ชะอม Climbing Wattle สมุนไพร ต้นชะอมเป็นอย่างไร สรรพคุณของชะอม เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความร้อนในร่างกาย บำรุงเส้นผม แก้ท้องผูก แก้ปวดท้อง ช่วยขับลม

ชะอม สมุนไพร พืชพื้นบ้าน สรรพคุณของชะอม

ต้นชะอม ภาษาอังกฤษ เรียก Climbing Wattle มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Acacia pennata (L.) Willd ชื่ออื่นๆ ของชะอม เช่น ผักหละ อม ผักขา พูซูเด๊าะ โพซุยโดะ เป็นต้น ใบชะอม นิยมนำมาทำเป็นส่วนประกอบการทำอาหาร เช่น ไข่ทอดชะอม แกงส้มชะอมกุ้ง ชะอมชุบไข่  แกงส้มชะอมไข่ นำมาลวกเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของชะอม

จากการศึกษาชะอมของนักโภชนาการ พบว่า ชะอม มีคุณค่าทางอาหาร ประกอบด้วย ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินซี

คุณค่าทางโภชนาการของชะอม ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงานมากถึง 57 กิโลแคลอรี่ และ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย กากใยอาหาร 5.7 กรัม ฟอสฟอรัส 80 กรัม แคลเซียม 58 กรัม ธาตุเหล็ก 4.1 มิลลิกรัม วิตามินเอ 10066 IU (หน่วยสากล) วิตามินบี1 0.05มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.25 มิลลิกรัม วิตามินบี 31.5 มิลลิกรัม วิตามินบี 58 มิลลิกรัม

ลักษณะชองต้นชะอม

ต้นชะอม เป็นพืชชนิดไม้พุ่ม พบว่ามีถิ่นกำเนิดแถวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชะอมจะมีหนามที่ลำต้นและกิ่งก้าน ใบของชะอม มีสีเขียวขนาดเล็ก ก้านใบย่อยแตกออกจากแกนกลางใบ ใบอ่อนของชะอมจะมีกลิ่นฉุน ปลายของใบชะอมจะแหลมขอบใบเรียบ ส่วนดอกของชะอม มีขนาดเล็กและออกตามซอกใบมีสีขาวนวล ชะอมสามารถขยายพันธ์ได้ โดยการปักชำ การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง หรือการโน้มกิ่งลงดิน

  • ลำต้น ชะอมเป็นไม้พุ่มขนาดย่อมไม่สูงมาก แต่เคยมีพบการพบชะอมในป่า ลักษณะเป็นต้นไม้ใหญ่ วัดเส้นรอบวงของลำต้นได้ 1.2 เมตร กิ่งก้านของชะอมมีหนามแหลม
  •  ใบ ลักษณะ เป็นใบประกอบขนาดเล็ก มีก้านใบแยกเป็นใบอยู่  2 ทาง ลักษณะคล้ายใบกระถิน (แยกได้โดยการสังเกตุดีๆหรือดมกลิ่น)  ใบอ่อนมีกลิ่น ฉุนคล้ายกลิ่นลูกสะตอแต่ก็ไม่เหมือนซะทีเดียวนะครับ ใบเรียงแบบสลับใบย่อย ออกตรง ข้ามกัน ใบย่อรูปรี มีประมาณ 13-28 คู่ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ส่วนที่มักนำไปทานก็คือใบออ่นหรือยอกของชะอมนั่นเอง
  • ดอก ชะอมจะออกที่ซอกกิ่ง สีขาวหรือขาวนวล ดอกขนาดเล็กและเห็นชัด เฉพาะเกสรตัวผู้ที่เป็นฝอยๆ
  •  ผล เป็นฝัก มีขนาดเล็กกว่าฝักกระถิน

สรรพคุณของชะอม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากชะอม เพื่อการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ได้จาก ยอดชะอม และ รากชะอม สรรพคุณของชะอม มีดังนี้

  • ยอดชะอม จะมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยลดความร้อนในร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ
    ชะอม สรรพคุณช่วยในการขับถ่าย แก้โรคท้องผูก ช่วยบำรุงเส้นผม
  • รากชะอม จะมีสรรพคุณช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ลดการปวดท้อง และช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยบำรุงเส้นเอ็น ช่วยแก้อาการลิ้นอักเสบเป็นผื่นแดง

โทษของชะอม

ข้อควรระวังในการบริโภคชะอม โทษของชะอม เนื่องจาก ชะอมมีกรดยูริกสูง หากบริโภคมากเกินไปก็จะส่งผลเสียกับร่างกายได้ ดดยรายละเอียด ดังนี้

  1.  ชะอมจะทำให้น้ำนมแห้ง คุณแม่หลังคลอดไม่ควรรับประทาน
  2. การรับประทานชะอม ในช่วงฤดูฝน ชะอ อาจมีรสเปรี้ยว อาจทำให้ปวดท้องได้
  3. ชะอมมีกรดยูริก หากรับประทานมากๆ อาจทำให้เป็นโรคเกาต์ ทำให้ปวดกระดูก เป็นเกาต์ไม่ควรบริโภคชะอม 
  4. สำหรับคุณแม่ที่เพิ่งมีบุตรอ่อน ไม่ควรรับประทานผักชะอม เพราะจะทำให้น้ำนมแม่แห้งได้
  5. ผักชะอม สำหรับคุณแม่ลูกอ่อน จะแพ้กลิ่นของผักชนิดนี้อย่างมาก ดังนั้นควรอยู่ห่าง ๆ
  6. การรับประทานผักชะอมในหน้าฝน อาจจะมีรสเปรี้ยว กลิ่นฉุน บางครั้งอาจทำให้มีอาการปวดท้องได้ (ปกตินิยมรับประทานผักชะอมหน้าร้อน)
  7. กรดยูริกเป็นตัวการที่ทำให้เกิดข้ออักเสบในผู้ป่วยโรคเกาต์ ซึ่งเกิดมาจากสารพิวรีน (Purine) โดยผักชะอมนั้นก็มีสารพิวรีนในระดับปานกลางถึงระดับสูง ผู้ป่วยโรคเกาต์สามารถรับประทานได้ แต่ควรรับประทานในปริมาณที่จำกัด หากเป็นมากก็ไม่ควรรับประทาน เพราะจะทำให้ปวดกระดูกได้
  8. อาจพบเชื้อก่อโรคอย่างซาลโมเนลลา (Salmonella) ซึ่งเป็นเชื้อที่สามารถพบได้ทั่วไปในสภาพแวดล้อม เช่น ดิน น้ำ อากาศ เมื่อเรานำผักชะอมที่ปนเปื้อนสารชนิดนี้มาประกอบอาหารโดยไม่ล้างทำความสะอาดหลาย ๆ ครั้ง หรือไม่นำมาปรุงให้สุกก่อนรับประทาน อาจมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อชนิดนี้ได้ โดยผู้ที่ได้รับเชื้อชนิดอาจจะมีอาการท้องเสีย ปวดท้อง ถ่ายเหลวเป็นน้ำสีเขียว หรือถ่ายเป็นมูกมีเลือดปน มีไข้ เป็นต้น

วิธีการปลูกและการดูแล

ชะอม เป็นผักพื้นบ้าน ริมรั่ว เป็นพืชพื้นบ้าน ปลูกง่าย ชะอมไม่ชอบน้ำท่วมขัง ดังนั้นการปลูกชะอม ต้องยกร่องสวน และเว้นระยะห่างให้พอดี ต่อการเดินเก็บชะอม อย่าปลูกชิดกันเกินไปเนื่องจากชะอมมีหนาม ชะอม 1 ไร่ สามารถปลูกได้ถึง 2,000 ต้น การปลูกชะอมง่ายไม่ต้องรดน้ำบ่อย 2 ถึง 3 วัน ค่อยให้น้ำครั้งหนึ่งก็ได้

การขยายพันธุ์ชะอม

ชะอมสามารขยายพันธุ์ได้ โดยการปักช นำกิ่งของชะอมที่กลางอ่อนกลางแก่ มาปักในดิน ประมาร 1 สัปดาห์ ก็ติดดินแล้ว ประมาณ 30 วัน รากของชะอมออกก็สามารถเริ่มให้ปุ๋ย ได้ การปลูกและขยายพันธ์ชะอมง่ายมาก

ศัตรูพืชของชะอม

ศัตรูของชะอม จะเป็นพวกหนอนคืบและมดแดง ซึ่งในการปลูกแบบอินทรีย์ ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง เราสามารถใช้พวกน้ำหมักชีวภาพ โดยใช้พืชที่มีกลิ่นแรง มีน้ำมันหอมระเหยที่สัตว์ไม่ชอบ เช่น ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด เป็นส่วนผสมของน้ำหมัก เมื่อแมลงหรือหนอนได้กลิ่นก็จะหนีไปเอง แต่ชะอมเป็นพืชที่ศัตรูพืชน้อย ไม่ต้องกังวล

เทคนิคกระตุ้นยอดอ่อนชะอม

หากต้องการใช้ชะอมแตกยอดดีให้ใช้น้ำหมักชีวะภาพ ที่มีส่วนผสมของน้ำมะพร้าว จะช่วยให้ชะอมแตกยอดได้ดี

ชะอม ( Climbing Wattle ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของชะอม คือ Acacia pennata (L.) Willd สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของชะอม ป้องกันมะเร็ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความร้อนในร่างกาย ช่วยบำรุงเส้นผม ยาอายุวัฒนะ ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง และช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยบำรุงเส้นเอ็น ช่วยแก้อาการลิ้นอักเสบ

ชะอม ( Climbing Wattle ) สมุนไพร ผักสวนครัว ลักษณะของต้นชะอม สรรพคุณของชะอม เช่น ป้องกันมะเร็ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความร้อนในร่างกาย ช่วยบำรุงเส้นผม ยาอายุวัฒนะ ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง และช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยบำรุงเส้นเอ็น ช่วยแก้อาการลิ้นอักเสบ

อหิวาตกโรค ( Cholera ) โรคติดต่อร้ายแรง จากเชื้อแบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี ทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง อาเจียน ร่างกายขาดน้ำ และ เสียชีวิตกินอาหารไม่สะอาดอหิวาตกโรค โรคห่า โรคติดต่อ โรคระบบทางเดินอาหาร

สาเหตุของการเกิดอหิวาตกโรค

โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียนที่ระบบทางเดินอาหาร ชื่อ แบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี ( Vibrio Cholerae ) เชื้อแบคทีเรียได้หลั่งสารซิกัวทอกซิน ( Ciguatoxin: CTX ) เมื่อสารซิกัวทอกซินรวมตัวกับโซเดียม หรือ คลอไรด์ ที่ลำไส้ ทำให้เกิดการกระตุ้นการขับน้ำออกจากร่างกาย โดยการอุจจาระ ซึ่งเป็นอาการอย่างกะทันหัน แบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี จะปนเปื้อนอยู่ตามสิ่งปฏิกูล อุจจาระ ซึ่งเชื้อโรคหากกระจายอยู่ในแหล่งน้ำ ก็มีโอกาสปะปนกับอาหาร และ พืชผัก ผลไม้ ต่างๆได้

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคอหิวาตกโรค

อหิวาตกโรคเกิดจากการกินอาหารไม่สะอาด ดังนั้น ปัจจัยต่างๆที่มีโอกาสทำให้เกิดอหิวาตกโรค มีดังนี้

  • ภาวะสุขอนามัยไม่ดี เชื่ออหิวาตกโรค สามารถแพร่กระจายตามแหล่งน้ำ หากการจัดการสิ่งแวดล้อมไม่สะอาด ผิดหลักการอนามัย ทำให้เกิดการระบาดของโรคได้ง่าย
  • ภาวะไม่มีกรดในกระเพาะอาหาร ( Hypochlorhydria/Chlorhydria ) การที่ร่างกายไม่มีกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้เมื่อเชื้ออหิวาเข้าสู่ร่างกาย ก็สามารถแพร่กระจาย และ เจริญเติบโต จนปล่อยสารพิษ เข้าสู่ร่างกาย
  • การอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยอหิวาตกโรค เชื้ออหิวาตกโรค สามารถแพร่กระจายผ่านอุจจาระของผู้ป่วย เมื่ออยู่ใกล้ ก็มีดอกาสในารเกิดโรคเช่นกัน
  • การกินอาหารไม่สะอาด และ ไม่ปรุงให้สุกก่อนนำมารับประทาน อาหารทะเล พวกหอย หากปรุงไม่สุกมีโอกาสเสี่ยงทำให้เกิดอหิวาตกโรคได้

การวินิจฉัยอหิวาตกโรค

สำหรับการวินิจฉัยโรค แพทย์จะทำการซักประวัติ และ สังเกตุอาการเบื้องต้นก่อน จากนั้น ต้องทำการคตรวจร่างกาย ตรวจอุจจาระ การวินิจฉัยโรค สามารถระบุสาเหตุ ของอาการท้องร่วง เพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้อง

อาการของผู้ป่วยอหิวาตกโรค

เมื่อเชื้อแบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี ( Vibrio Cholerae )เข้าสู่ร่างกาย จะมีระยะเวลาในการเกิดโรคจะเกิดภายใน 2 ชั่วโมง ถึง 5 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลาในการฟักตัวของโรค เมื่อเกิดอาการของอหิวาตกโรค จะแสดงอาการ ท้องเสียอย่างเฉียบพลัน ถ่ายเป็นน้ำ อุจจาระมีสีขาวลักษณะเหมือนน้ำซาวข้าว อุจจาระมีกลิ่นเหม็นคาว คลื่นไส้อาเจียน ไม่มีไข้ ซึ่งอาการของโรคสามารถสรุป ได้ดังนี้

  • มีอาการปวดท้อง แบบปวดบิด
  • เกิดภาวะการขาดน้ำและเกลือแร่ โดยแสดงอาการ กระหายน้ำ ปากแห้ง คอแห้ง ผิวหนังแห้ง ไม่มีน้ำตา กระหม่อมบุ๋ม ปัสสาวะน้อย ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม หรือ ไม่ถ่ายปัสสาวะ อ่อนเพลีย ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ

การรักษาอหิวาตกโรค

สำหรับการรักษาอหิวาตกโรค ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาอย่างทันที่ โดยให้การรักษาอาการร่างกายขาดน้ำก่อน และ แพทย์จะพิจารณาการใช้ยาปฏิชีวนะ ในการฆ่าเชื้อโรค หลังจากตรวจอุจจาระและทราบเชื้อโรคที่ชัดเจน โดยรายละเอียดของการรักษาอหิวาตกโรค มีดังนี้

  • ให้น้ำเกลือ เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำและเกลือแร่เพื่อทดแทนส่วนที่เสียไป
  • ให้สารอาหารน้ำทดแทน ( Intravenouse Fluids ) ในกรณีที่ผู้้ป่วยเกิดภาวะขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรุนแรง จำเป็นต้องให้สารน้ำทางน้ำเกลือเพื่อป้องกันการช็อคอย่างเฉียบพลัน
  • ให้ยาปฏิชีวนะ เนื่องมาจากเชื้ออหิวา เช่น ยาดอกซีไซคลิน ( Doxycycline ) ยาอะซีโธรมัยซิน ( Azithromycin )

ภาวะแทรกซ้อนของอหิวาตกโรค

ความอันตรายของอหิวาตกโรค นอกจากการขาดน้ำแล้ว โรคแทรกซ้อน เป็นอีกหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวัง โดยภาวะแทรกซ้อนของอหิวาตกโรค มีดังนี้

  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ( Hypoglycemia ) ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นภาวะอันตราย หากเกิดกับเด็ก อาจทำให้เกิดอาการชัก ไม่ได้สติ และถึงขั้นเสียชีวิต
  • ภาวะโพแทสเซียมต่ำ ( Hypokalemia ) ภาวะโพแทสเซียมต่ำ ส่งผลต่อระบบหัวใจและเส้นประสาท เป็นอันตรายต่อชีวิต
  • ภาวะไตวาย การเสียสมดุลย์ของน้ำในร่างกาย ทำให้ไตไม่ทำงาน ส่งผลต่อของเสียต่างๆ ตกค้างในร่างกาย เป็นอันตรายต่อชีวิต

การป้องกันการเกิดอหิวาตกโรค

สำหรับการป้องกันการเกิดอหิวาตกโรค โดยหลักๆ คือ การรักษาความสะอาด ของสิ่งแวดล้อมและอาหาร โดยการป้องกันการเกิดอหิวาตกโรค มีรายละเอียด ดังนี้

  • ดื่มน้ำสะอาด งดการกินน้ำแข็ง เพราะ อาจมีสิ่งเจือปนในน้ำแข็งได้
  • การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน
  • ปรุงอาหารสุก และ กินอาหารที่สุกเท่านั้น
  • ทำความสะอาด วัตถุดิบของอาหาร ทั้ง ผัก ผลไม้ โดยล้างให้สะอาดก่อนนำมาประกอบอาหาร และ รับประทาน
  • รับการฉีดวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรค
  • หากมีผู้ป่วยอหิวาตกโรคอยู่ใกล้ ต้องรักษาความสะอาดเป็นพิเศษ

อหิวาตกโรค ( Cholera ) คือ โรคติดต่อ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี ( Vibrio Cholerae ) ที่ระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง โดยสาเหตุเกิดจากการกินอาหารไม่สะอาด อาการของโรคอหิวาตกโร ถ่ายเหลว อาเจียน ร่างกายขาดน้ำ และ เสียชีวิต การรักษาโรค และ การป้องกันโรค โรคอหิวาตกโรค คือ โรคเป็นติดต่อ ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove