ลิ่มเลือดอุดตันในปอด โรคพีอี Pulmonary Embolism ภาวะการอุดกั้นในปอดจากกลิ่มเลือด ทำให้เจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก แขนขาบวม อันตรายทำให้เสียชีวิตอย่างกระทันหันได้ลิ่มเลือดอุดตันในปอด โรคพีอี โรคระบบทางเดินหายใจ โรคปอด

โรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด มีปัจจัยหลายประการ เช่น ภาวะพันธุกรรม อายุ โรคประจำตัว และ พฤตอกรรมการใช้ชีวิตในประจำวัน โรคนี้เป็นเพชรฆาตเงียบ คนแข็งแรงก็สามารถเสียชีวิตได้ หากประมาท โรคนี้มีอัตราการเสียชีวิตสูง รองจากโรคหัวใจและโรคมะเร็ง

สาเหตุของการเกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด

สำหรับสาเหตุของการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในปอด เราสามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคได้ 2 ประเภท คือ สาเหตุจากการเกิดโรคมาก่อน และ สาเหตุที่ไม่พบว่ามีการเกิดโรคมาก่อน ซึ่ง สาเหตุของการเกิดโรคจากการเกิดโรคมาก่อน เช่น เกิดเมื่อได้รับการผ่าตัดและ ต้องนอนนิ่งๆเป็นเวลานานๆ การป่วยเป็นมะเร็งบางชนิด การรับประทานยาบางประเภท ภาวะการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เป็นต้น ส่วนในสาเหตุการเกิดอีกประเภท คือ การเกิดลิ่มเลือดอุดตันโดยไม่มีสาเหตุของอาการมาก่อน

สาเหตุของการเกิดโรค มีปัจจัยสำคัญจากพฤติกรรมเสี่ยง ที่สำคัญ คือ การสูบบุหรี่ และ การไม่เคลื่อนไหวร่างกายเป็นเวลานาน

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด

สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด สามารถสรุปปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการเกิดโรค ดังนี้

  • อายุของผู้ป่วย คนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคมากที่สุด
  • ภาวะทางพันธุกรรม สำหรับคนที่มีประวัติคนในครอบครัวเคนเป็นโรคลิ่มเลือด อาจมีความความเสี่ยงให้เกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอดมากขึ้น
  • การเกิดอุบัติเหตุอย่างรุนแรง เช่น กระดูกหัก กล้ามเนื้อฉีก การถูกกระแทดอย่างรุนแรง เป็นต้น
  • การเกิดโรคบางชนิด เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งปอด โรคหัวใจ โรคเหล่านี้มัโอกาสเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด
  • เคยเข้ารับการผ่าตัดใหญ่ หรือ เข้ารับการทำเคมีบำบัด
  • อยู่ในภาวะร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหวเป็นเวลานาน เช่น ผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น
  • การสูบบุหรี่
  • โรคอ้วน ภาวะน้ำหนักตัวเกินมาตราฐาน
  • ภาวะตั้งครรภ์
  • การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน

อาการของโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด จะแสดงอาการต่างๆ ซี่งความรุนแรงขึ้นอยู่กับขนาดของลิ่มเลือดที่อุดตันในปอด โดย อาการต่างๆ สามารถสังเกตุ ได้ดังนี้

  • หายใจไม่ออก หายใจลำบาก โดยเกิดแบบฉับพลัน และ จะมีอาการหนักขึ้นหากออกแรง หรือ ออกกำลังกาย
  • เจ็บหน้าอก รู้สึกแน่นหน้าอก เมื่อหายใจเข้าลึกๆ อาการเจ็บหน้าอกจะไม่หายแม้นั่งพักแล้วก็ตาม
  • มีอาการไอเป็นเลือด มีเลือดปนมากับเสมหะเวลาไอ
  • มีไข้สูง
  • วิงเวียนศีรษะ
  • เหงื่อออกมาก
  • หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
  • ชีพจรเต้นอ่อน
  • ผิวมีสีเขียวคล้ำ
  • ปวดขา และ มีอาการขาบวมเฉพาะน่อง
  • หน้ามืดเป็นลม และ หมดสติ

อาการต่างๆนี้ มีอาการของโรคที่รุนแรง ผู้ป่วยโรคลิ่มเลือดไปอุดตันในปอด สามารถเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว

การรักษาโรคลิ่มเลือดอุดตั้นในปอด

สำหรับแนวทางการรักษาโรคนี้ คือ การรักษาลิ่มเลือดที่เกิดขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ลิ่มเลือดมีขนาดใหญ่ขึ้น และ ไม่ให้เกิดลิ่มเลือดใหม่ หากรักษาได้ทัน จะช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน แนวทางการรักษาโรค มีดังนี้

  • การใช้ยารักษา โดยใช้ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด และ ยาสลายลิ่มเลือด
  • การสอดท่อเข้าทางหลอดเลือด เพื่อกำจัดลิ่มเลือดที่อุดตัน
  • การใช้ตะแกรงกรองลิ่มเลือด เพื่อไม่ให้ไปอุดกั้นที่ปอด การรักษาแนวทางนี้ สำหรับคนที่ไม่สามารถรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดได้
  • การผ่าตัด โดยผ่าตัดกำจัดลิ่มเลือด

การป้องกันโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด

แนวทางการป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในปอด คือ การลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ทำให้เกิดลิ่มเลือด แนวทางการป้องกัน มีดังนี้

  • ควบคุมน้ำหนักตัว ให้อยู่ในมาตราฐาน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การเคลื่อนไหวร่างกายให้มากขึ้น เป็นสิ่งจำเป็นช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้
  • เลิกสูบบุหรี่
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทั้งหลายทั้งปวง

โรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด โรคพีอี ( Pulmonary Embolism ) ภาวะการอุดกั้นในปอด ที่เกิดจากกลิ่มเลือด ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย และ ไอ เป็นอันตรายทำให้เสียชีวิตอย่างฉับพลันได้ สาเหตุ อาการ และ การรักษา ทำอย่างไร

หลอดเลือดแดงที่ขาตีบ เลือดไม่สามารถไหลเวียนที่ขาได้จากการตีบของเส้นเลือดบริเวณขา ส่งผลเกิดอาการปวดขา ปวดน่อง เป็นตะคริว ชาที่เท้า ขาอ่อนแรง โดยเฉพาะเวลาเดินหลอดเลือดที่ขาตีบ โรคหลอดเลือด โรคไม่ติดต่อ

หากมีอาการเส้นเลือดตีบที่ขา แต่เป็นไม่มาก ก็จะยังไม่เห็นอาการชัดเจน แต่หากมีอาการ เราสามารถสังเกตุได้จากอาการดังนี้ คือ ปวดน่อง เป็นตะคริว ชาที่เท้า ขาอ่อนแรง โดยเฉพาะเวลาเดิน  จะมีการปวดขาเมื่อต้องเดินนานๆ และอาการเหล่านี้จะเป็นๆ หายๆ ดังนั้น หากพบว่ามีอาการลักษณะนี้ สามารถสันนิฐานได้ว่า ท่าเป็นโรค เส้นเลือดขาตีบ แล้ว

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเส้นเลือดขาตีบ

สำหรับปัจจัยที่ทำให้เส้นเลือดที่ขาตีบ มีดังนี้

  • พันธุ์กรรม
  • อายุที่สูงขึ้น
  • อาการหลอดเลือดแดงแข็งตัว
  • การสูบบุหรี่
  • ภาวะอ้วน
  • การพักผ่อนน้อย
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • ภาวะโรคแทรกซ้อน เป็นผลข้างเคียงของการเกิดโรค เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และ โรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น

หากท่านมีอาการดังกล่าวต้องแจ้งให้แพทย์ทราบอย่างละเอียด เมื่อแพทย์สงสัยแพทย์จะซักประวัติเพิ่มเติม ครวจร่างกายเพิ่มเติม และส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติม

อาการของผู้ป่วยโรคเส้นเลือดแดงที่ขาตีบ

เราจะสังเกตุได้อย่างไรว่า มีอาการเป็นโรคเส้นเลือดแดงตีบ คือ ขนที่ขาจะน้อย สีผิวของขาจะคล้ำ หรือในผู้ป่วยบางคนขาจะซีด ไม่สามารถคลำชีพจรที่หลังเท้าได้ เท้าเย็น เป็นแผลเรื้อรังที่เท้า เล็บหนา บางลายจะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และ ถ้าเป็นหนักมาก นิ้วเท้าอาจเน่าได้

  • ขนที่เท้าหรือขาจะน้อย
  • สีผิวของขาจะคล้ำขึ้น บางรายอาจจะซีด
  • คลำชีพขจรที่หลังเท้าไม่ได้
  • เท้าจะเย็นอุณหภูมิเท้าสองข้างไม่เท่ากัน
  • เสื่อมสมรรถภาพทางเพศในชายที่เป็นความดันโลหิตสูง
  • แผลเรื้อรังที่เท้า
  • เล็บหนาตัว
  • หากเป็นมากจะมีการเน่าของนิ้ว

การตรวจโรคเส้นเลือดแดงขาตีบ

สามารถทำได้หลายวิธี เช่น

  1. การตรวจด้วยวิธี ankle-brachial index (ABI) เป็นการวัดความดันเลือดที่แขนและขา
  2. การฉีดสี Arteriogram เข้าไปที่เส้นเลือด เพื่อตรวจสอบตำแหน่งที่ตีบของเส้นเลือด
  3. การวัดระดับน้ำตาลในเลือด
  4. การวัดระดับไขมันในเลือด
  5. การตรวจคลื่นไฟฟ้าที่หัวใจ

การรักษาโรคเส้นเลือดแดงที่ขาตีบ

สามารถทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่ดีที่สุดคือ การลดปัจจัยเสี่ยงของโรคทั้งหมด การรักษาสามารถทำได้ดังนี้

  1. การเดิน เพื่อช่วยกระตุ้นให้หลอดเลือดแดงมีการสร้างใหม่
  2. หลีกเลี่ยงการประคบน้ำแข็งหรือน้ำร้อน
  3. เลือกสวมรองเท้าที่พอดีกับขนาดของเท้า
  4. ลดการบริโภคอาหารประเภทไขมัน แป้งและน้ำตาล
  5. งดการสูบบุหรี่
  6. บริโภคอาหารประเภทวิตามินB ให้มากขึ้น
  7. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  8. ใช้ยารักษาควบคู่ไปด้วย ยากที่ใช้จะเป็นยา ต้านเกล็ดเลือด
  9. การควบคุมระดับไขมันในเลือด

หากรักษาโดยการลดอาการเสี่ยงของโรคแล้วยังไม่ดีขึ้น สามารถใช้การทำ Balloon ที่เส้นเลือดแดงบริเวณที่มีการตีบได้

การป้องกันโรคเส้นเลือดแดงตีบที่ขา

สามารถทำได้โดยงดปัจจัยเสี่ยงทั้งหมด เช่น รักษาระดับน้ำตาลและไขมันในเส้นเลือดให้อยู่ในระดับปรกติ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดการสูบบุหรี่ ตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี เป็นต้น

  • รักษาระดับไขมันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • หยุดสูบบุหรี่
  • รักษาน้ำหนัก อย่าให้อ้วน
  • ควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติ

สมุนไพรใช้ลดน้ำหนัก สามารถช่วยป้องกันและรักษาการเป็นโรคหลอดเลือดแดงที่ขาตีบได้ เราจึงได้รวบรวมสมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยลดความอ้วน มาให้เป็นความรู้เสริม มีดังนี้

ตรีผลา สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตรีผลาตรีผลา ถั่วเขียว ถั่วงอก ธัญพืช สมุนไพรถั่วเขียว
แมงลัก เมล็ดแมงลัก ใบแมงลัก สมุนไพรแมงลัก อะโวคาโด ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของอะโวคาโดอะโวคาโด
ชุมเห็ดเทศ ต้นชุมเห็ดเทศ สรรพคุณของชุมเห็ดเทศ สมุนไพรชุมเห็ดเทศ ต้นกระเจีียว ดอกกระเจียว สรรพคุณของกระเจียว ประโยชน์ของกระเจียวกระเจียว

โรคเส้นเลือดขาตีบ คือ ภาวะเลือดไม่สามารถส่งไปไหลเวียนที่ขาได้ เนื่องจากเกิดการตีบที่เส้นเลือด บริเวณขา เป็น โรคเกี่ยวกับหลอดเลือด ไม่ใช้โรคติดต่อ ส่งผลให้เกิดอาการปวดขา ปวดน่อง เป็นตะคริว ชาที่เท้า ขาอ่อนแรง โดยเฉพาะเวลาเดิน และจะดีขึ้นเมื่อได้พัก ปัจจัยเสียงที่ทำให้เกิดโรคนี้ การรักษาโรคหลอดเลือดแดงที่ขาตีบ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove