ไวรัสตับอักเสบบี Hepatitis B ภาวะติดเชื้อไวรัสที่ตับ สาเหตุของตับวาย ตับแข็ง มะเร็งตับ อาการตัวเหลืองตาเหลือง ปวดชายโครงด้านขวา อาเจียน อ่อนเพลีย ปวดตามข้อ รักษาอย่างไร

ไวรัสตับอักเสบบี โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

ไวรัสตับอักเสบบี ภาษาอังกฤษ เรียก Hepatitis B เป็นโรคที่สามารถติดต่อได้ ซึ่งอาการสำคัญ คือ การอักเสบของเซลล์ตับ หากอาการมีความเรื้อรังจะเกิดพังผืด เป็นสาเหตุของตับแข็งและมะเร็งตับ การติดต่อของเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายสามารถถ่ายทอดจากแม่สู่ทารกในครรภ์ได้ การใช้เข็มร่วมกับคนที่มีเชื้อ การสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งผ่านเข้าทางบาดแผล การใช้สิ่งของร่วมกับผู้มีเชื้อ เช่น แปรงสีฟัน มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้มีเชื้อโดยไม่ป้องกัน

สาเหตุของโรคไวรัสตับอักเสบบี

หากพูดถึงโรคตับอักเสบ โรคนี้มีหลายชนิด เช่น โรคไวรัสตับอักเสบเอ โรคไวรัสตับอักเสบซี เป็นต้น ตับอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น การดื่มสุรา การเสพยาเสพติด การติดเชื้อไวรัส เป็นต้น โรคไวรัสตับอักเสบบี สามารถติดต่อได้หลายช่องทาง รายละเอียด ดังนี้

  1. การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ โดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย
  2. การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ
  3. การใช้เข็ม สักตามตัวและการเจาะหู ร่วมกันกับผู้ติดเชื้อ
  4. การใช้แปรงสีฟัน มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ ร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ
  5. ติดเชื้อจากแม่สู่ลูกขณะคลอด เราพบว่าลูกมีโอกาสติดเชื้อได้ถึงร้อยละ 90
  6. การสัมผัส เลือด น้ำคัดหลั่ง ของผู้ติดเชื้อ

อาการของโรคไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับอาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เราสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ ระยะฉับพลัน และ ระยะเรื้อรัง รายละเอียด ดังนี้

  • อาการของผู้ป่วยติดเชื้อไวรับตับอักเสบบี ระยะเฉียบพลัน พบว่า ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการภายใน 4 เดือน หลังจากได้รับเชื้อ โดยอาการจะมีไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดชายโครงด้านขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีผื่น ปวดตามข้อ มีโอกาสเกิดภาวะตับวายได้ แต่อาการจะดีขึ้นภายใน 4 สัปดาห์ หากสามารถควบคุมและกำจัดเชื้อไวรัสได้ แต่พบว่าร้อยละ 5 ของผู้ป่วยชนิดฉับพลัน จะเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี เรื้อรัง
  • อาการของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี ระยะเรื้อรัง เราสามารถแบ่งอาการของโรคนี้ได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ระยะพาหะ และระยะตับอักเสบเรื้อรัง
    • ระยะพาหะ ผู้ป่วยจะพบอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อให้อื่นได้
    • ระยะอักเสบเรื้อรัง ระยะนี้การทำงานของตับผิดปกติ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการให้เห็นอย่างชัดเจน แต่ในผู้ป่วยบางรายมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร

การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับการรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี สามารถใช้ยารักษา แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยของไวรัสบี ปัจจัยทางผู้ป่วย และระยะของโรค โดยในปัจจุบัน ยาที่ใช้รักษาไวรัสตับอักเสบบี มีทั้งชนิดฉีดและชนิดรับประทาน แนวทางการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ บี ยังเป็นการรักษาประคับประคองตามอาการ ไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะเพราะยาปฏิชีวนะฆ่าไวรัสไม่ได้ แต่ใช้ฆ่าแบคทีเรีย ซึ่งที่สำคัญ คือ พักการทำงานของตับ โดยการพักผ่อนให้มากๆ (ควรต้องหยุดงานอย่างน้อยประมาณ 3-4 สัปดาห์) นอกจากนั้น คือ

  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน(สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง ฟื้นตัวได้เร็ว ลดโอกาสติดเชื้อซ้ำซ้อน ลดการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น
  • ดื่มน้ำให้มากกว่าปกติ ไม่ควรต่ำกว่าวันละ 6-8 แก้ว(เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม)
  • กินอาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ ทุกวัน
  • งดบุหรี่ และ แอลกอฮอล์ เพราะสารพิษในบุหรี่และแอลกอฮอล์ทำลายเซลล์ตับโดยตรง
  • กินยาแต่ที่เฉพาะได้รับจากแพทย์ ไม่ซื้อยากินเอง เพราะเพิ่มโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยาต่อเซลล์ตับสูงขึ้น อาจส่งผลให้ตับอักเสบมากขึ้น

อนึ่ง ในการรักษาโรคในระยะเรื้อรัง ปัจจุบันมีตัวยาหลายชนิด ทั้งฉีด และกิน ใช้เพื่อชะลอการแบ่งตัวของไวรัส ส่วนจะเลือกใช้ยาตัวใด ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ในปัจจุบันสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกัน สำหรับคนที่มีคนในครอบครัวเป็นพาหะของไวรัสชนิดนี้ ให้ตรวจเลือดเพื่อให้ทราบถึงภาวะของเชื้อ

  • ฉีดวัคซีนป้องกัน โดยผู้ที่ควรฉีดวัคซีนมากที่สุดคือ เด็กแรกเกิด สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่โดยทั่วไปมีความจำเป็นน้อยในการฉีดวัคซีน เนื่องจากส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อแล้ว หากต้องการฉีดวัคซีนควรได้รับการตรวจเลือด ผู้ที่เคยติดเชื้อมาแล้วหรือมีภูมิต้านทานแล้วไม่ต้องฉีดวัคซีน
  • ผู้ที่อยู่ในครอบครัวที่เป็นพาหะ ควรตรวจเลือดเพื่อทราบถึงภาวะของการติดเชื้อก่อนการฉีดวัคซีน การฉีดวัคซีนต้องฉีดให้ครบชุดจำนวน 3 เข็ม หลังจากนั้นวัคซีนจะกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานขึ้นในร่างกาย

ข้อควรปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบี

  1. ควรขอรับคำแนะนำจากแพทย์ และระมัดระวังการแพร่เชื้อไปสู่คนใกล้ชิด
  2. ไม่ใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์
  3. ตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ
  4. เวลามีเพศสัมพันธ์ต้องสวมถุงยางอนามัย
  5. ไม่บริจาคเลือด
  6. งดการดื่มสุรา
  7. พักผ่อนให้เพียงพอ
  8. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  9. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  10. หากต้องรับการผ่าตัดหรือทำฟัน ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบว่ามีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

รูมาตอยด์ เยื่อหุ้มข้อกระดูกอักเสบเรื้อรัง ทำให้นิ้วมือนิ้วเท้าผิดรูป ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค หากไม่รักษาทำให้พิการได้ รักษาได้ด้วยยา ผ่าตัด กายภาพบำบัดข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้ออักเสบ โรคไม่ติดต่อ โรคกระดูก

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ( rheumatoid arthritis ) คือ ภาวะเยื่อหุ้มข้ออักเสบเรื้อรัง เป็นโรคในกลุ่มภูมิต้านตนเอง มีอาการอักเสบอย่างรุนแรงที่ข้อนิ้วมือ ข้อนิ้วเท้า หากไม่รักษาทำให้พิการได้ เนื่องจากเยื่อบุข้อเจริญงอกงามอย่างมาก จนลุกลามและทำลายกระดูก และ ข้อต่อในที่สุด โรคนี้มิได้เป็นแต่เฉพาะข้อเท่านั้น ยังอาจมีอาการทางระบบอื่น ๆ อีก เช่น ตา ประสาท กล้ามเนื้อ เป็นต้น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ พบมากในกลุ่มคนสองช่วงอายุ คือ ช่วงอายุ 20 ถึง 30 ปี ( พบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ) และ 50 ถึง 60 ปี ( พบได้ในทั้งเพศชายและหญิงเท่าๆกัน)

สาเหตุของการเกิดโรครูมาตอยด์

สาเหตุของโรคการเกิดโรครูมาตอยด์ ในปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัดได้ แต่พบว่าร้อยละ 10 ของผู้ป่วยโรครูมาตอยด์เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม มีข้อสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการติดเชื้อบางชนิด ไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส นอกจากนี้ความผิดปรกติของฮอร์โมนในร่างกายก็อาจเป็นสาเหตุได้

อาการของโรครูมาตอยด์

สำหรับอาการป่วยของผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ จะแสดงอาการเริ่มต้นด้วยอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร จากนั้นจะปวดข้ออย่างรุนแรงจะตามมา โดยเฉพาะข้อเล็กๆ เช่น ข้อนิ้วมือ ข้อนิ้วเท้า รวมถึงมีอาการปวดที่ข้อกระดูกใหญ่ๆ เช่น ข้อเข่า ข้อสะโพก ซึ่งอาการปวดจะปวดในขณะที่ข้อกระดูกไม่ได้ใช้งาน เช่น ปวดกระดูกหลังตื่นอน ปวดกระดูกกลางดึก หรือ ปวดกระดูกขณะพักผ่อนอยู่เฉยๆ แม้กินยาแก้ปวดอาการปวดก็ไม่หาย

ลักษณะการผิดรูปร่างของข้อที่พบ มีหลายลักษณะแตกต่างกันตามจุดที่เกิด มีรายละเอียดดังนี้

  • หากเกิดที่ข้อนิ้วมือและข้อมือ จะมีการผิดรูป 3 แบบ คือ แบบรูปร่างคล้ายตัวหนังสือ Z เรียก Z deformity แบบคอห่าน เรียก Swan neck deformity และ แบบข้อนิ้วมือส่วนต้นงอเข้าหาฝ่ามือ เรียก Boutonniere deformity
  • การเกิดที่ข้อมือ จะทำให้ข้อมือขยับไม่ได้ และพังผืดจะเกิดรอบๆข้อ และไปกดทับเส้นประสาทส่วนปลาย ทำให้ปวดและชาที่มือและกล้ามเนื้อมือ
  • การเกิดที่ข้อเท้า และ ข้อนิ้วเท้า ทำให้พิการถึงขั้นเดินไม่ได้
  • การเกิดที่ข้อศอก จะทำให้ข้อศอกหด และ งอ ทำให้ยืดข้อศอกไม่ได้
  • การเกิดที่ข้อเข่า จะทำให้เข่าหดงอ ส่งผลกระทบต่อการเดิน
  • การเกิดทั้ข้อกระดูกสันหลังส่วนคอ อาจส่งผลให้กระดูกเลื่อนหลุด และไปกดเส้นประสาทส่วนปลาย ทำให้เกิดอาการปวดและชา แขนอ่อนแรง เป็นอัมพาตได้

การรักษาโรครูมาตอยด์

สำหรับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โรคนี้สามารถกลับมาเป็นอีกครั้งได้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยต้องรับประทานยาอย่างต่อ และพบแพทย์เป็นระยะๆ โดยแนวทางการรักษาข้ออักเสบรูมาตอยด์  สามารถทำได้โดยการบรรเทาอาการของโรค ร่วมด้วยการผ่าตัดและการทำกายภาพบำบัดร่วม โดยรายละเอียดของการรักษาโรค มีดังนี้

  • การใช้ยารักษา เพื่อบรรเทาอาการของโรค เช่น การให้ยากลุ่มสเตียรอยด์ การให้ยาแก้อักเสบ และ การให้ยายับยั้งข้ออักเสบ
  • การทำกายภาพบำบัด เพื่อป้องกันกระดูกผิดรูป โดยวิธีการประคบร้อน แช่น้ำอุ่น ให้ผู้ป่วยขยับตัวให้มาก เพื่อป้องกันข้อแข็งและผิดรูป
  • การฝ่าตัด ทำเพื่อเลาะเยื่อบุข้อกระดูกที่การอักเสบ ผ่าตัดซ่อมแซมเชื่อมข้อติดกัน ผ่าตัดกระดูกปรับแนวข้อกระดูกให้ตรง หรือใส่ข้อเทียม แต่การผ่าตัดนั้นเป็นการรักษาที่ปลายเหตุ เพื่อบรรเทาอาการของโรครูมาตอยด์ เท่านั้น

การป้องกันการเกิดโรครูมาดอยด์

เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคอย่างแน่ชัด การป้องกันจากสาเหตุของโรคจึงเป็นเรื่องยาก การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงจึงเป็นแนวทางการป้องกันโรคที่ดี แนวทางการป้องกันโรครูมาตอยด์ มีดังนี้

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่เกณฑ์มาตราฐาน
  • หลีกเลี่ยงความเสี่ยงกิจกรรมที่ทำลายข้อ เช่น ยกของหนัก กระโดด นั่งยองๆ เป็นต้น

ข้ออักเสบรูมาตอยด์ เยื่อหุ้มข้ออักเสบเรื้อรัง ทำให้นิ้วมือนิ้วเท้าผิดรูป ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน หากไม่รักษาทำให้พิการได้ สามารถรักษาได้ด้วยยา การผ่าตัด และ ทำกายภาพบำบัด


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove