการรักษามะเร็งกระเพาปัสสาวะ มีดังนี้

  • การรักษาด้วนเคมีบำบัด โดยแพทย์จะฉีดยาเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะผ่านทางสายสวน เพื่อรักษามะเร็งในระยะเริ่มต้น อาจใช้การรักษาด้วยรังสีบำบัด ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้
  • การให้ยาฆ่าเซลล์มะเร็ง จะใช้หลังจากการตัดเนื้อมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะออกไปแล้ว ให้ยาฆ่าเซลล์มะเร็ง เพื่อลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำใหม่
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด วิธีนี้ทำเพื่อกำจัดเนื้อมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ รวมถึงอวัยวะใกล้เคียง ซึ่งการผ่าตัดนั้นใช้ 2 วิธี คือ การผ่าตัดโดยส่องกล้องซึ่งผ่านทางท่อปัสสาวะ และ การผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะผ่านทางช่องท้อง ซึ่งการผ่าตั้นนั้น แพทย์อาจต้องตัดกระเพาะปัสสาวะบางส่วนออก รวมถึงอวัยวะข้างเคียงออก เช่น ท่อไต ต่อมน้ำเหลืองบริเวณอุ้งเชิงกราน ต่อมลูกหมาก ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ มดลูก รังไข่ และ ช่องคลอดบางส่วน เป็นต้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
  • การรักษาด้วยรังสีบำบัด วิธีการรังสีบำบัดนั้นจะทำหลังจากการผ่าตัด หรือ ใช้การเคมีบำบัดร่วม สำหรับผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้

ภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

การเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ สร้างความลำบากต่อร่างกายแล้ว แต่สิ่งที่ทำให้แย่ขึ้นไปอีก คือ การเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค ซึ่งสามารถเกิดได้ทั้งก่อนการรักษาโรคและหลังการรักษาโรค โดยภาวะแทรกซ้อนของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ประกอบด้วย

  • การเกิดโรคโลหิตจาง
  • เกิดความผิดปรกติเกี่ยวกับการปัสสาวะ เช่น กลั้นปัสสาวะไม่ได้ หรือ ปัสสาวะไม่ออก
  • เกิดภาวะท่อปัสสาวะตีบตัน ทำให้ปัสสาวะไม่ออก หรือ ปัสสาวะยาก
  • เกิดกรวยไตคั่งปัสสาวะ
  • เกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • เกิดการลามของมะเร็ง จนเกิดมะเร็งในอวัยวะอื่นๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง ตับ ปอด หรือ กระดูก เป็นต้น
  • ทำให้หย่อนสมรรถภาพทางเพศ
  • ทำให้เกิดวัยทองก่อนวัยอันควร

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคนั้นยังไม่มีวิธีทางการแพทย์ที่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้อย่างเด็ดขาด แต่สิ่งที่สามารถทำได้ คือ การลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรค ที่เราสามารถควบคุมได้ โดยแนวทางการปฏิบัติมีดังนี้

  • เลิกสูบบุหรี่ หรือ ไม่สูบบุหรี่ หรือ หลีกเลี่ยงการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีควันบุหรี่
  • ไม่เที่ยวสถานท่องเที่ยวกลางคืน เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีการปล่อยให้มีการสูบบุหรี่ การที่เราไม่สูบบุหรี่แต่การสูดดมควันบุรหรี่ก็เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเช่นกัน
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมีที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • ให้ดื่มน้ำตามปรริมาณความต้องการของร่างกาย
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ผักและผลไม้ โดยเฉพาะผักและผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ
  • หากมีอาการผิดปรกติที่ระบบขัยถ่าย เช่น ปัสสาวะเป็นเลือด ให้รีบพบแพทย์เพื่อรักษาอย่างทันท่วงที

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ( Bladder cancer ) คือ มะเร็งเกิดที่กระเพาะปัสสาวะ ส่งผลต่อระบบการปัสสาวะ อาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะเป็นเลือดแต่ไม่เจ็บ ปวดหลัง ปัสสสาวะมาก ปัสสาวะบ่อย เป็นต้น การรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะทำอย่างไร สาเหตุของการเกิดโรค การป้องกันการเกิดโรค

หนองในเทียม ( Chlamydia infection ) ติดเชื้อแบคทีเรีย คลามัยเดีย ทราโคมาทิส ที่อวัยวะสืบพันธุ์ ทำให้มีลูกยาก อาการมีหนองออกจากอวัยวะเพศ รักษาและป้องกันอย่างไร

โรคหนองในเทียม หนองในเทียม โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคติดต่อ

สาเหตุของหนองในเทียม

สาเหตุของการติดโรคหนองในเทียม เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์กับคนเป็นโรคหนองในเทียมอยู่แล้ว โดยไม่มีการป้องกันการเกิดโรค ซึ่งเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคหนองในเทียม คือ เชื้อแบคทีเรียคลามัยเดียทราโคมาติส ( Chlamydia Trachomatis )  เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้สามารถเจริญเติบโตและแพร่กระจายเชื้อโรคทาง เช่น อวัยวะเพศ ทวารหนัก ปาก หรือ ดวงตา โดยเชื้อโรคจะปะปนมมากับสารคัดหลั่งของมนุษย์ โรคนี้ยังสามารถแพร่จากแม่สู่ลูกได้ เป็นอันตรายสำหรับสตรมีครรภ์

กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสในการติดโรคหนองในเทียม

สำหรับกลุ่มที่มีโอกาสในการเกิดโรคหนองในเทียม คือ กลุ่มวัยรุ่นที่มักไม่มีการป้องกันในการมีเพศสัมพันธ์ กลุ่่มคนที่นิยมเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ รวมถึงเด็กในครรภ์ที่มีแม่มีเชื้อโรคหนองในเทียมในร่างกายเป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคหนองในเทียม

เมื่อร่างกายได้รับเชื้อแบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุของโรคหนองในเทียม เชื้อโรคจะมีระยะในการฟักตัว ภายใน 7 – 21 วัน อาการที่พบของโรคโดยทั่วไป จะมีอาการติดเชื้อในลำคอ เจ็บคอเรื้อรัง หรือ ปวดรูตูด มีน้ำหรือเลือดไหลออกจากตูด เป็นอาการที่แสดงออกมาจากแหล่งที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย หากเข้าทางปาก จะแสดงอาการที่คอ หากเชื้อโรคเข้าทางทวารหนัก ก็จะแสดงอาการทางทวารหนัก แต่อาการของโรคหนองในเทียมจะแสดงอาการแตกต่างกันในชายและหญิง ซึ่งรายละเอียดของการการของโรค มีดังนี้

อาการหนองในเทียมที่เกิดในผู้หญิง

  • มีอาการตกขาวผิดปกติ
  • ปัสสาวะขัดและมีอาการแสบ
  • ปวดท้องน้อย
  • ปวดหลัง
  • คลื่นไส้ อาเจีน
  • มีไข้
  • เลือดออกผิดปกติระหว่างรอบประจำเดือน

อาการหนองในเทียมที่เกิดในผู้ชาย

  • มีสารคัดหลั่งไหลออกมาจากอวัยวะเพศ ลักษณะใสหรือขุ่นข้นๆ
  • ปวดแสบเวลาปัสสาวะ
  • ปัสสาวะขัด
  • คันบริเวณอวัยวะเพศ
  • ปวดอันฑะ
  • ลูกอัณฑะบวม

อาการแทรกซ้อนที่เกิดกับโรคหนองในเทียม

ความอันตรายหนึ่งของโรคหนองในเทียม คือ ภาวะแทรกซ้อนของโรค ซึ่งภาวะแทรกซ้อนนี้มีอาการแตกต่างกันในผู้ชายและผู้หญิง โดย รายละเอียด มีดังนี้

ภาวะแทรกซ้อนในเพศชาย

สำหรับโรคที่เกิดและมีสาเหตุของโรคจากการติดเชื้อหนองในเทียม คือ อัณฑะอักเสบ ติดเชื้อต่อมลูกหมาก ถ้าไม่ทำการรักษาอย่างทันทั่งทีทำให้เป็นหมันได้ โรคข้ออักเสบ โรคหนองในเทียม ทำให้ข้อกระดูกอักเสบ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ตาอักเสบ เช่นเดียวกัน

ภาวะแทรกซ้อนในเพศหญิง

สำหรับโรคที่เกิดและเป็นสาเหตุมาจากการติดเชื้อหนองในเทียม คือ โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ ทำให้เกิดภาวะการมีบุตรยาก เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูก เป็นต้น

การรักษาโรคหนองในเทียม

สำหรับการรักษาโรคหนองในเทียมนั้น สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ โดยให้กินยา Azithromycin ขนาด 1 กรัม ครั้งเดียว  หรือ กินยา Doxy cycline สองครั้ง ในเวลา 7 วัน คำแนะนำไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง ต้องอยู่ในการวินิจฉัยของแพทย์เท่านั้น นอกจากนั้น ต้องรักษาอาการแทรกซ้อนของโรคด้วยตามอาการที่พบ สำหรับคนที่เคยมีประวัติการติดเชื้อหนองในเทียม ต้องเข้ารับการตรวจโรคซ้ำ 90 วันหลังจากรักษาโรคแล้ว

การป้องกันโรคหนองในเทียม

สำหรับสาเหตุหลักของการติดเชื้อโรคหนองในเทียม คือ การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคหนองในเทียม โดยขาดการป้องกันที่ดี โดยการป้องกันการเกิดโรคหนองในเทียม มีรายละเอียดดังนี้

  • การมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอน ที่ไม่ใช้คู่ของตน ต้องสวมถุงยางอนามันป้องกันทุกครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการการเที่ยวกลางคืนและการหลับนอนกับคนที่เราไม่รู้จักโดยไม่มีการป้องกันโรค
  • การใช้ชิวิตร่วมกับผู้ป่วยโรคหนองในเทียม ต้องป้องกันการติดเชื้อ

โรคหนองในเทียม ( Chlamydia infection ) คือ โรคติดต่อจากเชื้อแบคทีเรีย คลามัยเดีย ทราโคมาทิส ทำลายระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง ทำให้มีลูกยาก อาการของโรค คือ มีหนองไหลออกจากอวัยวะสืบพันธ์ การรักษาโรคหนองในเทียม และ การป้องกันโรคทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove